วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เด็กเร่ร่อน : วาระทางสังคม นาย วัชระ ทองขาว 53242506



รายงานวิชา 830329 ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
บทความทางวิชาการเรื่อง เด็กเร่รอน : วาระทางสังคม

นาย วัชระ ทองขาว 53242506
คณะสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม ชั้นปีที่ 3







     ปัญหาเด็กเร่ร่อนเป็นปัญหาที่มีมานาน และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ เป็นปัญหาสังคมที่เชื่อมโยงกับปัญหาอื่นๆ การศึกษาวิถีชีวิตของเด็กเร่ร่อน ทุกแง่มุมจะทำให้รัฐและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและหันมาสนใจแก้ปัญหาอย่างรีบด่วนและจริงจังมากกว่าเดิม โดยแต่ละประเทศต่างก็พยายามหาแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว รูปแบบในการแก้ปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ แนวทางคือ () การให้การศึกษา () การให้ทำงาน () การให้ความช่วยเหลือบนท้องถนน เด็กเร่ร่อน ปัญหาที่ดูคล้ายจะไกลตัวแต่แท้จริงเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นใครในชุมชน ในสังคม ต่างก็สามารถเป็นได้ทั้งผู้ป้องกันการเร่ร่อนของเด็ก หรือจะกลายเป็นผู้ผลักดันเด็กให้ออกมาสู่ถนนเพื่อเป็นเด็กเร่ร่อน หากช่วยเหลือพวกเขาได้แม้เพียงสักนิดก็แสดงน้ำใจหน่อยเถิดครับ ถือเสียว่าทำบุญก็แล้วกัน

     กรุงเทพมหานครมีจำนวนเด็กเร่ร่อนมากที่สุดในประเทศไทยโดยเด็กเร่ร่อนจะอาศัยอยู่ตามที่สาธารณะต่างๆเช่น หัวลำโพง สนามหลวง เชิงสะพานพุทธ วงเวียนใหญ่ สวนศรีนครินทร์ ลาดพร้าว พัฒน์พงษ์   สวนลุ่มพินี และเชิงสะพานปิ่นเกล้า เด็กเร่ร่อนเหล่านนี้ยังชีพอยู่ได้ด้วยการขอทาน การขายของ และการขายบริการทางเพศ เด็กเร่ร่อนส่วนใหญ่มักเสพยาเสพติดประเภทต่างๆ เช่นบุหรี่ แล็กเกอร์ ยากล่อมประสาท ยาม้า และเฮโรอีน สาเหตุที่ทำให้เด็กเร่ร่อนเสพยาเสพติดเกิดจากบุคลในทางสังคมที่มีพฤติกรรมชั่ว หลอกให้เด็กลองและชักจูงไปในทางที่ผิด ให้เด็กเป็นค่ารับใช้โดยอ้างว่าจะพาไปอยู่ด้วยและจะเลี้ยงดูเป็นอย่างดีให้สบายไม่ให้ลำบาก แต่แท้จริงแล้วเด็กถูกคนชั่วเหล่านี้หลอกให้ไปเป็นคนงานคอยรับใช้ให้หาเงินให้มันและถูกบังคับต่างๆนาๆถ้าไม่ทำตามก็จะถูกทำร้ายร่างกาย เราจะเห็นว่าเด็กออกมาหาเงินและมีการดำเนินชีวิตอยู่บนท้องถนนอย่างมาก เด็กเร่ร่อนจึงจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายอาทิ มีเพื่อนด้วยกัน ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์ และครูข้างถนน ซึ่งความสัมพันธ์กับบุคคลเหล่านี้มีทั้งในลักษณะที่พึงพาอาศัย ขอความช่วยเหลือ ช่วยแก้ไขปัญหา และถ้าไม่จำเป็นก็จะพยายามหลีหนีให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะเดียวกันยังมีครูข้างถนนที่เด็กเร่ร่อนให้ความไว้วางใจมากที่สุด และดีใจที่ได้พูดคุยกับครูข้างถนนเพราะครูข้างถนนนั้นให้ความช่วยเหลือ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่กรมประชาสงเคราะห์แค่ทำตามหน้าที่เป็นกลุ่มที่เด็กเร่ร่อนจะพยายามหนีออกห่างให้มากที่สุด
     ปัจจุบันนั้นจำนวนเด็กถูกทอดทิ้งมีตัวเลขและแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุน่าจะมาจากวัยรุ่นสมัยนี้โตเร็ว และมีความคิดที่ผิดอาจเป็นเพราะว่ายุคสมัยนี้เปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนมาก สมัยนี้เด็กไทยมักจะลอกเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆจากต่างประเทศ จนกลายเป็นค่านิยมที่ผิดๆ ส่วนเรื่องเพศสัมพันธ์เด็กยุคนี้อาจจะใจกล้ามากกว่าเมื่อก่อน ไม่คิดถึงอะไรหรือผลกระทบที่จะตามมาคิดเพียงแต่ว่าต้องได้ แต่ก็ไม่อยากให้มองว่าผลพวงของเด็กถูกทอดทิ้งมาจากเด็กใจแตกเพียงอย่างเดียว มันยังมีผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจและภาวะสังคมด้วย ที่สำคัญคนสมัยนี้รู้จักกฎหมายมากขึ้น เขาจะไม่ฆ่าลูกที่เกิดมาแต่จะใช้วิธีทิ้งตามโรงพยาบาล ทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หรืออุ้มมาทีหน้าสถานสงเคราะห์ทำให้มีจำนวนเด็กถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น
     สถานการณ์เด็กเร่ร่อนกำลังขยายตัวแบบเงียบๆทั้งในเชิงปริมาณและปัญหา ที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมที่ต้องช่วยกันดูแลและแก้ไขตลอดจนจำนวนเด็กที่มาจากหลายที่ไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่าเด็กจากต่างชาติ ทั้งพม่า กัมพูชา และลาว เข้ามาในประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นขอทานและถูกใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เพราะเรามองเห็นแค่ว่ามีเด็กเร่ร่อนอยู่ทั่วไปแล้วขอทาน ใช้แรงงานเป็นเพียงแค่ปัญหามิติเดียว แต่ไม่อาจจะรู้ได้ว่าก่อนที่เด็กเหล่านี้จะมาเป็นเด็กเร่ร่อนนั้นมันมีหลายมิติและซับซ้อนที่หลายต่อหลายคนยังมองไม่เห็น เป็นปัญหาที่กำลังจะขยายตัวมากขึ้น ดังนั้นรัฐบาลควรให้ความสำคัญของปัญหาเด็กเร่ร่อนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของนโยบาย งบประมาณ และการทำงานในลักษณะเครือข่าย หรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือเด็ก เพื่อให้เด็กเร่ร่อนเหล่านี้ ได้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่ดีและมีอนาคตเพื่อที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศเรา อย่างไรก็ตาม ก็มีการสำรวจจำนวนของเด็กเร่ร่อนที่มีในปัจจุบันนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีและควรให้การสนับสนุน เพราะจะทำให้เรารู้ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กเร่ร่อนนั้นให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น การให้ข้อมูลของเด็กเร่ร่อนนั้นผู้ที่ทำนั้นถือว่าเป็นผู้ที่มีความมานะพยายามและมีจิตใจที่ทำเพื่อสังคมและทำงานให้กับสังคม ทำงานเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน ที่จะคอยบอกให้ทุกคนได้รับรู้เพื่อช่วยเหลือกันและพยายามที่จะทำให้ทุกคนเห็นภาพสะท้อนของเด็กเร่ร่อน ออกมาให้สังคมและฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่างภาครัฐได้รับรู้กัน เสียงสะท้อนจากการปฏิบัติงานนี้คนที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อนต่างก็หวังที่จะให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และพยายามพร้อมที่จะช่วยเหลือปัญหาเด็กเร่ร่อน ช่วยกันหลายๆหน่วยงานก่อนที่สถานการณ์จะบานปลายยากที่หาหนทางจะแก้ไข โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยต้องเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ปัญหาเด็กเร่ร่อนจะขยายวงกว้างกว่าเดิมแน่นอน เพราะว่าเด็กจากต่างประเทศนั้นจะเข้ามาศึกษาในประเทศไทยและมีการดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศไทยเด็กเหล่านี้จะสามารถปรับตัวเข้ากันกับเด็กไทยได้หรือป่าวก็คาดการณ์ได้ยาก รวมถึงเรื่องของเศรษฐกิจของประเทศที่ยังไม่แน่นอนว่าจะดีขึ้นหรือเป็นไปในทางใดก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำให้เด็กเร่ร่อนนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันอีกเป็นเท่าตัว ฟังแล้วแม้จะรันทด แต่เราก็มิอาจปฏิเสธได้

สาเหตุของการเกิดปัญหาเด็กเร่ร่อน อาจเกิดได้หลายๆปัจจัยด้วยกันสามารถแบ่งได้ดังนี้

     ปัจจัยที่ 1ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
     เด็กออกมาใช้ชีวิต เร่ร่อนนั้นพบว่า ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ความยากจนของครอบครัวส่งผลให้เด็กไม่ได้รับสวัสดิการตามที่ต้องการอย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารการกิน การศึกษา สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เด็กต้องการอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ทำให้เด็กต้องดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่ตนต้องการด้วยตนเอง โดยทางเลือกคือ การหนีออกจากบ้านนั้นเองออกมาเร่ร่อน เพื่อทำอาชีพเลี้ยงตนเองและในบางรายพ่อแม่ของเด็กเอง คือ ผู้ที่ส่งให้เด็กออกมาประกอบอาชีพเพื่อนำรายได้ไปเลี้ยงครอบครัว ซึ่งนั่นเองคือ จุดเริ่มต้นให้เด็กออกมาเร่ร่อน

     ปัจจัยที่ 2 ปัญหาครอบครัว
     ปัญหาภายในครอบครัวมีส่วนสำคัญมากที่ทำให้เด็กหนีออกจากบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเหย้าร้างของพ่อแม่การใช้ความรุนแรง การทะเลาะกัน การแต่งงานใหม่ของพ่อของแม่ ครอบครัวมีหนีสิน ฯลฯ ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ต่างสร้างความกดดันให้เด็ก ดึงความสนใจของพ่อแม่ไปจากตัวเด็ก ทำให้เด็กขาดความรักความอบอุ่น ทำให้เด็กต้องออกมาเร่ร่อน เพื่อให้พ้นจากสภาพความอึดอัดดังกล่าว จึงต้องยอมรับว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาที่ทำให้เด็กออกมาเร่ร่อนปัญหาหนึ่ง และในทางสังคมแล้วถือว่าครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญต่อตัวเด็ก ที่จะทำให้เด็กมีความสุขได้ ถ้าเด็กได้รับการดูแลและให้ความอบอุ่นอย่างดี

     ปัจจัยที่ 3 ปัญหาจากตัวเด็กเอง
     เด็กวัยรุ่นกำลังอยากรู้อยากเห็น และอยากลอง ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการหาประสบการณ์แปลกๆใหม่ๆชอบฝ่าฝืนกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ รวมทั้งต้องการมีกลุ่ม มีพวกพ้องเพราะการมีพวกพ้องเป็นวิถีที่ให้เด็กได้รับตอบสนองความต้องการหลายประการ  เช่น ความรู้สึกอบอุ่นใจ การได้รับการยกย่อง ความรู้สึกว่ามีผู้เข้าใจในตนเอง ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับตน จึงเป็นผลให้เด็กเลือกใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านกับเพื่อนมากกว่าอยู่กับพ่อแม่และรู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำสิ่งต่างๆตามความต้องการของพ่อแม่

     ปัจจัยที่ 4 ปัญหาจากโรงเรียน
     ปัญหาจากโรงเรียนเป็นตัวผลักดันให้เด็กออกมาเร่ร่อนด้วย ซึ่งในบางครั้งเด็กถูกครูลงโทษโดยไม่มีเหตุผล ถูกทำให้ได้รับความอับอายที่โรงเรียนถูกประณามว่าเป็นเด็กไม่ดี เป็นคนเลว ทำให้เด็กต้องการเป็นคนเลวไปจริงๆ ไม่สมควรที่จะเรียนหนังสือทำให้เด็กไม่อยากไปเรียนหนังสืออีกหรืออยู่บ้านอึกต่อไป จึงเป็นเหตุให้เด็กหนีออกจากบ้านออกมาเร่ร่อน

สาเหตุรองลงมาที่ทำให้เกิดปัญหาเด็กเร่ร่อนมีสาเหตุดังนี้

สาเหตุ
ตัวอย่าง
1.สาเหตุทางเศรษฐกิจ
ครอบครัวยากจน เด็กต้องช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพ
2.สาเหตุทางครอบครัว
ครอบครัวหย่าร้างแตกแยก ครอบครัวเด็กกำพร้า เด็กต้องไปอาศัยอยู่กับผู้อื่น
3.สาเหตุทางสังคม
กรณีเด็กยู่คนเดียว เด็กถูกเฆี่ยนตี เด็กได้รับความกดดัน เด็กเร่ร่อน เด็กติดเกม ติดยาเสพติด                มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและตั้งครรภ์
4.สาเหตุจากสัญชาติหรือทะเบียนราษฎร์
เด็กต่างชาติอพยพเข้ามาทางชายแดน ชายขอบ หรือเด็กสองสัญชาติในจังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงเด็กตกสำรวจไม่มีเลข 13 หลัก
5.สาเหตุจากสภาพแวดล้อม
มีแหล่งอบายมุข เด็กเห็นการเล่นการพนัน หรือการเสพยาเสพติดเป็นเรื่องธรรมดา
6.สาเหตุจากทางโรงเรียนที่ระบบผลักดันเด็กให้เด็กออกจากโรงเรียนโดยไม่รู้ตัว
การเข้มงวด ดุด่าประจานหน้าเสาธง ไม่ยืดหยุ่นผ่อนปรนในบางเรื่อง เช่น การแก้ 0 แก้ ร ไม่ทันเวลา
7.สาเหตุจากตัวเด็กเอง
  
นิสัยเกียจคร้าน เบื่อโรงเรียน บางคนมีปมด้อยทางร่างกายถูกเพื่อนล้อเลียน จึงไม่กล้าไปโรงเรียน


ผลกระทบต่อสังคม

     1.ด้านการศึกษา
     การเรียนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อเด็กแต่ปัจจุบันนี้เป็นวิกฤตการณ์ทางการศึกษา เพราะเด็กเร่ร่อนมีจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลประมาณ 30,000 คนเป็นเด็กเร่ร่อน ไม่ได้เข้าเรียนหนังสือหรือเรียนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ ทำให้เด็กที่กลายเป็นเด็ดเร่ร่อนนั้นไม่ได้รับการศึกษาอย่างดีเท่าที่ควร และยังต้องใช้ชีวิตในสังคมอย่างเลวร้าย

     2.ด้านสิทธิและเสรีภาพ
     ปัญหาเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อน เรามักจะเคยได้ยินในสังคมว่ามีปัญหาเด็กถูกละเมิดสิทธิ เด็กถูกทารุณ ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ เด็กถูกละเมิดทางเพศ ซึ่งพบว่าเด็กที่ถูกกระทำนั้นส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยลง และมีการละเมิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ปัญหาแรงงานเด็กพบว่า ปัจจุบันมีเด็กถูกใช้แรงงาน ปัญหาโสเภณีเด็กเป็นปัญหาของเด็กที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งหญิงและชาย และจากการสำรวจข้อมูลผู้ให้บริการทางเพศทั่วประเทศพบว่าจะมีแนวโน้มการขายบริการทางเพศเพิ่มขึ้น ปัญหาที่น่าวิตกไม่แพ้กันคือ ปัญหาเด็กกำพร้า และเด็กถูกทอดทิ้งจำนวนสูงขึ้น 1.4 แสนคน หรือค่าเฉลี่ยของเด็กถูกทอดทิ้งต่อวันคือ วันละ 5 คน

     3.ด้านสังคม
     การใช้ยาเสพติด เด็กเร่ร่อนส่วนใหญ่มีประสบการณ์การใช้ยาเสพติด ทั้งกาว ยาบ้า กัญชาหรือ แม้กระทั่งเฮโรอีน มาก่อนที่จะทำอาชีพนี้ ทั้งโดยเพื่อนชักชวน และ ความอยากลองของตนเอง ทั้งๆที่เด็กทราบถึงผลร้ายของสารเสพติดเหล่านี้เป็นอย่างดี
การลักขโมย ปัญหาอาชญากรรม ซึ่งเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ต้องการอาหารซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยมาสู่การเป็น ขโมยได้

ผลกระทบต่อตัวเด็กเร่ร่อน
     1.ไม่ได้รับการศึกษาที่ดี จึงทำให้เสียอนาคต
     2.เด็กถูกทำร้ายร่างกายจนเจ็บ หรือ ถึงขั้นเสียชีวิตได้
     3.เด็กไม่ได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว จึงทำให้เด็กซึมเศร้า
     4.ตัวเด็กมีนิสัยเกร้าร้าว เพราะไม่มีใครอบรบนิสัย
     5.เด็กมีร่างกายไม่สมบูรณ์ เพราะอดอาหาร ได้กินบางไม่ได้กนบาง และยังจะต้องหาเงินอีกจึงไม่มีเวลาไปซื้อรวมถึงเงินไม่ค่อยมีซื้อด้วย
     6.เด็กไม่มีความสุข สังเกตใบหน้าของเด็กจะไม่ยิ้มแย้มเลย
     7.เกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย

หน่วยงานภาครัฐที่ทำงานด้านเด็กเร่ร่อน
     1.สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ที่เริ่มช่วยเหลือตั้งแต่ปี 2534 และในปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการช่วยเหลือเป็น ศูนย์สร้างโอกาส มีทั้งหมด 7 แห่งด้วยกัน ศูนย์สร้างโอกาสเด็กจตุจักร สวนลุ่มพีนี พระราม9 ทุ่งครู สวนพฤษชาติคลองจั่น พระปกเกล้า พระราม8
     2. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันนี้ต่างเกิดขึ้นในจังหวัดใหญ่ จำนวน 18 จังหวัดด้วยกัน สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม   อัธยาศัยกรุงเทพมหานคร1 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตปทุมวัน กศน.นครปฐม,สระบุรี,สมุทรปราการ,ชลบุรี,นครราชสีมา,ขอนแก่น,อุดรธานี,อุบลราชธานี,หนองบัวลำภู,เชียงราย,เชียงใหม่,สุราษฎธานี,ลำพูน,สงขลา,ยะลา,ภูเก็ต,นครศรีธรรมราช เป็นต้น
     3.กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สำคัญมาก โดยเฉพาะภารกิจในส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่เทศบาล และเทศบาลนครบาล ปัจจุบันมี่ทั้งสิ้น 32 จังหวัดที่ดำเนินการอยู่ แต่ต้องได้ปรับกระบวนการ การให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
     4.กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่มีบ้านพักให้เด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์ที่สามารถรองรับเด็ก ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. 2546
     5.ศูนย์พิทักษ์และคุ้มครองสิทธิเด็ก
     -ปกป้อง ดูแลเด็กเร่ร่อนให้มีที่อยู่ไม่ให้ใครมาทำร้าย เพื่อดูแลลูกหลานของท่าน
     -ช่วยเหลือ ให้ได้มีการเรียนหนังสือ มีการฝึกฝนอาชีพ เพื่อสามารถเลี้ยงดูตนเองได้
     -ให้คำปรึกษา จะให้คำปรึกษาที่ดีและพร้อมที่จะชักจูงให้เดินทางไปในทางที่ดีเสมอ
     6.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งเริ่มจาก 26 โรงพักในนครบาล ปัจจุบันที่ยังทำอยู่ คือสน.บางซื่อ และยังมีโครงการตำรวจครูข้างถนนของตำรวจรถไฟ เป็นต้น
หน่วยงานภาครัฐส่วนมากจะมีบางหน่วยงานที่เป็นครูข้างถนน บางหน่วยงานมีบ้านพัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือการเชื่อมประสานส่งต่อกัน

สิ่งที่หน่วยงานภาครัฐควรพัฒนา
     1.การพัฒนาเด็ก รัฐควรมีกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตเพื่อให้เด็กพึ่งตนเองได้ในอนาคต ทั้งในเรื่องของการดำเนินชีวิตประจำวัน และการสร้างความพร้อมในการเรียนการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคม สำหรับเด็กที่มีความยากลำบากในการเรียน รัฐควรจัดให้มีการฝึกอาชีพหรือให้ทางเลือกในการประกอบอาชีพอิสระ
     2.การพัฒนาบุคลากร รัฐควรมีมาตรการในการช่วยพัฒนาครูและเจ้าหน้าที่ประจำบ้านให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. 2546 เพื่อให้การปฏิบัติต่อเด็กของบ้านแรกรับและบ้านพัฒนาเด็กเป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งควรมีการสร้างองค์ความรู้ เสริมทักษะและศักยภาพแก่ครูและเจ้าหน้าที่ประจำบ้านในเรื่องต่างๆอย่างต่อเนื่องเช่น จิตวิทยาเด็กและเด็กวัยรุ่น ความรู้เรื่องเพศศึกษา ยาเสพติด โรคเอดส์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยใหม่และกระบวนการทำงานกับเด็ก เพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมตามหลักของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
     3.ด้านนโยบาย รัฐควรกำหนดยุทธศาสตร์ในการดูแลเด็กเร่ร่อนและเด็กด้อยโอกาสที่เข้ามาอยู่ในบ้านแรกรับและพัฒนาเด็กทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทศทางเดียวกัน และที่สำคัญรัฐบาลควรสนับสนุนการดำเนินงานบ้านหลังแรกรับและพัฒนาเด็กที่ดำเนินกิจงานโดยองค์เอกชนเอกชน เพื่อให้การทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนของรัฐเป็นไปอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรเอกชนดำเนินการดูแลเด็กที่อยู่ในบ้านอย่างมีคุณภาพ แต่ต้องแบกรับภาระด้านงบประมาณที่ยังไม่เพียงพอ นับตั้งแต่ค่าอาหาร เสื้อผ้า การศึกษา การเดินทางไปเรียนหนังสือ ค่าที่พัก และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
รัฐควรสนับสนุนงบประมาณดำเนินการเป็นรายปีขั้นต่ำประมาณ 27,000-37,000 บาท ต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยคือประมาณ 73-78 บาทต่อคนต่อบาท หรือพิจารณาตามหลักที่รัฐบาลให้กับสถานแรกรับหรือสถานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. 2546 โดยรัฐอาจจัดสรรจากกองทุนคุ้มครองเด็กที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก

รูปแบบการบริการของภาครัฐและเอกชน
     1.รูปแบบบริการจากหน่วยงานภาครัฐ สถานแรกรับเด็กของกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งรับเด็กเป็นการชั่วคราวจะจัดการสอนให้เด็กได้รับการศึกษาตามสมควรแก่วัย ไม่เน้นระบบชั้นเรียนไม่เน้นวิชาสามัญโดยตรง แต่เน้นการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น เช่นเรื่องจักรสาน เกษตรกรรม การทำดอกไม้ การตัดเย็บ เป็นต้น สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก จะให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาสามัญหรืออาชีวศึกษาขึ้นอยู่กับสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของเด็ก ด้านสามัญศึกษา จัดให้มีโรงเรียนขึ้นภายในสถานคุ้มครองฯ สอนระดับชั้นประถมศึกษา และอาจได้รับการสนับสนุนให้เรียนต่อระดับมัธยมศึกษา ในขณะเดียวกันจัดให้ มีการเรียนในรูปแบบนอกโรงเรียนเทียบเท่าระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ด้านอาชีวศึกษาได้จัดการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น เช่น ช่างไม้ ช่างเชื่อมโลหะ ช่างเครื่องยนต์ ช่างเย็บหนัง ช่างตัดผม ตัดเย็บเสื้อผ้า ประดิษฐ์ดอกไม้ เป็นต้น โดยผู้ที่สำเร็จหลักสูตรจะได้รับการจัดหางานให้ทำ
     2.รูปแบบบริการจากภาคเอกชน ให้การบริการให้การศึกษาแก่เด็กเร่ร่อนในลักษณะต่างๆ ได้แก่เจ้าหน้าที่ภาคสนามหรืออาสาสมัคร หรือครูข้างถนน ออกไปพบเด็กเร่ร่อนในท้องถนนหรือสถานที่ที่เด็กชุมชน เข้าคลุกคลีกับเด็กเพื่อทำความคุ้นเคย ทำความเข้าใจ โยการพูดคุย การจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านนันทนาการ เล่นเกม และสอนหนังสือ มีการพาเด็กไป ทัศนศึกษาและออกค่ายพักแรมตามโอกาส
บ้านเปิดหรือบ้านเด็กที่รับเด็กเข้าอยู่และดูแลจะจัดการเรียนการสอนให้เด็กตามความ เหมาะสมของเด็กส่วนใหญ่เป็นการเตรียมให้เด็กสามารถไปเรียนต่อในสถานศึกษา โดยสอนเพื่อให้อ่านออกเขียนได้หรือสอนเสริม ดูแลการเรียนของเด็กในช่วงตอนเช้า ส่วนตอนบ่ายจะเป็นการแยกย้ายทำกิจกรรมต่างๆ มีกิจกรรมนันทนาการและการฝึกอาชีพระยะสั้น บ้านเด็กบางแห่งจะจัดส่งเด็กที่พร้อมไปเรียนในโรงเรียนและช่วยเหลือเรื่องการเรียนของเด็กหรือ ติวให้  การส่งเด็กไปโรงเรียนจะมีปัญหาเพราะว่าเด็กขาดหลักฐานสำหรับการสมัครเรียน คือใบเกิด หรือ ใบทะเบียนบ้าน เด็กที่ไม่มีหลักฐานจึงไม่สามารถเข้าเรียนได้ ปัจจุบันปัญหานี้ได้รับการแก้ไข คือโรงเรียนสามารถรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานเข่าเรียนได้ แต่ก็ยังมีปัญหาตอนจบการศึกษา เนื่องจากโรงเรียนไม่ออกวุติบัตร แต่จะให้เพียงใบรับรองว่าจบการศึกษา และลงท้ายข้อความว่า  “ไม่สามารถนำไปสมัครงานได้ และนอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการปฏิบัติเนื่องจากบางโรงเรียนไม่ประสงค์จะรับเด็กเร่ร่อนเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ

การขยายงานในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับชุมชน โดยรับและให้เด็กเข้าไปอยู่ในหมู่บ้านหรือชุมชน เด็กจะใช้ชีวิตแบบครอบครัวกับเจ้าหน้าที่โครงการ โดยเจ้าหน้าที่จะจัดการเรียนการสอนให้ มีการพาเด็กไปพบปะกับชาวบ้าน เป็นการเรียนรู้ด้านสังคมและการเข้ากับชุมชน ในบ้านมีการจัดกิจรรมการเรียนการสอนและมีกิจกรรมฝึกฝนอาชีพ

แนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อน
     เด็กเร่ร่อนทุกคน ไม่ได้มีความตั้งใจ หือความพยายามว่า จะออกมา เป็นเด็กเร่ร่อน แต่เด็กได้รับความกดดันทั้งจากตัวเด็กเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม ที่อยู่รอบๆตัวเด็ก ในอดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวก็ยังคงอยู่ ทั้งเรื่องความเชื่อ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไป  
     ปัญหาเด็กเร่ร่อนนั้นเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของสังคม ซึ่งเกิดจากหลายๆสาเหตุดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่สาเหตุใหญ่ๆที่เรารู้จักกันดีนั้นคือ เริ่มจากจุดเล็กๆในสังคมที่เรียกว่า ครอบครัวทั้งปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาเด็กกำพร้า ซึ่งโยงใยด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง ทั้งจากการว่างงานของผู้นำในครอบครัว จากปัญหาเศรษฐกิจที่มักจะไม่คงที่คงวา และปัญหาสังคมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าหากเราจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนนี้ เราต้องเริ่มจากการมีครอบครัวที่ดีเสียก่อน เราต้องต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวต้องใส่ใจ รัก และดูแลซึ่งกันและกัน แม้บางครอบครัวจะขาดพ่อหรือแม่ไปคนใดคนหนึ่ง แต่หากบุคคลที่เหลืออยู่ให้ความรักความอบอุ่น เป็นได้ทั้งพ่อและแม่ให้แก่ลูกนั้น ปัญหาเด็กเร่ร่อนนี้ก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาในสังคมได้เลย

แนวคิดและทฤษฎี
     แนวคิดเรื่องเด็กเร่ร่อน
     วัลลภ ตังคณานุรักษ์ (2535,. 21) หรือครูหยุ่น แห่งมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ได้ให้ความหมายเด็กเร่ร่อนในสังคมไทย ออกเป็น 2 ลักษณะ คือเร่ร่อนตามวิถีชีวิตครอบครัว ลักษณะของเด็กเร่ร่อนกลุ่มนี้เปรียบเสมือนกับยิปซีที่อพยพเคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ เด็กลุ่มนี้จะเร่ร่อนตามครอบครัวไปตามแหล่งงานใหม่ เช่น กรรมกรก่อสร้าง การเร่ร่อนลักษณะนี้เป็นการเร่ร่อนตามวิถีการดำรงชีพของครอบครัว
     เด็กเร่ร่อนตามวิถีชีวิตของตนเอง ลักษณะของเด็กเร่ร่อนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก ที่รับแรงผลักดันอย่าง รุนแรงจากครอบครัว ตั้งแต่ความแร้นแค้น อดอยาก การดุด่าและตบตีเป็นประจำ การถูกบังคับใช้แรงงาน อย่างหนัก จนเด็กรับสภาพ แบบนี้ไม่ได้ จึงหนีออกจากบ้านมาเร่ร่อนไป ในทุกแห่งเพื่อความอยู่รอดของตนเอง
      เมื่อพิจารณาตามความหมายของครูหยุ่นแล้ว เด็กเร่ร่อนจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ เร่ร่อน พร้อมครอบครัว และเร่ร่อนตามลำพัง ทั้ง2 กลุ่มนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ในกลุ่มแรก ลักษณะความสัมพันธ์ภายในครอบครัวยังมีอยู่มาก ในขณะที่กลุ่มที่สอง เด็กจะมีปัญหากับครอบครัว จึงออกมเร่ร่อนในลักษณะการหนีออกจากบ้าน
  ทฤษฎีบุคลิกภาพ
     เชื่อว่าบุคลิกภาพมีส่วนสำคัญต่อการเกิดปัญหาเด็กเร่ร่อนในสังคม และบุคลิกภาพของคนแต่ละคนจะถูกสร้างระหว่างช่วงวัยแรกของวัยเด็ก การอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาของ       บุคลภาพในวัยผู้ใหญ่ เพราะครอบครัวเป็นหน่วยที่สำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ ถ้าหากเด็กมีความขัดแย้งกับพ่อแม่ อาจนำซึ่งการเกิดบาดแผลทางอารมณ์ ซึ่งจะทำให้เด็กหนีออกจากบ้านและเด็กกลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสกลายเป็นผู้ก่อปัญหาสังคมได้ภายหลังเช่น เป็นคนเก็บกด มีปัญหาทางจิ เป็นต้น

บทสรุป
     ปัญหาเด็กเร่ร่อนนับเป็นปัญหาสังคมที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจาก สาเหตุ ครอบครัวมีปัญหา พ่อแม่หย่าร้างกัน พ่อแม่ทะเลาะกัน ปัญหาจากทางโรงเรียน เช่น เด็กถูกครูลงโทษโดยไม่มีเหตุผล  ปัญหาจากตัวเด็กเอง เด็กวัยรุ่นนั้นจะมีพฤตกรรม อยากรู้อยากลอง เสี่ยงต่อการเดินหลงทางไปในทางที่ผิดได้ง่าย ถ้าหากไม่มีใครคอยให้คำแนะนำที่ดี ให้เด็กนั้นได้มีอนาคตที่สดใส และปัญหาจากทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ทางครอบครัวของเด็กมีฐานะที่ยากจน เด็กจึงไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามใจต้องการจึงต้องออกมาทำสิ่งที่ตนเองต้องการทำ ปัจจุบันนี้จำนวนเด็กเร่ร่อนนั้น มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงสูงขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างหลากหลาย ทั้งทางด้านสังคม ด้านการศึกษา ด้านสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรหาทางแก้ไขเป็นอย่างยิ่ง เราสามารถลดปัญหาเด็กเร่ร่อนนั้นได้  ต้องเริ่มจากจิตสำนึกของตนเองก่อน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเด็กเร่ร่อนนั้นมาจากตัวบุคคล ตัวอย่างเช่น เมื่อแม่คลอดลูกออกมาแล้วนำเด็กไปทิ้ง ถ้าหากผู้เป็นแม่เด็กนั้นมีจิตสำนึกที่รักลูกก็จะไม่ทำกันแบบนี้   และปัญหาครอบครัวเมื่อคนมีจิตสำนึกที่ดี มีความรักในครอบครัว สร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ดูแลซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้ ปัญหาเด็กเร่ร่อนนั้นลดลง และยังมีหน่วยงานทางภาครัฐที่คอยดูแล เกี่ยวกับปัญหาเด็กเร่ร่อน ก็จะช่วย ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเด็กเร่ร่อนในสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วปัญหาเด็กเร่ร่อนก็จะไม่มีในสังคมไทยอีกต่อไป

บรรณานุกรม







  
























































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น