วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาหนี้นอกระบบ นายพชระ ลิมปะพันธุ์ 53242186


ปัญหาหนี้นอกระบบและการแก้ปัญหา
รายงานวิชา 830329 ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
บทความทางวิชาการ เรื่อง ปัญหาหนี้นอกระบบและการแก้ปัญหา

                                                                       นายพชระ ลิมปะพันธุ์ 53242186
                                                                     คณะสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม  

ที่มาและความหมายของหนี้นอกระบบ
บรรพบุรุษของไทยนั้นได้สั่งสอนกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้วว่า ใครที่ให้ความช่วยเหลือในยามเดือดร้อนต้องไม่ลืมบุญคุณวัฒนธรรมประเพณีคนไทยมีมานาน ถึงฤดูทำกิน ยามเจ็บไข้ต้องใช้เงินทุน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต คนไม่มีความรู้ที่จะไปหาเงินมีแต่แรงงานก็จะขายแรงงานอย่างเดียวทุกวันไม่มีโอกาสหารายได้ทางอื่น ซึ่งค่าแรงงานทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะไม่พอกับการดำรงชีวิตเสียแล้ว แม้มีที่ดินทำกินบรรพษุรุษให้มา พ่อแม่ยกให้มีหนังสือแสดงสิทธิว่าฉันเป็นเจ้าของในการทำกินในแปลงนี้แต่พวกเขาก็ต้องการใช้เงิน เมื่อไม่มีความรู้ มีแต่แรงงานก็ขายแรงงานใช้หนี้ โดยปล่อยให้เขาบริหารชีวิตเพื่อแลกกับเงินที่ไปขอยืมมาต่อมาพัฒนาการมาเป็นเสียดอกเบี้ย ซึ่งทางการเป็นผู้กำหนดหรือควบคุมอัตราดอกเบี้ย ที่พูดมาต้องการให้มองเห็นว่านี่คือ ต้นเหตุของความยากจน เมื่อกู้เขามาแล้วมาลงทุนประกอบอาชีพต่าง ๆ อัตราเสี่ยงสูง บางปีได้กำไรบางปีขาดทุน การเปลี่ยนแปลงโลกการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม ระบบทุนนิยมเข้ามา สังคมเจริญขึ้นแต่คนไม่ได้พัฒนา พื้นฐานความรู้แตกต่างกันมาก จึงเกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยมาก ไม่มีเงิน ไม่มีทุน ต้องนำหลักทรัพย์ของตนเองไปจำนองขอกู้ยอมเสียดอกเบี้ย เพราะเจ้าหนี้ไม่ได้ใช้แรงงานคืนหนี้เหมือนเมื่อก่อน จึงต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ความสัมพันธ์ต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป แต่บุญคุณไม่มีวันหายในใจคนไทยที่มีคุณธรรม ลูกหนี้จึงมองเจ้าหนี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีบารมี คอยพึ่งบารมี ไม่มีเงินไม่ว่าแต่ขออยู่ใกล้คอยรับใช้
หนี้ในระบบ เป็นการกู้ยืมเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ลูกหนี้ทำกับสถาบันการเงินหรือ
ธนาคารที่มีกฎหมายรับรองและควบคุมอยู่ โดยมีการทำสัญญากู้ยืมไว้เพื่อเป็นหลักฐานการกู้ มีจำนวนหนี้
และอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน โดยลูกหนี้จะได้รับเงินตามที่ระบุในสัญญา และเจ้าหนี้ก็เรียกเก็บดอกเบี้ยไม่เกินที่กฎหมายกำหนด โดยกรณีที่เจ้าหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราร้อยละ ๑๕ต่อปี ซึ่งจะแตกต่างไปจากเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น บริษัท อิออน บริษัท จีอี แคปปิตอล เป็นต้น โดยสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี และเมื่อรวมกับค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๒๘ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการประกอบธุรกิจได้
หนี้นอกระบบ หมายถึงหนิ้สินที่เกิดจากการไปขอกู้จากเจ้าหนี้ที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าหนี้เหล่านี้คือเจ้าหนี้ที่ไม่มีกฎหมายมารองรับและกฎหมายก็ไม่รองรับลูกหนี้ที่ไปกู้เงินจากนอกระบบด้วยเช่นกัน ลูกหนี้ส่วนมากที่ไปกู้หนี้จากเจ้าหนี้นอกระบบเนื่องจากพวกเขาคิดว่าพวกเขาไม่สามารถที่จะไปทำการกู้จากสถาบันการเงินที่เป็นของรัฐได้ เนื่องจากผู้กู้เหล่านั้นส่วนมากเป็นผู้กู้ที่เป็นคนมีความรู้น้อยมีอาชีพหาเช้ากินค่ำ กรรมกร ค้าขาย ชาวนา ชาวไร่ มีรายได้น้อยและที่สำคัญคือไม่มีข้อมูลทางการเงินหรือประวัติทางการเงินกับสถาบันการเงินใดๆ หากจะต้องทำเรื่องกู้เงินจากแหล่งกู้เงินที่เป็นสถาบันที่กฎหมายรับรองแล้วนั้นก็อาจจะเกิดความท้อแท้เนื่องจากติดที่กฎระเบียบหรือเงื่อนไขที่ยุ่งยากอีกทั้งการกรอกแบบฟอร์มหรือใบสมัครก็เป็นเรื่องยากสำหรับคนที่มีความรู้น้อย

ความแตกต่างระหว่างหนี้ในระบบกับหนี้นอกระบบ
1. หนี้ในระบบจะมีกฎหมายควบคุม บุคคลผู้เกี่ยวข้องทุกฝุายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้
ผู้ค้ำประกัน ฯลฯ จะต้องปฏิบัติและได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างยุติธรรม กฎเกณฑ์ กติกา เงื่อนไขและข้อบังคับต่าง ๆ ของหนี้ในระบบจะมีความยุติธรรมไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับหนี้ เช่น ปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ ก็จะมีขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินการตามกฎหมายที่ชัดเจนตรงไปตรงมา หนี้ในระบบหากฟูองคดีแล้วก็จะมีการบังคับจำนองหรือขายทอดตลาดหลักประกันไปตามขั้นตอน ทั้งฝุายลูกหนี้และเจ้าหนี้ก็ได้รับโอกาสที่จะต่อสู้กันในศาลได้อย่างเท่าเทียมกันไม่มีความเหลื่อมล้ำและอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกัน
2. หนี้นอกระบบ ลูกหนี้ที่เป็นหนี้นอกระบบส่วนมากเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้และไม่สามารถ
กู้ยืมในระบบได้ จึงต้องใช้บริการของหนี้นอกระบบที่เจ้าหนี้นอกระบบจะเป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์กติกา
เงื่อนไขต่าง ๆ ตามความพอใจ การเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหนี้นอกระบบ เริ่มตั้งแต่การปล่อยกู้มักจะปล่อยกู้โดยไม่มีสัญญาหรือหลักฐานใด ๆ แล้วมีการเรียกเก็บเงินเป็นการผ่อนชำระรายวัน ดอกเบี้ยที่คิดจากลูกหนี้จะสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของหนี้ในระบบมาก
3. หนี้นอกระบบในรายที่มีการทำสัญญาเงินกู้ เจ้าหนี้มักจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดโดย
อาศัยช่องว่างหรือจุดอ่อนของลูกหนี้ที่ไม่รู้หนังสือและไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย ลูกหนี้นอกระบบส่วนมากจึงต้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ เช่น การถูกเรียกดอกเบี้ยจากเจ้าหนี้นอกระบบสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดมากการระบุจำนวนเงินในสัญญาเงินกู้สูงกว่าความเป็นจริง หรือการทำสัญญาจดทะเบียนจำนองหรือขายฝากด้วยยอดเงินที่สูงกว่าความเป็นจริง เป็นต้น
4. ลูกหนี้ที่เป็นหนี้นอกระบบตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบแก่เจ้าหนี้นอกระบบอย่างมาก คือ
ลูกหนี้ที่ต้องการกู้เงินจากเจ้าหนี้นอกระบบต้องไว้ใจ เชื่อใจเจ้าหนี้ โดยการลงลายมือชื่อในสัญญาเงินกู้โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาเงินกู้ว่าถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ บางรายด้วยความ
เดือดร้อนมีความจำเป็นต้องใช้เงินอาจต้องยอมลงลายมือชื่อในสัญญาเงินกู้ที่ว่างเปล่า ซึ่งหากลูกหนี้ทักท้วงหรือไม่ยินยอม เจ้าหนี้จะอ้างความไว้วางใจ ในที่สุดลูกหนี้ก็มักจะต้องยินยอมกับความไม่เป็นธรรมดังกล่าวของเจ้าหนี้นอกระบบอย่างไรก็ตาม ลูกหนี้ที่เลือกการเป็นหนี้นอกระบบมักจะประสบกับความสูญเสียต่าง ๆ ทั้งทรัพย์สิน ได้รับบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต เนื่องจากเจ้าหนี้นอกระบบมักมีวิธีการติดตามหนี้โดยผู้มีหน้าที่ติดตามทวงหนี้จะใช้วิธีรุนแรง ซึ่งมักเป็นผู้มีอิทธิพล ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
นายทุนที่ลงทุนในการปล่อยหนี้นอกระบบให้กับคนระดับรากหญ้านั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าเนื่องจากนายทุนที่ปล่อยเงินกู้นั้นจะให้กู้เงินได้ง่ายโดยการไม่ต้องกรอกแบบฟอร์ม ไม่ต้องมีประวัติทางการเงิน ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน ซึ่งสะดวกสบายในการกู้เงินมากกว่าที่จะกู้จากสถาบันที่กฎหมายรองรับ แม้ว่าเงื่อนไขในการกู้จากนอกระบบนั้นจะถูกกำหนดโดยเจ้าหนี้ฝ่ายเดียวและเป็นการเสียดอกเบี้ยที่มากกว่ากู้จากสถาบันแล้วนั้นแต่ด้วยเหตุผลที่การกู้จากนอกระบบนั้นสามารถทำได้ง่ายกว่าจึงทำให้คนระดับรากหญ้าที่ต้องการจะกู้เงินส่วนมากยอมเป็นหนี้จากนายทุนนอกระบบมากกว่าสถาบันการเงินต่างๆ


สาเหตุของการเป็นหนี้
สาเหตุของการเป็นหนี้จากผลสำรวจของสวนดุสิต โพลล์ พบว่าประชาชนเป็นหนี้นอกระบบเพราะเศรษฐกิจไม่ดีมากที่สุด คิดเป็น 44.97% รองลงมาคือปัญหาเงินขาดมือไม่พอใช้จ่าย 15.89% รายได้ไม่พอใช้เนื่องจากมีภาระรับผิดชอบมาก 15.31% ไม่มีเครดิตพอที่จะกู้กับธนาคารเพื่อนำเงินไปลงทุนได้ 13.03% และหยิบยืมได้สะดวกไม่ต้องมีขั้นตอนยุ่งยาก 10.80%    ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่าสาเหตุของการเป็นหนี้ทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ คือ 30% ก่อหนี้เพื่อซื้อทรัพย์สิน 18.3% ก่อหนี้เพื่อลงทุน และ 7.9% ซื้อบ้าน อีก 1.1% ก่อหนี้ด้วยเหตุผลอื่น
   จากผลการสำรวจเหตุของการเป็นหนี้เราสามารถจะจำแนกเป็นเหตุผลหลักๆ ได้ดังนี้
- ยากจนเนื่องจากไม่เงินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต หรือยากจนเพราะการล้มละลายของการลงทุนทำมาหากิน เช่น ทำนาแล้วน้ำท่วม ผลผลิตตกต่ำ ผลตอบแทนไม่คุ้มกับการลงทุน
 -ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว หารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และวัตถุนิยมมากเกินไป เช่น ซื้อรถ ซื้อบ้านราคาแพง กินอยู่หรูหราเกินฐานะ
 -พฤติกรรม หมุนหนี้คือลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้หนึ่งไปใช้คืนแหล่งกู้ยืมอีกแห่งหนึ่งที่เร่งรัดมากกว่า กลายเป็นหนี้สินที่พอกพูนไม่รู้จบ
 -ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้องปิดกิจการและเกิดการว่างงานขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนต้องประสบกับปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ที่ยังคงเท่าเดิมหรือลดน้อยลง บางรายถูกปลดออกจากงาน จนทำให้สูญเสียรายได้ไป
                จากสภาพปัญหาดังกล่าว   ส่งผลให้ประชาชนต้องมองหาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพื่อนำมาดำรงชีวิตให้อยู่รอดซึ่งจากการกู้เงินนั้นต้องประสบกับปัญหาการเรียกดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติหลายเท่าตัวและยังถูกทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรมอีกด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปด้วยวิธีการที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การใช้คำพูดที่หยาบคาย ข่มขู่ กรรโชก หรือประจานให้อับอาย บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาสังคมที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีรูปแบบการทวงหนี้แปลกๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการทำนิติกรรมอำพราง เช่น การเช่าซื้อทองเพื่อเป็นการอำพรางการกู้ยืม และมีการเก็บดอกรายวัน ถ้าไม่ชำระก็จะมีการข่มขู่ทำร้ายร่างกาย ซึ่งลูกหนี้บางรายเจอปัญหาอย่างนี้ กดดันมากถึงขั้นฆ่าตัวตายก็มี และกลุ่มนี้ทำเป็นขบวนการ มีการรุกคืบเข้าไปในต่างจังหวัด โดยลักษณะเป็นโต๊ะหรือศูนย์ย่อยที่เป็นสาขาของเจ้าหนี้ไปปล่อยกู้ในจังหวัดต่างๆ

วิธีแก้ไขปัญหา
การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจึง ไม่ใช่แค่การปราบปรามเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบเพียงอย่างเดียว แต่ควรเน้นการแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา สร้างความรู้ ความคิด และความเข้าใจ ให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงในรูปแบบต่างๆ และเมื่อถูกฟ้องแล้วจะมีช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร ประเด็นสำคัญภาครัฐต้องมีมาตรการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อลดความเหลือมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องจริงจังทั้งนี้ ผลการศึกษา  เสนอ แนวทางเพื่อเป็นการสร้างความเป็นธรรมอันเนื่องมาจากปัญหาหนี้นอกระบบ คือ
1.การพัฒนาศักยภาพประชาชน โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดำรงชีพด้วยวิถีพอเพียง เข้าถึงสินเชื่อของระบบสถาบันการเงิน และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายและเรียนรู้ความเสี่ยงในการเข้าสู่วงจรหนี้นอกระบบ 
2.การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม สนับสนุนให้เข้ามามีส่วนร่วม เช่น การรวมกลุ่มกันเป็นอาสาสมัคร การแจ้งเบาะแสป้องกันอาชญากรรม และมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม  3.การบังคับใช้กฎหมาย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกำกับดูแลตามกรอบอำนาจโดยเคร่งครัดและกรณีที่มีการละเมิดต่อกฎหมายจะต้องดำเนินมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังทันทีโดยเฉพาะเจ้าหนี้นอกระบบที่ใช้อำนาจอิทธิพลข่มขู่เป็นขบวนการ
4.การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม  ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกหนี้ผู้ด้อยโอกาสและถูกละเมิดต่อกฎหมายให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทั้งทางแพ่งอาญาอย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและเป็นธรรม 
5.หน่วยงานภาครัฐเช่นกระทรวงการคลัง หรือสถาบันการเงินของรัฐควรมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงระบบสินเชื่อได้อย่างง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ หน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้องต้องมีส่วนในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่เพื่อให้หลุดพ้นจากวงจรหนี้นอกระบบ 
6. องค์กรจัดการ  การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังไม่เป็นองค์รวมขาดความต่อเนื่อง  ขาดผู้รับผิดชอบหลัก  มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ มีลักษณะต่างคนต่างทำเฉพาะบทบาทหน้าที่ของตนเอง  ขาดการบูรณาการ  มีข้อเสนอควรจัดรูปแบบองค์กรในระดับชาติที่มีหน้าที่ทำยุทธศาสตร์ชาติและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ลดขั้นตอน ลดความซ้ำซ้อน มีกระบวนการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จ รวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ที่กล่าวมาถือเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือร่วมใจแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ  ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะสื่อสารมวลชน ควรมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือและตีแผ่ความไม่ถูกต้องชอบธรรม เพื่อให้สังคมได้รับรู้และช่วยผลักดันอีกทางหนึ่ง

วิธีลดความรุนแรงของการทวงหนี้
1. การผิดชำระหนี้ของลูกหนี้ให้ชี้แจงเหตุผลด้วยความจริงใจต่อเจ้าหนี้ ลูกหนี้บางคนจ่ายชำระหนี้ช้ากว่ากำหนดแต่ยังคงจ่ายอยู่ ลูกหนี้ไม่ได้ตั้งใจที่จะไม่จ่าย เพราะคำว่าผิดชำระหนี้คือการที่ผิดนัดการชำระหนี้โดยการจ่ายหนี้ไม่ตรงตามกำหนด เช่น นัดชำระหนี้ทุกสิ้นเดือนแต่จะด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ทำให้ไม่สามารถที่จะไปจ่ายหนี้ให้ตรงกับวันที่กำหนดไว้ได้แต่โดยทั่วไปการจ่ายชำระหนี้ล่าช้าไป 2-3วัน หรือหนึ่งอาทิตย์ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ฝ่ายเจ้าหนี้ขอเพียงแค่ให้ลูกหนี้จ่ายชำระเท่านั้นจะตรงกำหนดหรือมีผิดพลาดจ่ายล่าช้าไปบ้างก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติอะไร หากลูกหนี้ขาดการวางแผนการเงินที่ดีบางครั้งการผิดนัดชำระหนี้อาจเกิดจากเหตุสุดวิสัยทำให้จ่ายชำระหนี้ช้ากว่ากำหนด เช่น เจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลกะทันหัน เป็นต้น หากเกิดความผิดพลาดเช่นนี้แล้ว จะต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้ไม่เสียเครดิตต่อเจ้าหนี้
ฝ่ายเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้เข้ามาหาแล้วชี้แจงเหตุผลในการจ้ายหนี้ล่าช้าแม่จะเป็นเหตุผลข้างๆคูๆ ก็ยังดีกว่าที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วให้เจ้าหนี้เป็นฝ่ายติดตามอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าลูกหนี้มีการเตรียมคำพูดและเหตุผลดีๆไว้แก้ตัวกับเจ้าหนี้แล้วนั้นยิ่งทำให้เจ้าหนี้มองลูกหนี้ด้วยความชื่นชมและดีไม่ดีจะยิ่งทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่เจ้าหนี้อีกด้วยทั้งๆที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดชำระหนี้ การให้เหตุผลหรือแก้ตัวหากลูกหนี้มีเอกสารประกอบจะยิ่งทำให้คำแก้ตัวนั้นมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้นเช่น ให้เหตุผลว่าจ่ายชำระหนี้ช้าเพราะเกิดอุบัติเหตุเข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 2 เดือน ทำให้ชำระหนี้ล่าช้าแล้วมีเอกสารจากโรงพยาบาลมาประกอบ เช่น ใบรับรองแพทย์ เป็นตัน แต่พออกจากโรงพยาบาลก็รีบติดต่อเจ้าหนี้ทันที การกระทำเช่นนี้ทำให้ลูกหนี้ดูดีขึ้นในสายตาเจ้าหนี้ทันที

2. เจรจาประณีประนอมหนี้ เป็นวิธีและเป็นความคิดที่ดีแต่การจะตัดสินใจเข้าเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้นั้นลูกหนี้ต้องพิจารณาความพร้อมของตัวเองก่อน การเจรจาประนอมหนี้มักเกิดจากการที่ลูกหนี้มีภาระหนี้สินจนไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขเดิมที่ตกลงไว้กับเจ้าหนี้แต่ตัวลูกหนี้ไม่คิดหนีและมีความตั้งใจที่จะจ่ายชำระหนี้ต่อไปเพียงแต่ความสามารถในการชำระหนี้ที่ลดลงทำให้ต้องขอเข้าเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอประณีประนอมหนี้
การเจรจาประนอมหนี้นั้นหากมองให้ดีจะเห็นว่ามีข้อดีข้อเสียสำหรับทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของเจ้าหนี้และความตั้งใจ ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เจ้าหนี้จะได้รู้ว่าลูกหนี้รายนี้เริ่มมีปัญหาทางการเงิน ทำให้เจ้าหนี้สามารถหาทางจัดการด้วยการเสนอเงื่อนไขที่ผ่อนปรนอย่างเหมาะสมให้แก่ลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้สามารถจ่ายชำระหนี้ต่อไปได้โดยไม่เสียเครดิตและฝ่ายเจ้าหนี้ก็ไม่ต้องมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามหรือดำเนินการทางการฟ้องร้องซึ่งเสียเวลาและค่าใช้จ่ายแถมยังไม่แน่ใจว่าจะได้เงินคืนมาหรือไม่
ข้อควรระวังในการประณีประนอมหนี้คือ ลูกหนี้ต้องมั่นใจว่าหลังจากการเจรจาประนอมหนี้จนได้เงื่อนไขการจ่ายชำระและสัญญาฉบับใหม่มาแล้วนั้นจะสามารถทำตามเงื่อนไขที่ตกลงกันได้ตลอดจนหมดอายุสัญญา และการจ่ายชำระหนี้สินรายเดือนเป็นภาระต่อเนื่องที่ต้องรับผิดชอบในระยะยาว ลูกหนี้ต้องคิดคำนวณรายได้ส่วนที่เหลือหลังจากการจ่ายชำระหนี้แล้วว่าจะพอสำหรับเลี้ยงชีพครอบครัวให้อยู่ได้ในระยะยาวหรือไม่ ลูกหนี้อาจมีก๊อกสองด้วยการหางานพิเศษหรือค้าขายหลังเวลาเลิกงานหรือทำงานพิเศษเพิ่มในวันหยุดเพื่อหารายได้เพิ่มเพื่อแก้ปัญหาหนี้สิน แต่อย่าลืมว่าต้องยืนระยะค่อนข้างนานแล้วจะได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ ข้อควรระวังอีกอย่างในการเจรจาประนอมหนี้คือ หลังจากทำสัญญาประนอนหนี้แล้วหากลูกหนี้ไม่สามารถทำตามสัญญาได้คือผ่อนชำระไม่ไหวอีก คราวนี้เจ้าหนี้สามารถที่จะฟ้องบังคับหนี้ได้ทันทีและศาลก็จะพิจารณาตามยอดที่เจ้าหนี้ฟ้องด้วยเพราะศาลเห็นว่าเจ้าหนี้ได้ให้โอกาสแก่ลูกหนี้แล้วจากการเจรจาประนอมหนี้โดยลูกหนี้เป็นฝ่ายเห็นด้วยในข้อตกลงหรือเงื่อนไขใหม่แล้ว
ในการเจรจาประนอมหนี้ หากมีหนี้สินจำนวนมากและเจ้าหนี้ผ่อนปรนหรือช่วยเหลือน้อยมาก ลูกหนี้ไม่ควรเสี่ยงที่จะยอมรับข้อตกลงจากการเจรจาประนอมหนี้ที่ไม่เป็นประโยชน์กับฝ่ายลูกหนี้เพราะรู้ดีอยู่แล้วว่าหากลูกหนี้ยอมรับเงื่อนไขใหม่โอกาสที่จะผิดสัญญาสูง สรุปว่าในการเจรจาประนอมหนี้ ลูกหนี้ต้องคิดให้รอบคอบและประเมินความสามารถของตนเองว่าจะสามารถผ่อนชำระตามสัญญาใหม่ได้จนครบตามสัญญาหรือไม่ หากไม่มั่นใจยอมปล่อยให้เจ้าหนี้ฟ้องศาลไปตามกระบวนการยุติธรรมจะดีกว่า

3. วิธีการรับมือการทวงหนี้โหด ไม่ได้แนะนำให้เบี้ยวหนี้ ชักดาบ ไม่ยอมจ่ายหนี้แต่ให้นำไปใช้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ซึ่งส่งนักทวงหนี้มาใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายเช่น อ้างกฎหมายมาข่มขู่ รบกวนเวลาทำงาน ทำให้เสียชื่อเสียง เป็นต้น เพื่อเป็นการปกป้องตัวลูกหนี้เองให้รอดพ้นจากการทวงหนี้โหดที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นลูหนี้จึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินบ้าง แต่ไม่ต้องถึงกับท่องจำกฎหมายมาตราต่างๆได้ แค่เอาให้รู้ว่าการทวงหนี้ที่นักทวงหนี้ปฏิบัติตต่อลูกหนี้ในลักษณะใดบ้างที่เข้าข่ายการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายเพื่อจะได้เตรียมรับมือกับเหล่านักทวงหนี้ได้อย่างเหมาะสมในทำนอง รู้เขา รู้เรา จะได้ไม่ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบเจ้าหนี้และปกป้องรักษาสิทธิ์ของลูกหนี้ไว้
ก่อนจะคุยกับนักทวงหนี้ ให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกก่อนโดยการสอบถาม ชื่อ-นามมสกุลจริงของคนที่มาทวงหนี้ก่อนและที่สำคัญต้องขอเบอร์โทรศัพท์สำนักงานที่เขาทำงานอยู่ รวมถึงชื่อสำนักงานของนักทวงหนี้เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ให้ลูกหนี้เป็นฝ่ายรุกมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ ส่วนมากการคุยกันระหว่างลูกหนี้กับนักทวงหนี้มักจะคุยกันไม่รู้เรื่องและมักจะมีปัญหาเรื่องการมีปากเสียงหรือจบลงด้วยการทะเลาะกัน อาจมีการใช้ถ้อยคำที่รุนแรงที่ฝ่ายนักทวงหนี้หลุดได้บ่อยๆ ดังนั้นการสอบถามข้อมูลจริงๆของนักทวงหนี้จึงมีโอกาสสูงที่นักทวงหนี้จะไม่บอกเพราะเขากลัวความผิดทางกฎหมายเหมือนกันถ้าเขาเผลอข่มขู่หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงกับลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้อาจรับมือหรือตอบโต้กับนักทวงหนี้ได้โดยการตามเอาเรื่องจนถึงสำนักงานของนักทวงหนี้เลยก็ได้ นอกจากจะตามหนี้ไม่ได้แล้วยังต้องมีคดีความติดตัวอีก ไม่คุ้มแน่นอนสำหรับการบอกรายละเอียดของนักทวงหนี้เอง  ถ้านักทวงหนี้ไม่ยอมบอกรายละเอียดของตัวเขาก็เข้าทางให้ลูกหนี้ถือโอกาสตัดบทไม่คุยด้วยหรือถ้านักทวหนี้ให้รายละเอียดมาก็ให้ลูกหนี้โทรย้อนกลับไปเป็นการตรวจสอบได้เลย
นักทวงหนี้จำนวนไม่น้อยที่มักจะทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวลูกหนี้เช่น พ่อ แม่(ซึ่งอายุมากแล้ว) ญาติ พี่น้อง(ที่ไม่รู้เรื่องด้วย) หรือเพื่อนร่วมงาน การทวงหนี้ในลักษณะนี้เข้าข่ายหมิ่นประมาทผิดกฎหมายแน่นอน ลูกหนี้สามารถฟ้องร้องได้ การรับมือกับการทวงหนี้ในลักษณะนี้ให้อธิบายให้คนใกล้ชิดเข้าใจว่า หนี้สินของเรานักทวงหนี้ไม่สามารถติดตามหรือทวงหนี้จากคนอื่นได้ คนใกล้ตัวเราจะได้ไม่ตกใจและหากพวกเขารู้สถานการณ์ว่าอะไรเป็นอะไรสามารถจับต้นชนปลายถูกก็จะได้ช่วยตอกกลับพวกนักทวงหนี้โหดที่ไม่รู้จักกาลเทศะได้อีกทางหนึ่ง

โครงการบัตรลดหนี้แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ
โครงการบัตรลดหนี้ บัตรลดหนี้ วินัยดีมีวงเงินถึงมือประชาชนที่เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ เพื่อใช้ในการชำระหนี้แก่ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการในอัตราดอกเบี้ยต่ำ พร้อมรับวงเงินสำรองฉุกเฉินหากมีวินัยในการชำระคืนหนี้ในแต่ละเดือนอย่างครบถ้วนและต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี 
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับผิดชอบการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบธนาคาร โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบไม่เกิน 200,000 บาทมาลงทะเบียนเข้าโครงการตั้งแต่วันที่ 1-30 ธันวาคม 2552 เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปลงหนี้นอกระบบกลับเข้าสู่ระบบธนาคาร จนถึงขณะนี้ทางโครงการได้ช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบไปแล้วกว่า 500,000 คน ลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ประชาชนได้กว่า 3,000 ล้านบาทต่อเดือน
ผู้เข้าร่วมโครงการนอกจากจะสามารถชำระคืนหนี้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำคือร้อยละ 1 ต่อเดือน ระยะเวลาในการผ่อนชำระนานถึง 8 ปี และได้รับการประกันชีวิตฟรีทุกรายแล้ว ขณะนี้กระทรวงการคลังได้ส่งมอบบัตร บัตรลดหนี้ วินัยดีมีวงเงินให้กับประชาชนที่โอนหนี้เข้าระบบ เพื่อใช้ในการชำระหนี้ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารที่ร่วมโครงการ และเมื่อผ่อนชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทุกเดือนครบ 1 ปี ถือว่าเป็นผู้มีวินัยทางการเงินดี ทางธนาคารจะมีวงเงินสำรองฉุกเฉินให้ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำบัตรลดหนี้ไปเบิกเงินดังกล่าวจากตู้เอทีเอ็มของธนาคารที่ร่วมโครงการ เพื่อให้ประชาชนมีเงินไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น ไม่ต้องไปกู้หนี้นอกระบบอีก เป็นการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน
วงเงินสำรองฉุกเฉินจะมีจำนวนเท่ากับครึ่งหนึ่งของเงินที่ผู้เข้าร่วมโครงการชำระคืนในแต่ละปี และผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเบิกเงินสำรองฉุกเฉินด้วยบัตรลดหนี้ได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี หากไม่ได้เบิกไปใช้ วงเงินดังกล่าวก็จะไปสมทบกับวงเงินในปีถัดไป สามารถสะสมได้ 4 ปี เงินสำรองที่เบิกมาใช้จะถือเป็นหนี้ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการกับธนาคารในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธนาคารเอส.เอ็ม.อี.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอาคารสงเคราะห์ อย่างไรก็ตาม บัตรลดหนี้สามารถใช้ชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์และเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มได้ทุกธนาคารข้างต้น ยกเว้นธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารเอส.เอ็ม.อี.
ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องคดี
ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องคดี เมื่อมีหมายศาลส่งมาถึงบ้านแล้ว อย่าทำเพิกเฉย ให้เตรียมตัวไปศาลตามนัดในหมายศาล เหตุผลในการไปศาลคือลูกหนี้ต้องสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์และความถูกต้องของตนเอง การที่ลูกหนี้ไม่ไปศาลมีแต่จะเสียเปรียบเจ้าหนี้ทำให้เหตุการณ์แย่หนักกว่าเดิม ให้ลูกหนี้จำไว้เลยว่ายังไงก็ต้องไปศาลอย่าเพิกเฉยเพราะหากลูกหนี้ไม่ไปศาล ศาลจะตัดสินไปตามคำฟ้องที่เจ้าหนี้ยื่นต่อศาล
เมื่อลูกหนี้ได้รับหมายศาล ให้ดูรายละเอียดตามหมายนัดของศาลว่าให้ไปศาลไหน(สถานที่) วัน เวลา ต้องไปให้ถูกต้องตรงวัน ถ้ามีเหตุจำเป็นในวัน-เวลาที่ศาลนัดให้ติดต่อขอเลื่อนการพิจารณาคดีออกไปได้ อย่ากลัวที่จะไปศาล ยอมเสียเวลาไปศาลเพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวลูกหนี้เอง การไปศาลครั้งแรกของลูกหนี้ย่อมมีความวิตกกังวลและกลัว ขอให้รู้ไว้ว่าการไปศาลไม่ใช่เรื่องแปลกโดยเฉพาะการไปศาลตามคดีแพ่ง รับรองว่าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายอย่างแน่นอน
ก่อนไปขึ้นศาล ลูกหนี้ต้องทำการบ้านสักนิดคือ ตรวจสอบรายละเอียดและความถูกต้องในหมายศาล นั่นคือสำนวนที่โจทก์(เจ้าหนี้)ฟ้องลูกหนี้ในเรื่องต่อไปนี้คือ คดีความหมดอายุหรือยัง ดูจำนวนเงิน(ยอดหนี้)ที่ฟ้องว่าถูกต้องหรือว่าฟ้องเกินยอดหนี้จริงหรือไม่ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม เบี้ยปรับต่างๆ ในการที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้สูงกว่าที่ตกลงในสัญญาหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ดูว่าสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากมีสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงลูกหนี้มีสิทธิ์ทักท้วงหรือร้องต่อศาลได้ แต่ลูกหนี้จะพูดลอยๆไม่ได้ต้องมีหลักฐานเป็นเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบ การทักท้วงเป็นการยื้อเวลาไปได้อีกนานพอสมควร

การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
การเรียกดอกเบี้ยในหนี้เงินที่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปีนั้น นักศึกษามักเข้าใจผิด หรือเข้าใจไม่เด็ดขาดระหว่าง ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ ๑๕ ตาม ปพพ. มาตรา ๖๕๔ กับ เป็นโมฆะตาม ตามพรบ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งหากไม่เข้าใจอย่างแท้จริงจะเข้าใจว่า กฎหมายนั้นขัดกันเอง ในความจริง หาได้ขัดกันไม่ เพราะ การใช้มาตรา ๖๕๔ นั้น ไม่ใช้กับหนี้เงิน ขอให้นักศึกษาพิจารณาตัวบทมาตรา ๖๕๔ มีคำไหนหรือไม่ที่มีบัญญัติเรื่องหนี้เงิน และโดยเฉพาะ มาตรา ๖๕๔ นั้นอยู่ในหมวดยืมใช้สิ้นเปลือง มิใช่กู้ยืมเงิน แม้จะมี มาตรา ๖๕๓ รวมอยู่ในหมวดดังกล่าวด้วย เพราะกู้ยืมเงินเป็นยืมใช้สิ้นเปลือง แต่ยืมใช้สิ้นเปลืองมิใช่กู้ยืมเงิน ส่วน พรบ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราใช้เฉพาะกู้ยืมเงินเท่านั้น
มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี
จะเห็นได้ชัดว่า มาตรา ๖๕๔ มิได้บัญญัติเรื่องกู้ยืมเงินไว้เลย ดังนั้น หนี้ที่จะลดดอกเบี้ยเป็นร้อยละ ๑๕ ได้นั้นต้องไม่ใช่หนี้เงิน เช่น ยืมข้าวสาร ๑๐ ถ้วย คิดดอกเบี้ยร้อยละ ๒๐ ต้องคืนดอกเบี้ยพร้อมต้น ๑๒ ถ้วย แต่เมื่อดอกเบี้ยเกินร้อยละ ๑๕ ต้องลดลงเหลือร้อยละ ๑๕ คือ คืนดอกเบี้ยแค่ถ้วยครึ่งรวมเป็น ๑๑ ถ้วยครึ่ง เป็นต้น
ตาม พรบ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕
มาตรา ๓ บุคคลใด
(ก) ให้บุคคลอื่นยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือ
(ข) เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราท่านบัญญัติไว้ในกฎหมาย บังอาจกำหนดข้อความอันไม่จริงในเรื่องจำนวนเงินกู้หรืออื่นๆ ไว้ในหนังสือสัญญา หรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้ หรือ
(ค) นอกจากดอกเบี้ย ยังบังอาจกำหนดจะเอา หรือรับเอาซึ่งกำไรอื่นเป็นเงินหรือสิ่งของ หรือโดยวิธีเพิกถอนหนี้ หรืออื่นๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืม
ท่านว่าบุคคลนั้นมีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
เห็นได้ชัดว่า มาตรา ๓ ระบุชัดว่าเป็นการให้กู้ยืมเงิน ดังนั้น หากคิดดอกเบี้ยในหนี้กู้ยืมเงินเกินร้อยละ ๑๕ ต้องบังคับตาม พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งมีผลให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะ

สรุป
หนี้สินที่เกิดขึ้นกับลูกหนี้ทั้งหลายอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆคือหนี้ในระบบกับหนี้นอกระบบ หนี้ในระบบเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ทำกับสถาบันการเงินหรือธนาคารที่มีกฎหมายรับรองและควบคุมอยู่ ส่วนหนี้นอกระบบเป็นหนี้ที่เกิดจากลูกหนี้ไม่สามารถกู้กับสถาบันการเงินหรือธนาคารได้จึงต้องเลี่ยงไปใช้บริการหนี้นอกระบบ ความแตกต่างระหว่างหนี้ในระบบกับหนี้นอกระบบมีดังนี้คือ
หนี้ในระบบจะมีกฎหมายควบคุมอยู่ ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกัน ฯลฯ จะต้องปฏิบัติและได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างยุติธรรม กฎเกณฑ์ กติกา เงื่อนไขและข้อบังคับต่างๆ ของหนี้ในระบบจะมีความยุติธรรมไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เมื่อมีปัญหาหนี้สินเช่นปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาก็มีขั้นตอนและกระบวนการในการดำเนินการตามกฎหมายที่ชัดเจนแบบตรงไปตรงมา หนี้ในระบบหากฟ้องร้องแล้วก็จะมีการบังคับจำนองหรือขายทอดตลาดสินทรัพย์หรือหลักประกันไปตามขั้นตอน ทั้งฝ่ายลูกหนี้และเจ้าหนี้ก็ได้รับโอกาสที่จะต่อสู้กันในศาลได้อย่างเท่าเทียมกันไม่มีความเหลื่อมล้ำและอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกัน             
หนี้นอกระบบ ลูกหนี้ที่เป็นหนี้นอกระบบส่วนมากเป็นคนที่ไม่มีความรู้และไม่สามารถกู้หนี้ในระบบได้ จึงต้องหันไปใช้บริการของหนี้นอกระบบที่เจ้าหนี้นอกระบบจะเป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์ กติกา เงื่อนไขต่างๆตามความพอใจ การเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าหนี้นอกระบบ เริ่มตั้งแต่การปล่อยกู้มักจะปล่อยกู้โดยไม่มีสัญญาหรือหลักฐานใดๆแล้วมักตามเก็บเงินค่าผ่อนชำระรายวัน ดอกเบี้ยที่คิดจากลูกหนี้ก็แพง(อย่างโหด)กว่าอัตราดอกเบี้ยของหนี้ในระบบมาก

หนี้นอกระบบในรายที่มีการทำสัญญาเงินกู้ เจ้าหนี้มักจะเป็นผู้กำหนดรายละเอียดโดยอาศัยช่องว่างหรือจุดอ่อนของลูกหนี้ที่ไม่รู้หนังสือ ไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย ลูกหนี้นอกระบบส่วนมากจึงต้องพบกับปัญหาต่างๆดังนี้เช่น การถูกคิดดอกเบี้ยจากเจ้าหนี้นอกระบบแพงกว่าปกติ การเขียน(จำนวนเงิน)สัญญาเงินกู้เกินจริง การทำสัญญาจดจำนองหรือขายฝากด้วยยอดเงินที่สูงกว่าความเป็นจริง
ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ลูกหนี้ตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบแก่เจ้าหนี้นอกระบบอย่างมากคือ ลูกหนี้ที่ต้องการกู้เงินจากเจ้าหนี้นอกระบบต้องไว้ใจ เชื่อใจเจ้าหนี้ โดยการเซ็นชื่อในสัญญาเงินกู้โดยที่ไม่ได้ดูรายละเอียดในสัญญาเงินกู้ว่าถูกต้องตรงตามความเป็นจริงหรือไม่ บางรายด้วยความเดือดร้อนมีความจำเป็นต้องใช้เงินถึงกับต้องยอมเซ็นชื่อในสัญญาเงินกู้ที่ว่างเปล่า หากลูกหนี้ทักท้วงหรือมีปัญหาก็จะเจอกับคำพูดที่ว่า แค่นี้ไม่ไว้ใจกัน ไม่เอาก็ไม่เป็นไรเจอไม้นี้เข้าลูกหนี้ก็เสร็จเจ้าหนี้นอกระบบทุกราย
ลูกหนี้ที่เลือกทางเดินการเป็นหนี้นอกระบบมักจะจบลงด้วยเลือดและน้ำตา สูญเสียทรัพย์สินที่อุตส่าห์เก็บออมมา เจ้าหนี้นอกระบบมักมีวิธีการทวงหนี้โดยทีมงานทวงหนี้ที่น่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่สารพัด ทำร้ายร่างกาย ลูกหนี้สาวๆหน้าตาดีๆก็ต้องเอาตัวไปขัดดอกกับเจ้าหนี้นอกระบบ ลูกหนี้นอกระบบบางคนที่ทนอับอายไม่ไหวจนต้องฆ่าตัวตายก็มี ดังนั้นหากจะเป็นหนี้แล้วขอให้เป็นหนี้ในระบบ แต่จะให้ดีที่สุดคือ ไม่ต้องมีหนี้จะดีกว่าไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือหนี้นอกระบบ โดยยึดคำกล่าวที่ว่า ความไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐจริงๆ.

เอกสารอ้างอิง
http://thai-debt-solutions.blogspot.com
http://www.moj.go.th/th/magazine/check_colload.php?id=865
http://www.rlpd.moj.go.th/rlpd6/images/stories//nb9.ppt
http://www.chaibadancrime.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538674331&Ntype=1
http://www.ryt9.com/s/mof/1051837 





2 ความคิดเห็น:

  1. ใช้สำหรับเงินกู้ของคุณวันนี้ออนไลน์โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของทุกชนิดและรับ
      เงินกู้ของคุณในอัตรา 3%
    ติดต่อเราวันนี้ที่
    raphealjefferyfinance@gmail.com
    กรอกแบบฟอร์มการสมัครขอสินเชื่อ

    ชื่อ:
    ประเทศ:
    สถานะ:
    เบอร์โทรศัพท์:
    อายุ:
    อาชีพ:
    จำนวนเงินกู้ที่จำเป็น:
    ระยะเวลา:
    เว็บไซต์: raphealjefferyfinance@gmail.com

    ผบ. นาย Rapheal

    ตอบลบ
  2. คุณไม่จำเป็นต้องกู้เงิน? ข้อตกลงที่จะกู้เงินได้ถึง $ 500,000.00 เหรียญสหรัฐ (ห้าแสนดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) เลือก 1-25 ปีระยะเวลาชำระหนี้ให้เลือกระหว่างแผนชำระหนี้รายเดือนและรายปี, เงื่อนไขเงินกู้ที่มีความยืดหยุ่นและเงื่อนไข เราเป็นผู้สร้างทางการเงินและสามารถตรวจสอบสินเชื่อทั้งหมดเริ่มต้นจากส่วนบุคคลเชิงพาณิชย์กิจการธุรกิจเงินให้กู้ยืมและการควบรวมกิจการ, รีไฟแนนซ์และรูปแบบของเงินให้สินเชื่อทั้งหมดที่มีจำนวนเงินที่เราระหว่าง $ 15,000 ถึง $ 500,000.00 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่และต่ำมากในจำนวน 2.5 % ต่อปี.
    แผนทั้งหมดนี้และอื่น ๆ ติดต่อผ่านสำนักงานของเงินทุน; santanderloansuk@gmail.com

    ติดต่อ บริษัท Santander สินเชื่อสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม
    อีเมล์: santanderloansuk@gmail.com

    ขอบคุณ
    https://www.facebook.com/Santander-Loans-Company-143704475985897/?skip_nax_wizard=true
    (ผู้โฆษณาออนไลน์)

    ตอบลบ