วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง นางสาวเป็นเพชร กลึงมั่น 53242179


บทความวิชาการ
เรื่อง ปัญหาการอ่านหนังสือของเด็กไทย 
รายวิชา ปัญหาสังคมและประเด็นสาคัญด้านการพัฒนา
โดย นางสาวเป็นเพชร กลึงมั่น รหัสนิสิต 53242179


            เป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีการสารวจว่าค่าเฉลี่ยนของเด็กไทยในประเทศ มีค่าเฉลี่ยของการอ่านหนังสือที่น้อยลงเป็นอย่างมาก นั้นเพราะอะไร การศึกษาไม่สนับสนุนเด็กไทยเกี่ยวกับการอ่านหรือ ทั้งที่เห็นโฆษณามากมายเกี่ยวกับวันหนังสือ หรือห้องสมุดต่างๆที่เกิดขึ้นมากมาย แม้กระทั่งห้องสมุด ออนไลน์ที่สามารถทาให้เด็กอย่างเราค้นหาหนังสืออ่านได้ตลอดเวลาที่ไม่จากัด หรืออาจเป็นเพราะเทคโนโลยี การสื่อสาร ต่างๆเข้ามาอยู่ในชีวิตประจาวันของเด็กมากขึ้น คาว่าหนังสือมาถูกแทนที่ด้วย โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ จานวนการอ่านหนังสือของเด็กจึงน้อยลง หรือจะเป็นค่านิยมแบบผิดๆที่ปลูกฝังให้เด็กเข้าใจว่า หนังสือล้าสมัย แท็บเล็ต(Tablet) สิเป็นสิ่งที่ดีกว่า จึงทาให้หนังสือเริ่มอยู่ห่างมือเด็กไทยออกไป
       การอ่านหนังสือของเด็กไทยที่น้อยลงจะโทษการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเดียวคงไม่ถูกต้องการที่เด็กจะเรียนรู้หรือได้พฤติกรรมบางส่วนมานั้นอันดับแรกการลอกเลียนแบบพฤติกรรมนั่นคือผู้ใหญ่ในครอบครัว เนื่องจากในสภาวะสังคมในตอนนี้มีการเกิดช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่เป็นอย่างมากเมื่อสิ่งต่างๆที่เข้ามาจูงใจเด็กมีมากกว่า และใกล้ตัวกว่า สิ่งเหล่านี้เป็นตัวการสาคัญในการทาให้หนังสือหมดค่าลงไป
                สาเหตุของคนไทยไม่อ่านหนังสือง่ายๆคือคนไทยไม่มีวัฒนธรรมในการอ่านหนังสือตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด โบร่าโบราณ สังคมไทยเป็นสังคม “มุขปาฐะ” มากแต่ไหนๆคือถนัดการเล่า การพูด การร้อง การเล่น มากกว่าที่จะเป็นการอ่าน การอ่านการเขียนจากัดเฉพาะผู้รู้หนังสือเท่านั้น ประชาชนทั่วไปหรือที่เรียกว่า ไพร่นั้นอ่านหนังสือกันน้อย อีกประการหนึ่ง คือ ชนชั้นมีวิชานั้น หวงวิชา การถ่ายทอดเป็นตารับตาราจึงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น เราถ่ายทอดกัน ปากต่อปาก จึงเกิดสังคมที่มีลักษณะ เชื่อข่าวลือ มากกว่าจะเป็นสังคมของการวิจัย หรือการวินิจฉัยนอกจากนี้ข้อจากัดทางเทคโนโลยีการผลิตหนังสือก็ทาให้หนังสือ มีน้อยหรือแทบจะไม่มีเลยไม่เชื่อไปนับดูสมุดไทยในหอสมุดหรือพิพิธภัณฑ์ต่างๆได้อ้างว่าตัวเองเจริญมาหลายร้อยปีแต่มีหนังสืออยู่ไม่กี่สิบเล่ม นอกจากนี้สมัยโบราณมีการรบทัพจับศึกกันบ่อยทั้งมีการเข้าเดือนออกเดือนและการทามาหาเลี้ยงชีพอีกสารพัดทาให้ไม่มีเวลาในการอ่านหนังสือ สรุปคือ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม และสังคมในสมัยโบราณนั้นไม่เอื้อและส่งเสริมให้เกิดการอ่านแม้แต่น้อยยังผลให้เกิดกระแสถ่ายทอดมาสู่ลูกหลานทาให้ลูกหลายกลายเป็นคนไม่อ่านหนังสือจวบจนปัจจุบัน
                 เราต้องสร้างวัฒนธรรมการอ่านขึ้นมาเสียก่อนมันอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสิบ ยี่สิบปี ร้อยปี ห้าร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปีเราบอกมันไม่ได้รู้แค่ว่าต้องใช้เวลาแต่ต้องสร้างวัฒนธรรมเข้ามาใหม่วัฒนธรรมการอ่านที่เข้มแข็งให้มีอุปนิสัยรักการอ่านกันอย่างจริงๆจังๆไม่ใช่แค่ชั่ววูบชั่ววาบ ชั่วครั้งชั่วคราว เพื่อทาตามนโยบายเท่านั้น ทั้งนี้ก็ต้องควบคู่ไปกับหนังสือที่ดีการผลิตหนังสือที่ดีและการรณรงค์ต่างๆเพื่อกระตุ้นการอ่านซึ่งตอนนี้นับว่าเดินกันมาถูกทางเหลือแค่ผู้ร่วมเดินทางเท่านั้นว่าจะเดินกันไปถึงไหน อีกสาเหตุที่คนไทยอ่านน้อยลงก็คือสิ่งอื่นที่น่าสนใจกว่าหนังสือนี่แน่นอนที่สุดในสังคมคนบ้าเห่อ และไม่มีรากฐานหรือการจดทะเบียนเป็นของตัวเองอย่างมั่นคง เช่นสังคมไทยนี้อะไรมาใหม่ก็เห่อตามเขาไปหมดโดยเฉพาะในปัจจุบันการสื่อสารไวกว่าจรวดไม่รู้ว่าจะทะลุทะลวงไปถึงไหนอะไรต่อมิอะไรได้อย่างสะดวกสบายจนคนไทยแทบจะเป็นง่อยสิ่งยั่วยวนใจต่างๆเยอะมากซึ่งแน่นอนว่าทั้งกลยุทธ์การทาตลาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์สื่อต่างๆเอาไปกินเรียบเหลือแต่หนังสือที่เป็นอัมพาตอยู่และสิ่งทั้งหลายอย่างอื่นก็เสพง่ายเข้าถึงง่ายเข้าใจง่ายแตกต่างกันสิ้นเชิงกับหนังสือที่เสพยากเข้าถึงยากและเข้าใจยากจะอ่านหนังสือทีต้องไปซื้อมาจากที่ร้านหนังสือหรือห้องสมุดไม่เหมือนการดูในทีวีกดปั๊บมาทันใจแต่สื่ออินเตอร์เน็ตเดี๋ยวนี้ทาให้หนังสือเข้าหาประชาชนง่ายขึ้นแต่นั่นแหละมันก็ยังแพ้คลิปอยู่ดีแล้วใครจะมาสนใจหนังสือแบบนี้กันอยู่ อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือ เศรษฐกิจอันนี้สาคัญกว่าใครเพื่อนถ้าปากท้องไม่อิ่มแล้วมันก็คงไม่มีกะจิตกะใจในการอ่านหนังสือยากจนข้นแค้นข้าวสารจะกรอกหม้อแทบไม่มีจะเอาปัญญาที่ไหนซื้อหนังสือดีดี เดี๋ยวนี้ราคาหรอ ร้อยบาทขึ้นแต่ละเล่มไอ้เงินที่แจกมาสองพันก็คงไม่ได้ซื้อหนังสือเอามาซื้อข้าวสารก่อน
                  คนไทยมีความวิตกกังวลว่าเด็กไทยทาไมอ่านหนังสือน้อยลง แต่ไม่เคยคิดเลยว่าการอ่านหนังสือน้อยลงของเด็กนั้นอาจเพราะเด็กไม่มีหนังสือดีพอ หรือไม่มีสื่อที่เป็นสิ่งจูงใจให้เด็กอยากอ่าน หนังสือที่ดีพอและเหมาะสมสาหรับพวกเขา มีเพียงพอหรือยัง นั่นก็เป็นอีกประเด็นสาคัญเหมือนกันที่การอ่านหนังสือน้อยลง หรือการที่เด็กไทยไม่จับหนังสือ แต่หันหน้ามาหาคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลต่างๆในโลกของอินเตอร์เน็ตนั่นอาจจะเป็นการอ่านหนังสือ รูปแบบใหม่ของเด็กในสมัยนี้ คือการแทนที่หนังสือด้วยคอมพิวเตอร์ หรือหนังสือทางอินเตอร์เน็ต (E-Book)เพราะว่าเราฝังใจกับหนังสือที่เป็นรูปแบบกระดาษเอามาเย็บกันเป็นเล่มๆหรือเปล่า จึงทาให้เรามองว่าการอ่านทางโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การอ่านของเด็ก แต่อย่างไรก็ตามถึงจะมีสื่อหนังสือออนไลน์เข้ามามากเพียงใด ความตื่นเต้น เร้าใจก็ไม่เท่าเกมออนไลน์ใหม่ๆที่เข้ามาอยู่ดี จึงเป็นเรื่องจริงที่โต้แย้งไม่ได้ว่าเด็กไทยเราอ่านหนังสือน้อยลงจริง และเป็นปัญหาสาคัญในการพัฒนาทรัพยากรของประเทศไทยเราเป็นอย่างมากเลยทีเดียว แล้วจะทาอย่างไรต่อไปเมื่อ การอ่านของเด็กเริ่มลดน้อยลงทุกวัน เป็นปัญหาที่ยาวนานที่ไม่เคยปล่อยหรือละเลย แต่ก็ไม่เคยที่แก้ไขมันได้สักที จะช่วยอย่างไรให้ดีขึ้น คงจะต้องเกิดการปลูกฝังกันใหม่ตั้งแต่การทากิจกรรมต่างๆในชีวิตประจาวันที่มาเบียดเวลาการอ่านหนังสือ เช่นการดูทีวี หรือคุยโทรศัพท์ รวมไปถึงการใช้เวลาว่างของเด็กไปกับการอยู่ในโลกของสังคมออนไลน์ เด็กไทยสมัยนี้จด เลคเชอร์ งานน้อยลงคุยกันน้อยลง เพราะเฟสบุ๊ค (facebook) เด็กจะคิดว่าไม่ต้องจดหรอก เดี๋ยวไปถามเพื่อนในเฟส หรือไม่เพื่อนก็มาโพสบอก นี่คือผลดีของการศึกษาที่ก้าวไกลที่แลกกับความขี้เกียจของเด็กไทยที่พอกพูนขึ้น
                   ไม่ใช่ว่าแต่เด็กไทยเท่านั้นที่อ่านหนังสือน้อยลง เพราะสถิตติที่ออกมาใหม่เป็นการเก็บรวบรวมจากคนไทยทั่วประเทศพบว่า คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 8 บรรทัดซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน มาเลเซีย เวียดนาม อ่านหนังสือ 5 เล่มต่อปี เมื่อค่าเฉลี่ยเป็นที่น่าตกใจขนาดนี้เราจะไปโทษแต่เด็กอย่างเดียวมันก็ไม่สมควรเพราะผู้ใหญ่ก็ยังไม่ค่อยจะอ่านหนังสือกันเลย แต่ในความน่ากลัวก็มีสิ่งดีอยู่ว่าค่าเฉลี่ยของการรู้หนังสือของคนไทยสูงขึ้น นั่นคือคนไทยส่วนมากมีการศึกษาเพิ่มขึ้นแต่ไม่ติดนิสัยในการอ่าน และอีกอย่างเด็กสมัยนี้ต่างกับเด็กในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก จากประสบการณ์ที่คนเฒ่าคนแก่เคยเล่าให้ฟัง ท่านเคยบอกว่าสมัยก่อนการเรียนเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากเด็กไทยเป็นอย่างมากเพราะจะมีแต่ครอบครัวที่มีฐานะเท่านั้นแหละที่จะมีปัญญาในการส่งเสียเลี้ยงดู พอได้เข้าเรียนแล้วการแข่งขันก็สูงขึ้นยิ่งสมัยก่อนใช้การสอบแบบเอ็นทรานซ์ใครได้คะแนนดีก็จะได้เรียนมหาลัยดีๆ เช่นเดียวกับการสอบเข้าทางาน แต่สมัยนี้ใครอยากเรียนอะไรก็ได้เรียนสมใจไม่ได้ของรัฐบาลก็เอาของเอกชน การศึกษาอยู่ใกล้แค่เอื้อมแต่เด็กสมัยนี้ไม่ไขว่คว้าเหมือนเด็กในสมัยก่อน ทุกอย่างหรือเทคโนโลยีที่เข้ามาในชีวิตตอนนี้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายไปสะทุกอย่างเกี่ยวกับเด็ก หนังสือเลยห่างออกไป เมื่อก่อนคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ห่างมือคนไทยเป็นอย่างมาก ใครจะใช้ได้ต้องได้เรียนมาสูงจริงๆ อย่างเช่นโทรศัพท์เมื่อก่อนเครื่องเท่ากระติกน้าแข็งเครื่องหนึ่งราคาเป็นแสนเด็กๆอย่างเราๆไม่สามารถจะมีใช้ได้แน่นอน แต่ดูสิตอนนี้แม้กระทั่งเด็ก ป.1 มีโทรศัพท์ใช้กันหมดแล้วไม่ใช่รุ่นทั่วไปธรรมดานะ แต่เป็นรุ่นที่มีฟังก์ชั่นครบครันดูเหมือนจะไฮเทคกว่ารุ่นเราๆสะอีก
                  ที่ได้กล่าวไปไม่ใช่ว่าการใช้เทคโนโลยีของเด็กไทยจะดีเสมอไปแต่ตราบใดที่ผู้ใหญ่ไม่เกิดการปิดกั้นช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ปิดกั้นการเรียนรู้ของตัวเองให้จมปรักอยู่กับสิ่งที่เขียนอยู่ในกระดาษ ผู้ใหญ่ก็คงจะไล่ตามเด็กสมัยนี้ไม่ทัน จากการเดินทางของเทคโนโลยีที่รวดเร็วกว่าการยกหูโทรศัพท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ถ้าผู้ใหญ่ไม่หัดที่จะเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีแล้วจะมีวิธีการใดที่จะช่วยเด็กๆให้พ้นจากอันตรายเหล่านี้ได้ ประเทศไทยให้เสรีทางด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จนตัวเองไม่ได้รับรู้เลยว่าเข้าใจกับสิ่งที่รับรู้มาได้มากน้อยแค่ไหนหรือเข้าใจกับมันได้มากแค่ไหน ในขณะที่ประเทศจีนถูกประณามจากนานาประเทศเรื่องการควบคุมการใช้เทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ตในประเทศทาให้ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างเสรี เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่คนไทยเรา นามาใช้อย่างรู้ไม่เท่าทันไม่ได้มีการกลั่นกรองที่ดีทาให้ตอนนี้ส่วนมากเว็บไซต์ที่มีในไทยเป็นเว็บไซต์ที่เน้นแต่ความบันเทิงรวมไปถึงเว็บไซต์ที่ผิดศีลธรรมจรรยาต่างๆมากมายเพื่อสนองอารมณ์และตัณหาของคนเท่านั้น นี้หรอสิ่งที่ว่าเป็นสื่อที่ช่วยในการพัฒนาคน
                  ผู้ใหญ่ดีๆปฏิเสธในเรื่องของเทคโนโลยีในขณะที่ผู้ใหญ่ไม่ดีชอบใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในทางที่ผิดและเสื่อมเสียอย่างนี้แล้วเด็กจะเรียนรู้และใช้สื่อที่ดีจากใครในเมื่อเทคโนโลยีสมัยนี้กับเด็กต้องไปควบคู่กัน เมื่อไหร่คนไทยจะตระหนักได้ว่าสังคมแห่งการเรียนรู้ต้องไปพร้อมๆกันทั้งครอบครัว โดยไม่ต้องให้คนช่วงวัยใดวัยหนึ่งแบกรับการเรียนรู้ด้วยเหตุผลเรื่องอายุและด้านประสบการณ์ เพราะโลกเราในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาการเรียนรู้แบบไม่หยุดนิ่งเพราะการหยุดนิ่งนั้นไม่ใช่คาว่าช้าแต่จะเปลี่ยนเป็นคาว่าล้าหลังไปนั่นเอง หลายอย่างที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้ามาอยู่รอบข้างตัวเราอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่สิ้นสุด เราจึงต้องเรียนรู้ต่อไป
               เมื่อเริ่มเขียนบทความเรื่องนี้ตัวข้าพเจ้าเองก็กลับมานึกย้อนถึงตัวเองว่าเมื่อครั้นเราเป็นเด็กเราอ่านหนังสือหรือเปล่าก็จาได้ว่า เราตั้งแต่เด็กจนโตก็ไม่ใช่คนขยันและรักการอ่านสักเท่าไหร่ พอตกเย็นกลับมาจากโรงเรียนถึงบ้านก็เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วออกไปเล่นกับเพื่อนแล้ว โตขึ้นมาอีกหน่อยก็เข้าเรียนพิเศษแต่ที่ไปเรียนนั่นหรอ ไปหาเวลาอยู่กับเพื่อนมากขึ้นมากกว่า เพื่อที่ไม่อยากกลับบ้าน แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้รักการอ่านเพิ่มขึ้นมาเลย แล้วจะเริ่มปลูกฝังยังไงให้เด็กอย่างเราเกิดความรู้สึกนึกคิดรักการอ่านเพิ่มขึ้น เพราะตัวผู้เขียนก็รู้ดีว่าไม่ได้เป็นหนอนหนังสือหรือเป็นคนรักการอ่านแต่ก็ไม่ใช่พวกที่ไม่แตะหนังสือเลยตัวข้าพเจ้าเองชอบอ่านนิยายหรือพวกหนังสือที่เป็นเรื่องโศกนาฏกรรมแต่ก็ไม่ได้ติดตามทุกเล่มนานๆทีเมื่อได้เข้าร้านหนังสือเจอเรื่องที่ถูกใจก็จะหยิบมาอ่าน คิดว่าก็คงเหมือนกับเด็กทั่วๆไปว่าถ้าหนังสือเล่มไหนที่ถูกใจก็จะหยิบขึ้นมา ถ้าไม่ถูกใจหรือไม่ดึงดูดพอ อย่าได้หวังว่าจะแตะแม้แต่น้อย เรื่องหน้าปกของหนังสือเป็นสิ่งสาคัญที่สุดที่จะเป็นแรงจูงใจอันดับแรกที่จะทาให้เด็กหยิบหนังสือเล่มนั้นขึ้นมาสาหรับตัวข้าพเจ้าเองคิดเช่นนั้นเพราะตัวข้าพเจ้าก็ดูจากปกก่อนแล้วตามมาด้วยชื่อเรื่องและเปิดเข้าไปอ่านในคานา แต่เมื่อคานาที่ข้าพเจ้าอ่านยังไม่ได้เป็นที่ดึงดูดใจข้าพเจ้าพอ ก็จะวางมันลงและมองหาเล่มอื่นต่อไป จริงอยู่ที่หนังสือบางเล่มหน้าปกอาจไม่ได้วิเศษเลิศเลอ แต่ข้างในเปี่ยมไปด้วยสาระเนื้อหาการเรียนรู้มากมาย แต่การทาให้มีสีสันหรือมีการดึงดูดก็มีชัยในการหยิบจับไปกว่าครึ่ง
                 จะว่าไปเรื่องของบุคลากรด้านการเขียนหนังสือของไทยก็ยังมีน้อยไม่เพียงพอสาหรับหนังสือดีๆที่จะสามารถถึงมือเด็ก เท่าที่เห็นไม่ค่อยมีนักเขียนของไทยคนไหนที่สามารถทาให้หนังสือของเค้าเป็นที่ตรึงตราตรึงใจเด็กหลายคนในเวลาเดียวกันได้ จริงอยู่ที่สมัยนี้ส่วนมากพวกเรานิยมอ่านหนังสือแปลกัน แล้วจะมีบ้างไหม หนังสือคนไทยที่ไม่ได้แปลแต่สามารถเขียนเรื่องราวน่าตื่นแต่และน่าสนใจได้เท่า แฮร์รี่ พอร์ตเตอร์ หนังสือที่ขายดีที่สุดในโลกจากคนฐานะธรรมดาๆแถมออกจะจนด้วยซ้าไป แต่ด้วยหนังสือเพียงเล่มเดียวก็สามารถทาให้เธอกลายเป็นเศรษฐีในเวลาไม่กี่ปี เธอเขียนหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยความสนุกสนานของหนังสือเล่มนี้ทาให้มันถูกนาไปแปลไม่รู้อีกกี่ภาษารายได้กลับมาสู่เธอเป็นกอบเป็นกาทาให้เธอไม่ต้องพะวงกับเรื่องการทามาหากินเธอสามารถทุ่มเทเวลาให้กับการค้นคว้าและสร้างผลงานต่อเนื่องได้อย่างเต็มที่หนังสือเล่มต่อเนื่องของ แฮรี่ พอร์ตเตอร์ จึงปรากฏสู่สายตาผู้อ่านเล่มแล้วเล่มเล่าและก็ขายดีเป็นอย่างยิ่ง การที่หนังสือจะขายได้ดีนั้นไม่ใช่เพราะความบังเอิญ หากแต่เป็นจากคุณภาพของตัวหนังสือนั่นก็หมายความว่าผู้เขียนจะต้องมีความรู้ที่ชัดแจ้ง มีจิตนาการ มีทักษะในการถ่ายทอดเรื่องราวหรือความรู้ต่างๆออกมาเป็นตัวหนังสือได้อย่างมีเสน่ห์ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีของคนไทยที่เห็นๆ น่าจะเป็นหนังสือชื่อ เพชรพระอุมา ของ นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ มีนามประกาว่า พนมเทียน ที่ออกมาหลายเล่มได้ติดต่อกันถึง 48 เล่ม หรือจะเป็นของ พล นิกร กิมหงวน แต่งนิยาย เรื่องสามเกลอ เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยต้องอ่าน สองอย่างที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาข้าพเจ้าได้สัมผัสมาแล้วถึงจะไม่ได้อ่านทั้งหมดแบบจริงๆจังๆแต่ยอมรับว่าหนังสือนี้ควรค่าจริงๆ ถ้าจะมีนักเขียนหนังสือดีๆอย่างนี้หลายๆคน สิ่งเหล่านี้ต้องมีการฝึกฝน ค้นคว้า ซึ่งก็หมายความว่าต้องอาศัยเวลาในการทางานนั่นเอง และการที่นักเขียนจะทาแบบนี้ได้รายได้จากการเขียนหนังสือก็ต้องพอเพียงที่จะเลี้ยงตัวเขาเองในระหว่างการค้นคว้าข้อมูลและการเขียนหนังสือ ผู้เขียนหนังสือ แฮรี่ พอร์ตเตอร์ ใช้เวลาเป็นปีในการค้นคว้าเรียบเรียงและเขียนหนังสือแต่ละเล่ม โดยไม่ต้องพะวงเรื่องการเงินถ้าคนไทยสามารถแต่งหนังสือได้ดีพอๆกับคนเขียนเรื่อง แฮรี่ พอร์ตเตอร์ เด็กไทยคงจะอ่านหนังสือกันมากขึ้นก็อาจจะเป็นได้ซึ่งตรงกันข้ามอย่างยิ่งกับนักเขียนไทย หนังสือเรื่องหนึ่งหากขายได้เกินหนึ่งหมื่นเล่มนักเขียนและสานักพิมพ์ก็ดีใจกันจนแทบแย่แล้วเพราะตลาดมันแคบแถมคนไทยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสืออีกด้วย นักเขียนไทยจึงอยู่ในสภาพที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดตลอดเวลาโอกาสที่จะได้ค้นคว้าข้อมูลอย่างเต็มที่ โอกาสที่จะทางานอย่างพิถีพิถันเพื่อเกิดผลงานดีๆจึงเป็นไปได้ยาก คาว่า นักเขียนไส้แห้ง จึงเป็นจริงอย่างยิ่งสาหรับวงการนักเขียนไทยคนที่ก้าวเข้ามาสู่อาชีพนักเขียนอย่างเต็มตัวจึงมีน้อย เพราะต่างก็กลัวโรคไส้แห้งกัน โอกาสที่เราจะมีหนังสือดีๆในหลายมิติ หลากหลายสาระให้อ่านจึงเป็นไปได้น้อย แต่บางทีหนังสือคุณค่าของมันก็อยู่ที่ตัวผู้อ่านนะว่าให้ความสาคัญกับมันแค่ไหน การให้ความสาคัญกับหนังสือถ้าเป็นคนที่รักการอ่านจริงๆเค้าจะเห็นว่าหนังสือเป็นสมบัติล้าค่าสาหรับเขา
          ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ทางการเมืองในบ้านเราปัจจุบันได้สร้างความตื่นตัวทาให้เกิดพัฒนาการ การเรียนรู้ที่หลากหลายโดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก และเยาวชน ซึ่งมีการเรียนรู้ได้ทั้งทางการมีประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าจะจะเป็นการไปเข้าร่วมชุมนุมหรือการสัมผัสทางสื่อต่างๆ ทั้งสื่อ วิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์หรือเคเบิ้ลเป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้กระบวนการทางสังคมประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นหลายฝ่ายควรตระหนักถึง เด็กและเยาวชนที่จะเป็นกาลังของชาติเราในวันข้างหน้าว่าพวกเขาเหล่านั้นได้ประโยชน์อะไรจากการพัฒนาทางสังคมครั้งนี้และจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของประเทศต่อไป อย่างไรก็ตามแม้สังคมจะเปิดกว้างให้เกิดการเรียนรู้แต่ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลข่าวสารและกระบวนการที่เรียนรู้นั้นจะเป็นเรื่องจริงเสียทั้งหมดฉะนั้นกลุ่มคนที่อยู่ในเหตุการณ์หรือมีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องใช้วิจารณญาณการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลในการรับข่าวสารด้วย กลุ่มคนที่เข้าร่วมกระบวนการดังกล่าวที่เป็นผู้ใหญ่ก็ยังสามารถที่จะสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลที่รับเข้ามาได้บ้างอย่างไม่น่าเป็นห่วงแต่เท่าที่เห็นตามข่าวมีกลุ่มที่เป็นเยาวชนเพราะเยาวชนยังมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ยังไม่ดีพอและสมบูรณ์มากนักจึงควรเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะคอยแนะนาพวกเขาเหล่านั้นอย่างใกล้ชิด สาหรับเด็กๆที่พ่อแม่ผู้ปกครองพาตัวเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์เป็นที่น่าเป็นห่วงที่สุดเพราะจะเกิดผลกระทบหลายอย่างตามมากลับตัวเด็กทั้งทางร่างกาย จิตใจ ในขณะเยาวชนที่เข้าร่วมเหตุการณ์ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดูแลเยาวชนเหล่านี้จะต้องสอดแทรกความรู้เข้าไปทีละน้อยและต้องสอนหลักการใช้เหตุและผลเข้าไปด้วยเพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ดีของเด็ก เด็กและเยาวชนที่มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้การเมืองด้วยตนเองหากไม่มีคนดูแล และแนะนาที่ดีแล้วอาจจะกลายเป็นเด็กที่ก้าวร้าวต่อไปในอนาคตอาจไม่สามารถแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้องได้ ดังนั้นสิ่งที่สาคัญที่จะทาให้เด็กเหล่านี้สามารถสังเคราะห์ วิเคราะห์ได้ดีจะมี สามส่วนคือ บ้าน โรงเรียน และสื่อ การปลูกฝังจิตสานึกในการอ่านหนังสือ คนไทยไม่ได้มีการปลูกฝังการอ่านหนังสือให้กับเด็กเป็นที่น่าพอใจนักเนื่องจาก ปัจจุบันการสอนคือสอนให้อ่านเป็นแต่ไม่ได้สอนให้รักในการอ่าน สื่อในหลายๆสื่อเกี่ยวกับการอ่านแสดงข้อคิดเห็นที่ต่างกันมากเกินไปจนถึงขัดแย้งกันจนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเรื่องราวที่นาเสนอว่าเรื่องในเป็นเรื่องจริงเรื่องใดเป็นเท็จ ในขณะที่สื่อบางสื่อพยายามให้เลือกข้าง แบ่งพรรคแบ่งฝ่าย ทาให้เยาวชนเบื่อหน่ายในการเสพข่าวสาร สื่อต่างๆตอนนี้นาเสนอแต่เรื่องการเมืองเป็นส่วนมาก เด็กสมัยนี้ก็เริ่มระอาการเมืองเหมือนกัน จึงทาให้หนังสือพิมพ์เป็นเรื่องที่ห่างไกลจากมือเด็กไปเลย
             ในทางจิตวิทยาเราพบว่าหากสิ่งที่ผู้ใหญ่สอนและสิ่งที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติมีความขัดแย้งกันเด็กจะทาตามในสิ่งที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติซึ่งมีความสอดคล้องกับการค้นพบใหม่ในทางประสาทวิทยาศาสตร์นั่นคือการค้นพบเซลล์กระจกเงาในสมองของมนุษย์ การค้นพบนี้ทาให้รู้ว่าวิธีการเรียนรู้ที่สาคัญที่สุดของมนุษย์คือการเรียนรู้ด้วยการเรียนแบบพฤติกรรมทางสังคม ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษา ทักษะทางอาชีพ หรือแม้กระทั่งทักษะในการดารงชีวิตประจาวันเราต่างเรียนรู้ผ่านจากการเรียนแบบทั้งสิ้น การอ่านและการเรียนรู้พฤติกรรมหรือทักษะที่เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลและพฤติกรรมทางสังคมย่อมต้องเรียนรู้ผ่านการมีแบบอย่างให้เห็นในเมื่อผู้ใหญ่ก็ไม่อ่านให้เห็นจะพร่าบ่นพร่าสอนอย่างไรมันก็ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้ขึ้นมาเรื่องนี้คือปมที่สาคัญที่สุดของการส่งเสริมการอ่านในบ้านเราเราช่วยกันรณรงค์ให้พ่อแม่เล่านิทานอ่านหนังสือให้ลูกแต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้นดังนั้นการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดในสังคมไทยด้วยการส่งเสริมจากพ่อแม่ให้อ่านหนังสือแล้วเด็กจะทาตาม การส่งเสริมให้วัยรุ่นอ่านหนังสือโดยการสร้างหอสมุดที่ดึงดูดความสนใจหรือที่เราพยายามเรียกว่าห้องสมุดมีชีวิตจึงไม่น่าจะเพียงพอทาให้เกิดการอ่านหนังสือกันมากขึ้นได้การโน้มน้าวผู้ใหญ่ให้มาอ่านหนังสือเรียนรู้สร้างความรู้ใหม่ให้กับตนเองอยู่ตลอดนั้นเพื่อจะทาให้การอ่านเป็นกิจวัตรประจาวันที่จะขาดไม่ได้ทาให้การเรียนรู้เป็นการดารงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขของคนในสังคมคงเป็นไปได้ยากเพราะผู้ใหญ่ก็เหมือนกับไม้แก่ที่ดัดยังไงก็ดัดไม่ขึ้น
             ปัญหาของเด็กไทยตอนนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของการอ่านหนังสือเท่านั้น การเขียน การฟัง การพูด ก็ยังอยู่ในภาวะที่ต่าเช่นกันเมื่อเปรียบเทียบกับประชาคมอาเซียน ในตอนนี้เด็กไทยไม่สามารถจับใจความประโยคที่อ่านได้อย่างถูกต้องหรือแม้การตีความจากการอ่านยังทาได้ไม่ดีนักซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมากต่อการสื่อสาร เด็กไทยเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้มีการศึกษา แต่กลับไม่รู้จักการใช้ภาษาที่ดี และถูกต้อง ใช้ภาษาไม่เหมือนผู้ที่มีการศึกษา ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว สื่อ ค่านิยมในสังคม รวมถึงตัวเด็กเองที่ไม่ตระหนักว่าตนเป็นผู้มี การศึกษา จะโทษเรื่องภาษาอย่างเดียวก็ไม่ถูก เพราะตอนนี้ ประเพณี วัฒนธรรม จรรยา ของเด็กไทยก็ด้อยลงเหลือเกิน ความรู้รอบตัวเริ่มน้อยลง เพราะสภาพแวดล้อมที่มักง่ายของสังคม แค่การเขียนเรียงความธรรมดายังต้องมีอินเตอร์เน็ทเป็นตัวช่วยเสริมความคิด แปลกที่ว่าตอนนี้เด็กไทยเราเริ่มไม่มีความคิดในตัวเองแล้วหรอ เพราะพอกลับถึงบ้านสิ่งแรก คือ คอม เกม เพื่อน ทีวี ซีรี่ย์ การ์ตูน เป็นสถานบันเทิงของเด็กย่อยๆที่ผู้ใหญ่ที่รักลูกและต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเด็ก แล้วอะไรล่ะที่จะปลูกฝังการอ่านเด็กได้ครอบครัวไง แล้วครอบครัวไปไหน คุณพ่อ ทางาน คุณแม่ทางาน ลูกล่ะ จับส่งที่เรียนพิเศษบ้าง ทิ้งให้อยู่หน้าที่วี หน้าคอมที่บ้านบ้าง ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เด็กคนเดียวแล้ว ปัญหาอยู่ที่คนไทย มุ่งทางานหาเงินเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในครอบครัว มันเป็นเรื่องที่ดีนะว่ามีคุณพ่อคุณแม่ที่ดีขยันทามาหากิน แล้วเด็กใครก็บอกว่าเด็กเป็นไม้อ่อนที่ดัดง่ายแต่ถ้าปล่อยไว้นานไม้อ่อนนั้นแก่ขึ้นมาจะมาดัดมันก็จะหักเอา ไม้อ่อนหากซึมซับสิ่งไม่ดีจะส่งผลต่อพฤติกรรมในอนาคตได้
              คนไทยส่วนใหญ่มองว่าการอ่านหนังสือไม่มีความจาเป็นต่อชีวิตและมาเจอกับสภาพที่ไม่มีหนังสือให้อ่าน ไม่มีห้องสมุด ไม่มีร้านหนังสือที่สามารถหาหนังสือมาอ่านด้วยราคาที่ไม่เป็นภาระกับเรามากนัก ก็ยิ่งทาให้อัตราการอ่านหนังสือของคนไทยยิ่งน้อยลง มีคนพูดว่าในบ้านเราหากจะหาซื้อเบียร์หรือเหล้ามาดื่ม หรือบุหรี่มาสูบ สามารถทาได้ง่ายกว่าการหาหนังสือพิมพ์สักฉบับมาอ่าน นี่คือความจริงที่เราต้องยอมรับ ร้านขายหนังสือในบ้านเราจะมีเพียงก็ระดับอาเภอ ระดับจังหวัดเท่านั้น ซึ่งหากนับรวมกันแล้วไม่น่าจะเกิน 1500 แห่งทั่วประเทศเมื่อมาเปรียบเทียบกับคนจานวน 60 กว่าล้านคน ถือว่าน้อยมาก ลองคิดดูเล่นๆว่าหากมีใครสักคนอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหนึ่งห่างจากอาเภอเพียงแค่ 20 กิโลเมตรวันดีคืนดีเค้าอยากอ่านหนังสือสักเล่มหรือหนังสือพิมพ์สักฉบับขึ้นมาเขาต้องทาก็คือการหาทางเข้าไปในตัวอาเภอจะด้วยอะไรก็ตามเพื่อไปห้องสมุดหรือร้านขายหนังสือเขาจาเป็นต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า สองชั่วโมงเพื่อการนี้และก็จะเกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าอะไรต่อมิอะไรเพียงแค่คิดก็คงพอจะได้คาตอบแล้วว่า เขายังอยากจะอ่านหนังสืออยู่อีกหรือไม่ ความไม่สะดวกในการเข้าถึงหนังสือและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จึงกลายเป็นอุปสรรคอีกอันหนึ่งที่ขวางกั้นการอ่านของผู้คนในสังคมไทยรัฐบาลพยายามที่จะสร้างโอกาสในการเข้าถึงหนังสือของคนไทยให้มากขึ้นด้วยการสร้างห้องสมุดประชาชนให้กระจายไปตามชุมชนหรือชนบทท้องถิ่นต่างๆแต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะห้องสมุดที่มีอยู่มีเพียงระดับอาเภอ ซึ่งปัญหาก็ไม่ต่างจากการกระจายตัวของร้านหนังสือ คือไกลเสียจนไม่อยากเดินทางมาใช้บริการ การสร้างที่อ่านหนังสือประจาหมู่บ้านตามนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนก็สามารถสนับสนุนได้เพียงหนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร และสิ่งพิมพ์เผยแพร่ทางราชการเพียงไม่กี่รายการซึ่งไม่เพียงพอที่จะดึงดูดประชาชนเกิดความสนใจที่จะอ่านหรือค้นคว้าความรู้ให้กับตนเองในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กาลังก้าวเข้ามามีบทบาทแทนที่กระทรวง ทบวง กรม ก็ยังไม่สามารถพัฒนาตนเองไปสู่บทบาทของการสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเกิดความรู้สึกรักในการอ่าน หรือสนับสนุนให้เกิดแหล่งค้นคว้าหาความรู้ในท้องถิ่นได้ ส่วนใหญ่มองไม่เห็นความสาคัญในเรื่องนี้ด้วยซ้าไป เพราะยังให้ความสาคัญกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
             การเป็นนักอ่านที่ดีได้นั้นต้องเริ่มพัฒนาและฝึกฝนตัวเองให้เกิดลักษณะนิสัยและคุณลักษณะที่ดีของนักอ่าน พยายามสร้างนิสัยตนเองให้รักการอ่าน โดยพยายามอ่านหนังสือทุกประเภทที่จะให้ประโยชน์และอ่านบ่อยๆจนเกิดนิสัยฝึกฝนการอ่านให้รวดเร็วและจับใจความให้ได้วิธีการก็คือต้องใช้ช่วงสายตาให้กว้างพยายามให้ไม่มีจุดสะดุด หรือสายตาหยุดนิ่งเพื่อจะให้อ่านได้รวดเร็ว ขณะที่อ่านก็พยายามจับใจความไปด้วย ฝึกฝนตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านคือการอ่านเพราะต้องรู้ อ่านเพราะความรู้ และอ่านเพราะอยากรู้ การที่จะเป็นคนเก่งกว่าหรือว่ามีความสามารถเหนือกว่าคนอื่นได้เราต้องตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านแล้วพยายามทาให้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้นให้ได้ ฝึกสังเกตส่วนประกอบของหนังสือ เช่น ปก คานา สารบาญ คานิยม หัวข้อเรื่อง บรรณานุกรม จะทาให้เราเข้าใจสิ่งที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น ใช้เทคนิคหรือองค์ประกออื่นๆเข้าช่วยเช่น สร้างบรรยายกาศทาให้จิตใจมีสมาธิใช้ประสาททุกส่วนช่วยจา ตั้งใจให้แน่วแน่ ทาอารมณ์ให้สดชื่อแจ้มใส
             อีกปัญหาของการอ่านหนังสือน้อยลงของเด็กคือ การอ่านเท่าไหร่ก็ไม่จาจึงทาให้เบื่อการอ่านเพราะต้องอ่านซ้าๆ การอ่านหนังสือที่ดีก็มีเวลาที่เหมาะแก่การอ่านหนังสือเหมือนกัน ควรเป็นช่วงเวลาที่ ความคิดของเรานั้นไม่ฟุ้งซ่านกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อนการที่จะจาเนื้อหาของหนังสือได้ดีที่สุดดังนั้นเวลาเช้าหลังตื่นนอน หรือแม่กระทั่งก่อนนอนจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด รวมไปถึงสภาพในห้องนอนก็มีผลต่อการอ่านหนังสือที่ดีเช่นกันคือ ในการอ่านหนังสือนั้นความสว่างของแสงไฟต้องมีเพียงพอต่อการอ่านหนังสือ เพราะไม่เช่นนั้นดวงตาของเราจะทางานหนักและเมื่อยล้าเร็ว จะทาให้เวลาและสมาธิสั้นคือ ความเงียบสงบจะเป็นตัวช่วยในความคิดเพื่อที่จะคิดเร็วและสมาธิสูง ถึงความง่วงจะถามหา การกาจัดความง่วงในการอ่านหนังสือก็คือ การตั้งเวลาตื่นให้เป็นเวลาเดียวกันประจาเพื่อกาจัดร่างกายให้เกิดความเคยชินโดนอัตโนมัติ ชนิดที่ว่าไมต้องพึ่งนาฬิกาปลุกปลุกอีกต่อไป เพราะเมื่อไหร่ที่ร่างกายเกิดความเคยชินร่างกายก็จะสั่งให้ตัวเองตื่นมาเองโดนไม่ต้องปลุกและยังรู้สึกว่าตัวเราเองนั้นนอนเต็มอิ่มอีกเช่นกัน หลังจากการตื่นนอนแล้วก็ควรดื่มน้าเปล่าสักหนึ่งแก้วเพื่อการทาสมองให้ปลอดโปร่ง เพื่อพร้อมในการเปิดรับข้อมูล หรืออาจะจะเป็นการกระตุ้นร่างกายให้ตื่น โดยการยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อบริเวณ ต้นคอ ไหล่ แขน และฝ่ามือ ประมาณ 5 – 10 นาที แรงดึงดูดของสิ่งแวดล้อมในการอ่านหนังสือใหม่ๆก็เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มสีสันหรือบรรยากาศในการอ่านหนังสือให้ดียิ่งขึ้น คนญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นนักอ่านระดับต้นๆของโลกโดยดูได้จากการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหนังสือ บนรถไฟรถประจาทางในญี่ปุ่นภาพคนหนึ่งคนยืนอ่านหนังสือเป็นภาพที่เราพบเห็นจนชินตาแต่ไม่กี่ปีมานี่เองรัฐบาลและเอกชนญี่ปุ่นต้องเร่งส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจังเพราะมีการค้นพบว่าเด็กญี่ปุ่นอ่านหนังสือกันน้อยลงแต่สาหรับไทยคนญี่ปุ่นก็ยังอ่านหนังสือมากกว่าเราอยู่ดี เพราะอิทธิพลของเกมคอมพิวเตอร์มีมากกว่าหนังสือ
              การอ่านหนังสือที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอ่านตรงไหนก่อนดีนั่นคือการที่เรามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการอ่านอย่างเช่นคิดว่า เห็นหนังสือเหมือนยานอนหลับบ้าง เราต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่เพื่อการอ่านหนังสือที่จะได้จดจาได้ง่าย เมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือแล้ว ก็ต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการอ่านหนังสือด้วย แรงจูงใจเป็นตัวผลักดัน และกระตุ้นให้มีความอยากในการอ่านหนังสือ วิธีการสร้างแจงจูงใจก็คือการคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น ถ้าเราอ่านหนังสือสาเร็จ เราจะได้ทาข้อสอบได้อย่างไม่รู้สึกผิดที่หลังว่าทาไมเราไม่ต้องใจอ่าน ไม่เช่นนั้นเราก็ทาได้แล้ว เราต้องพยายามสรุปเนื้อหาหรือเรื่องที่เราอ่านออกมาเป็นในรูปแบบของรูปภาพ เพราะปกติแล้วมนุษย์เราจะจาเรื่องราวทุกอย่างเป็นรูปภาพ ในหลายๆวิชาที่ไม่มีรูปภาพประกอบหรือไม่สามารถจิตนาการเป็นรูปภาพได้นั้นให้เอาเนื้อหามาแยกออกเป็น My map เพื่อเชื่อมโยงในส่วนที่สัมพันธ์กัน และวาดให้เป็นความเข้าใจของตัวเราเองจะทาให้จาแม่นขึ้น และเราต้องหาเวลาติวให้เพื่อนเพราะจะเป็นวิธีการทบทวนความรู้ของเราที่ดีที่สุด เพราะการติวให้เพื่อนเราจะสอนจากความเข้าใจของตัวเราเองหากติวแล้ว เพื่อนที่เราติวให้เกิดความเข้าใจแสดงว่าเราแตกฉานในเรื่องนั้นแล้ว ให้ความสาคัญในหนังสือหรือวิชาที่เราถนัดที่สุดก่อนเพราะอย่างน้อยถ้าเราทาวิชาที่เราถนัดได้ดีที่สุด เราสามารถเอาคะแนนมาถัวเฉลี่ยกับวิชาอื่นได้ สุดท้ายเรื่องของสมาธิเป็นสิ่งที่สาคัญที่สุดในการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพสูงต้องมีสมาธิที่ดีเยี่ยมเพราะใครที่สมาธิสั่นจะทาให้จาเนื้อหาที่อ่านมานั้นยาก ลืมง่าย ส่วนใครที่สมาธิดี จะจาง่าย ลืมยาก การอ่านหนังสือต้องอ่านต่อเนื่องอย่างน้อยชั่วโมงครึ่ง เพราะ 30 นาทีแรก จิตใจของเรากาลังฟุ้ง ให้พยายามปรับให้นิ่งภายใน 60 นาทีหลัง ใจนิ่งมีสมาธิแล้วก็พร้อมรับสิ่งใหม่เข้าสู่สมองที่สาคัญอย่าเอาขยะมาใส่หัวห้ามคิดเรื่องพวกนี้สักพัก เช่น เกม หนัง แฟน พยายามออกกาลังกาย ดูแลสุขภาพ ก็จะช่วยในการอ่านหนังสือเช่นกัน
               คุณประโยชน์ของการอ่านหนังสือมีมากมาย เช่นการอ่านทาให้เกิดความคิด คนที่อ่านหนังสือมากมักจะเป็นนักคิด อีกทั้งการอ่านยังทาให้เราสามารถคิดใคร่ครวญมากกว่าการฟังเพราะการฟังเราไม่สามารถหยุดฟังคนพูดได้ เราต้องฟังจนจบ แต่การอ่านหนังสือ เมื่อเราอ่านแล้วเกิดคาถาม เกิดความสงสัย เราสามารถหยุดอ่านบรรทัดนั้นได้แล้ว คิดต่อว่าสิ่งที่เราอ่านนั้นใช่หรือไม่ใช่เป็นจริงหรือไม่เป็นจริงตามที่ผู้เขียนนั้นเขียนไว้ การอ่านช่วยในการสร้างสมาธิได้ดี คนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นคนที่มีสมาธิดี การอ่านจึงเป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่งเป็นการฝึกสมาธิที่ได้ทั้งองค์ความรู้ ความคิด และข้อมูลต่างๆในเวลาเดียวกัน การอ่านช่วยในการพัฒนาตนเองอีกด้วย คนที่ชอบเรียนรู้ชอบที่จะพัฒนาตนเองการอ่านเป็นสิ่งที่ช่วยคุณได้ดีเหมือนกันในเรื่องนี้เพราะการอ่านจะช่วยให้เราเกิดทักษะต่างๆมากมายทั้งนี้การอ่านยังให้ทั้งความบันเทิงความเพลิดเพลินกับเราด้วย บางคนเมื่อทางานเหนื่อยเกิดความเบื่อหน่ายในการทางาน การอ่านหนังสือตลก หนังสือบันเทิง หนังสือนิยายจะช่วยเพิ่มความเพลิดเพลินได้อีกวิธีหนึ่ง การอ่านมาพร้อมกันการสร้างแรงบันดาลใจเสมอ คนที่ประสบความสาเร็จมักชอบอ่านหนังสือ การอ่านทาให้เกิดความคิด เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความมานะที่จะต่อสู้สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับ ชีวประวัติบุคคลสาคัญต่างๆของโลก เมื่อเราเห็นประโยชน์ของการอ่านหนังสือแล้วแต่ถามว่าทาไมคนไทยจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ อาจเป็นเพราะหลายคนคิดเรื่องเกี่ยวกับหนังสือไม่ถูกต้อง เช่นถ้าอ่านมากก้อโดนล้อว่าเป็น หนอนหนังสือบ้าง หรืออ่านมากแล้วเครียด อีกทั้งบรรยากาศในการอ่านก็มีส่วนช่วยในการอ่านหนังสืออีกด้วย การปรับปรุงห้องสมุด จึงเป็นส่วนสาคัญที่จะเป็นเครื่องมือในการช่วยให้คนไทยเกิดนิสัยรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นคุณประโยชน์ของการอ่านจึงเป็นการเปิดหน้าต่างให้เราพบโลกที่กว้างขึ้น เราสามารถเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ เรื่องราว ของประเทศต่างๆ ของคนอีกซีกหนึ่งของโลกก็ด้วยการอ่าน จงอ่านหนังสือมากๆแล้วชีวิตของท่านจะเปลี่ยนแปลง
               เด็กอ่านหนังสือน้อยลงอย่าโทษใครโทษตัวเราที่ไม่มีวัฒนธรรมนี้มาตั้งแต่ต้น วัฒนธรรมการอ่านหนังสือที่ต้องสร้างมันขึ้นมาใหม่ที่ให้เห็นกับแบบชัดเจนและเป็นรูปธรรม ควรกลั่นกรองสื่อ เทคโนโลยีที่จะเข้าตัวเด็กให้ได้มากที่สุด การเรียนรู้ไม่มีสิ้นสุด เมื่อเวลาเปลี่ยนหลายสิ่งหลายอย่างยังเปลี่ยนตัวเราเองก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพื่อปรับให้ทันกับประชาคมอาเซียนที่กาลังจะเข้ามาถึง ดูประเทศข้างบ้านเราเค้ามี5gกันแล้ว 3g บ้านเรายังทะเลาะกันอยู่เลย แล้วอย่างนี้จะเอาหน้าที่ไหนไปสอนเด็ก จะเอาเวลาที่ไหนไปสร้างวัฒนธรรม เรากาลังจะกลายเป็นประเทศที่ล้าหลัง เพราะการทะเลาะกันของผู้ใหญ่ด้วยกันเอง เด็กระอา คานี้เป็นจริงอย่างที่จะโต้แย้งไม่ได้ เราต้องร่วมกันสร้างวัฒนธรรมใหม่เพื่อให้เด็กไทยมีอุปนิสัยในการรักการอ่าน เพื่อการก้าวทันโลกและรู้เท่าทันเทคโนโลยี

เอกสารอ้างอิง

- บทความวัฒนธรรมเลี้ยงลูกด้วยหนังสือ : วัฒนธรรมสร้างชาติ โดย คุณหมออุดม เพชรสังหาร
- เด็กไทยทาไมไม่อ่านหนังสือ : http://www.ffc.or.th/ffc_scoop/2552/scoop_2552_07_13.php
- เผยเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง! : http://www.bookandreading.com/thaireading/
- คุณคิดว่าทาไมเด็กไทยอ่านหนังสือน้อยลง ? : http://www.bookandreading.com/thaireading/
 - คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ : http://wannanuy.blogspot.com/2008/01/blog-post.html 
- เด็กไทยชอบเกมคอมพิวเตอร์มากกว่าหนังสือคนไทยไม่รักการอ่าน : http://www.dek-d.com/content/education

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น