วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น นาย ปริญญา บุญยังมี รหัสนิสิต 53242148


บทความวิชาการ
เรื่อง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
รายวิชา  ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
โดย   นาย  ปริญญา  บุญยังมี   รหัสนิสิต  53242148


การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Adolescent Pregnancy)
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หมายถึง การตั้งครรภ์ในสตรีที่มีอายุระหว่าง10-19 ปี โดยถืออายุ ณ เวลาที่คลอดบุตร ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น adolescents คือช่วงอายุ 15-19 ปี และ younger adolescents คือช่วงอายุ 10-14 ปีสถานการณ์ในประเทศไทยจากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่า การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 10 ในปี พ.ศ.2544 เป็นร้อยละ 40 ในปี พ.ศ.2552 และเริ่มมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยลงเรื่อยๆ
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความเสี่ยงมากกว่าการตั้งครรภ์ในผู้ใหญ่ปัญหาหลังคลอดด้านมารดาภาวะโลหิตจางเกิดจากการได้รับธาตุเหล็กและโฟเลตไม่เพียงพอ โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น วัณโรค โดยเฉพาะในผู้ติดเชื้อเอชไอวี มาลาเรีย พยาธิปากขอ การเสียเลือด ซึ่งภาวะโลหิตจางนี้จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหลังคลอดได้มากขึ้น
โภชนาการ
ภาวะทุพโภชนาการพบว่าเป็นปัญหาในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งในผู้หญิงภาวะนี้น่าเป็นเป็นผลจากภาวะการเจริญพันธุ์ การเผาผลาญอย่างหนักในช่วงคลอด โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมักจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยในช่วงหลังคลอดปัญหาที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ การได้รับพลังงานแคลอรี่ไม่เพียงพอ ขาดไอโอดีน, วิตามินเอ, ธาตุเหล็กและโฟเลต
ภาวะครรภ์เป็นพิษ
ภาวะครรภ์เป็นพิษอาจถูกกระตุ้นได้มากในช่วงวันแรกหลังคลอด และพบว่าการชัก ครึ่งหนึ่งอาจเกิดหลังจากคลอด 3 วันไปแล้วได้ ซึ่งอุบัติการณ์ของภาวะเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอายุ แต่เนื่องจากสตรีวัยรุ่นมักจะตั้งครรภ์เป็นครรภ์แรก จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเหล่านี้ได้มากขึ้น
การคุมกำเนิด
การคุมกำเนิด เป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ในอนาคต ในสหรัฐอเมริกาพบว่า 30-50% ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีการตั้งครรภ์ซ้ำในระยะเวลา 24 เดือน ทั้งนี้เป็นผลจากการถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากความเชื่อผิดๆ ที่ว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น
ผลกระทบระยะยาว
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น ไม่ได้มีผลต่อชีวิตสมรสในอนาคต แต่พบการคลอดบุตรมากกว่าในหญิงทั่วไป โดยเฉพาะในวัยรุ่นอายุน้อยจะพบช่วงเวลาระหว่างการตั้งครรภ์แต่ละครั้งสั้นกว่า มักจะพบในกลุ่มที่ระดับการศึกษาต่ำ เศรษฐสถานะต่ำ ซึ่งการคลอดบุตรในช่วงอายุที่ยังไม่พร้อมจะทำให้ยิ่งมีปัญหาทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลถึงภาวะทางสังคมของบุตรในอนาคตด้วยเช่นกัน และหากคู่สมรสมีอายุน้อยด้วยแล้วฐานะของครอบครัวนั้นก็จะยิ่งยากจนกว่า
ด้านทารก
การคลอดก่อนกำหนด และทารกน้ำหนักน้อยทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 33 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม มีภาวะทุพพลภาพและอัตราตายปริกำเนิดเพิ่มขึ้น โดยในประเทศพัฒนาแล้ว เด็กกลุ่มนี้จะถูกดูแลใน NICU ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมาก และมารดาของทารกกลุ่มนี้จะเผชิญกับภาวะเครียดและซึมเศร้า และหลังจากที่เด็กเหล่านี้กลับบ้านไปก็ยังคงต้องได้รับการดูแลที่มากกว่าปกติ
การติดเชื้อบาดทะยัก
จากการได้รับวัคซีนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยจัดกระบวนการคลอดที่สะอาดและการให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
การให้นมบุตร
นมักมีความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่อนข้างน้อย ทำให้ทารกในกลุ่มนี้ได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารเสริม ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะทุพโภชนาการ อันจะทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตในทารกได้
ผลกระทบระยะยาว
ทารกที่เกิดจากหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ยากจนมักมีภาวะทางโภชนาการที่ต่ำ ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านจิตสังคม อีกทั้งมารดาในกลุ่มนี้ยังมีปัญหาด้านพฤติกรรมด้วย
การประเมินความเสี่ยงทางสูติกรรม
หญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องเผชิญกับความเสี่ยงและควรได้รับการดูแลในช่วงคลอด โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติตกเลือด, ความดันโลหิตสูง, ภาวะโลหิตจางรุนแรง, ครรภ์แฝด และการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งการประเมินความเสี่ยงจะทำให้สามารถวางแผนการดูแลที่เหมาะสมได้ โดยการประเมินความเสี่ยงนั้นเป็นกระบวนการต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์โดยการฝากครรภ์ที่มีการตรวจคัดกรองเป็นระยะ จนกระทั่งช่วงคลอดโดยอาศัย partographมาช่วยประเมินในระยะนี้ด้วย
การคลอดในหญิงวัยรุ่นถือว่ามีความเสี่ยงสูง
จากการศึกษาส่วนใหญ่พบว่า ภาวะแทรกซ้อนในช่วงคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นน้อยกว่าในผู้ใหญ่ โดยความเสี่ยงหลักขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางด้านสังคมและภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรมในระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งมักตรวจพบได้ในระหว่างการฝากครรภ์ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ถึงแม้อุบัติการณ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นจะไม่ได้มีมากกว่า แต่ถ้าหากตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรงหรือมีครรภ์เป็นพิษร่วมด้วย หญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้ควรได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลและถือว่าอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูง สำหรับภาวะโลหิตจางนั้นถึงแม้จะสามารถรักษาได้ในระหว่างการฝากครรภ์ แต่ถ้าหากตรวจพบได้ช้าก็จะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในช่วงคลอดการคลอดก่อนกำหนดถือเป็นภาวะแทรกซ้อนหลักที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ถือว่าไม่ได้ทำให้กระบวนการคลอดซับซ้อน แต่เพิ่มความเสี่ยงให้กับทารกทั้งในเรื่องการคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวน้อย ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดนี้มักพบในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ gynecologic age น้อยกว่า 2 ปี และในหญิงกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเกิด ด้วย ทำให้ต้องได้รับการผ่าตัดคลอด หรือมีการใช้หัตถการช่วยคลอดเพิ่มมากขึ้น
การดูแลในช่วงคลอด
ในระยะคลอด หญิงตั้งครรภ์ต้องการความเป็นส่วนตัว ต้องการเพื่อน ต้องการข้อมูลและคำอธิบายต่างๆ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ควรให้การดูแลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ทางด้านร่างกายโดยการเฝ้าติดตามการดำเนินการคลอด ติดตามภาวะของทารกในครรภ์ด้วยการฟังเสียงหัวใจของทารกเป็นระยะ ส่วนด้านจิตใจนั้นโดยการให้กำลังใจแก่หญิงตั้งครรภ์และญาติ ซึ่งการดูแลด้านจิตใจนี้ส่งผลให้ระยะเวลาคลอดสั้นลง ลดการให้ยาระงับอาการปวด ลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ลดการใช้หัตถการช่วยคลอด สำหรับหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นนั้นมักมีความรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่มีความสุข ต้องการการดูแลด้านจิตใจที่มากกว่า การคลอดควรอยู่ในสถานพยาบาลที่อยู่รอบนอกมากที่สุดทำให้ผู้คลอดรู้สึกปลอดภัย อยู่ใกล้บ้านและวัฒนธรรมของหญิงเหล่านั้น
ระยะหลังคลอด
การดูแลหลังคลอดมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ค้นหา และรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ให้คำปรึกษาเรื่องการดูแลบุตรและการให้นมบุตร การคุมกำเนิด โภชนาการ และการสร้างภูมิคุ้มกันการให้นมบุตรควรเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แนะนำให้เริ่มตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังคลอด ซึ่งการให้นมบุตรนั้นควรมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่ในช่วงการฝากครรภ์ ร่วมกับการสังเกตและฝึกปฏิบัติในช่วงหลังคลอด แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน ส่วนการให้อาหารเสริมควรให้หลังจากนั้น โดยเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพียงพอและปลอดภัย ซึ่งระหว่างนี้ยังต้องให้นมบุตรควบคู่ไปด้วยเป็นเวลา 24 เดือนหลังคลอดการคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่นอายุน้อยนั้นเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก และขาดแรงจูงใจให้วัยรุ่นหันมาคุมกำเนิด วิธีคุมกำเนิดที่ถูกเลือกเป็นอันดับแรกคือการใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากวัยรุ่นมักจะมีเพศสัมพันธ์ไม่สม่ำเสมอ ร่วมกับการมีคู่นอนหลายคน นอกจากนั้นอาจใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นควบคู่ไปด้วยสำหรับการคุมกำเนิดด้วยวิธี LAM (lactational amenorrhea method) เป็นการคุมกำเนิดในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ด้วยการให้นมบุตรอย่างเต็มที่ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน โดยไม่ให้อาหารเสริมอื่นๆแก่บุตร แต่ถ้าหากประจำเดือนกลับมาในช่วง 8 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้วให้เริ่มใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่นไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเนื่องจากมีผลต่อการสร้างน้ำนม แนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว, ยาฉีดคุมกำเนิด หรือยาฝังคุมกำเนิด ส่วนการใส่ห่วงคุมกำเนิดนั้นไม่แนะนำให้เลือกใช้เป็นวิธีแรกเนื่องจากวัยรุ่นมักมีคู่นอนหลายคน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และก่อให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบได้
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สาเหตุก็เกิดมาจากการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร   โดยไม่มีการป้องกัน   สาเหตุของการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร
1.ปัจจัยด้านพันธุกรรม  พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจของวัยรุ่น  การเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะฮอร์โมนในร่างกาย  มีผลกระตุ้นให้สนใจในเพศตรงข้าม  รวมทั้งแรงขับตามธรรมชาติ  ที่ทำให้ใคร่รู้ใคร่ลอง ในเรื่องเพศ จึงทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธุ์โดยไม่ตั้งใจขึ้น
2.เริ่มต้นตั้งแต่วัยรุ่นสมัยนี้แต่งตัวเปิดเผยมากขึ้น  เสื้อที่เปิดจนเห็นเนินอก  เปิดโชว์สะดือ  กางเกงที่สั้นรัดติ้ว  จนเห็นสัดส่วนมากเกินไป
3. วัยรุ่นขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ   โดยเฉพาะวัยรุ่นที่มีแฟนหรือคนรักหากไม่รู้จักปฏิเสธเมื่อถูกขอ  มีค่านิยมสมัยใหม่ที่ผิดๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศ  คือเห็นเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ  และการมีเพศสัมพันธุ์ตามกระแสวันสำคัญ
4. การอยู่หอพักหรืออยู่ห่างจากพ่อแม่ผู้ปกครอง  การเที่ยวสถานเรื่องรมย์  การเที่ยวงานปาร์ตี้ต่างๆ  การดื่นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  การใช้สารเสพติดจึงทำให้ขาดสติ
5.การอยู่สองคนระหว่างชายกับหญิงในที่ลับตาคนและบรรยากาศพาไปให้เกิดการมีเพศสัมพันธุ์ได้6. สถาบันครอบครัวและศาสนาที่ทุกวันนี้เริ่มอ่อนแอลง  เด็กได้รับความอบอุ่นจากครอบครัวน้อย จากการที่พ่อแม่ต้องวุ่นอยู่กับการทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูลูก  หรือบางครอบครัวมีปัญหาอย่าล้างจึงทำให้ต้องแยกทางกัน  จึงทำให้เด็กต้องออกไปหาความอบอุ่นจากเพื่อนหรือแฟน  ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมได้   นอกจากเด็กในยุคปัจจุบันจะห่างไกลวัด ไม่ค่อยจะทำบุญตักบาตร  จึงทำให้ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
7. เรื่องเพศได้ถูกนำเสนอออกมาทางสื่อต่างๆ จำนวนมากซึ่งยังไม่นับรวมสื่อลามกอนาจาร ที่มีอยู่มากมาย   ทำให้เด็กวัยรุ่นเข้าถึงเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น
8. สภาพสังคมที่ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าผู้ชายหมกมุ่นและมีความต้องการทางเพศมากขึ้นจากสิ่งยั่วยุต่างๆจึงทำให้ต้องมาลงกับเพศหญิง  จนทำให้เกิดการคุกครามทางเพศ  รุ่มโทรมและข่มขืน  และจากประเด็นนี้จึงทำให้ฝ่ายชายเรียกร้องจากฝ่ายหญิง ซึ่งจะเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยและเวลาอันควร
9. ปัญหาการขาดการอบรมกล่อมเกลา ขาดความใกล้ชิดสนิทสนม ทั้งจากครอบครัวและสังคม เช่น ไม่มีสนามกีฬาออกกำลังกาย  ไม่มีที่พักผ่อนย่อยใจ ไม่มีที่จัดกิจกรรมต่างๆ  ด้านครอบครัวเช่นพ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก  ไม่เคยใกล้ชิด ไม่เคยแนะนำกล่อมเกลา  ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก  เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญของการขาดความสัมพันธุ์กัน
10.สภาพแวดล้อม เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี  พบเห็นสิ่งที่ไม่ดี เช่น เห็นคนรอบข้างหรือคนในชุมชนมีเพศสัมพันธุ์กันก่อนวัยอันควร เห็นบ่อยๆจึงจะทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา  จึงทำให้เกิดการทำตามเยี่ยงอย่าง
11.สื่อต่างๆ การได้รับสิ่งยั่วยุสงเสริมการมีพฤติกรรมทางเพศ   เพศเพศได้ถูกนำเสนอออกมาจากสื่อต่างๆจำนวนมาก  ซึ่งยังไม่นับรวมกับสื่อลามกที่มีอยู่เกลื่อนกลาดมากมาย
12. การเลียนแบบพฤติกรรมตะวันตก  อาทิ  การจับคู่อยู่กิน  การเก็บแต้มหรือการนอนกับผู้ชาย  การมีเพศสัมพันธุ์กับเพื่อน
13. วัยรุ่นมักหลงอยู่กับวัตถุนิยมมากเกินไป และชอบตามเพื่อน เมื่อตัวเองไม่ได้ก็ต้องกาวิธีที่ให้ได้มาอย่างเพื่อน และวิธีที่เร็วที่สุดก็คือการมีเพศสัมพันธุ์แรกกับเงิน
ผลกระทบของการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร  ผลกระทบต่อตัววัยรุ่นทั้งร่างกายและจิตใจ
1.  การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ในช่วงวัยรุ่นการเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ทางร่างกายทำให้เกิดความพร้อมทางภาวการณ์เจริญพันธุ์สูงมาก ดังนั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์จึงทำให้มีโอกาสให้กำเนิดชีวิตใหม่ หรือการตั้งครรภ์ก็มีสูงมากด้วย  การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นการตั้งครรภ์ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากทั้งทางด้านครอบครัวเศรษฐกิจ และสังคม และปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้ส่งผลกระทบต่ออนาคตของวัยรุ่นอย่างมากด้วยลักษณะของปัญหาจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์มีดังนี้
1.1    ฝ่ายหญิงที่เป็นฝ่ายที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่  เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมาก็ไม่อาจศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้ ทำให้ต้องออกจากการศึกษากลางคัน ซึ่งก็หมายถึงอนาคตการเรียนก็หมดไปอย่างสิ้นเชิงบางรายเมื่อตั้งครรภ์ก็ไม่กล้าบอกพ่อแม่ ผู้ปกครองทราบแต่ก็ไม่สามารถปกปิดได้ตลอดไป จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปเผชิญชีวิตด้วยตนเอง เมื่อคลอดลูกก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาสังคม
1.2    ในบางกรณีตัดสินใจทำแท้งเพื่อยุติการตั้งครรภ์โดยหวังว่าเมื่อไม่ตั้งครรภ์แล้วจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตและศึกษาเล่าเรียนได้ตามปกติ ในความเป็นจริงแล้วการทำแท้งเป็นเรื่องที่ผิดทั้งทางด้านศีลธรรม กฎหมาย และค่านิยมของสังคม และที่สำคัญที่สุดคือ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพ ในบางรายที่ทำแท้งโดยผู้ทำไม่ใช่แพทย์อาจเป็นอันตรายรุ่นแรง เช่น ตกเลือด ติดเชื้ออย่างรุ่นแรง ทำให้เสียชีวิตได้ หรือบางรายอาจต้องผ่าตัด ตัดมดลูกทิ้งทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกเลยตลอดชีวิต
1.3    ในบางกรณี เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะจำยอมที่ต้องแต่งงานกัน โดยทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตคู่ที่ต้องมีภาระเลี้ยงดูบุตร ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวซึ่งนำไปสู่การหย่าร้างในที่สุด
2.  การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่สำคัญคือ โรคในกลุ่มกามโรคและโรคเอดส์ โดยเฉพาะโรคเอดส์เป็นโรคที่กำลังแพร่ระบาด และทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอย่างมาก ทั้งยังเป็นโรคที่ไม่มียาหรือวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ และไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนี้การติดเชื้อโรคเอดส์จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมตามมา ทั้งยังทำลายอนาคตอีกด้วย
3. เสียการเรียน เมื่อคนเราหมกมุ่นกับเรื่องเพศมีเวลาอยู่ด้วยกันมาก จะทำให้สนใจการเรียนน้อยลงหรือไม่สนใจการเรียนเลย  มักขาดเรียนบ่อยหรือหนีเรียนไปเลยมีหลายคนต้องลาอกจากโรงเรียนโดยเฉพาะฝ่ายหญิงจะมีจำนวนมาก แต่ฝ่ายชายก็มีบ้างจากการทำวิจัยของหลายฝ่ายจะเห็นได้ว่าวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควรจะมีพฤติกรรมการเรียนและผลการเรียนที่แย่ลงอีกด้วย
4. การที่วัยรุ่นมีเพศสัมพันธุ์เสรีมากขึ้นทำให้การมองเห็นคุณค่าในตนเองเปลี่ยนไป   การมีเพศสัมพันธุ์ระหว่างวัยรุ่นทำให้วัยรุ่นมองว่ากิจกรรมทางเพศสัมพันธุ์ เป็นเพียง การแลกเปลี่ยนอารมณ์และวัตถุทางเพศ ยิ่งถ้ามีเพศสัมพันธุ์กันบ่อยครั้งขึ้นจะทำให้มองเห็นคุณค่าของตัวเองและคู่รักน้อยลงด้วยผลกระทบต่อครอบครัว
1. สร้างความทุกข์ให้พ่อแม่   ไม่มีพ่อแม่คนใดพอใจเมื่อลูกของตนเองมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรแต่พ่อแม่ก็ต้องทำใจเพราะมันก็คือลูกของเราด้วยความสงสาร   ซึ่งพ่อแม่ต้องทุกข์ระทมใจกับการกระทำของลูก
2. เสื่อมเสียชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล   ตามคำโบราณที่กล่าวว่า  มีลูกสาวก็เหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน”   เพราะถ้าส้วมแตกขึ้นมาก็จะเหม็นและอับอายชาวบ้านหรือเพื่อนบ้านญาติสนิทมิตรสหายเปรียบเสมือนถ้าลูกสาวมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอัน ควรถ้าคนอื่นรู้มันก็จะทำให้เสื่อมเสียวงศ์ตระกูล
3. เกิดความไม่เข้าใจกันของคนในครอบครัว   และจะเกิดปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาเลี้ยงดูเด็กที่เกิดขึ้นมาในความไม่พร้อมของบิดามารดา
4. เกิดปัญหาการหย่าร้างมากขึ้น
ผลกระทบต่อสังคม
                1.ปัญหาการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร   ส่งผลกระทบต่อสังคม โดยเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้แก่                           
                1.1. เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์   เกิดปัญหาการทำแท้ง  เกิดปัญหาหาเด็กมีปัญหาและเด็กเร่ร่อน
1.2 เกิดปัญหาความเสื่อมวัฒนธรรมอันดีของไทย
1.3 ปัญหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
1.4 ปัญหายาเสพติด  บุหรี่  เหล้า  และการพนัน
1.5 ปัญหาแหล่งบันเทิง  ผับ บาร์  อ่างอบนวดและซ่อง
1.6 ปัญหาภาพยนตร์โป้   สื่อลามกอนาจาร
1.7 ปัญหาการล่อลวง  ปัญหาคุณภาพชีวิตตกต่ำ
2. ปัญหาการมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควรและปัญหาร่วมต่างๆทำให้ขาดประชากรที่มีคุณภาพในการพัฒนาสังคมให้ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเริง
ความสำคัญของการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลดภัย หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาหรือจากการมีเพศสัมพันธ์ได้แก่ ปัญหาการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะโรคเอดส์และโรคในกลุ่มกามโรค และเกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์  ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ได้จริง ๆ ก็ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยป้องกันปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์คือ ป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ และป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์อุปกรณ์ที่ช่วยให้มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยคือ ถุงยางอนามัย หรือคอนดอมถุงยางอนามัย จัดให้เป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่งที่ช่วยทำให้มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยได้ สิ่งสำคัญในการใช้ถุงยางอนามัยคือ การเลือกถุงยางอนามัยและการใช้ถึงยางอนามัยอย่างถูกต้ององค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยรุ่นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1.เพื่อลดการแต่งงานก่อนอายุ 18 ปี
1.1.  สนับสนุนให้ผู้นำรัฐบาล ผู้บริหาร และผู้นำชุมชน กำหนดและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายห้ามการแต่งงานก่อนอายุ 18 ปี
1.2.  สร้างกระบวนการเพื่อเลื่อนการแต่งงานของหญิงวัยรุ่นจนกว่าจะอายุ 18 ปี โดยปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคม และให้ข้อมูลแก่หญิงวัยรุ่นและครอบครัว กระบวนการนี้ควรทำร่วมกับกระบวนการที่ควบคุมโดยรัฐ
1.3.   เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่หญิงวัยรุ่น เพื่อเลื่อนการแต่งงานจนกระทั่งอายุ 18 ปี
2.เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้ลดการตั้งครรภ์ก่อนอายุ 20 ปี
2.1.   สนับสนุนการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง ด้วยการจัดหาข้อมูล, ความรู้ด้านเพศศึกษาและสุขภาพ, สร้างทักษะการใช้ชีวิต, ให้คำปรึกษาและจัดหาบริการด้านการคุมกำเนิด และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการป้องกันดังกล่าว
2.2.   พยายามให้หญิงวัยรุ่นอยู่ในโรงเรียนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2.3.   เสนอวิธีการให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและการคุมกำเนิดแก่วัยรุ่น เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์
2.4.   สนับสนุนให้มีการคุมกำเนิดหลังคลอดหรือหลังแท้งแก่วัยรุ่น โดยการเยี่ยมบ้านหรือนัดตรวจติดตาม เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น
3.เพื่อเพิ่มการคุมกำเนิดในวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
3.1.   กระตุ้นให้ผู้นำรัฐบาลและผู้บริหารกำหนดนโยบายและกฎหมาย เพื่อให้วัยรุ่นได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและบริการด้านการคุมกำเนิดมากขึ้น
3.2.  โน้มน้าวให้สมาชิกในสังคมสนับสนุนการเข้าถึงการคุมกำเนิดของวัยรุ่น
3.3.  ให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด โดยสอดแทรกในหลักสูตรเพศศึกษา เพื่อเพิ่มการคุมกำเนิดในวัยรุ่นให้มากขึ้น
3.4.   หากระบวนการเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่น
4.เพื่อลดการละเมิดทางเพศในวัยรุ่น
4.1.    กระตุ้นให้ผู้นำรัฐบาล ผู้บริหาร และชุมชน กำหนดและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายลงโทษผู้กระทำผิด
4.2.    ปรับปรุงความสามารถของหญิงวัยรุ่นให้ต่อต้านการละเมิดทางเพศ และสามารถรับความช่วยเหลือหากถูกละเมิดทางเพศได้
4.2.1.  ให้หญิงเหล่านั้นเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง
4.2.2.  พัฒนาทักษะการใช้ชีวิต เช่น การสื่อสาร การต่อรอง
4.2.3.  ปรับปรุงการติดต่อกับเครือข่ายทางสังคม และการเข้าถึงความช่วยเหลือทางสังคม
4.3.     กระบวนการดังกล่าวข้างต้นควรทำควบคู่กับการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมไม่ให้อภัยผู้ทำความผิด
4.4.     ให้ผู้ชายมีส่วนร่วมในการประเมินบรรทัดฐานเรื่องเพศและพฤติกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทางเพศและความรุนแรง
5.เพื่อลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยในวัยรุ่น
5.1.   กำหนดกฎหมายและนโยบายให้วัยรุ่นสามารถรับบริการทำแท้งที่ปลอดภัยได้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้ง
5.1.1.  อันตรายจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
5.1.2.  บริการทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย
5.1.3.  สามารถทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายในสถานการณ์ใด และที่ไหน
5.2.     ค้นหาและจัดการกับอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการการทำแท้งของวัยรุ่น
5.3.     สร้างความมั่นใจให้วัยรุ่นเข้ารับบริการทางการแพทย์หลังการทำแท้ง แม้ว่าการทำแท้งนั้นจะถูกกฎหมายหรือไม่ก็ตาม รวมถึงการรับข้อมูลและบริการเรื่องการคุมกำเนิดด้วย
6.เพื่อเพิ่มการเข้ารับดูแลก่อนคลอด การคลอด และหลังคลอดจากบุคลากรที่มีความชำนาญ
6.1.  ให้ข้อมูลแก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและผู้เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการเข้ารับการฝากครรภ์ การคลอด จากบุคลากรที่มีความชำนาญ
6.2.   ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมให้แก่หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในเรื่องการคลอดและในภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์สำหรับในประเทศไทย ได้มีความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคมและหน่วยงานอื่นๆ ช่วยกันแก้ไขปัญหานี้
1.การดำเนินงานของหน่วยงานราชการ
1.1.   กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
1.1.1. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นหน่วยประสานเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
1.1.2. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ดำเนินงานโครงการคาราวานเสริมสร้างเด็ก โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องเพศศึกษาเพื่อเด็กและเยาวชน
1.2.   กระทรวงสาธารณสุข
1.2.1. กองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย
1.2.1.1. กำหนดให้มีการติดตามแนวโน้มของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยถือแนวโน้มอัตราการคลอดของแม่วัยรุ่นเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของงานอนามัยแม่และเด็กของสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับของทุกจังหวัด
1.2.1.2. ผลักดันให้งานอนามัยการเจริญพันธุ์ให้อยู่ในธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 โดยมีสาระสำคัญในเรื่อง การลดโรคเอดส์ การลดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และการลดความรุนแรงทางเพศ
1.2.1.3. ผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2553-2557)
1.2.1.3.1 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างครอบครัวใหม่และเด็กรุ่นใหม่ให้เข้มแข็ง และมีคุณภาพ
1.2.1.3.2. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมให้คนทุกเพศทุกวัยมีพฤติกรรมอนามัยการเจริญพันธุ์ และสุขภาพทางเพศที่เหมาะสม
1.2.1.3.3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ และสุขภาพทางเพศที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
1.2.1.3.4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการงานอนามัยการเจริญพันธุ์ และสุขภาพทางเพศแบบบูรณาการ
1.2.1.3.5. ยุทธศาสตร์การพัฒนากฎหมาย กฎ และระเบียบ เกี่ยวกับงานอนามัยการเจริญพันธุ์ และสุขภาพทางเพศ
1.2.1.3.6. ยุทธศาสตร์การพัฒนา และการจัดการองค์ความรู้ เทคโนโลยีอนามัยการเจริญพันธุ์ และสุขภาพทางเพศ
1.2.2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค: ติดตามแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนนักศึกษา และรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา และรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัย ร้อยละ 10
1.2.3.  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด: ทุกจังหวัดและอำเภอมีคณะกรรมการอนามัยแม่และเด็ก (Mother and Child Health Board) ทำหน้าที่กำหนดเป้าหมาย วางแผน ประเมินผล และบูรณาการโครงการจากทุกภาคส่วน โดยมีโครงการหลัก คือ โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นศูนย์ข้อมูลด้านอนามัยแม่และเด็กเพื่อผลสำเร็จลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย โดยกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายให้แม่มีบุตรเมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เกินร้อยละ 10
1.3.   กระทรวงศึกษาธิการ
1.3.1. สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา: การดำเนินการเมื่อพบปัญหาการตั้งครรภ์นั้น สถาบันจะเชิญผู้ปกครองของนักเรียนทั้งชายและหญิง มาปรึกษาหารือถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น วิทยาลัยจะอนุญาตให้เด็กพักการเรียนไปก่อน แล้วจึงกลับมาเรียนใหม่ แต่ส่วนใหญ่เด็กจะไปทำแท้งมากกว่าปล่อยให้ตั้งครรภ์ ด้านการป้องกัน ได้จัดโครงการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวให้แก่อาจารย์และนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยนำหลักสูตรการสอนเกี่ยวกับเพศศึกษาขององค์การ PATH เข้ามาจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยต่างๆ มีการร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการจัดให้มีอาจารย์ตรวจตราหอพัก หรือไปเยี่ยมนักศึกษาตามหอพักต่างๆ เนื่องจากในปัจจุบันปัญหานักศึกษาชายและหญิงอยู่ร่วมกันในหอพักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับวิทยาลัยทุกแห่งต่อให้เด็กจะไปทำแท้งมากกว่าปล่อยให้ตั้งครรภ์ หาที
1.3.2. สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.3.2.1. การแก้ไขปัญหาเมื่อพบว่าเด็กตั้งครรภ์ จะอนุญาตให้เด็กลาไปคลอดได้ตั้งแต่เริ่มมองเห็นการตั้งครรภ์ชัดเจน โดยจะใช้วิธีให้เด็กมาเอางานกลับไปทำที่บ้าน เพื่อป้องกันเด็กคนอื่นพบเห็นเพราะอาจเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เมื่อคลอดเสร็จแล้วอนุญาตให้กลับมาเรียนได้ ปัญหาคือ เด็กไม่กลับไปเรียนที่เดิม แต่ขอไปเรียนที่ใหม่แทน เพราะเกิดความรู้สึกอับอายเพื่อไม่กล้ากลับไปเรียนที่เดิม
1.3.2.2. จัดทำหนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพศศึกษา
1.3.2.3. การจัดอบรมให้แก่ครูแนะแนว และครูพลศึกษาถึงการนำหลักสูตรดังกล่าวไปใช้
1.3.2.4. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ
1.4.   กระทรวงวัฒนธรรม
1.4.1.โครงการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
1.4.2.โครงการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
1.4.3.โครงการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังทางวัฒนาธรรม
2.การดำเนินงานขององค์กรพัฒนาเอกชน
2.1. องค์การแพธ (PATH) เป็นองค์กรเอกชนสาธารณะประโยชน์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซีแอตเติล สหรัฐอเมริกา มีสำนักงานสาขา 20 แห่ง และมีโครงการในประเทศต่างๆ มากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีสำนักงานสาขา ได้จัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านสำหรับเยาวชนในสถานศึกษา (Comprehensive Sexuality Education)
2.2. สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
2.2.1. บ้านพักฉุกเฉิน
2.2.2. โครงการเพิ่มต้นทุนชีวิตให้แม่วัยใสและลูก
2.2.3. โครงการเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนมัธยมต้น
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมักเป็นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ส่วนมากไม่ได้รับการดูแลครรภ์ที่เหมาะสม ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งต่อทารกและหญิงตั้งครรภ์เอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกันและหาทางแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว สถานศึกษา บุคลากรทางการแพทย์ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรเอกชนต่างๆ
การแก้ไขและป้องกันปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
ปัจจุบันปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับประเทศไทย ขณะนี้ประเทศไทยมีเด็กวัยรุ่นตั้งครรภ์ถือเป็นอันดับ2ในประเทศแถบอาเซียน เรื่องนี้เป็นประเด็นที่สังคมหลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจและเร่งทำการป้องกันแก้ไข โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาแล้ว การแก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่ครอบครัวทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย จะต้องร่วมกันรับผิดชอบเยียวยาแก้ไขและหาทางออกที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กทั้งเด็กหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และเด็กชายที่ร่วมการก่อกำเนิดทารก รวมทั้งเด็กทารกที่กำลังจะคลอดออกมา เนื่องจากเด็กที่กำลังตั้งครรภ์ ยังจำเป็นต้องเติบโตและพัฒนาในฐานะที่เป็นเด็กและเยาวชน ในขณะที่เด็กทารกก็ควรจะได้รับการเลี้ยงดูที่ดีเพียงพอที่จะทำให้เขาเติบโตและพัฒนาตามที่ควรจะเป็นสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเมื่อเกิดปัญหา ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องมักหาทางออกด้วยการจับเด็กที่ตั้งครรภ์แต่งงานและอยู่กินฉันสามีภรรยากับฝ่ายชายที่มักจะเป็นเด็กด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในความเป็นจริงการแต่งงานมิได้แก้ไขปัญหา เนื่องจากเด็กทั้งสองฝ่ายยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสามีภริยารวมทั้งการเป็นพ่อแม่ ที่สำคัญคือพวกเขายังต้องพึ่งพิงผู้ปกครองในฐานะที่ยังเป็นเด็กจึงยังไม่อาจพึ่งตนเอง ยังต้องการเวลาและโอกาสอีกมาก ในการพัฒนาตนเองขึ้นมาจนสามารถพึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งให้แก่สมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว จนสามารถก่อกำเนิดครอบครัวใหม่แยกจากครอบครัวเดิมของตนทั้งเด็กหญิงเด็กชาย รวมทั้งยังต้องรับผิดชอบร่วมกันดูแลอีกชีวิตหนึ่งที่กำลังจะเกิดมา ดังนั้น ทางแก้ไขจึงควรจะพิจารณาถึง
1. ความรับผิดชอบของทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบอย่างไรบ้าง แม้ว่าจะไม่ได้แต่งงานกัน ในการผ่อนเบาภาระต่างๆของครอบครัวที่ตนยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาและความสามารถในการพัฒนาตนเองด้านการศึกษาการฝึกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องรับผิดชอบในการดูแลเลี้ยงดูทารกร่วมกันอย่างไร โดยมีครอบครัวและญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่าย ร่วมกันให้ความสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง ช่วยถ่ายทอดทักษะที่จำเป็นต่อการเลี้ยงดูเด็กทารก หากสมาชิกในครอบครัวไม่อาจช่วยเหลือถ่ายทอดด้วยตนเอง จะต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้มีทักษะเชี่ยวชาญจากภายนอก ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำวิถีการดำเนินชีวิตของทั้งสองฝ่าย
2. ความรับผิดชอบของทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย รวมถึงครอบครัวของทั้งสองฝ่าย ในการแก้ไขผลกระทบที่ติดตามมาจากการทำให้ตั้งครรภ์ร่วมกันอย่างไร เช่น การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กในครรภ์และแม่วัยเด็ก การพยายามสร้างโอกาสและเงื่อนไขให้แม่วัยเด็กสามารถดำเนินชีวิตเรื่องการศึกษาการฝึกอาชีพต่อไปได้โดยไม่ติดขัด ร่วมกันแก้ไขปัญหาความกดดันจากสังคมที่มีต่อแม่ตั้งครรภ์ในวัยเด็ก การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้แม่วัยเด็กมีความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่มีความทุกข์ความเครียดความกังวลโดยครอบครัวและญาติพี่น้องของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์มีปัญหาสุขภาพต่างๆเช่น ความพิการทั่วไปและความพิการทางสมอง รวมทั้งทำให้การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาสมองของทารกเป็นไปด้วยดี   ทั้งนี้ฝ่ายชายต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องเหล่านี้เพราะการแสดงบทบาทหน้าที่ในเรื่องเหล่านี้ของฝ่ายชาย มีผลอย่างยิ่งในการคลี่คลายปัญหาดังกล่าวข้างต้น
3. ความรับผิดชอบต่อตนเองที่ต้องเร่งพัฒนาตนเพื่อสามารถพึ่งตนเองโดยเร็ว รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งของเด็กทารกได้ด้วย ทั้งนี้เมื่อขณะก่อนการตั้งครรภ์ เด็กทั้งคู่มีแต่ภาระเฉพาะการพัฒนาตนขึ้นมาจนสามารถพึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งให้แก่สมาชิกคนอื่นๆในครอบครัว หรืออาจรับผิดชอบช่วยลดภาระต่างๆของครอบครัวเท่าที่จะทำได้เท่านั้น แต่เมื่อให้กำเนิดเด็กทารกก็จะมีภาระเพิ่มขึ้นในการดูแลและเลี้ยงดูเด็กทารก เมื่อมีภาระเพิ่มขึ้นทั้งของตนเองและของครอบครัวเช่นนี้ก็จำเป็นต้องเร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆให้หนักแน่นจริงจังมากขึ้น เพื่อลดระยะเวลาในการต้องเป็นภาระของคนอื่นๆให้สั้นที่สุดของทั้งสองฝ่าย หากยังมีความรักผูกพันระหว่างเด็กหญิงและเด็กชายไม่ใช่เพียงเรื่องความต้องการทางเพศ ย่อมถึงเวลาอันเหมาะสมที่เขาทั้งสองจะร่วมชีวิตกันเป็นสามีภริยาอย่างแท้จริง
4. รับการบำบัดและฝึกฝนที่จะสามารถจัดการกับอารมณ์เพศได้อย่างสร้างสรรค์ แทนการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรนั้น จะทำให้ความสามารถในการควบคุมตนเองในเรื่องเพศเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์เพศกระทำได้ยากหรืออาจไม่ได้เลย เป็นเหตุให้เด็กขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองในด้านต่างๆหันมาหมกมุ่นแต่เรื่องเพศ มีงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าเด็กที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่วนมากจะไม่ประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาและอาชีพการงาน ทั้งนี้เพราะขาดการพัฒนาตนอย่างต่อเนื่องเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะการแต่งงานแต่วัยเด็กทำให้ขาดช่วงชีวิตในวัยเด็กขาดโอกาสพัฒนาตน จึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดโดยทีมจิตบำบัด เพื่อให้เด็กสามารถควบคุมความต้องการทางเพศได้ในระดับปกติ โดยเฉพาะการรู้จักวิธีการสลายความกดดันอารมณ์เพศที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเครียดและหมกมุ่นในเรื่องเพศ ด้วยกิจกรรมสร้างความสุขและออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการเต้นแอโรบิคการท่องเที่ยวปีนเขา เดินป่า ดูนก เล่นดนตรี เล่นกีฬา ทำงานศิลปะ ฯลฯ

แหล่งอ้างอิง
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Adolescent Pregnancy) (ออนไลน์).
                แหล่งที่มา : http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=742:adolescent-pregnancy&catid=45:topic-review&Itemid=561
การแก้ไขและป้องกันปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร(ออนไลน์).
                แหล่งที่มา : http://www.thaichildrights.org/movement/report/331
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร (ออนไลน์).
                แหล่งที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/354860




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น