วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทย นางสาวกรรณิการ์ ประภาวงศ์ รหัสนิสิต 53241653



                                                          บทความทางวิชาการ
                                             เรื่ อง ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทย
                            รายวิชา ปัญหาสังคมและประเด็นสําคัญด้านการพัฒนา (830329)
                                   โดย นางสาวกรรณิการ์ ประภาวงศ์  รหัสนิสิต  53241653
                     ____________________________________________________
             
              ในปัจจุบันสังคมของประเทศก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์และการเปิดประเทศอาเซียน
ข้อมูลข่าวสารของโลกสมัยใหม่ แพร่กระจายสู่สังคมต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทําให้อิทธิพลของ
วัฒนธรรมตะวันตกได้ครอบงําวิถีชีวิตของวัยรุ่นไทยจํานวนไม่น้อยทั้งในด้านการรับประทาน
อาหารฟาสท์ฟูด การแต่งกาย การคบเพื อนต่างเพศ  สังคมของวัยรุ่นไทยกลายเป็นสังคมบริโภคที่
แทบจะไม่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ   เด็กและเยาวชนถือเป็นกำลังสําคัญต่อการพัฒนา
ประเทศในอนาคต  แต่ในสภาพสังคมไทยปัจจุบันมีปัจจัยหลายด้านที ส่งผลกระทบที เป็นปัญหา
และอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที ดีของเด็กและเยาวชนไทย   พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น
ในปัจจุบันนี้ออกนอกกรอบดั้งเดิมมากขึ้นทุกที   เช่น  การเลือกคู่ครองจะถือเอาความรักเป็น
สําคัญไม่ชอบการคลุมถุงชน   การคบเพื่ อนต่างเพศ  เป็นไปอย่างอิสรเสรี  เพราะเห็นว่าไม่ใช่เรื่ อง
น่าละอาย  หญิงสาวให้ความสําคัญในการครองตัว เป็นหญิงพรหมจรรย์ถึงวันแต่งงานน้อยลง
ประกอบกับความเข้าใจที ไม่ถูกต้องในเรื่ องเพศ   ทําให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที ไม่ถูกต้อง
เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร   การเสพสื อลามกอนาจาร การสําส่อนทางเพศ
การเบี ยงเบนทางเพศ  เช่น  การรักร่วมเพศ   เป็นต้น   ปัญหาวัยรุ่น โดยเฉพาะในเรื อง “ปัญหา
พฤติกรรมทางเพศที ไม่เหมะสมของวัยรุ่น” กำลังจะกลายเป็นปัญหาสังคมที รุนแรงเพิ่มขึ้นทุก
วัน  จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่ เกิดขึ้นแทบไม่เว้นในแต่ละวัน   ทั้งเรื องเด็กผู้ชายรุมโทรม
และข่มขืนเด็กผู้หญิง   หรือ   การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรจนตั้งครรภ์    การทําแท้ง  รวมถึงการ
ติดโรคทางเพศสัมพันธ์  อาทิ   โรคเอดส์ที่ขณะนี้ตัวเลขวัยรุ่นไทยติด “โรคร้าย” นี้ เพิ่มสูงขึ้นอย่าง
น่าใจหาย  และที เป็นข่าวเกรียวกราวบนหน้าหนังสือพิมพ์เมื อไม่นานมานี้   คือเรื องการแสดง
พฤติกรรมทางเพศที ไม่เหมาะสมบนรถเมล์   การไปเช่าบ้านหรือโรงแรมเพื่ อมีเพศสัมพันธ์กันของวัยรุ่น และที ต้องตกตะลึงไม่น้อย ก็คือ   คลิปนักเรียนชายหญิงแอบมีความสัมพันธ์กันในห้องนํ้าโรงเรียนว่อน
อินเทอร์เน็ต  จะเห็นได้ว่าปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทยเพิ่มขึ้นก็กำลังเริ่มจะเป็นปัญหาใหญ่ ของสังคมแล้วเกือบทุกๆด้าน  ทําไมวัยรุ่นไทยปัจจุบันนี้ถึงได้มีค่านิยมทางด้านเพศแตกต่างไปจากอดีตและก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมามากมายเพียงนี้
              ก่อนอื่นต้องทําความเข้าใจก่อนว่า  คําว่า "เพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน" (Premarital Sex)
ของภาษาอังกฤษที ใช้กันมีความหมายโดยนัยยะถึงการมีเพศสัมพันธ์โดยที ฝ่ายหญิงยังไม่พร้อม
ในการมีลูกโดยไม่ได้หมายความว่าการมีเพศสัมพันธ์การการจัดงานแต่งงานหรือจดทะเบียน
สมรสกัน  ซึ งให้ความหมายที ใกล้เคียงกับคําภาษาไทยที ใช้ว่า "เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร"
              วัยอันควร หมายถึง วัยที มีความพร้อมทางร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์ และความสามารถ
ในการเลี้ยงตนเองและครอบครัวมีเวลารู้จักการเรียนรู้ซึ งกันและกันจนเกิดความผูกพันรักใคร่กันอย่าง
จริงจังวัยรุ่นหรือวัยเรียนจึงจัดอยู่ในวัยที ยังไม่ถึงวัยอันควร  พวกเขาจึงไม่ควรที่จะมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร  เพราะเป็นวัยที ถ้าเกิดพลาดพลั้งขึ้นมาก็จะไม่สามารถที จะรับผิดชอบทั้งตัวเอง และเด็กที จะ
เกิดมาจากการพลาดพลัั้งได้
สาเหตุของปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
     1. ปัจจัยด้านพันธุกรรมพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจของวัยรุ่น  การเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะฮอร์โมนในร่างกายมีผลกระตุ้นให้มีความสนใจกับเพศตรงข้าม  รวมทั้งแรงขับตามธรรมชาติที ทําให้ใคร่ รู้ใคร่ลองในเรื องเพศจนทําให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจขึ้ น
     2. เริ่มต้นตั้งแต่การแต่งตัวที เปิดเผยมากเสื้อที เปิดให้เห็นเนินอกมากเกินไปเสื้อที เปิดสะดือ  กางเกงที รัดมากเกินไปเน้นส่วนสัดชัดเจนเกินไป
     3. วัยรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจเกี ยวกับเรื่ องเพศโดยเฉพาะในวัยรุ่นที มีแฟนหรือคนรัก  หากไม่ รู้จักการปฏิเสธเมื อถูกขอ  มีค่านิยมสมัยใหม่ที ผิดๆเกี ยวกับเรื องเพศ  คือเรื องเพศเป็นเรื องธรรมชาติ และการมีเพศสัมพันธ์กันตามกระแสวันสําคัญ
    4. การอยู่ หอพัก  อยู่ห่างจากพ่อแม่  หรือ ผู้ปกครอง การเที ยวในสถานเริงรมย์ การเที ยว
งานปาร์ตี้  การเที ยวต่างจังหวัด   มีการดื มเครื องดื มที มีแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติดจนทําให้ขาดสติ                                                                                                                      
    5. การอยู่ด้วยกันสองต่อสองระหว่างชายหญิงในที ลับตาคนและในบรรยากาศที่จะนําไปสู่การมีเพสสัมพันธ์ได้
    6. สถาบันครอบครัวและศาสนาที ปัจจุบันได้อ่อนแอลง    เด็กได้รับความอบอุ่นจากครอบครัวน้อยจากที พ่อแม่ต้องวุ่นกับการทํางานเพื อหาเงินเลี้ยงลูก หรือบางครอบครัวพ่อแม่มีปัญหาหย่าร้างต้องแยก
ทางกันทําให้เด็กต้องออกไปหาความอบอุ่นจากเพื อนและแฟน ซึ งถือเป็นเรื องเสี ยงที ทําให้เด็กกกลุ่มนี้ จะมีพฤติกรรมทางเพศที ไม่เหมาะสมได้   นอกจากนี้เด็กในยุคปัจจุบันยังห่ งไกลวัดไม่เคยไปทําบุญไหว้พระเด็กจึงไม่รู้จักสิ่งผิดชอบชั่วดี เพราะขาดสิ่งยึด
เหนี ยวทางจิตใจ
   7. เรื่ องเพศได้ถูกนําเสนอออกมาทางสื อต่างๆจํานวนมาก ซึ่งยังไม่นับรวมกับสื อลามกที มีอยู่เกลื่ อนหาซือได้ง่าย  ทําให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงเรื่ องนี้ได้ง่ายขึ้น
   8. สภาพสังคมที ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ผู้ชายหมกมุ่นและมีความต้องการทางเพศ
เพิ่มขึ้นจากสิ่งยั่วยุต่างๆ ทําให้ต้องมาลงกับเพศหญิง จนเป็นเหตุให้เกิดการคุกคามทางเพศรุมโทรม และการข่มขืน และจากประเด็นนี้ทําให้ผู้ชายเกิดการเรียกร้องจากฝ่ายหญิง ซึ งจะเป็นเหตุ
ที นําไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนเวลาอันควร
   9. ปัญหาการขาดการอบรมกล่อมเกลาขาดความใกล้ชิดสนิทสนม ทั้งจากครอบครัวทั้งจากสังคมแวดล้อมจากสังคม เช่น  สนามกีฬาที ออกกำลังกายไม่มีที พักผ่อนหย่อนใจไม่มีที จัดกิจกรรมต่างๆ ตามความสนใจไม่มีโดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆไม่มีสิ่งเหล่านี้ด้านครอบครัว  เช่น  พ่อแม่ ไม่มีเวลาให้ลูกไม่เคยใกล้ชิดลูกไม่เคยแนะนํากล่อมเกลาหรือเป็นตัวอย่างที ดีเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของการขาดความสัมพันธ์สืบเนื่องกันความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการสืบทอดความคิด    ความเชื อ   ประเพณี   แนวปฏิบัติต่อตนเองและสังคม
   10. สภาพแวดล้อมเด็กที อยู่ในสภาพแวดล้อมที ไม่ดีพบเห็นสิ่งที ไม่ดี  เช่น  การเห็นคนรอบข้างหรือ    เห็นคนที อยู่ในชุมชนเดียวกันมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย  ก็จะเอาเป็นเยี ยงอย่างและการเห็นบ่อยๆจนมองว่า เป็นเรื องธรรมดา  เด็กก็จะมีค่านิยมที ผิดเกี ยวกับเรื องเพศ        
   11. สื อต่างๆ การได้รับสื อที ยั่วยุ ส่งเสริมการมีพฤติกรรมทางเพศ เรื องเพศได้ถูกนําเสนอออกมาทางสื อต่างๆ จํานวนมาก ซึ งยังไม่นับรวมกับสื อลามกที มีอยู่เกลื่อนหาซื้อได้ง่าย ทําให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงเรื องนี้ ได้ง่ายขึ้น
   12. การเลียนแบบพฤติกรรมตามกระแสตะวันตก อาทิ การจับคู่อยู่กิน  การทําสถิตินอนกับผู้ชาย การมี เพศสัมพันธ์กับเพื อน
   13.วัยรุ่นมักหลงอยู่กับวัตถุนิยมมากเกินไป  และชอบตามเพื อนเมื อตัวเองไม่ได้ก็ต้องไขว่คว้าหาวิธี การที จะได้สิ่งของที ตนเองต้องการวัยรุ่นก็  ต้องหาวิธีการที จะได้สิ่งของนั้นมาให้ได้เร็วที สุดนั้นคือการมี เพศสัมพันธ์โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที ยอมเสียตัวเพื อแลกกับการได้เงิน
 ผลกระทบของปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรต่อตัววัยรุ่นทั้งทางร่างกายและจิตใจ
    1. การตั้งครรภ์ที ไม่พึงประสงค์ในช่วงวัยรุ่นการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ ทางร่างกายทําให้เกิดความพร้อมทางภาวการณ์เจริญพันธุ์สูงมาก   การตั้งครรภ์ที ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นเกิดจากการมีเพศ
สัมพันธ์ก่อนวัยอันควร  เป็นการตั้งครรภ์ในขณะที ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความพร้อมในทุกๆ ด้านจึงก่อให้
เกิดปัญหาตามมาอย่างมากทั้งทางด้านครอบครัวเศรษฐกิจ และ สังคม และปัญหาการตั้งครรภ์ที ไม่พึงประสงค์นี้ ส่งผลกระทบต่ออนาคตของวัยรุ่นอย่างมากด้วย
ลักษณะของปัญหาจากการตั้งครรภ์ทีไม่พึงประสงค์ มีดังนี้
     1.1 ฝ่ายหญิงที เป็นฝ่ายที ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมาก็ไม่อาจศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้   ทําให้ต้องออกจากการศึกษากลางคัน  ซึ งก็หมายถึง อนาคตการเรียนก็หมดไปอย่างสิ้นเชิงบางรายเมื อตั้งครรภ์ก็ไม่กล้าบอกพ่อแม่  ผู้ปกครองทราบแต่ก็ไม่สามารถปกปิดได้ตลอดไป จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปเผชิญชีวิตด้วยตนเอง เมื่อคลอดลูกก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย โดย     เฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาสังคม
     1.2 ในบางกรณีตัดสินใจทําแท้งเพื อยุติการตั้งครรภ์โดยหวังว่าเมื อไม่ตั้งครรภ์แล้วจะสามารถ
กลับมาใช้ชีวิตและศึกษาเล่าเรียนได้ตามปกติในความเป็นจริงแล้วการทําแท้งเป็นเรื่องทีผิดทั้งทางด้านศีลธรรม   กฎหมาย  และค่านิยมของสังคม  และ ที สําคัญที สุด  คือ ส่งผลกระทบอย่างมาก
ต่อสุขภาพในบางรายที ทําแท้งโดยผู้ทําไม่ใช่แพทย์อาจเป็นอันตรายรุนแรง เช่น ตกเลือด ติดเชื้ออย่างรุนแรง ทําให้เสียชีวิตได้  หรือบางรายอาจต้องผ่าตัดตัดมดลูกทิ้งทําให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกเลยตลอดชีวิต
     1.3 ในบางกรณีเมื อตั้งครรภ์ขึ้นมาจะทําให้เกิดภาวะจํายอมที ต้องแต่งงานกัน โดยทั้งสองฝ่าย
ยังไม่มีความพร้อมสําหรับการใช้ชีวิตคู่ที ต้องมีภาระเลี้ยงดูบุตรทําให้เกิดปัญหาครอบครัวซึ งนําไปสู่การหย่าร้างในที สุด
    1.4  ปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์วัยรุ่นที มีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ มักจะมีความรู้สึกว่ าตนทําผิดเกิดความละอายใจและวิตกกังวลว่าคนอื นจะรู้คิดถึงฝ่ายชายจะรับผิดชอบหรือไม่พ่อแม่จะ
คิดอย่างไร   ทําให้เก็บตัวเกิดความเศร้าโศกรู้สึกเครียดแต่สิ่งเหล่านี้จะลดน้อยลงได้ถ้าคนในครอบครัวยอมรับฟังปัญหาที เกิดขึ้นและให้อภัย
       2. เสียการเรียนเมือคนเราหมกมุ่นกับเรื่ องเพศมีเวลาอยู่กันมาก จะทําให้สนใจการเรียนน้อยหรือไม่ สนใจการเรียนเลย มักขาดเรียนบ่อย หรือหนีเรียนไปเลย หลายคนต้องลาออกจากโรงเรียนโดยเฉพาะฝ่ายหญิงจะพบมาก แต่ฝ่ายชายก็มีเหมือนกัน และงานวิจัยส่วนใหญ่ พบว่า ผลของการมีเซ็กส์ในวัยรุ่นสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนและผลการเรียนที ตกต่ำลงด้วย
       3. การที วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เสรีมากขึ้นทําให้การมองเห็นคุณค่าตนเองเปลี ยนไป  การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นส่งผลให้วัยรุ่นมองกิจกรรมทางเพศเป็นเพียง “การแลกเปลี ยน” อารมณ์ และวัตถุ ทางเพศ  ยิงเมื อมีบ่อยครั้งขึ้นการเคารพและเห็นคุณค่าตนเองก็จะยิ่งน้อยลง
      4. การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์อาจทําให้เกิดการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที สําคัญคือ  โรคในกลุ่มกามโรคและโรคเอดส์ โดยเฉพาะโรคเอดส์  เป็นโรคที กำลังแพร่  ระบาด และทําให้เกิดปัญหาทางสังคมอย่างมากทั้งยังเป็นโรคที ไม่มียาหรือวิธีการรักษาที ทําให้หายขาดได้ และไม่มีวัคซีนสําหรับป้องกันโรคนี้  การติดเชื้อโรคเอดส์จึงทําให้เกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมตามมาทั้งงยังทําลายอนาคตอีกด้วย
ผลกระทบต่อครอบครัว 
     1. สร้างความทุกข์ให้กับพ่อแม่ ไม่มีพ่อแม่ คนใดที พอใจเมื อลูกของตนมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แต่ที พ่อแม่บางคนมีการยอมรับกันนั้นก็ด้วยความสงสารลูก ซึ งพ่อแม่จะต้องทุกข์ระทมใจกับการกระทําที ผิดพลาดของลูก
     2. เสื อมเสียชื อเสียงของวงศ์ตระกูล คําโบราณกล่าวว่า “มีลูกสาวเหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน”เพราะถ้ามีส้วมอยู่หน้าบ้าน ถ้าส้วมแตกขึ้นมาจะเหม็นและอับอายชาวบ้าน เปรียบเทียบกับลูกสาวถ้าได้รับความเสียหายทางเพศเกิดขึ้น พ่อแม่ก็จะอับอายวงศ์ตระกูลจะพลอยมัวหมองไปด้วย
     3. เกิ ดความไม่เข้าใจกันของคนในครอบครั วและอาจเกิดปัญหาเรื องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กที เกิดจากการตั้งครรภ์ที ไม่ตั้งใจ
    4. เกิดปัญหาการหย่าร้างมากขึ้น
ผลกระทบต่อสังคม 
    1. ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรส่งผลกระทบต่อสังคมโดยเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาอื นๆตามมา ได้แก่
    1.1 เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาการทําแท้ง และปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งและเด็กเร่ร่อน
    1.2 ปัญหาความเสื อมของวัฒนธรรมอันดี ของสังคมไทย
    1.3 ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    1.4 ปัญหายาเสพติดปัญหาเรื องบุหรี เหล้า การพนัน
    1.5 ปัญหาแหล่งบันเทิง ผับ บาร์ ดิ สโก้  เธค สถานอาบอบนวด ซ่อง
    1.6 ปัญหาเรื องภาพยนตร์ โป๊ หนังสือโป๊ หรือเรื องโป๊ เปลือยร่างกาย การเสพสื อลามกอนาจาร
    1.7 ปัญหาการล่อลวง
    1.8 ปัญหาคุณภาพของประชากรต่ำ
    2. ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและปัญหาร่วมต่างๆ ทําให้ขาดประชากรที มีคุณภาพในการพัฒนาสังคมให้เจริญรุ่งเรือง
หน่วยงานทีมีส่วนเกียวข้องในการแก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
1. กระทรวงศึกษาธิการหน่วยงานที เกี ยวข้อง เช่น โรงเรียน   มหาวิทยาลัย
2. กระทรวงสาธารณะสุข หน่วยงานที เกี ยวข้อง เช่น กรมสุขภาพจิต โรงพยาบาล กรม อนามัย
 กรมส่งเสริมสุขภาพ
3. สถาบันครอบครัว
4. กระทรวงวัฒนธรรม
แนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆ 
1. กระทรวงศึกษาธิการ    ด้วยกระทรวงศึกษาธิ การประสงค์จะให้มีการดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน นักศึกษา มี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เพื อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล จึงกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนมีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันสมควรให้สถานศึกษาถือปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
     1. ให้สถานศึกษา ครู อาจารย์ เข้าไปมี ส่วนร่วมส่งเสริ มบทบาทและความสําคัญของพ่อ
แม่ ผู้ปกครอง เพื อช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ สถาบันครอบครัว และชุมชน
    2. ให้สถานศึกษาดําเนินการให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้นักเรียน นักศึกษารู้จักคิดละเข้าใจในคุณค่าและศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์รู้จักเคารพและให้เกียรติเพื อนมนุษย์ ด้วยกันทุกระดับวัย   สร้างค่านิยมและทัศนคติ ระหว่างเพศที ถูกต้อง และมีความซาบซึ้งในคุณค่าของวัฒนธรรมและขนบประเพณีอันดีงามของไทยรู้จักการวางตัวให้เหมาะสม ไม่มีพฤติกรรม เพศที ไม่เหมาะสมกับวัยของนักเรียน นักศึกษา
    3. ให้สถานศึกษาสร้างความสํานึกและความเข้าใจแก่ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเกี ยว กับเรื องสิทธิของเด็ก และหน้าที ที เด็กและเยาวชนต้องปฏิบัติแนวทางในการป้องกันแก้ไขและการให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ที ตกอยู่ในสภาวะยากลําบากเนื องจากการมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
   4. ให้สถานศึกษาดําเนินการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา สถาน
ศึกษา ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนที  ทําหน้าที เกี ยวข้อง เช่ น สารวัตรนักเรียน หรือเจ้าหน้าที ตํารวจในท้องที เพื อประสานความร่วมมือในการป้องกันมิให้นักเรียน นักศึกษา มีพฤติกรรมที ไม่เหมาะสม
   5. ให้สถานศึกษาให้ความรู้ด้านเพศศึกษา โดยบูรณาการให้เหมาะสมกับเพศและวัยให้ความรู้ ในการระวังรักษาตนเอง การรู้จักหลีกเลี ยงต่อสถานการณ์ ที ล่อแหลม หรือเป็นอันตราย
หรือเสี ยงต่อการเกิดความเสียหายทางเพศรวมทั้งการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  6. ให้สถานศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที เกี ยวข้องภายนอกโรงเรียนเพื อพิจารณาแนวโน้มด้านโอกาสและอุปสรรคในการดําเนินการและการแก้ไขปัญหากวดขันสอดส่อง นักเรียน นักศึกษาที หนีการ
เรียน หรือใช้เวลาหลังเลิกเรียนไปมั่วสุมในสถานเริงรมย์  หรือสถานที ไม่เหมาะสมศึกษาสภาพแวดล้อมและสอดส่องดู แลพื้นที ในบริเวณสถานศึกษาที เสี ยงต่อการเกิดปัญหามีมาตรการควบคุมและรักษาความปลอดภัยและจัดการไม่ให้มีจุดอับหรือล่อแหลมต่อการเกิดปัญหา
  7. ให้ครู  อาจารย์ถือเป็นหน้าที ที จะต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที ดีหลีกเลี ยงการใช้ความรุนแรง
ปฏิบัติต่อนักเรียน นักศึกษา โดยเข้าใจถึงปัญหาความต้องการ และจิตวิทยาของเด็กและเยาวชนด้วยความมี เมตตาปรารถนาดี ความอดทน และความยุติธรรม
  8. ให้สถานศึกษาสํารวจและจัดทําข้อมูลกลุ่มนักเรียน นักศึกษาที มีพฤติกรรมเสี ยง เช่น นักเรียน นักศึกษาทีมีพฤติกรรมเที ยวกลางคืน ดื มเครื องดื มที มีแอลกอฮอล์ ไม่มีผู้ปกครองดูแล หรือมีปัญหาทางครอบครัว กลุ่มนักเรียน นักศึกษาที อยู่ ในสภาพเสี ยงหรือมีสภาพชีวิตที ล่อแหลมต่อการเกิดปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร  เช่น  มีบิดามารดาแยกกันอยู่หรือ พักร่วมกับบิดามารดาที สมรสใหม่ บิดามารดาหรือผู้ปกครองประกอบอาชีพที อาจทําให้เกิดความโน้มเอียงให้เกิดความเสี ยง หรือมีรายได้ต่ำและข้อมูลนักเรียน  นักศึกษาที อยู่  หอพักหรือเช่าที่พักอยู่ตามลําพัง โดยให้มีมาตรการในการเฝ้าระวัง และให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา กลุ่มเหล่านี้โดยใกล้ชิ ด
   9. ให้สถานศึกษาควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมของนักเรียน นักศึกษา ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาให้อยูjในกรอบของความถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย
  10. ให้สถานศึกษาจัดทําระบบและกลไกในการช่วยเหลือดูแลนักเรียน นักศึกษาที ตกอยู่ในภาวะยากลําบาก หรือตกอยู่ในความเสี ยงอย่างใกล้ชิดโดยการรู้จักนักเรียน นักศึกษา เป็นรายบุคคล คัดกรองนักเรียนเพื อจําแนกกลุ่มเสี ยง และกลุ่มที่มีปัญหาส่งเสริมกิจกรรมโฮมรูม หรือประชุมชี้แจงทําความเข้าใจกับบิดามารดาหรือผู้ปกครองนักเรียนที ประสบปัญหาส่งเสริม กิจกรรมแก้ไขปัญหาและคลี คลายปัญหาร่วมกัน
   11. ในกรณีที นักเรียน นักศึกษาถูกกระทําละเมิดหรืออยู่ในภาวะยากลําบากจากสาเหตุการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรให้สถานศึกษาให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น โดยศึกษาปัญหาหรือสาเหตุและให้คําปรึกษาดูแลรักษาสภาพร่างกายและจิตใจ ประสานงานกับบิดามารดา หรือ ปกครอง และจัดส่งสถานพยาบาล สถานที พักฟื้น หรือสถานที ปลอดภัย เพื อให้การบําบัดเยียวยา โดยจัดให้มีระบบส่งต่อภายในและภายนอกสถานศึกษา
         หลักในการพัฒนาการเรียนรู้เรื่ อง “เพศศึกษา” ตามหลักสูตรใหม่ ของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข มี 7 ด้าน คือ 
  1. พัฒนาการทางเพศ (Human sexual development) หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเรื องเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศตามวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
  2. สุขอนามัยทางเพศ (Sexual health) หมายถึง ความรู้ความเขาใจและสามารถดูแลสุขภาพอนามัยทางเพศได้ตามวัย เช่น การดูแลรักษาอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ อนามัยการเจริญพันธุ์ความเข้าใจต่างๆในเรื่องเพศ
  3. พฤติกรรมทางเพศ (Sexual behavior) หมายถึง การแสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับเพศและวัย
 4. สัมพันธภาพ (Interpersonal relation) หมายถึง การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลในสังคมการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนเพศเดียวกันและต่างเพศการเลือกคู่การเตรียมตัวก่อนสมรสและการสร้างครอบครัว
 5. ทักษะส่วนบุคคล (Personal and communication skills) หมายถึง ความสามารถในการจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวของกับเรื่องเพศ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการปฏิเสธทักษะการขอความช่วยเหลือทักษะการจัดการกับอารมณ์ ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ
 6. สังคมและวัฒนธรรม (Society and culture) หมายถึง ค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสม สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย และการปรับตัวต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเฉพาะจากสื่อที่ยั่วยุต่างๆ  
  7. บทบาททางเพศ (Gender role) หมายถึง การสร้างเอกลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ความเสมอภาคทางเพศ และบทบาททางเพศที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมอย่างสมดุล
 2. กระทรวงสาธารณะสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสุขภาพจิตโรงพยาบาล กรมอนามัย กรมส่งเสริมสุขภาพ หน่วยงานต่างๆ ได้มีการรณรงค์ในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
และมีการให้ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ถูกต้องปัญหาต่างๆ ที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อสร้างค่านิยมที่ถูกต้องแก่เยาวชน
3. สถาบันครอบครัว ครอบครัวเป็นตัวที่สำคัญที่สุดในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
1. ให้ความรักความอบอุ่นกับลูกทำใจยอมรับเมื่อลูกทำผิด
2. คุยเรื่องเพศกับลูกโดยสอนให้เข้าใจและถูกต้อง ถ้าผู้ปกครองมัวแต่คิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอายเป็นเรื่องไม่ดูไม่ควรพูดกับวัยรุ่น ขอให้คิดเสียใหม่เพราะ วัยรุ่นเป็นวัยอยากลองหากพวกเขาไม่มีที่ปรึกษาที่ดีอาจทำให้เขายิ่งไปกันใหญ่ ดังนั่น ผู้ปกครองเป็นยาในการป้องกัน และการให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ดีที่สุด
หัวข้อที่ควรจะพูดคุยเรื่องเพศกันในครอบครัว : 
   1. การดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศรู้จักสอนลูกให้เรียกชื่ออวัยวะเพศให้สุภาพฟังได้ไม่เขินอายและพูดให้เป็นเรื่องปกติธรรมชาติ  
   2. ความรัก ความอบอุ่น ความสุขในการใช้ชีวิตคู่แสดงให้เห็นความรักความผูกพันของ พ่อแม่ เป็นตัวอย่างอื่นดูให้ลูกๆเลียนแบบอย่าลุมว่าลูกๆ จะเลียนแบบพ่อแม่เสมอๆไม่ว่าจะเป็นในทางดีหรือไม่ดีการสอนใหม่ ความรักในครอบครัวจะเป็นเกราะกำบังลูกๆไม่ ให้ติดยาเสพติดหรือริมีความรักที่ไม่ปลอดภัยในวัยเรียน
   3. พ่อต้องพูดคุยกับลูกชายสอนลูกชายให้เรียนรู้พฤติกรรมในการเป็นสุภาพบุรุษ แม่
ต้องสั่งสอนลูกสาวให้เป็นสุภาพสตรีรักนวลสงวนตัวชี้ตัวอย่างหรือผลร้ายในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรรวมทั้งสอนการวางตัวที่ถูกต้องการหัดปฏิเสธสิ่งยั่วยุ่ทั้งหลาย  
  4. ความเข้าใจผิดต่างๆ ทางเพศไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการช่วยเหลือตนเอง การมีพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบน การแสดงออกทางเพศที่ไม่เหมาะสม ต้องได้รับคำแนะนำถึงทางที่ถูกที่ควรอย่างถูกต้องตามกาลเทศะที่เหมาะสมอย่างไม่เป็นทางการ
  5. การตอบสนองต่อสิ่งเราอารมณ์ทางเพศว่าควรจะเป็นไปในทางใดจึงจะเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ รวมทงความสามารถในการอดทนอดกัน ควบคุมอารมณ์หรือเบี่ยงเบน
ความสนใจในเรื่องเพศหันไปสนใจในดนตรี  การออกกำลังกาย การเรียน การงานที่ มีประโยชน์กว่าแทน        
  6. ทักษะในการปฏิเสธการมีความสัมพันธุ์ทางเพศสำหรับลูกผู้หญิง วิธีการหลีกเลี่ยงที่จะมีเพศสัมพันธ์
ก่อนวัยอันควร การป้องกันตนเองจากการโดนข่มขืนหรือลวนลามทางเพศไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อน คนใกล้ชิด ญาติ หรืออาชญากรทางเพศตามท้องถนน วิธีการช่วยเหลือตนเองเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ ดังกล่าว ร่วมทั้งการแก้ไขสถานการณ์และการหาความช่วยเหลือหลังจากเกิดสถานการณ์ที่ไม่ต้องการให้เกิดผ่านพ้นไป  นอกจากนี้การสอนให้รู้จักความรักที่ปลอดภัย การมีความสัมพันธุ์ทางเพศที่ปลอดภัยก็สามารถเป็นหัวข้อในการสนทนาพูดคุยกันได้เมื่อมีเหตุการณ์ที่เป็นข่าวเกิดขึ้น  
4. กระทรวงวัฒนธรรม     ยังทําความเข้าใจเกี ยวกับสาระเนื้อหาวันวาเลนไทน์ตามความเชื อของชาวตะวันตกว่า วันวาเลนไทน์แท้จริง  หมายถึง   อะไรมีความสําคัญอย่างไร ไม่ใช่หมายถึง  วันที ต้องมีเพศสัมพันธ์กันอย่างที เด็กไทยเข้าใจ  และไม่อยากให้หลายหน่วยงานมาแก้ที ปลายเหตุ ซึ งแท้จริงแล้วหญิงไทยต้องรักนวลสงวนตัวอย่างที คนโบราณพรํ าสอนมาว่าอย่าชิงสุกก่อนห่าม
             เพราะฉะนั้นจากสาเหตุ ผลกระทบและปัญหาต่างๆที เกิดขึ้นเราไม่สามารถบังคับไม่ให้มันเกิดขึ้นไม่ได้   เพราะว่าวัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีทรรศนะที เปิดกว้างเกี ยวกับเรื องเพศมากขึ้น ซึ งยากต่อการห้ามแต่เราสามารถลดหรือแก้ไขให้มันเกิดน้อยลงได้   หากจะให้เกิดผลอย่างจริงจังและต่อเนื องจะต้องมีความร่วมมือกับครอบครัว  หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน และสื อต่างๆต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจังในการเผยแพร่ข่าวสารด้วย   แต่สิงสําคัญที สุดคือตัวของวัยรุ่นเอง ซึ งวัยรุ่นเป็นวัยที อยากรู้ อยากเห็นโดยเฉพาะเรื องเพศ   การหาทางออกที ดี จากการหมกมุ่นเรื องเพศ เช่น   การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การอ่านหนังสือ  การร้องเพลง  หรือกิจกรรมอื่นๆ ที เหมาะสม  ที สามารถหันเหการหมกมุ่นเรื องเพศ เป็นสิงที ดีที สุด แต่การป้องกันเมื อจําเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที วัยรุ่นควรทราบเพื อเป็นการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ตลอดจนป้องกันภาวะการตั้งครรภ์ในวัยที ไม่สมควรหรือในสภาพที ไม่พร้อมการป้องกันการตั้งครรภ์หรือคุมกำเนิดมีหลายวิธี ซึ งประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์วิธีต่างๆ ก็ไม่ได้ป้องกันได้ 100% ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเป็นสิ่งที ไม่สมควรเพราะไม่พร้อมทั้งวุฒิภาวะและฐานะทางเศรษฐกิจ  สังคม  และเป็นสิงที่ควรยกเว้นหรือไม่  ควรทดลองปฏิบัติคํากล่าวที ว่า ‘อดข้าวจนถึงคาดชีวาวายแต่ไม่ตายเพราะอดเสน่หา’ เพราะเพศสัมพันธ์ไม่ได้เป็นสิงสําคัญที สุดในวัยดังกล่าว   แต่การเล่าเรียนเขียนอ่านซึ งเป็นสิงจําเป็นและทําให้เป็นรากฐานทางอาชีพที ดีในอนาคตไม่เป็นปัญหาของสังคมอีกต่อไป





                                                        แหล่งอ้างอิง 

กิตติ พันธ์กันจินะ. เซ็กส์ในวันที ยังไม่ถึงวัยอันควร.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:    
                http://www.prachatai.com/column-archives/node/1920. (วันสืบค้นข้อมูล: 6 ธันวาคม
                2555).
ธวัชชัย เพ็งพินิจ.เยาวชนกับพฤติกรรมทางเพศปรากฏการณ์ที สังคมยอมรับความจริง.[ออนไลน์].
               เข้าถึงได้จาก : http://dusithost.dusit.ac.th/~nongkhai/nongkhai/vwxy/z{x.pdf.
               (วันสืบค้นข้อมูล : 6 ธันวาคม 2555).
ยุพา พูนคํา และ กอบกาญจน์ มหัทธโน. (2544). เพศศึกษา : ภูมิคุ้มกันที่วัยรุ่นต้องได้รับ.
               วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิงแวดล้อม, 24(2) : 26-32.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น