วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาสุขภาพและอนามัย นายภาคิไนย ทับพันธุ์ 53242292
















 สุขภาพและระบบบริการสุขภาพ อนามัย     ผลการศึกษาพบว่าปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรชุมชนเมือง ได้แก่
1.  โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
2.  กลุ่มโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง อุบัติเหตุ และความเครียด
3.  กลุ่มโรคติดต่อ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ วัณโรค
4.  ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การทำแท้ง
5.  ปัญหาที่เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ภาวะทุพโภชนา การไม่มีเวลาออกกำลังกาย การพักผ่อนไม่เพียงพอ การดื่มสุรา และการใช้สารเสพติด

การสร้างเสริมสุขภาพ
โอ ดอนเนลล์ (O’ Donnell) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึงวิทยาศาสตร์และศิลปะในการช่วยให้ประชาชนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปสู่สภาวะ (Edelman and Mandle. 1994 : 16; citing O’ Donnell. 1987. Definition of Health Promotion)
ครูเตอร์ และดีวอร์ (Kreuter and Devore) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ร่วมมือปฏิบัติ เพื่อการมีสุขภาพที่ดี (Edelman and Mandle. 1994 : 16; citing Kreuter and Devore. 1980. Reinforcing of the Health Promotion.)
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (2541 : 10) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะในการควบคุมและพัฒนาสุขภาพของตนเอง
โดยสรุปการสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง  "กระบวนการเพิ่มสมรรถนะให้คนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมและการสร้างเสริมให้สุขภาพของตนเองดีขึ้น ในการที่จะบรรลุสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลควรที่จะต้องมีความสามารถที่จะบ่งบอกและตระหนักถึงความมุ่งมาดปรารถนาของตนเองที่จะสนองความต้องการต่างๆ ของตนเอง และสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เรื่องสุขภาพจึงถูกมองในลักษณะของความจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน มิใช่เป็นเพียงจุดมุ่งหมายของการดำรงชีวิตเท่านั้น สุขภาพเป็นคำที่มีความหมายในทางบวก เน้นหนักที่ทรัพยากรบุคคลและสังคม เช่นเดียวกับสมรรถนะต่างๆ ทางร่างกาย ดังนั้น การสร้างเสริมสุขภาพจึงมิใช่เป็นความรับผิดชอบขององค์กรในภาคสาธารณสุขเท่านั้น หากกินความนอกเหนือจากการมีชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพดีไปสู่เรื่องของสุขภาวะโดยรวมอันประกอบด้วย สภาวะทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ"
การจัดบริการสุขภาพที่ผ่านมามุ่งเน้นด้านการรักษาพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาความเจ็บป่วยความพิการ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องอาศัยวิทยาการและเทคโนโลยีที่มีราคาแพงมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่กลับได้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำ
สำหรับประเทศไทยก็ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมใหญ่เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพเมื่อวันที่ 6 – 8 พฤษภาคม 2541 ในการนี้ได้มีการผลิตเอกสารเกี่ยวกับสุขภาพจำนวนมาก มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายวิชาชีพ สาระสำคัญของการประชุม คือ "สุขภาพไม่ได้สร้างในโรงพยาบาล

การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่จำเป็นสำหรับชีวิตตามแนวทางสุขบัญญัติแห่งชาติ
การมีสุขภาพดีสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข เป็นความต้องการจำเป็นพื้นฐานของชีวิตที่คนเราทุกคนสามารถแสวงหาได้ การที่เราจะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น เราจะต้องแสวงหามาด้วยตัวเอง ไม่มีผู้ใดจะปฏิบัติแทนเราได้ ดังนั้น สุขบัญญัติ คือ ข้อกำหนดที่ประชาชนทุกคนควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม
สุขบัญญัติ 10 ประการ มีดังนี้
1.ดูแลรักษาและของใช้ให้สะอาด
2.รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
3.ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย
4.กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด
5.งดบุหรี่ สุรา สารเสพย์ติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ
6.สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น
7.ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท
8.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี
9.ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส่อยู่เสมอ
10.มีสำนึกต่อส่วนรวม รวมสร้างสรรค์สังคม

จากสุขบัญญัติ 10 ประการ จะยกปัญหาที่สำคัญและส่งผลต่อสุขภาพและอนามัยของคนในชุมชนเมือง

1.ปัญหาการดูแลรักษาความสะอาด















ชุมชนเมืองมีประชากรหนาแน่นมากตามความเจริญของเมืองสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่นอากาศ น้ำ ดิน แสง เสียง สิ่งปฏิกูล เปลี่ยนแปลงไปขาดความสมดุลตามธรรมชาติเนื่องจากมนุษย์ได้สร้างตึก โรงงาน ถนน เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประกอบการและอำนวยความสะดวกสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลายด้วยสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมาแทน สิ่งแวดล้อมในเมืองจึงเต็มไปด้วยตึก โรงงาน ที่ทำงานด้วยเครื่องจักรมีเสียงดังอึกทึกตลอดเวลา พ่นหมอกควัน อากาศเต็มไปด้วยฝุ่นละออง กลิ่นเหม็นจากสารเคมี ท่อไอเสียจากรถยนต์และเครื่องยนต์สิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ อันเป็นสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพถูกทำลาย ทำให้มนุษย์ต้องสูญเสียสิ่งที่ช่วยสร้างสุขภาพและอนามัยของชุมชนบางส่วนไปและเกิดโทษตามมาแทนการดำรงชีพของชุมชนในเมืองเปลี่ยนไปพึ่งอุตสาหกรรม เป็นหลักแทนการเกษตร สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชนเมือง ต่างพึ่งตนเองต้องแข่งขันในทางเศรษฐกิจ ขาดความใกล้ชิดผูกพันกัน สิ่งแวดล้อมในเมืองกำลังจะเต็มไปด้วยสิ่งมีพิษและอันตรายต่อชีวิต

2.ปัญหาการรักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง ปัญหาล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังการขับถ่าย และการออกกำลังกาย















เนื่องจากคนที่อยู่ในชุมชนเมืองเต็มไปด้วยความเร่งรีบ และการแข่งขัน จึงทำให้ละเลยในการรักษาสุขภาพของฟัน เช่น การไปพบทันตแพทย์ปีละสองครั้ง หรือ การแปรงฟันหลังอาหาร รวมทั้งละเลยในการล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร ละเลยการออกกำลังกาย อีกทั้งในเมืองไม่มีสถานที่ในการออกกำลังกายที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการ

3.ปัญหาการรับประทานอาหาร
















           
               คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองมักประสบปัญหาความเครียด คนที่เครียดเรื้อรังจะมีปัญหาการรับประทานอาหารได้ 3 รูปแบบกล่าวคือ
-น้ำหนักเกิน เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียดผู้ป่วยจะรับประทานอาหารเค็ม มัน หวานเพื่อไปต่อสู้กับความเครียด และทำให้เกิดลักษณะอ้วนลงพุง
-น้ำนักลดลงเนื่องจากเบื่ออาหาร
มีการรับประทานอาหารผิดปกติ เช่น Anorexia nervosa and bulimia nervosa
-คนที่อาศัยอยู่ในเมืองมักจำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดเนื่องจากค่าครองชีพสูงทำให้ไม่สามารถซื้ออาหารที่มีคุณภาพซึ่งมีราคาสูงได้
รวมทั้งค่านิยมการรับประทานอาหารจำพวก fast food  ของคนในชุมชนเมือง

4.ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว

















ครอบครัว เป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด และเป็นสังคมแห่งแรกที่เด็กที่เกิดมาจะได้รับความรักความอบอุ่นจากสมาชิกในครอบครัวบางครอบครัวมีสมาชิกเพียง 2 คน คืออยู่เฉพาะสามี ภรรยา (ถ้าไม่มีบุตร) บางครอบครัวมีสมาชิกตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป คือ มีบุตรอยู่ร่วมด้วยเรียกว่า ครอบครัวเดี่ยว และบางครอบครัวมีสมาชิกอยู่รวมกัน หลายครอบครัวในบ้านหลังเดียวกัน ประกอบด้วย ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้อง เรียกว่า ครอบครัวขยาย 
ปัจจุบัน คู่สมรสในเมืองที่แต่งงานใหม่ นิยมที่จะแยกอยู่ลำพัง เป็นครอบครัวเดี่ยว มีอิสระ ไม่ต้องเป็นที่เพ่งเล็งของญาติผู้ใหญ่ และคิดว่าสามารถจะประคองชีวิตครอบครัวของตัวเองให้ประสบความสำเร็จได้ เมื่อมีลูกก็คิดว่าจะเลี้ยงด้วยตัวเอง เลี้ยงแบบสมัยใหม่ ในขณะที่คู่สมรสบางคู่ยังอยู่ในครอบครัวเดิมที่อบอุ่น มี ปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยดูแลหลาน ๆ มีความเข้าใจกัน ในครอบครัวก็มี จากประสบการณ์ในการทำงานที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์สุขวิทยาจิต พบว่า เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์มาจากครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวขยาย ในจำนวนใกล้เคียงกัน แต่เมื่อศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาเนื่องมาจากการสื่อสารในครอบครัวเป็นสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสารที่แสดงถึงการตำหนิติเตียน ความไม่พอใจ ซึ่งเป็นทางลบมากกว่าการแสดงออกทางบวก
นอกจากนี้ จากการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร โดย อ.วชิราภรณ์   ชุมพล พบว่า นักเรียนประสบปัญหาดังนี้ เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ด้านอารมณ์ ด้านการเรียน ด้านสุขภาพ ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ด้านการคบเพื่อน ด้านการใช้เวลาว่างและการพักผ่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชุมชนเมืองมีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวแม้แต่ในเด็กประถม
ซึ่งการไม่มีเวลาให้แก่กันของสมาชิกในครอบครัวนั้นเป็นสาเหตุหนึ่ง ในชุมชนเมืองการแข่งขันเร่งรีบเป็นตัวลดเวลาในการพบกันของสมาชิกในครอบครัว

5.ปัญหาอุบัติภัย















ในสังคมเมืองนั้นเกิดอุบัติภัยมากมายหลายรูปแบบ สำหรับในชุมชนเมืองอุบัติภัยที่พบมักเป็นอุบัติภัยตามท้องถนน ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
1.ความประมาท
2.การดื่มสุรา
3. จำนวนผู้ต้องการเดินทางในเมืองมีมากขึ้น
4.ความขัดข้องของยานพาหนะ  เป็นต้น

6.ปัญหาจิตสำนึกของสังคม
เมื่อยุคสมัยได้เปลี่ยนแปลงผ่านมาเป็นสังคมทุนนิยมอุตสาหกรรม การสื่อสารก็มีรูปแบบเป็นการสื่อสารทางไกล เช่น โทรศัพท์ จดหมาย ฯลฯ และเป็นไปในลักษณะมวลชนที่เป็นการสื่อสารทางเดียวมากขึ้น นั่นคือสื่อมวลชนที่เป็น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ทั้งนี้แม้จะมีการสื่อสารแบบ Face to Face อยู่ แต่เนื่องจากสถานภาพทางสังคมของแต่ละบุคคล ที่มีอาณาบริเวณอยู่อาศัยที่กว้างขึ้น มีหน้าที่ที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายตลอดเวลา ทำให้การสื่อสารแบบ Face to Face กับบุคคลอื่นในแต่ละแห่งมักอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ และเกี่ยวข้องกับบุคคลในวงแคบๆ เมื่อรวมกับสถานภาพความสัมพันธ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มบุคคลแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา (อันเนื่องมาจากการเคลื่อนย้าย) ทำให้ความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นในลักษณะชุมชนท้องถิ่นลดลง

              ในขณะที่วิถีชีวิตประจำวันของบุคคลโดยทั่วไปก็เปลี่ยนไป มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสถาบันหรือองค์กรมากขึ้นอย่างแยกไม่ออก เราต้องเรียนหนังสือในโรงเรียน เราต้องทำงานในองค์กรไม่ทางราชการก็เอกชน เราจะได้อะไรหรือเสียอะไรก็ต้องติดต่อกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้การสื่อสารที่เรามีต่อผู้อื่น มักอยู่ในรูปของเรากับองค์กร อย่างเช่นถ้าหากเราไปถอนเงินจากธนาคาร แม้เราจะติดต่อสื่อสารกับพนักงาน แต่โดยสภาพจริงที่เกิดขึ้นก็คือเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างเรากับธนาคาร หรือถ้าหากเราทำงานธนาคาร คนที่ติดต่อกับเราก็ติดต่อสื่อสารกับเราในฐานะของคนนั้นกับธนาคาร หรือองค์กรที่บุคคลนั้นสังกัดอยู่กับธนาคาร สรุปก็คือการสื่อสารถึงกันในฐานะระหว่างมนุษย์กับมนุษย์มีน้อยลง แต่มีการสื่อสารกันระหว่างมนุษย์กับองค์กร หรือองค์กรกับองค์กรมากขึ้น(ไพบูลย์ ช่างเรียน, 2527) และมีผลต่อการดำรงอยู่ของ "จิตสำนึกของสังคม" ที่อยู่ในรูปขององค์กรมากขึ้น เช่น การรักษาความสะอาดเป็นหน้าที่ของเทศบาล การพัฒนาบ้านเมืองเป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เรามีส่วนร่วมแค่เฉพาะการเลือกตั้ง เป็นต้น
               ลักษณะสังคมแบบนี้ ทำให้เกิดปัญหาของสังคมในวงกว้าง ทั้งนี้เนื่องจากต่างคนต่างอยู่ในลักษณะ "ธุระไม่ใช่" ดังที่เป็นข้อสังเกตของศ.นพ.ประเวศ วะสี (2541: 16-17)ในขณะที่ปัญหาต่างๆ ของสังคมที่เรายกให้องค์กรทางสังคมเป็นคนจัดการมีจำนวนมากและซับซ้อนเกินกว่าระบบจะรับไหว เกิดเป็นปัญหาเรื้อรังอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นความเสื่อมโทรมของสังคมที่เกิดขึ้นตามพัฒนาการของสังคมแบบ "ธุระไม่ใช่" นี้ โดยตัวชี้วัดปัญหานี้สังเกตได้จากการรณรงค์เรียกร้องต่อภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหามีมากขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงปัจจุบัน ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม ปัญหาโรคเอดส์และสุขภาพพลานามัย ฯลฯ โดยส่วนใหญ่เป็นในรูปของการรณรงค์ให้เกิด "จิตสำนึกต่อสังคม" อันเป็นจิตสำนึกประจำตัวของแต่ละคนที่สามารถมีผลในระดับสังคม เป็นตัวยืนยันว่าสังคมมีปัญหาในระดับ "จิตสำนึกของสังคม" อันเนื่องมาจากการดำรงชีวิตแบบ "ธุระไม่ใช่" และการเคลื่อนย้ายสถานภาพจิตสำนึกของสังคม จากเดิมที่เป็นคุณสมบัติประจำตัวของสมาชิกแต่ละบุคคล ไปเป็นหน้าที่ขององค์กรหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นเอง
จิตสำนึกสาธารณะประกอบด้วยความหมายของคำสองคำเข้าด้วยกันนั่นคือคำว่า "จิตสำนึก" และ "สาธารณะ" โดยจิตสำนึกเป็นเรื่องของ Mind หรือ Spirit ส่วนสาธารณะนั้นเป็นเรื่องของส่วนรวมที่ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน มีสิทธิในการใช้และมีหน้าที่บำรุงรักษาร่วมกัน โดยลักษณะของสาธารณะนั้นมี 3 ลักษณะด้วยกันคือ พื้นที่สาธารณะ, โครงสร้างสาธารณะ (เช่น กฏหมาย, ระบบโทรคมนาคม, สื่อมวลชน ฯลฯ), และกระบวนการสาธารณะ (เช่น ประชาพิจารณ์ เป็นต้น) (ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์, 2540)
            ในอีกความหมายหนึ่ง จิตสำนึกสาธารณะก็คือจิตสำนึกของสังคม (Social Consciousness) ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาตราบเท่าที่ยังมีการดำรงอยู่ของสังคม (Social Being) (กาญจนา แก้วเทพ, 2539)
            ท่ามกลางกระแสเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้น ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม ที่มาควบคู่กับการเจริญทางเทคโนโลยีและการเจริญเติบโตของเมือง ทำให้วิถีชีวิตในแบบชุมชนดั้งเดิมถูกผลกระทบไปด้วย ทั้งเรื่องวิถีชีวิตและการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงาน (Baldridge, V. J., 1975: 370-407)
            การเปลี่ยนแปลงของสังคมดังกล่าว ย่อมกระทบถึงการดำรงอยู่ของสังคมในรูปแบบเดิมๆ และกระทบถึงจิตสำนึกของสังคมด้วย ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องจิตสำนึกสาธารณะจากวัฒนธรรมปัจเจกชน

7.ปัญหาด้านจิตใจ
















สาเหตุความเครียดในชุมชนเมือง จากสภาวะแวดล้อมในเมือง ทำให้เกิดความเครียดได้ในลักษณะที่เรียกว่า ร่างกายเครียดจากการที่ร่างกายกับจิตใจมีความเกี่ยวข้องกัน แยกจากกันไม่ได้ การเกิดความเครียดทางร่างกายย่อมส่งผลให้จิตใจเครียดตามด้วย ซึ่งปัจจัยทางร่างกายที่ก่อให้เกิดความเครียด ได้แก่
ความเหนื่อยล้าทางร่างกาย ในชุมชนเมืองนั้นชีวิตที่เร่งรีบและการแข่งขัน ทำให้เกิดการทำงานอย่างหนัก และติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งจะมีความเกี่ยวเนื่องมาจากสภาพความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายที่จะทำให้แต่ละคนมีความพร้อมในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันแตกต่างกัน
    ภาวะโภชนาการได้แก่ ลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารที่จะมีผลต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย การรับประทานอาหารไม่ถูกส่วน ไม่ถูกสุขลักษณะ การรับประทานอาหารไม่เพียงพอหรือมากเกินไป ซึ่งเกิดจากชีวิตที่เร่งรีบในชุมชนเมือง การใช้หรืออาการบริโภคสารบางประเภท อาทิ สุรา บุหรี่ ชา กาแฟ ตลอดจนสารเสพติดต่างๆ เหล่านี้ ล้วนทำให้เกิดความเครียดได้
 การพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนเพลียติดต่อกันเป็นเวลานาน
  การเจ็บป่วยทางร่างกาย ทั้งการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน เช่น การมีไข้สูง อุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน มะเร็ง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
 ลักษณะท่าทางที่ปรากฏเกี่ยวกับโครงสร้างของกล้ามเนื้อผิวหนังและการทรงตัว เช่น การเดินยืน วิ่ง นั่น นอน หากอยู่ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมย่อมก่อนให้เกิดความเครียดได้


บรรณานุกรม
                1.http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%A1%D2%C3%E3%CB%E9%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2%C7%D4%B8%D5%BB%E9%CD%A7%A1%D1%B9%E1%C5%D0+%A1%D2%C3%A4%C7%BA%A4%D8%C1%BB%D1%AD%CB%D2%CA%D8%A2%C0%D2%BE%CD%B9%D2%C1%D1%C2%B7%D5%E8%C1%D5%CD%C2%D9%E8&select=1
               3.http://www.siamhealth.net/Disease/neuro/psy/stress/health_effect.htm
               4.http://www.thaitopic.net/data/views.php?recordID=49

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น