วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สุนัข... เร่ร่อน นส.ภัทรวรรณ เรืองสุกใส 53242278


 สุนัข.... เร่รอน 
โดย นส.ภัทรวรรณ เรืองสุกใส

 การดูแลสัตว์และการเมตตาสัตว์เป็นสิ่งที่ดีที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นตั้งแต่เยาวัย จึงจะทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับการดูแลที่ดีได้ ทว่าความเมตตาอย่างเดียวในท่ามกลางสังคมและสิ่งแวดล้อมปัจจุบันอาจจะไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสัตว์สี่ขาใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นหมาหรือแมว ความรักและความรู้เป็นสิ่งที่ต้องคู่กันมาด้วย สำหรับหมานั้น คนรักก็มาก คนชังก็ไม่น้อย ไหนจะปัญหาเสียงหมาที่เห่าดังไปไกลถึงท้ายซอย บางครั้งหมาหลุดออกมาจากรั้วบ้านกัดกันลุกลามไปถึงคนเลี้ยงที่อยู่บ้านใกล้เคียง จนเป็นเหตุให้มีปากมีเสียงแข่งกับเสียงหมาที่กำลังกัดกันอย่างมันเขี้ยว ถ้าเบาะๆ ก็เพียงปะทะลมปาก ถ้าหนักๆ ก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือหัวร้างข้างแตก ถ้าขั้นรุนแรงก็พาไปวัดบ้าง ไปโรงพยาบาลบ้าง และรวมถึงไปโรงพัก
 
เหล่านี้มีที่มาที่ไปจากการเลี้ยง "หมา" ไม่ว่าจะเป็นหมาในรั้วบ้าน หมาตามถนนหนทางที่มีผู้ใจบุญ สุนทานนำอาหารมาให้หมากินเป็นเวลา นี่ยังไม่พูดถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มีหมาเป็นพาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพิษสุนัขบ้าที่ติดต่อถึงคนแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง จะเสียชีวิตทุกคน พบว่า ในแต่ละปีทั่วประเทศมีคนไทยถูกหมาที่มีเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้ากัดและเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจนแสดงอาการและเสียชีวิตมากกว่า ๑๐๐ คนต่อ

  รากฐานทางความเชื่อในสังคมไทย เรื่องบาปบุญและความเมตตาต่อสัตว์ อาจเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ปัญหาจากสุนัขเร่ร่อนของไทยเป็นเรื่องยากต่อการแก้ไข ความเชื่อเรื่องผลแห่งการทำบาปจากการฆ่าสัตว์ทำให้การนำมาตรการที่เข้มงวด เช่น การกำจัดสุนัข ได้รับกระแสต่อต้านจากสังคมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ความเมตตา ความเชื่อเรื่องการทำบุญให้ทาน อาจเป็นแรงจูงใจให้คนไทยช่วยเหลือสุนัขเร่ร่อนด้วยการให้อาหาร โดยมีคนบางส่วนอาจใช้ประโยชน์จากสุนัขที่เลี้ยงไว้ (เช่นเฝ้าบ้าน) แต่ไม่ได้ให้การอุปการะเลี้ยงดูอย่างแท้จริง ทำให้สุนัขขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากขึ้น และเร่ร่อนไปมาได้อย่างอิสระ ก่อให้เกิดเป็นปัญาต่อสังคมตามมา เมื่อไม่สามารถใช้มาตรการของการกำจัดสุนัขได้ มาตรการอื่นๆที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว เช่น การจำกัดบริเวณ และให้การเลี้ยงดู การฉีดวัคซีนและทำหมัน คงทำได้เพียงชั่วคราวเพราะงบประมาณของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมี จำกัด
ดังนั้น การแก้ปัญหาสุนัขเร่ร่อนของคนไทย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนส่วนใหญ่และใช้หลายๆ มาตรการร่วมกัน ผู้เขียนชื่นชอบกระแส พระราชดำรัสฯ ที่ให้ไว้กับผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ (คุณสมัคร สุนทรเวช) ที่ว่าควรสนับสนุนให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกสุนัข Mid-Road ไปเลี้ยง และต้องเลี้ยงอย่างจริงจัง ซึ่งถ้าหากประชาชนสามารถช่วยกันสนองตาม กระแสพระราชดำรัสฯ ดังกล่าว โดยช่วยกันนำสุนัขเร่ร่อนไปเลี้ยง อย่างมีความรับผิดชอบตามศักยภาพทางเศรษฐกิจของตนแล้ว จะเป็นการแก้ปัญหาได้ตรงจุด และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้เป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้หน่วยงานของรัฐควรมีการรณรงค์เพื่อปลูกฝังค่านิยมให้คนไทยมีความ รักร่วมกับความรับผิดชอบต่อสุนัขที่เลี้ยงอยู่ตลอดชีวิต นอกจากนี้รัฐควรให้บริการเรื่องการทำหมันฟรี (ควรทำหมันก่อนแจก) และฉีดวัคซีนราคาถูก (ราคาต้นทุน หรือกำไรน้อย) ให้กับสุนัขเร่ร่อนที่คนนำไปอุปการะ สำหรับมาตรการใหม่ของกรุงเทพมหานครคือ การจัดทำทะเบียนสุนัขนั้น น่าจะเป็นผลดีอยู่บ้าง เพราะอย่างน้อยอาจใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการสำรวจจำนวนประชากรสุนัข บ้าน แต่ก่อนที่จะประกาศให้มีผลบังคับใช้นั้น รัฐควรมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนต่อการดำเนินการกับสุนัขที่ไม่ได้รับการขึ้น ทะเบียนด้วย ไม่เช่นนั้นนอกจากจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับเจ้าของสุนัขที่มีความรับผิดชอบ แล้ว กลับไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมาตรการการแก้ไขปัญหาสุนัขเร่ร่อน
แต่ผู้เขียนยังไม่เห็น ด้วยกับเรื่องของการบังคับฝัง  ไมโครชิฟ  ให้กับสุนัขเพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนต่อการแก้ไขปัญหาสุนัขเร่ร่อนเลย ทั้งนี้ ผู้เขียนเข้าใจว่าเจ้าของที่รักสุนัขจริงจะไม่ทอดทิ้งสุนัขของตนอยู่แล้ว แม้ว่าสุนัขจะหลงทาง ( มีจำนวนไม่มากนัก ) หายไป เจ้าของสุนัขกลุ่มนี้น่าจะพยายามตามหาสุนัขของตนเองแทบทุกวิถีทางอยู่แล้ว ดังนั้นการแก้ปัญหาดังกล่าว อาจเป็นเพียงการจัดหน่วยงานและสถานที่รองรับสุนัขหลงทาง ( Dog Shelter  โดยมีสถานที่ตั้งชัดเจน และติดต่อสะดวกเพื่อให้เจ้าของสุนัขสามารถติดต่อสอบถามได้หรือมีเว็บไซต์  แสดงรูปภาพและข้อมูลสุนัขที่เก็บมาเลี้ยงไว้เพื่อให้เจ้าของสุนัขสามารถตรวจ สอบหาสุนัขที่หายไปได้ ดังนั้น จึงยังไม่เห็นด้วยกับการฝัง  ไมโครชิฟ  เพียงเพื่อป้องกันสุนัขหลงทางและเห็นว่าการฝังไมโครชิฟ เพื่อใช้ประโยชน์ในการตามหาสุนัขนั้น ควรเป็นเรื่องของการสมัครใจของเจ้าของสุนัขเองมากกว่าเช่นเดียวกัน ผู้เขียนยังไม่เห็นด้วยกับการบังคับฝัง  ไมโครชิฟ  ในสุนัขเพียงเพื่อจะช่วยแก้ปัญหาที่เจ้าของสุนัขทิ้งขว้างสุนัขของตนให้กลาย เป็นสุนัขเร่ร่อย เพราะถ้าหากผู้เลี้ยงทราบตำแหน่งของการฝังแล้ว การผ่าผิวหนังเพื่อนำชิ้น  ไมโครชิฟ ”  ขนาดเม็ดข้าวสาร  ออกจากตัวสุนัขสามารถกระทำเองได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะทิ้งขว้างจริง คงไม่มีความเมตตา หรือสนใจถึงความเจ็บปวดของสุนัขจากการผ่าเพื่อนำชิ้น  ไมโครชิฟ  ออกจากตัวสุนัขก่อนทิ้งขว้าง แล้วแจ้งว่าสุนัขตายหรือหายไป ดังนั้นการบังคับฝัง  ไมโครชิฟ  อาจจะไม่ก่อประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาสุนัขเร่รอ่นที่มาจากการทิ้งขว้างสุนัข เลย นอกจากนี้ การฝัง  ไมโครชิฟ  กับสุนัขเร่ร่อนนั้น นับว่าเป็นการสูญเปล่าที่ไม่เห็นน่าจะได้ประโยชน์จากการแก้ไขปัญหาสุนัขเร่ ร่อนเลย
ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่ารัฐควรน้อมรับกระแสพระราชดำรัสฯ มาไตร่ตรองเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมมารองรับการแก้ไขปัญหาสุนัขเร่ร่อน ยก ตัวอย่างเช่น การปลูกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อการเลี้ยงสุนัข การส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐนำสุนัขเร่ร่อยมาฝึกเพื่อใช้ในการราชการ และอาจรวมไปถึงการใช้งานในภาคเอกชน หรือส่วนบุคคล รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนเจ้าของที่จะช่วยอุปการะสุนัขเร่ร่อน เช่น การทำหมันฟรีก่อนรับสุนัข การบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้สุนัขเร่ร่อนที่ได้รับอุปการะในราคาถูกเป็นประจำทุกปี ด้วยเหตุนี้การแก้ไขปัญหาสุนัขเร่ร่อนจึงเป็นงานของทุกคนในสังคม ถ้าคนส่วนใหญ่ตระหนักถึงความจำเป็นของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้ความสนับสนุนร่วมมือ ร่วมใจกันอย่างเต็มที่ โดยไม่คำนึงถึงเพียงความรู้สึกพึงพอใจหรือเพียงเพื่อประโยชน์เล็กน้อยส่วน ตัว ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาจากสุนัขเร่ร่อนจะเป็นความจริงขึ้นมาได้โดยเร็ว
บทความข้างต้นเป็นบทความที่มีมุมมองน่าสนใจในการแก้ในปัญหาสุนัขเรร่อน เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นเหตุของสุนัขจรจัดเกิดจากการขาดความรับผิดชอบของตน อย่างไรก็ตามการสร้างสำนึกและความรับผิดชอบและการกำจัดสุนัขจรจัดให้หมดไปก็เป็นไปไม่ได้ตราบใดที่ยังมีการขยายพันธุ์หรือมีคนนำมาปล่อยเพิ่มในขณะเดียวกันจำนวนสุนัขแต่ละพื้นที่ก็มีส่วนป้องกันม่ไให้สุนัขอื่นเข้ามาอาศัยนอกจากสุนัขที่เกิดจากฝูงเดียวกัน ดังนั้นการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดจึงเป็นเรื่องสำคัญและละเอียดอ่อน และการนำสุนัขไปทำลายไม่ใช้วิธีที่ได้ผลและไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม เพราะที่ผ่านมามีการกำจัดสุนัขจรจัดด้วยการทำลายปีละ 4-5 หมื่นตัวแต่ยังคงมีผู้นำมาปล่อยบวกกับการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ปัละ 4-5 หมื่นตัวทุกปี การทำลายสุนัขจึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา


กำเนิดหมาจรจัด การเกิดหมาจรจัดพอจะประมวลได้ ดังนี้

๑. โดยอุบัติเหตุ เช่น พลัดหลง  หลุดจากบ้านแล้วกลับไม่ถูกหรือหลงระเริงไปจนไม่กลับบ้าน มักพบกับหมาเพศ ผู้หนุ่มๆ แตกพานออกไปติดหมาเพศเมีย เป็นต้น รวมถึงพวกที่เลี้ยงหมาแบบปล่อยสะเปะสะปะ เจ้าของมีหน้าที่ให้อาหารอย่างเดียว ไม่ได้ดูดำดูดีว่าหมาของตนจะออกไปทำอะไรที่ไหน เป็นต้น

๒. โดยเจ้าของประเภทนี้เป็นความตั้งใจที่จะอัปเปหิหมาออกจากบ้าน โดยตัวเจ้าของหมาเอง ทำให้เกิดเหตุเทวดาตกสวรรค์ขึ้น อันมีสาเหตุจาก
หมาไม่ได้สวยน่ารักดั่งใจนึก เช่น ขี้เหร่ มีตำหนิ ผิดพันธุ์ เป็นต้น คลาดเคลื่อนจากความหวังเมื่อซื้อมาขณะเป็นลูกหมาเจ็บไข้ได้ป่วย เบื่อการรักษาเยียวยา ภาระและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ยิ่งยุค ไอเอ็มเอฟ. ด้วยแล้ว เจ้าของเองยังเอาตัวไม่รอดเลย

ผลกระทบจากหมาจรจัดมีอะไรบ้าง? หมาจรจัดก่อให้เกิดปัญหาต่างๆอันกระทบต่อคนเมืองโดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ผลกระทบทางสาธารณสุข  หมาจรจัดเป็นพาหะสำคัญของโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งคร่าชีวิตคนในกรุงเทพมหานครเป็นประจำทุกปี จนจัดว่าเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งในโลกที่มีสถิติของโรคพิษสุนัขบ้าสูงติดอันดับต้นๆ

๒. ผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม ได้แก่

ทางเสียง เช่น การเห่าหอน  ทำความรำคาญ
สร้างสิ่งปฏิกูล เช่น การถ่ายอุจจาระตามที่ต่างๆ รื้อคุ้ยขยะเลอะเทอะ แล้วมีหนูมารับช่วง
ทางสายตา เช่น สภาพหมาจรจัดที่เจ็บป่วยทรุดโทรม เป็นภาพไม่ชวนมอง เป็นต้น

๓. ด้านเศรษฐกิจ เช่น เมืองใหญ่ๆ ต้องเสียงบประมาณเพื่อจัดการกับหมาจรจัดเป็นจำนวนมาก ประเทศไทยต้องเสียเงินตราต่างประเทศไปเพื่อนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในคนและหมาเพื่อฉีดป้องกัน และในกรณีโดนหมาจรจัดกัด เป็นต้น

คนเมืองกับหมาจรจัด

คนเมืองคิดอย่างไรต่อหมาจรจัด?
๑. หมาจรจัดเป็นเพื่อนร่วมโลกที่สมควรได้รับการเหลียวแลเอาใจใส่
๒. หมาจรจัดเกิดจากความไม่รับผิดชอบต่อสังคมและชีวิตสัตว์ของเจ้าของหมาที่ขาดสำนึก
๓. ปัญหาหมาจรจัดเป็นปัญหาของคนเมืองที่ทุกคนต้องร่วมกันแก้
๔. หมาจรจัดก่อปัญหาต้องรีบแก้ไข
๕. เมืองไทยเป็นเมืองพุทธไม่ควรทำลายหมาจรจัด
๖. หมาจรจัดเป็นตัวนำโรคร้าย คือ โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งทำให้ถึงตาย จึงต้องควบคุมดูแลอย่างจริงจัง
๗. ช่างมันไม่สนใจ ไม่อยากยุ่งเกี่ยว เสียเวลา เสียงสตางค์ ธุระไม่ใช่
๘. ไม่ควรเสียสตางค์ไปกับหมาจรจัด น่าจะมาใช้ดูแลคนจรจัด คนจน คนไม่มีจะกินในยุค ไอเอ็มเอฟ. เช่นนี้จะดีกว่า เป็นต้น


 คนเมืองทำอะไรกับหมาจรจัดบ้าง?
๑. ช่วยให้ข้าว ให้น้ำ
๒. พาไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
๓. พาไปทำหมัน คุมกำเนิด
๔. ปกป้องคุ้มครองไม่ให้เจ้าหน้าที่ จับไปทำลาย
๕. นำไปเลี้ยงดูไว้เอง
๖. เจ็บป่วยพาไปหาหมอ
๗. ไล่เตะ ยิงหนังสติ๊กใส่เมื่อพบ เห็นเกะกะ
๘. แจ้งให้เจ้าหน้าที่มาจับไปทำลาย
๙. เก็บเศษอาหารและถังขยะอย่างมิดชิด จนหมาขุดคุ้ยไม่ได้
๑๐. วางยาเบื่อเมื่อเข้ามารบกวนในชุมชน เป็นต้น


ข้อเสนอแนะของคนเมืองเพื่อการแก้ไขปัญหาหมาจรจัด
๑. จัดบริการฉีดวัคซีน ฉีดยาคุมกำเนิด และทำหมันฟรีแกหมาจรจัด
๒. ให้เมืองจัดหาที่เลี้ยงหมาจรจัด ไว้จนหมดอายุขัยไปเอง โดยแบ่งแยกเป็น ๒ เพศ เพื่อจะได้ไม่ต้องทำหมันให้สิ้นเปลือง
๓. จัดระเบียบการเลี้ยงหมาของชาวเมืองโดยการขึ้นทะเบียน
๔. จัดระเบียบผู้ประกอบกิจการค้าขายหมา เพื่อให้รับผิดชอบต่อคุณภาพหมาที่ขายไป และสะดวกในการจดทะเบียนเมื่อเริ่มต้น
๕. จัดกลุ่มอาสาสมัครเพื่อดูแลหมาจรจัดภายใต้การสนับสนุนของรัฐ
๖. ให้หน่วยงานรัฐยุติการจับหมาไปทำลาย
๗. ดำเนินการให้มีสถานที่กลางเพื่อการแจกจ่ายหมาสำหรับผู้ต้องการนำไปเลี้ยงโดยไม่คิดมูลค่า
๘. เริ่มกระตุ้นตลอดจนสร้างจิตสำนึก และความรับผิดชอบของผู้เลี้ยงโดยไม่คิดมูลค่า
๙. ต้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องตลอดไปมิใช่แบบไฟไหม้ฟาง


หน่วยงานรัฐทำอะไรกับหมาจรจัดบ้าง?
๑. จับและทำลาย
๒. ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและคุมกำเนิดฟรีแก่หมาบ้านและหมาจรจัด
๓. รณรงค์ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จัดทำประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้แก่ประชาชน
๔. ระดมความคิดจากนักวิชาการ และประชาชนเพื่อหาทางออกในการแก้ปัญหาหมาจรจัด


ชาวเมืองจะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหมาจรจัดได้อย่างไร?
๑. มีความรับผิดชอบต่อหมาที่เลี้ยงอยู่ตลอดชั่วชีวิต ไม่ทิ้งขว้าง ปล่อยปละละเลย ตลอดจนวางแผนคุมกำเนิดครอบครัวหมาด้วย 
๒. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐเมื่อมีการจัดระเบียบการเรื่องหมาโดยวิธีจดทะเบียนหมาบ้าน
๓. เก็บขยะมูลฝอย เศษอาหารให้มิดชิดเพื่อมิให้เป็นแหล่งอาหารของหมาจรจัด
๔. ช่วยกันนำหมาจรจัดไปเลี้ยงตามลำพัง
๕. ช่วยกันประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้เกิดการเลี้ยงหมาอย่างมีคุณภาพ

แนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด

มาตรการที่ 1. การกรองสุนัขจรจัด ที่ไม่มีเจ้าของออกจาก สุนัขที่มีเจ้าของให้ชัดเจน โดยการออกกฎหมาย ควบคุมรวมถึงบทลงโทษ กับเจ้าของสุนัขที่กระทำผิด เช่น การออกกฎหมาย ห้ามมิให้ผู้เลี้ยงสุนัข ปล่อยสุนัขของตน ออกนอกเคหะสถาน หรือที่สาธารณะโดยเด็ดขาด ถ้าสุนัขก่อความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดก็ตาม ให้เจ้าของสุนัข ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถ้าเจ้าของสุนัขที่มีความจำเป็น ที่จะต้องนำสุนัข ออกนอกเคหะสถาน หรือที่สาธารณะ สุนัขทุกตัวจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด จากเจ้าของสุนัข หรือผู้ดูแลสุนัขตลอดเวลา เป็นต้น

ผลพลอยได้ที่ได้จากมาตรการนี้มีหลายเรื่องคือ 1.ช่วยลดอุบัติเหตุ ในกรณีที่สุนัขวิ่งตัดหน้ารถ หรือไล่กัดผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ จนอาจทำให้เสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุได้ 2.ช่วยลดการแพร่ระบาท ของโรคพิษสุนัขบ้า 3.ช่วยแก้ไขปัญหาสุนัขอุจจาระ และปัสสาวะ ในที่ๆไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อความเดือดร้อนกับผู้อื่นได้ 4.ป้องกันสุนัขกัดหรือทำร้ายคน 5.ลดปัญหาการแพร่ขยายพันธุ์ของสุนัข ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหา

มาตรการที่ 2. ให้เจ้าของสุนัข นำสุนัขทุกตัวที่ต้องการจะเลี้ยง ไปทำการสักเบอร์หู พร้อมกับขึ้นทะเบียนตัวและทำประวัติให้เรียบร้อย ซึ่งการขึ้นทะเบียนตัวประวัติสุนัข ยังเป็นการตรวจนับประชากรสุนัขไปในตัวด้วย จะได้ทราบถึง จำนวนสุนัขที่แท้จริงว่ามีอยู่เท่าไหร่ และยังสามารถควบคุม โรคพิษสุนัขบ้า และโรคติดต่ออื่นๆ ได้ง่ายดายยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยการให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ คอยตรวจเช็คจากฐานข้อมูลประวัติของสุนัข ว่าสุนัขตัวใดบ้างที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ จะได้ทำการแจ้งเตือน ให้เจ้าของสุนัขนำสุนัขของตน ไปรับการฉีดวัคซีนให้เรียบร้อยต่อไป

การสักเบอร์หู จะมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ามาก ซึ่งต่างกับการฝังไมโครชิพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ ถ้าใช้วิธีการสักเบอร์หู แทนการฝังไมโครชิพ จะช่วยประหยัด งบประมาณได้มหาศาลเลยที่เดียว การเลือกใช้การสักเบอร์หูสุนัข พร้อมกับการขึ้นทะเบียนตัวและประวัติสุนัข ก็น่าจะเพียงพอแล้ว เพราะจุดประสงค์ ที่แท้จริงก็เพื่อ ให้ทราบว่าสุนัขบ้านอยู่ที่ไหน และใครเป็นเจ้าของสุนัขเท่านั้น

มาตรการที่ 3. เมื่อกรองสุนัขจรจัด ออกจากสุนัขที่มีเจ้าของได้แล้ว ก็จะเหลือแต่สุนัขที่เป็นสุนัขจรจัดจริงๆเท่านั้น ขั้นตอนนี้ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ออกจับสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของทั้งหมด ไปไว้ยังสถานที่รับเลี้ยงสุนัขจรจัด และให้แยกเลี้ยงสุนัขเพศผู้และสุนัขเพศเมียออกจากกัน เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์กันเองของสุนัข โดยวิธีนี้ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำหมันสุนัขแต่อย่างใด และให้เลี้ยงสุนัขจรจัดทั้งหมด จนกว่าจะสิ้นอายุขัย

มาตรการที่ 4. จัดให้มีสถานที่และเจ้าหน้าที่ ในการทำโครงการ หาบ้านใหม่ให้สุนัข ซึ่งทุกวันนี้ก็มีโครงการดีๆแบบนี้อยู่บ้างแล้ว เพียงแต่ส่งเสริมให้ดูชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยการคัดเลือกสุนัขที่มีความเหมาะสม ในด้านนิสัยและพฤติกรรมที่ดี ให้กับผู้ที่มีความพร้อม ในการที่จะขอรับสุนัขไปอุปการะ ควรทำหมันสุนัขทุกตัวที่เข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งโครงการนี้ จะเป็นการ ช่วยลดจำนวนสุนัขจรจัด ที่สถานรับเลี้ยงสุนัขจรจัด ต้องรับผิดชอบได้ดีอีกทางหนึ่งด้วย

มาตรการที่ 5. รณรงค์และขอความร่วมมือ กับเจ้าของสุนัข ให้ทำหมันสุนัขที่ไม่ต้องการจะมีลูก เพื่อป้องกันการแพร่ขยายพันธุ์ ของสุนัขโดยไม่ตั้งใจ ส่วนสุนัขที่อยู่ในเคหะสถาน โอกาสที่สุนัขจะออกมาผสมพันธุ์กันเอง ก็เป็นไปได้ยาก จึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุจริงๆ เมื่อไม่มีการขยายพันธุ์เพิ่มของสุนัขจรจัด สุดท้ายสุนัขจรจัดที่เหลืออยู่ ก็จะค่อยๆ ลดจำนวนลง และหมดไปในที่สุด

เหนือสิ่งอื่นใดวิถีทางที่สำคัญประการหนึ่งในการแก้ปัญหาหมาจรจัดอย่างยั่งยืนก็คือ การนำหมาจรจัดมาเลี้ยงเป็นหมาบ้าน มันจะเปลี่ยนสถานะจากหมา Mid road หรือหมากลางถนนมาอยู่ในสถานที่มีรั้วรอบขอบชิด และที่สำคัญมีผู้รับผิดชอบในความรักและเลี้ยงดูมันต่อไปชั่วชีวิต ฝากผีฝากไข้ไว้ได้นั่นเอ

บรรณานุกรม

ปัญหาจากสุนัขเร่ร่อน ควรแก้ที่จุดไหน  เอกสารงานวันเกษตรแห่งชาติปี 2546

สมาคมพิทักษ์สัตว์ไทย  http://www.thaiaga.org/mobile_clinic.php

ดูแลเพื่อนซี้ 4 ขา http://www.doctor.or.th/article/detail/1891

มูลนิธิพิทักษ์สัตว์เพื่อสังคม http://th.carefordogs.org/objectives/about-homeless-dogs/





ปํญหาน้ำท่วม น.ส. นิจธนา น้อยพงษ์ 53242087


                                                                                                                                                                               น.ส. นิจธนา น้อยพงษ์ 
                                                                                                                                                                                                 53242087                                                                                     
                                                                                       บทความวิชาการ 
                                                                                          ปัญหาน้ำท่วม
                 น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากฝนที่ตกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำมีปริมาณมากและตกติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเกิดน้ำไหลบ่าเหนือผิวดินลงสู่ร่องน้ำลำธาร และ ในแม่น้ำมีปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งในขณะที่นำจำนวนมากไหลไปตามร่องน้ำ ลำธาร และแม่น้ำนั้น หากลำน้ำตอนใดไม่สามารถรับปริมาณน้ำทั้งหมดให้ไหลอยู่เฉพาะในตัวลำน้ำได้ก็จะทำให้น้ำมีระดับล้นสูงกว่าตลิ่ง แล้วไหลล้นฝั่งบ่าไปท่วมพื้นที่สองฝั่งลำน้ำหรืออาจไหลไปท่วมขัง ตามที่ลุ่มน้ำไกลออกไปเป็นบริเวณกว้างในกรณีเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเขตชุมชน หรือท่วมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร อาจทำให้ทรัพย์สินและพืชผลจำนวนมากของประชาชน ตลอดจนส่งก่อสร้างต่างๆ ได้รับความเสียหาย เรียกว่า "อุทกภัย" เช่น อุทกภัยเนื่องจากน้ำท่วมใหญ่ในบริเวณภาคกลาง ซึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีตโครงการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงมีจุดม่งหมายเพื่อการแก้ไขป้องกัน หรือช่วยบรรเทาปัญหาในการที่น้ำในแม่น้ำลำคลองซึ่งมีระดับสูงในฤดูน้ำหลาก ไม่ให้น้ำนั้นไหลบ่าเข้าไปท่วมพื้นที่และทำความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกหรือท่วมพื้นที่ในเขตชุมชนได้รับความเสียหายด้วยวิธีการที่พิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ ไม่มีผลกระทบในการทำลายสภาวะแวดล้อมและธรรมชาติตลอดจนเสียค่าใช้จ่ายน้อยและได้รับประโยชน์คุ้มต่อการลงทุนดังวิธีการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมที่สำคัญวิถีชีวิตของชาวกรุงเทพมหานครผูกพันกับแม่น้ำมาตั้งแต่อดีต ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บน ที่ราบลุ่มตอนปลายแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเอื้ออำนวยต่อการเกษตร มีการขุดลอกคูคลองหลายสายเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำในการ อุปโภค บริโภค นอกจากนี้ยังถูกใช้ในการระบายน้ำ และคมนาคมขนส่ง  ด้วยเหตุที่มีเส้นทาง ระบายน้ำมากมาย ปัญหาน้ำท่วมในอดีตจึงไม่รุนแรง และสร้างความ เสียหายให้กับชาวกรุงเทพฯ มากนัก ปัจจุบันกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวง และศูนย์กลางธุรกิจของประเทศ กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การเปลี่ยนแปลงทางการภาพเพื่อรองรับการเติบโตขึ้นของเมือง การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ที่ดินจากเพื่อการเกษตร กลายเป็นเพื่อที่อยู่อาศัย ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงมากกว่าเดิม และ จำเป็นต้องรีบดำเนินการแก้ไข

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตมรสุม นอกจากฝนที่ได้รับอิทธิพลมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 1,400 มม.แล้วยังมีฝนที่มาจากพายุโซนร้อน และดีเปรสชั่น ฝนที่ตกหนักในระยะเวลาอันสั้นส่งผลให้เกิด น้ำท่วมขังชั่วคราวปริมาณน้ำท่าจากทางเหนือที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานคร ในปีที่น้ำน้อยจะประมาณ 1,000 - 2,000 ลบ.ม./วินาที ส่วนในปีที่น้ำมากจะประมาณ4,000 - 5,000  ลบ.ม./วินาที ในขณะที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสามารถในการลำเลียงน้ำได้โดยไมล้นตลิ่งประมาณ 2,000 - 3,000  ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำที่มากกว่าความสามารถในการลำเลียงของแม่น้ำเป็นเหตุให้ เกิดน้ำท่วมบริเวณริมแม่น้ำระดับน้ำในแม่น้ำเจ้ำพระยาขึ้นอยู่กับอิทธิพลการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ซึ่งสามารถหนุนได้สูงถึง 2.1 ม.รทก. (ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
ถ้าน้ำทะเลหนุนในช่วงระยะเวลาเดียวกับน้ำเหนือไหลผ่าน จะทำให้น้ำล้นท่วมตลิ่งได้ในฤดูน้ำหลาก
ลักษณะทางกายภาพของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ชุมชนเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีปัญหาการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง เช่น ถมที่เพื่อการก่อสร้างการรุกล้ำคลองสาธารณะ ส่งผลให้เส้นทางลำเลียงน้ำลดลง ระบบระบายน้ำเดิมไม่สามารถรอง รับการขยายตัวของชุมชนได้ทัน
ปัญหาแผ่นดินทรุดเนื่องจากการสูบน้ำบาดาล ทำให้พื้นที่ในกรุงเทพฯ เดิมซึ่งเป็นพื้นที่ราบต่ำอยู่แล้วทรุดตัวลงมากกว่าเดิม เมื่อเกิดน้ำท่วมขังจึงยากที่จะระบายออกจากพื้นที่ได้
ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)

โดย ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตกุกและปริมาณน้ำฝนสูง จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตกห่วงใยในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ มา และทรงวิเคราะหืลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและทรงคำนึง ถึงการเลือกใช้วิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้อที่และสมรรถนะของกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ตลอดจนงบ ประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

วิธีการต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคือ

1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ
การป้องกันน้ำท่วมโดยการก่อสร้างคันกั้นน้ำ เป็นวิธีป้องกันน้ำมิให้ไกลล้นตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง เหมือนนักการเสริมของตลิ่งของลำน้ำให้มีระดับความสูงมากขั้นกว่าเดิม เพื่อเพิ่มเนื้อที่หน้าตัดของลำน้ำให้มีขนาดใหญ่พอที่จะระบายน้ำไหลหลากจำนวนมาก ให้สามารถไหลผ่านพื้นที่บริเวณนั้นไปโดยไม่ท่วมพื้นที่ต่างๆ จนได้รับความเสียหาย แรมชลประทานได้ก่อสร้างสนองพระราชดำริไว้หลายแห่งเช่น ที่ภาคใต้ ได้แก่ คันกั้นน้ำ ของโครงการมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส และคันกั้นน้ำของ โครงการปิเหล็งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น และ บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรมชลประทาน กรมทางหลวง และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมบริเวณต่าง ๆ ในโครงการป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยา และน้ำตามคลองโดยรอบกรุงเทพมหานครทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกไม่ให้ไหลบ่าเข้ามาท่วมกรุงเทพฯชั้นในและพื้นที่เศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้งโบราณโดยการก่อสร้างคัน ดินกั้นน้ำขนาดที่เหมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่างๆ ด้านใน เช่น คันกั้นน้ำโครงการมูโนะ และโครงการปิเหล็งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นให้ออกไป โดยการก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำ ท่วมโดยให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเลตามความเหมาะสม ซึ่งการดำเนินการสนองพระราชดำริวิธีนี้ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน ในการแก้ไขปัญหาจากแม่น้ำโก-ลก เข้ามาท่วมไร่นาของราษฎรเสียหายหลายหมื่นไร่ทุกปี การขุดคลองมูโนะได้ช่วยบรรเทาลงได้เป็นอย่างดี
การก่อสร้างทางผันน้ำ หรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วมเพื่อผันน้ำทั้งหมด หรือน้ำเฉพาะบางส่วนที่จะล้นตลิ่งออกไปจากลำน้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่นหรือระบายออกสู่ทะเล ตามความเหมาะสม

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยการก่อสร้างทางผันน้ำนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้กรมชลประทานพิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำจาก แม่น้ำโก-ลก ที่กั้นชายแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งในฤดูฝนมักมีระดับสูงล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าไปท่วมไร่นาของราษฎรในเขตอำเภอสุไหลลก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวนหลายหมื่นไร่ให้ได้รับความเสียหายทุกปี ด้วยการขุดคลองผันน้ำ และแบ่งน้ำจากแม่น้ำ โก-ลก ในเวลาที่น้ำไหลหลากมามาก ออกสู่ทะเลอีกทางหนึ่ง กรมชลประทานได้ขุดคลอง มูโนะสนองพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ มีขนาดก้นคลองกว้าง ๒๐ เมตร คลองยาว ๑๕.๖๐ กิโลเมตร ขุดแยกจากแม่น้ำโก-ลก ที่ตำบลมูโนะอำเภอสุไหลลก-ลก ทำหน้าที่แบ่งน้ำจาก แม่น้ำโก-ลก ในขณะที่น้ำมีระดับสูงจะท่วมพื้นที่เพาะปลูกให้ระบายลงสู่ทะเลอีกทางหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยให้น้ำในแม่น้ำโก-ลก มีระดับต่ำลง และคลองสายนี้ยังทำหน้าที่รับน้ำจาก แม่น้ำโก-ลก มาเก็บกักไว้ใช้ประโยชน์ในการเกษตรอีกด้วย
การระบายน้ำออกจากพื้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยต่อปัญหาการเกิดน้ำท่วมขังเป็นอย่างยิ่ง เช่น นำท่วมขังที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเป็นประจำแทบทุกปีจึงพระราชทานพระราชดำริ ให้หาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑล ให้บรรเทาลงหรือแก้ไขให้หมดไป ซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวของได้แก่ กรมชลประทานกรุงเทพมหานคร กองบัญชาหารทหารสูงสุด สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทกรมทางหลวงและการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างละเอียด แล้วทำการก่อสร้างระบบการป้องกันนำท่วมและระบายน้ำ เพื่อสนองพระราชดำริในระยะต่อมาซึ่งได้ดำเนินการสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และระบายน้ำในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนใหญ่ได้ตามที่ต้องการ โดยการปรับปรุงขุดลอกและกำจัดวัชพืชคลองระบายน้ำภายในบริเวณพื้นที่ลุ่มให้สามารถระบายน้ำจำนวนมากออกจากพื้นที่ทิ้งไปยังลำน้ำสายใหญ่หรือทะเลได้อย่างสะดวก โดยการก่อสร้างอาคารประตูระบายน้ำปลายคลองพร้อมสถานีสูบน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ต่างๆ ให้เหลือต่ำลง หรือระบายน้ำออกไปจนหมด
3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกหรือช่วยให้กระแสน้ำไหล เร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้ โดยใช้วิธีการดังนี้

ขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น
ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ

กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้นหากลำน้ำคดโค้งมาก ให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรงให้น้ำไหลสะดวกการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเป็นมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่สำคัญประการหนึ่งใน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พื้นที่เกษตรกรและชุมชนต่างๆ ด้วยเขื่อนเก็บกักน้ำในหลายท้องที่ด้วยกัน เขื่อนเก็บกักน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริขนาดใหญ่ที่ช่วยแก้ไข และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ดี ได้แก่ เขื่อนเก็บกักน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริสร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่มีความจุ อ่างเก็บน้ำประมาณ ๒๖๕ ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อประโยชน์ในด้านการชลประทานเป็นหลัก ในการบรรเทาน้ำท่วมอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ สามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ เพราะปลูกสองฝั่งลำน้ำแม่วัดและแม่ปิงจนถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเกิดขึ้นเป็นประจำให้ลดน้อยลงไปได้มาก

เขื่อนเก็บกักแม่น้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างปิดกั้นแม่น้ำป่าสักที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี มีความจุอ่างเก็บน้ำประมาณ ๗๘๕ ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จและเริ่มเก็บกักน้ำได้ พ.ศ. ๒๕๔๑ และจะเป็นแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน สามารถควบคุมและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ในจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ตลอดจนกรุงเทพมหานคร

ฃการกักเก็บน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก  โดย เก็บไว้ทางด้านเหนือเขื่อนในลักษณะอ่างเก็บน้ำซึ่งปัจจุบันดำเนินการตามพระ ราชดำริมากมายหลายแห่งในประเทศไทย และการป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในระดับประเทศนั้น ขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างดำเนินการหลายจุด คือ

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
-    โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบนจังหวัดนครนายก

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ แก้มลิง

จาก สภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครมีลักษณะลุ่มต่ำทำให้มีการระบายน้ำยาม เกิดภาวะน้ำท่วมให้ออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อยอีกทั้งมีจำนวนหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดเป็นสาเหตุในหลายปัจจัยของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานครและเขต ปริมณฑลเป็นระยะเวลายาวนาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม ในวิธีการที่ตรัสว่า แก้มลิง ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า

...ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้มลิงจะเอากล้วยเข้า ไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง...

เปรียบ เทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้ร่วมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
2.  เมื่อ ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4.  เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว(One Way Flow)

หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ

1.การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
2.เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
3.การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

จาก หลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่านำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำแหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักและ ระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออก ได้เป็น 2 ส่วน คือ

โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่ง

ตะวัน ออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่างๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ และพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสม เป็นบ่อพักน้ำเพิ่มเติมโดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือ-ใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยนุชิต  คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้าและออกจากบ่อพักน้ำ


โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำใน

พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่เจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี  นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปคลองมหาชัย-สนามชัยและแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
นอก จากสภาพพื้นที่ทั่วไปแถบนั้นยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาและคันกั้น น้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหมุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหล ออกทะเลได้ช้ามากก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีต่างๆ คือ

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับ สูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย  นอก จากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม โดยสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโคบริโภคได้อีกด้วย

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ประกอบด้วย
ประตูระบายน้ำ ค.ส.ล. ปิดกั้นน้ำแม่น้ำท่าจีน
ประตูเรือสัญจร
ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม
บันไดปลา
สถานีสูบน้ำขนาดใหญ่
โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย
ดำเนินการก่อสร้างทำนบปิดกั้นในคลองมหาชัย-คลองสนามชัย พร้อมก่อสร้าง
ประตูระบายน้ำ รวมทั้งคลองสาขาต่างๆ คือ
ประตูระบายน้ำคลองสหกรณ์สาย 3
ประตูระบายน้ำคลองเจ็ก
ประตูระบายน้ำคลองโคกขาม
ประตูระบายน้ำคลองแสมดำ
ประตูระบายน้ำคลองแสมดำใต้
พื้นที่ทั้งหมดนี้จะทำหน้าที่รับน้ำและน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนมาเก็บไว้พร้อม กับระบายลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเลโดยอาศัยแรงโน้ม ถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน โดยจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในระบายน้ำตามคูคลองธรรมชาติต่างๆ ในช่วงฤดูฝน และช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มมิให้ไหลเข้าไปในแม่น้ำลำคลองและพื้นที่ การเกษตร รวมทั้งสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย
โครงการแก้มลิง คลองสุนัขหอน ประกอบด้วย
ประตูปิดกั้นคลองสุนัขหอน พร้อมอาคาร ประกอบด้วย
สถานีสูบน้ำออกจากคลองสุนัขหอน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม "แก้มลิง" ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า "...ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง" เปรียบเทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันแล้วนำไปเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ อันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง
 สำหรับลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ
ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ "แก้มลิง" ต่อไป
เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลงเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)ทั้งนี้ หลักการ 3 ข้อที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือการพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำเส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำการระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่องลุ่มน้ำปากพนัง   ลุ่มน้ำป่าสัก
จากหลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่า นำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำ แหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักและระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออก-ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากสภาพพื้นที่ทั่วไปแถบนั้นยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยา และคันกั้นน้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้น เมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหมุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหลออกทะเลได้ช้ามากก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีต่างๆ คือโครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย นอกจากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม นอกจากนั้นยังสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภคได้อีกด้วย
                     โครงการแก้มลิงนับเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนสาหัสมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมนี้ ทรงมีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่" จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ดำเนินตามธรรมชาติ นั้นสามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมในหลายพื้นที่ให้หมดสิ้นไปได้ในอนาคตโครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ว่า ...ได้ ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงใน อนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่

ความเครีดกับสังคมไทย นาย ธรณินทร์ พรหมศรี 53242018


ความเครียดในสังคมไทย
          สังคมเราทุกวันนี้มีแต่ความวุ่นวายและความรุนแรงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ การทำงาน การใช้ชีวิตก็ดูจะวุ่นวายมากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งของความเครียด โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่นอกจากจะมีปัญหาดังกล่าวแล้วยังมีปัญหาการจราจรที่ติดขัดเพิ่มมาอีกซึ่งต้องแข่งกับเวลามากขึ้น ความเครียดที่มากเกินไปย่อมมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคล นอกจากจะทำให้สมรรถภาพในการทำงานลดลงแล้ว ยังทำให้ความสามารถในการใช้เหตุผล การควบคุมอารมณ์ และควบคุมพฤติกรรมของตนเองลดลงตามไปด้วย
        คนที่ตกอยู่ในภาวะเครียดมากๆ จึงมักจะคุยไม่รู้เรื่อง เจรจาตกลงกันยากขึ้น และใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ซึ่งในทางการแพทย์พบว่าโรคเครียด หรือโรคสุขภาพจิตเสื่อม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคปวดศรีษะ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ รวมไปถึงโรคมะเร็งและอีกหลายๆ โรค ดังนั้นเราจึงควรหาวิธีรักษาและดูสุขภาพจิตของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ      
       “ความเครียด” เป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆและทำให้ถูกรู้สึกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นว่ายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับหรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายจะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายเสียไป
              นักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่มีแนวคิดบนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า ร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นร่างกายเราสามารถจัดการกับความเครียดซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมได้และการจัดการนั้นจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ร่างกายจะมีการตอบสนองเป็นปฏิกิริยาเตือน เพื่อนำไปสู่การเตรียมตัวต่อต้าน หลังจากได้รับการเตือนและร่างกายพร้อมที่จะทำการต่อต้าน โดยการนำวิธีการจัดการกับปัญหาหลายๆ วิธีมาใช้ อันนำไปสู่การปรับตัว เพราะการปรับตัวคือ กระบวนการในการจัดการปัญหา จัดการกับอารมณ์ ความเจ็บป่วย เป็นต้น หากเกิดกระบวนการเช่นนี้บ่อยครั้ง และการจัดการกับปัญหาไม่ประสบความสำเร็จ การปรับตัวก็จะลดน้อยลง และร่างกายก็เข้าสู่ภาวะหมดแรง ณ จุดนี้จะมีการลดลงของการต่อต้าน ร่างกายก็จะอ่อนแอลงและมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเจ็บป่วย
ความเครียดในวัยเด็ก
           เมื่อเด็กได้รับความเครียดหรือต้องเผชิญกับความเจ็บปวดในวัยเด็กไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปฝังในก้านสมอง สมองสามารถตอบสนองต่อความทุกข์ทรมานได้และจะเกิดความไวต่อความเครียดที่เกิดขึ้น ดร.ราจิตา สินหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเครียดของมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้สมองจะสร้างเส้นใยที่แน่นหนาต่อความเครียดที่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีประวัติได้รับความทุกข์หรือความเจ็บปวดในวัยเด็กและจะฝังติดแน่นอยู่มากกว่าเด็กที่ไม่มีประวัติ ความเจ็บปวด โรคภัยไข้เจ็บ และการบาดเจ็บจะเป็นความเครียดหลักสำหรับเด็กๆ แต่ระดับความเครียดจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว เช่นการหย่าร้าง การทารุณทั้งร่างกายและจิตใจ การต้องเห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว ปัญหาเรื่องการเงิน การสูญเสียผู้เป็นที่รัก หรือมีผู้ปกครองที่ติดยา หรือมีปัญหาทางจิต
          การจากศึกษาของศูนย์สุขภาพจิต พบว่าโดยธรรมชาติแล้วเมื่อเด็กเกิดความเครียดในระดับสูง เด็ก 1 ใน 8 คนอาจต้องเผชิญกับโรควิตกกังวล หวาดระแวงจนถึงขั้นเป็นโรคจิตได้ จากการศึกษาของดร.ราจิตาพบว่า เด็กเล็กที่อยู่ภายใต้ความเครียดจะมีอาการก้าวร้าวหรือซึมเศร้าที่น่าเป็นห่วง ในเด็กวัยรุ่นจะมีอาการแยกตัว จิตใจอ่อนแอ อารมณ์ไม่มั่นคง มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ เป็นต้น
        ถึงแม้ว่าเราอาจจะมีครอบครัวที่แสนอบอุ่น แต่บางครั้งผู้ปกครองก็ไม่สามารถสร้างโล่ป้องกันความเครียดได้ตลอดเวลา เช่นปัญหาเด็กถูกแกล้งที่โรงเรียน หรือสูญเสียญาติผู้ใหญ่อย่างกะทันหัน แต่เราในฐานะที่เราเป็นคุณพ่อ คุณแม่ คุณครู หรือผู้ดูแลเด็กเราสามารถช่วยเป็นกำลังใจ ปกป้อง คอยดูแลช่วยเหลือ แนะนำ และพูดคุย เพื่อให้เด็กผ่านประสบการณ์เหล่านั้นไปได้
ความเครียดในวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม จึงทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเครียดอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพัฒนาการเหล่านี้อย่างมากตามไปด้วย นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศจนถึงระดับโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจการเมือง ค่านิยม และวัฒนธรรม ล้วนมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นอย่างมาก รวมไปถึงการที่พ่อแม่และสังคมมีความคาดหวังต่อวัยรุ่นสูง โดยเฉพาะในด้านการเรียน ปัจจัยเหล่านี้รวมกันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นในปัจจุบัน ต้องเผชิญกับความเครียดในชีวิตประจำวันมากกว่าวัยรุ่นในอดีต
สาเหตุความเครียดของวัยรุ่น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกิดความเครียดบ่อย ๆ ได้แก่

      1. ปัญหาความสัมพันธ์และความขัดแย้งกับผู้อื่น เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนต่างเพศ ครูอาจารย์ เป็นต้น
      2. ปัญหาภายในครอบครัว เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การทะเลาะเบาะแว้งและการทำร้ายร่างกายของพ่อแม่ การหย่าร้างของพ่อแม่ การเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิตของพ่อแม่และญาติพี่น้อง การถูกพ่อแม่ลงโทษด้วยความรุนแรง การถูกพ่อแม่ตำหนิหรือดุว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว
     3. ปัญหาการเรียนและปัญหาอื่นในโรงเรียน พ่อแม่ในปัจจุบันมักคาดหวังกับลูกวัยรุ่นสูงในเรื่องการเรียน วัยรุ่นที่เรียนไม่เก่ง หรือเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควรจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคทักษะด้านการอ่านบกพร่อง ขาดกำลังใจ เป็นต้น
     4. ปัญหาสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพ
     5. ปัญหาจากตัววัยรุ่นเอง เช่น รูปร่าง หน้าตาและความเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงวัยรุ่น ความ       คิดความรู้สึกต่อตนเองในทางลบ รับผิดชอบกิจกรรมหลายอย่าง การมีความคาดหวังว่าต้องทำทุกอย่างสมบูรณ์แบบ การรับความคาดหวังจากพ่อแม่และผู้อื่นมาเป็นของตนเอง และป่วยเป็นโรคทางกายเรื้อรัง เป็นต้น
      วัยรุ่นแปลความหมายของปัญหาที่ทำให้เกิดความตึงเครียดแตกต่างกันไป ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เพศ อายุ ระดับพัฒนาการด้านความคิด อารมณ์ และสังคม รวมไปถึงอิทธิพลจากครอบครัว สังคม และวัฒนธรรม และปัจจัยเหล่านี้ยังมีส่วนกำหนดว่าวัยรุ่นจะจัดการกับความเครียดอย่างไร วัยรุ่นหญิงมักตึงเครียดจากสาเหตุความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าวัยรุ่นชาย ในเรื่องปัญหาการเรียนและปัญหาในโรงเรียน พบว่าวัยรุ่นตอนต้นมักตึงเครียดจากปัญหาการปรับตัวในโรงเรียน ส่วนวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลายตึงเครียดจากปัญหาการเรียนและการเลือกอาชีพมากกว่า
ความเครียดในวัยผู้ใหญ่
       วัยผู้ใหญ่ วัยนี้เป็นวัยของการทำงาน ต้องหาเลี้ยงทั้งตัวเองและครอบครัว ต้องพยายามสร้างชีวิตให้ มั่นคงและก้าวหน้าเพื่อเกียรติยศ ศักดิ์ศรี เพื่อได้รับการยอมรับจากคนในสังคม เพื่อสร้างความมั่นใจและความ ภาคภูมิใจในตนเอง ความเครียดในวัยผู้ใหญ่โดยทั่วไปจึงมักเกิดจากการมีความรับผิดชอบในการทำงาน รวมทั้ง ความรับผิดชอบในครอบครัว
ความเครียดในวัยผู้สูงอายุ
        สำหรับในรายของผู้สูงอายุนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุความเครียดมากจากด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย ประกอบกับภาวะโรคต่างๆที่เกิดขึ้นตามมาทำให้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและเอาใจใส่อยู่เสมอ

        ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย
ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดี มันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย
ชนิดของความเครียด
1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด
เสียง
อากาศเย็นหรือร้อน
ชุมชนที่คนมากๆ
ความกลัว
ตกใจ
หิวข้าว
อันตราย
2. Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง
ความเครียดที่ทำงาน
ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ความเครียดของแม่บ้าน
ความเหงา
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
        เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดัน หรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ
สิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุการณ์ทำให้เกิดความเครียด   มี 3 ชนิด คือ
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที มีลักษณะเฉพาะ มีอำนาจ/อิทธิพลต่อชีวิตมาก ต้องการการปรับตัวของคนจำนวนมาก เป็นกลุ่มที่แบ่งปันประสบการณ์ มักไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ สงคราม การทิ้งระเบิดปรมาณู
2. เหตุการณ์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตบุคคลจำนวนไม่มากหรือเฉพาะบุคคล แต่ไม่มีอำนาจหรืออิทธิพลทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้น ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความตาย การผ่าตัด การออกจากงาน การหย่า การคลอดลูก
3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างคงที่ สม่ำเสมอ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เรียกว่าเป็นชีวิตประจำวัน เช่น ความลำบากในชีวิตครอบครัว ความขัดแย้งระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งทางเพศ ความสัมพันธ์กับเด็กและคนสูงอายุในบ้าน ความไม่พอใจในงาน ที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตอันตราย เป็นต้น

ผลเสียต่อสุขภาพ
        ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์
วิธีจัดการกับความเครียด
        การจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การระงับหรือหลีกเลี่ยงความเครียดแต่เป็นการ "ปรับ" และ "เผชิญ" กับความเครียดโดยไม่มีผลติดตามมาในทางลบ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ
-ต้องรู้ตัวว่าตัวเองกำลังเครียด (ดูจากผลกระทบของความเครียด)
-ทบทวนหาสาเหตุของความเครียด
-เรียนรู้วิธีจักการกับความเครียด
         วิธีจัดการกับความเครียด มีหลายวิธีให้เลือกในส่วนของการฝึกปฏิบัติมีให้ท่านเลือก  2 วิธี การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ และการฝึกการหายใจ ไม่จำเป็นต้องฝึกทั้ง 2 วิธี ให้เลือกวิธีใดวิธีหนึ่งสำหรับการปฏิบัติตัว เมื่อมีความเครียดเริ่มได้ตั้งแต่
ทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่อยากทำ เช่น อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ วาดรูป ฟังเพลง ฯลฯ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ไม่ทำลายสุขภาพตนเองด้วยการกินเหล้า สูบบุหรี่ กินยาบ้าหรือยาเสพติดอื่นๆ
          การฟังดนตรีคลายเครียด เมื่อฟังดนตรีจิตใจจะสบายและพึงพอใจการฟังดนตรีเพื่อคลายเครียดควรเลือกเพลงที่ชอบ และควรเป็นเพลงที่มีจังหวะช้าๆ เสียงกลางถึงต่ำ จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความดันโลหิตและลดความตึงเครียดของจิตใจ
           การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเพื่อคลายเครียด ควรเลือกกีฬาที่ชอบและถนัด ควรเป็นกีฬาที่ต้องออกแรงเต็มที่ เช่น วิ่งเร็ว ยกน้ำหนัก วิดพื้น ตีแบดมินตัน เทนนิส ฟุตบอล ฯลฯ การเล่นกีฬา ถ้าจะเล่นเพื่อคลายเครียดจริงๆ ควรใช้เวลาในการเล่นประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของกีฬา สำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในการเล่นกีฬาอาจใช้กายบริหาร เช่น โยคะ หรือมวยจีน แทนก็ได้ เพราะการฝึกโยคะและมวยจีนทำให้จิตใจมีสมาธิ ลดความฟุ้งซ่านของจิตใจลงได้
          การพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อมีความเครียดร่างกายและจิตใจจะถูกกระตุ้นมากจนทำให้นอนไม่หลับ หลับยากหรือหลับๆ ตื่นๆ ถ้านอนไม่หลับ ลองปฏิบัติดังนี้
- ฝึกเข้านอนให้เป็นเวลา เพราะความเคยชินจะทำให้สมองเฉื่อยชา เมื่อได้เวลาหลับ
- หาหนังสืออ่านก่อนนอน ฟังเพลงเบาๆ ที่ไพเราะ หรือฟังเทปธรรมะ
- บางคนเล่นกีฬาตอนเย็นทำให้นอนหลับง่าย บางคนเล่นกีฬาตอนเย็นเป็นประจำทำให้นอนหลับยากเพราะร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป บางคนออกกำลังกายหรือวิ่งในตอนเช้าจะรู้สึกร่างกายตื่นตัวตลอดวัน เมื่อใกล้เวลานอนจะรู้สึกง่วงและหลับได้ง่ายขึ้น การออกกำลังกายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละบุคคล
         การจัดการกับอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ในที่นี้จะพูดถึงอารมณ์โกรธและขี้อิจฉา เมื่อมีอารมณ์โกรธร่างกายจะเต็มไปด้วยความเครียด ความแค้น อัดแน่นในใจ ส่วนใหญ่ มักจะขาดความยังคิด ขณะมีอารมณ์โกรธให้รู้ตัวว่ากำลังโกรธ และไม่เปลี่ยนอารมณ์โกรธไปเป็นอารมณ์อื่น เช่น อารมณ์เกลียด ขณะมีอารมณ์โกรธให้นับ 1 - 10 หรือหายใจเข้าออกลึกๆ หลายครั้ง หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ถ้าคุณยังเผชิญหน้ากับคนที่คุณโกรธไม่ได้ ลองเขียนระบายในกระดาษปลดปล่อยความโกรธออกมาเขียนอะไรก็ได้ที่อยากเขียน พออารมณ์สงบ ฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและทิ้งไปเมื่ออารมณ์สงบแล้วจึงเผชิญหน้ากับคนที่คุณโกรธ อารมณ์ขี้อิจฉา คนที่มีอารมณ์ขี้อิจฉา หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น
         มองในเชิงบวก มองในแง่ดี หลายๆ คนเมื่อประสบความล้มเหลวในชีวิตมักจะท้อแท้สิ้นหวัง และคิดลงโทษตัวเอง คิดว่าความผิดพลาดทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะตัวเอง ดูถูกตัวเองว่าด้อยคุณค่า ไร้ความสามารถ เศร้าหมอง และหมดกำลังไปตลอดชีวิต แต่บางคน แม้จะพบกับความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าก็ยังมุ่งมั่นบากบั่นไม่ท้อถอย ฝ่าฟันอุปสรรคจนประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะมีกำลังใจที่จะทุ่มเทในการทำงานอย่างมาก ความคิดในแง่ดี มองอุปสรรคหรือความล้มเหลวว่าเป็นสิ่งท้าทาย เริ่มต้นจาก การมองตัวเองในแง่ดี มองอุปสรรคหรือความล้มเหลวว่าเป็นสิ่งท้าทาย เริ่มต้นจาก การมองตัวเองในแง่ดี มองว่าตัวเองมีความสามารถอะไรบ้าง เช่น อาจจะทำงานเก่งแต่พูดไม่เก่งก็ควรภาคภูมิในจุดนี้ มองตัวเองในแง่ดี แล้วควรมองผู้คนและเหตุการณ์รอบข้างในแง่ดีด้วย จะทำให้มีความคิดดี อารมณ์แจ่มใส มีสติที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
         ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ในชีวิตคนเรามักจะพบกับความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงที่ดีจะทำให้จิตใจเป็นสุข ถ้าเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้ามมักจะยอมรับไม่ได้ ทำให้จิตใจไม่เป็นสุข ถ้าเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้ามมักจะยอมรับไม่ได้ ทำให้จิตใจไม่เป็นสุข ลองคิดว่าการเปลี่ยนแปแลงต่างๆ มักจะมีเหตุผลในการเปลี่ยนแปแลงเสมอ เช่น อยากรวยก็ต้องขยันทำงาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ขอให้มองหาเหตุผลว่าเกิดจากอะไร ถ้าหากท่านทุ่มเทกับงานอย่างมาก แต่ไม่ได้รับผลดีเท่าที่คิดไว้ ก็คงต้องทำใจให้ยอมรับ และคิดหาเหตุผลที่จะแก้ไขต่อไป หรือถ้าท่านอกหักขอให้มองที่เหตุผลว่าเป็นเพราะอะไรอาจจะเป็นที่เราเองหรือคนรัก และคงต้องทำใจให้ยอมรับและปรับปรุงแก้ไขตัวเองให้ดีขึ้น ในวันข้างหน้าเราอาจจะพบรักคนใหม่ที่เหมาะสมกว่า หรือถ้าไม่พบใครที่เหมาะสมและถูกใจ การอยู่เป็นโสดก็เป็นสุขอีกแบบหนึ่ง
          หาคนปรับทุกข์ เมื่อมีความเครียดมักจะเก็บความสับสนและกังวลใจเอาไว้คนเดียวทำให้อึดอัดไม่มีความสุขลองหาคนไว้ใจได้ อาจจะเป็นสามีภรรยาพ่อแม่หรือเพื่อนสนิท พูดระบายความคับข้องใจ ถ้าหากไม่ไว้ใจคนใกล้ชิดก็ลองใช้บริการจากสถานบริการของรัฐ ที่มีบริการสายด่วนสุขภาพจิตก็ได้
 หัดเป็นคนมีอารมณ์ขัน ยิ้มหัวเราะ ชีวิตคนไม่จำเป็นต้องมีสาระตลอดไปหัดเป็นคนมีอารมณ์ขัน ยิ้มและหัวเราะบ้าง เพราะการหัวเราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมน "ความสุข" ออกมา นอกจากนั้นการหัวเราะทำให้เลือดขยายตัว ทำให้เลือดไหลเร็วมากขึ้น ทำให้ร่างกายภายในอบอุ่น ออกซิเจนไปเลี้ยงทุกเซลล์ของร่างกาย ระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ สามารถต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ กระตุ้นให้เจริญอาหาร หัวเราะ 1 นาที เท่ากับได้พักผ่อน 45 นาที
         ภาวะสุขภาพจิตคนไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ตามสภาวะแวดล้อมและวิถีชีวิตคือ ชีวิตคนเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองหลักๆ ของไทย เราจะพบว่าวิถีชีวิตของคนเมืองมักเคร่งเครียด ต้องแข่งกับเวลาและแข่งขันกับคนอื่น อีกทั้งค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น ทำให้คนเมืองต้องแบกรับภาระต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้หลายๆ คนเกิดภาวะเครียด และบางรายไปหาทางออกที่ผิดๆ เช่น ดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติดเพื่อระบายความเครียด
         ส่วนชีวิตคนต่างจังหวัด แม้ว่าค่าครองชีพสูงขึ้น แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องแข่งขันหรือชิงดีชิงเด่นกับใคร ใช้ชีวิตอยู่แบบพอเพียง อีกทั้งยังเป็นสังคมแบบไทยดั้งเดิม คือมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใกล้ชิดศาสนา ทำให้คนต่างจังหวัดมีภาวะความเครียดน้อยกว่าคนเมือง
ปัจจัยหลักๆ ที่เป็นตัวกำหนดว่าสุขภาพจิตของคนไทยมีทิศทางเป็นอย่างไร คงต้องมองจากเรื่องใกล้ตัวในชีวิต ประจำวัน ซึ่งหนีไม่พ้นเรื่องของปัจจัย 4 หรือชีวิตความเป็นอยู่นั่นเอง ปัญหาความเครียดเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภาวะว่างงาน ปัญหาการเมือง ไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด หากหลายๆ ฝ่ายช่วยกันทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นในทุกด้าน ย่อมส่งผลถึงความสุขของคนไทย ก็จะทำให้สุขภาพจิตของคนไทยดีขึ้นได้