วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาการค้ามนุษย์ นาย สิทธิศักดิ์ ทองเสริฐ(53242674)




เรื่อง ปัญหาการค้ามนุษย์


ปัจจุบันพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกื้อหนุนให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น
เพื่อแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยประเทศไทย เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง
ปัจจัยนี้ส่งผลให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ในภูมิภาคเอเชียมีความซับซ้อน มีประชาชนของแทบทุกประเทศล้วนตกเป็นเหยื่อ
 โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ LPN พบว่า แนวโน้มจำนวนของแรงงานข้ามชาติที่ถูกหลอกนั้น มากขึ้นทุกที
การค้ามนุษย์หรือการทำให้มนุษย์เป็นสินค้านั้นมีมาทั้งแต่การค้าทาสในสมัยก่อนเพื่อใช้เป็นแรงงานในกระบวนการผลิตแบบเกษตรกรรม และการสงครามและมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงยุคล่าอาณานิคม เช่น การล่าอาณานิคมและการต้อนผู้คนมาเป็นทาส  อันได้แก่การค้าทาสชาวผิวดำ หรือชนเผ่าพื้นเมืองมาเป็นสินค้าโดยตรง ทั้งนี้มีความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งโฉมหน้าของสังคมโลก คือ นับตั้งแต่การเริ่มปฏิวัติของอุตสาหกรรมในยุโรปตะวันตก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา
                มนุษย์(โยเฉพาะชาวเมืองชาวชนบท) ได้กลายเป็นแรงงานในการผลิตภาคอุตสาหกรรรมในโรงงานต่างๆ จากความแร้งแค้นการถูกเอารัดเอาเปรียบรวมไปถึงการถูกปฏิบัติเยี่ยงทาสก่อให้เกิดการเรียกร้องถึงสังคมที่มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ทั้งในเชิงของเสรีภาพ และ การจัดสรรทรัพยากร เพื่อการดำรงชีพของมนุษย์ในสังคม
ทว่า การตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของมนุษย์นั้น ได้มาพร้อมกับระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมโลกาภิวัฒน์ อันนำมาซึ่งการเอารัดเอาเปรียบข้ามรัฐ/ข้ามชาติในรูปแบบใหม่ผ่านกลไกการผลิตแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมก้าวหน้า ที่ประเทศผู้ได้เปรียบในการค้าระดับโลกแสวงหาแรงงานราคาถูกจากประเทศด้อยหรือกำลังพัฒนาให้ผลิตสินค้าของตน เมื่อมองในมิติดังกล่าวจึงมีผู้เสนอแนวคิด ว่าภาวะเช่นนี้เสมือนกับเป็นการล่าจักรวรรดินิยมแบบใหม่ หรืออาณาจักรใหม่ (Empire) ที่มีบรรษัท ข้ามชาติเป็นกลไกสำคัญ
                อย่างไรก็ตาม การอธิบายเชิงโครงสร้างขนาดใหญ่ (Macro Level) ดังกล่าวยังไม่อาจทำให้เราเข้าใจได้ถึงปรากฎการณ์ทางสังคมนี้ได้อย่างครบถ้วน/รอบด้าน ความพยายามศึกษาในแง่มุมของกระบวนการการค้ามนุษย์ในมิติเชิงสังคม/วัฒนธรรม/ความเชื่อ/ประเพณี/ค่านิยม ที่ฝังรากลึกอยู่ใน ระบบความสัมพันธ์ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาใน ระดับปัจเจก, ครอบครัว, และชุมชน ที่เน้นถึงมิติความไม่เท่าเทียมทางเพศ และการ “พัฒนา”ที่มุ่งเน้นแต่เพียงความเจริญทางเศรษฐกิจอันส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตทั้งในชุมชนชนบท และเมือง ล้วนเป็นแนวทางการศึกษาในเรื่องการค้ามนุษย์ที่สำคัญเช่นกัน
ทั้งนี้ปรากฎการณ์/ปัญหาการค้ามนุษย์นั้นสามารถแบ่งออกเป็นประเภทได้กว้าง ๆตามวัตถุประสงค์การค้า คือ เพื่อนำไป/บังคับเป็นแรงงาน และการค้าประเวณี ทว่า การค้าทั้งสอง ประเภทนั้นมิได้เป็นอิสระจากกันหากแต่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ทั้งนี้ยังต้อง
 รวมไปถึงเหยื่อที่มีทั้งสตรี, เด็ก, และผู้อพยพข้ามชาติ ปัญหาการค้ามนุษย์ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งต่อตัวเหยื่อเอง, ครอบครัว, ชุมชน, สังคม และต่อระดับประเทศ (เช่น การกีดกันทางการค้าจากชาติตะวันตก เนื่องจากมีการค้ามนุษย์ในประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องของการริดรอนสิทธิเสรีภาพของมนุษย์อันเป็นบรรทัดฐาน/ข้ออ้างสำคัญของการค้าระหว่างประเทศในสังคมเสรีนิยม โลกาภิวัฒน์ในปัจจุบัน) นั่นยิ่ง ทำให้ความพยายามในการแก้ปัญหาและการสร้างความเข้าใจต่อ การค้ามนุษย์จึงยิ่งมีความซับซ้อน/ ซ้อนทับของเงื่อนไขบริบทต่าง ๆ มากขึ้นไปในหลายระดับ


 การค้ามนุษย์ในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศต้นทาง ปลายทาง และทางผ่าน สำหรับการค้าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กเพื่อการบังคับใช้แรงงานและการบังคับค้าประเวณี  ประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่อยู่ห่างไกล เช่น อุซเบกิสถานและฟิจิ อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยด้วยเหตุผลต่างๆ รวมทั้งปัญหาความยากจน แรงงานชาวพม่าซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวในไทย เข้ามาหารายได้ในไทยและหลบหนีการปราบปรามของทหาร เหยื่อค้ามนุษย์ที่พบในไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ถูก บังคับหรือล่อลวงมาเพื่อบังคับใช้แรงงานหรือแสวงหาประโยชน์ในธุรกิจทางเพศ มีการประมาณการว่าจำนวนประชากรกลุ่มนี้น่าจะมีไม่ต่ำกว่าหลายหมื่นคน เหยื่อค้ามนุษย์ในไทยมักพบในอุตสาหกรรมประมง โรงงานแปรรูปอาหารทะเล โรงงานผลิตเสื้อผ้าราคาถูก และงานรับใช้ตามบ้าน มีหลักฐานที่ชี้ว่าเหยื่อค้ามนุษย์ ผู้ชาย ผู้หญิงและเด็กที่ถูกใช้เป็นแรงงานในอุตสาหกรรม เช่น การประมงเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง และงานรับใช้ตามบ้านคิดเป็นส่วนใหญ่ของเหยื่อค้ามนุษย์เพื่อใช้แรงงงานใน ประเทศไทย
ผลการวิจัยโดยองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับองค์การสหประชาชาติที่นำออกเผยแพร่ในช่วงปีที่จัดทำรายงานฉบับนี้ระบุว่าประชากรที่ เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ในประเทศมีจำนวนมาก มีการประมาณการตัวเลขว่าร้อยละ 23 ของชาวกัมพูชาที่ถูกทางการไทยส่งตัวกลับประเทศที่ปอยเปตเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ โครงการความร่วมมือสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ (UNIAP) ประมาณการตัวเลขว่าทางการไทยส่งตัวเหยื่อค้ามนุษย์ชาวกัมพูชากว่า 23,000 คนกลับประเทศในแต่ละปี ทางการลาวรายงานในปีที่จัดทำรายงานว่าในจำนวนชาวลาวหลายพันคนที่ถูกทางการ ไทยส่งตัวกลับประเทศ มีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ชาวลาวประมาณ 50-100 คนรวมอยู่ด้วย จากการประเมินความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เพื่อใช้แรงงานใน กลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวพม่าในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลที่จังหวัดสมุทรสาคร พบว่าร้อยละ 57 ของคนงานกลุ่มนี้ผ่านประสบการณ์ที่เป็นสภาพของการถูกบังคับใช้แรงงาน รายงานขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ที่นำออกเผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ระบุว่าสภาพการบังคับใช้แรงงาน รวมถึงการเป็นแรงงานขัดหนี้ พบอยู่ทั่วไปในกลุ่มแรงงานกัมพูชาและพม่า ซึ่งถูกบังคับหรือล่อลวงให้มาทำงานในอุตสาหกรรมประมงของไทย รายงานดังกล่าวระบุว่าชายชาวพม่า กัมพูชา และไทยถูกค้าแรงงานตามเรือประมงของไทยที่แล่นทั่วน่านน้ำเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และที่อื่นๆ และคนเหล่านี้อาจต้องอยู่บนเรือกลางทะเลนานหลายปี โดยไม่ได้รับค่าแรง ถูกบังคับให้ทำงานวันละ 18-20 ชั่วโมงเป็นเวลาเจ็ดวันต่อสัปดาห์ ถูกข่มขู่ และถูกทุบตี ผลการสำรวจของ UNAIP ก่อนหน้านี้ยังพบว่าในจำนวนคนต่างด้าวที่ถูกค้าแรงงานบนเรือประมงไทยที่ได้ รับการสำรวจ 49 คน มี 29 คน (ร้อยละ 58) ที่เคยเห็นเพื่อนคนงานถูกฆ่าโดยไต้ก๋งเรือเมื่อไต้ก๋งเห็นว่าอ่อนแอหรือป่วย จนไม่สามารถทำงานได้ โดยทั่วๆไปแรงงานบนเรือประมงไม่ได้ทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรกับนาย จ้าง ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าโดยทั่วๆ ไปแล้ว นักค้ามนุษย์ (รวมทั้งนายหน้าหาแรงงาน) ซึ่งนำคนต่างด้าวเข้ามาในไทยมักทำงานคนเดียวหรือทำงานแบบกลุ่มที่ไม่ได้จัด ตั้งเป็นทางการ ในขณะที่นักค้ามนุษย์ที่หลอกคนไทยไปค้าในต่างประเทศจะทำงานเป็นกลุ่มที่จัด ตั้งเป็นทางการมากกว่า ผู้สังเกตการณ์ที่ได้รับข้อมูลในเรื่องนี้ยังรายงานด้วยว่านายหน้าจัดหาแรง งานบางคนที่ช่วยอำนวยความสะดวกหรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการค้ามนุษย์ มีทั้งนายหน้าที่เป็นคนไทยและคนต่างชาติที่ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย โดยร่วมมือกับนายจ้างและบางครั้งก็ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ด้วย
แรงงานต่างด้าว ชนกลุ่มน้อย และบุคคลไร้สัญชาติในไทยมีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์มากกว่าคน ไทย โดยคนกลุ่มนี้ถูกนายจ้างยึดเอกสารเดินทาง บัตรจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และใบอนุญาตทำงานไว้ โดยเฉพาะแรงงานที่ไม่ได้จดทะเบียนก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อค้า มนุษย์มากขึ้น เนื่องจากฐานะทางการเงิน ระดับการศึกษา อุปสรรคด้านภาษา และการขาดความเข้าใจเรื่องสิทธิของตนเองภายใต้กฎหมายไทย ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงและเด็กหญิงชาวเขาเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ มากที่สุดคือการไร้สัญชาติ เด็กจากประเทศเพื่อนบ้านบางคนถูกบังคับให้ขายดอกไม้ ขอทาน หรือทำงานรับใช้ตามบ้านในเขตตัวเมือง ในช่วงปีที่จัดทำรายงาน พบหญิงชาวเวียดนามที่ถูกจำกัดบริเวณและถูกบังคับให้ทำหน้าที่อุ้มบุญเด็กใน ครรภ์หลังจากถูกหลอกพาเข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ คนไทยที่ถูกหลอกไปค้าในต่างประเทศและได้รับความช่วยเหลือกลับประเทศในช่วงปี ที่จัดทำรายงานส่วนใหญ่จะถูกนำไปค้าที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย ศรีลังกา บาห์เรน และจีน และบางส่วนก็ถูกนำไปค้าที่รัสเซีย แอฟริกาใต้ เยเมน เวียดนาม สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสิงคโปร์ นอกจากนี้ ยังมีคนไทยบางส่วนที่ถูกนำไปค้าในออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี อินโดนีเซีย อิสราเอล ญี่ปุ่น คูเวต ลิเบีย มาเลเซีย กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย  แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และติมอร์-เลสเต แรงงานชายไทยบางรายที่เดินทางไปทำงานที่ใช้ทักษะต่ำตามสัญญาชั่วคราวและทำ งานในภาคเกษตรในต่างประเทศต้องเผชิญกับการถูกบังคับใช้แรงงานและมีสภาพเป็น แรงงานขัดหนี้ เหยื่อค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณีโดยทั่วไปเป็นผู้หญิงและเด็กหญิง การท่องเที่ยวเพื่อซื้อบริการทางเพศยังคงเป็นปัญหาในประเทศไทย และความต้องการดังกล่าวน่าจะเป็นพลังผลักดันให้มีการค้ามนุษย์เพื่อธุรกิจ ค้าประเวณี ไทยเป็นประเทศทางผ่านสำหรับเหยื่อค้ามนุษย์จากเกาหลีเหนือ จีน เวียดนาม ปากีสถานและพม่า ซึ่งจะถูกนำไปค้าในประเทศที่สาม เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย ยุโรปตะวันตก เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา มีรายงานว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนเกณฑ์เด็กวัยรุ่นมาร่วมปฏิบัติการก่อการร้าย
รัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มที่ ในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ อย่างไรก็ดี รัฐบาลกำลังดำเนินความพยายามที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รัฐบาลยังนำพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มาบังคับใช้อย่าง ต่อเนื่อง และยังจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ รัฐบาลยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการนำกฎหมายที่อนุญาตให้เหยื่อค้ามนุษย์ สามารถพำนักและทำงานชั่วคราวในไทยมาสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม คนเหล่านี้มักจะถูกกักกันตัวอยู่ในสถานพักพิงของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมกับองค์กรด้านแรงงานและองค์กรประชาสังคม เพื่อประสานความพยายามในการปราบปรามปัญหาค้ามนุษย์ ซึ่งนำไปสู่การจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (พ.ศ. 2554 — 2559) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 นายกรัฐมนตรียอมรับต่อสาธารณชนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการประสาน งานระหว่างหน่วยงานของรัฐให้ดีขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ รัฐบาลไทยรายงานว่ามีการดำเนินคดีและการพิพากษาตัดสินคดีค้ามนุษย์เพิ่มขึ้น แต่ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ยังไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินได้ว่าการดำเนินคดีและการพิพากษาลงโทษ ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์หรือไม่ แม้จะมีความพยายามสำคัญที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ แต่รัฐบาลไม่ได้แสดงหลักฐานอย่างเพียงพอว่าได้ดำเนินความพยายามเพิ่มเติมใน การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องการดำเนินคดีและพิพากษาลงโทษนักค้ามนุษย์เพื่อการค้า ประเวณีและบังคับใช้แรงงาน การปราบปรามเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สมรู้ร่วมคิดกับนักค้ามนุษย์ และการคุ้มครองเหยื่อค้ามนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงถูกจัดอันดับอยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องถูกจับตามอง (Tier 2 Watch List) เป็นปีที่สอง เมื่อพิจารณาขอบเขตและความร้ายแรงของการค้ามนุษย์ในไทยแล้ว การพิพากษาลงโทษคดีค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณีและการบังคับใช้แรงงาน ตลอดจนการคัดแยกเหยื่อค้ามนุษย์ในประชากรกลุ่มเสี่ยงถือว่ายังมีจำนวนน้อย มีรายงานว่าการที่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีส่วนร่วมโดยตรงหรืออำนวย ความสะดวกแก่การค้ามนุษย์ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในไทย เจ้าหน้าที่รายงานว่ามีการสอบสวนคดีสองคดี ซึ่งเจ้าหน้าที่สี่คน ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ในจำนวนนี้ มีนายตำรวจยศนายพันรวมอยู่ด้วย อย่างไรก็ดี ยังไม่มีผลการพิพากษาตัดสินหรือลงโทษข้าราชการเหล่านี้ในช่วงปีที่จัดทำ รายงาน รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการใดๆกับรายงานหลายฉบับที่ระบุว่ามีการทุจริตในวงกว้าง โดยการกรรโชกเงินและการค้าชาวพม่าที่ถูกส่งตัวกลับประเทศจากไทย องค์กรพัฒนาเอกชนรายงานว่าการปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาลมีอุปสรรคหลาย ด้าน อาทิ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับท้องถิ่น การมีอคติต่อแรงงานต่างด้าว การขาดระบบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการติดตามผลการทำงานของรัฐบาล การขาดความรู้ความเข้าใจของข้าราชการท้องถิ่นเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การที่ศาลไม่ได้พิจารณาคดีบังคับใช้แรงงานโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และระบบที่มีอยู่ไม่เอื้ออำนวยให้เหยื่อค้ามนุษย์แสดงตัวว่าตนคือเหยื่อค้า มนุษย์ รัฐบาลยังดำเนินความพยายามต่อไปเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชน แต่ยังไม่ได้แก้โครงสร้างที่เปิดช่องให้มีการค้ามนุษย์อันเกิดจากนโยบายการ บริหารแรงงานต่างด้าวของรัฐบาลอย่างเพียงพอ รัฐบาลควรดำเนินความพยายามให้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากปัญหาค้ามนุษย์ในไทยมี ขอบข่ายและขนาดที่ใหญ่
 
ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย
ประเทศไทยควรปรับปรุงความพยายามอย่างต่อเนื่องในการ คัดแยกเหยื่อค้ามนุษย์ในประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียนและคนต่างด้าวที่ถูกผลักดันออกจาก ประเทศ นอกจากนี้ ไทยควรเพิ่มความพยายามในการสอบสวนดำเนินคดี และพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศและ บังคับใช้แรงงาน ปรับปรุงความพยายามในการสอบสวน ดำเนินคดี และพิพากษาลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตคอร์รัปชั่นในคดีที่เกี่ยวข้องกับการ ค้ามนุษย์ นำตัวผู้จัดหาแรงงานที่หลอกลวงและผู้บังคับใช้แรงงานมารับโทษทางอาญาอย่าง เข้มงวด ปรับปรุงมาตรฐานและขั้นตอนการตรวจสอบแรงงาน เพื่อให้สามารถตรวจสอบสถานประกอบการที่ฝ่าฝืนมาตรฐานและมีการค้ามนุษย์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ไทยควรปรับปรุงการดำเนินการเพื่อให้เหยื่อค้ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคน สามารถเดินทาง ทำงาน และพักอาศัยนอกสถานพักพิง และเสนอทางเลือกตามกฎหมายให้เหยื่อค้ามนุษย์ นอกเหนือจากการถูกส่งกลับประเทศต้นทางที่ซึ่งคนเหล่านี้จะต้องเผชิญกับการ ถูกแก้แค้นหรือเผชิญกับชีวิตที่ยากลำบาก ไทยควรพัฒนากลไกให้สิทธิเหยื่อค้ามนุษย์ต่างชาติที่เป็นผู้ใหญ่สามารถอาศัย ในประเทศไทยได้ ไทยควรเพิ่มความพยายามในการให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าวเกี่ยวกับสิทธิที่ พึงมี และหน้าที่ที่นายจ้างพึงมีต่อแรงงานเหล่านี้ รวมทั้งช่องทางในการฟ้องร้องและเรียกค่าชดเชยความเสียหายจากนักค้ามนุษย์ นอกจากนี้ ไทยควรเพิ่มความพยายามในกำกับดูแลค่าธรรมเนียมและนายหน้าที่เกี่ยวข้องใน กระบวนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว เพื่อลดความเสี่ยงที่แรงงานเหล่านี้จะตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ รวมทั้งเพิ่มการรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์กับกลุ่มนายจ้างและลูกค้าบริการ ทางเพศ
 
การดำเนินคดี
ในช่วงปีของการทำรายงาน รัฐบาลไทยมีความคืบหน้าไปบ้างในการบังคับใช้กฎหมายปราบปรามการค้ามนุษย์ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ระบุให้การค้ามนุษย์ทุกรูปแบบเป็นความผิดทางอาญา และระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ถึงสิบปี ซึ่งเป็นโทษที่ร้ายแรงและเทียบเท่ากับโทษสำหรับอาชญากรรมร้ายแรงอื่นๆ เช่นการข่มขืน รัฐบาลรายงานว่าศาลพิพากษาตัดสินคดีที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ 18 คดีในปี พ.ศ. 2553 เพิ่มจากปีก่อนหน้านั้น ซึ่งเท่าที่ทราบมีอยู่แปดคดี จากข้อมูลที่ได้รับภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ในจำนวน 18 คดีที่ถูกพิพากษาลงโทษ มีเพียงห้าคดีเท่านั้นที่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นคดีค้ามนุษย์ รัฐบาลยังรายงานด้วยว่าเริ่มการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ 79 คดีในปี พ.ศ. 2553 เพิ่มขึ้นจาก 17 คดีในปีก่อนหน้า เจ้าหน้าที่ตำรวจรายงานว่าได้สอบสวนคดีค้ามนุษย์ 70 คดีในปี พ.ศ. 2553  ในจำนวนนี้เป็นคดีบังคับค้าประเวณี 49 คดีและคดีบังคับใช้แรงงาน 11 คดีเป็นอย่างน้อย ตัวเลขดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวเลขในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีการสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ทั้งหมด 95 คดี ในการสอบสวนคดีบังคับใช้แรงงานต่างด้าว มีไม่กี่คดีที่มีการจับกุมนักค้ามนุษย์ และผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมก็ไม่ค่อยถูกดำเนินคดีในชั้นศาล ผลการสำรวจเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เพื่อใช้แรงงานบนเรือประมงในไทยที่นำออกเผย แพร่ในช่วงปีที่ทำรายงานนี้ ระบุว่าไม่เคยมีการสอบสวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์บนเรือประมงไทย และไม่เคยมีการตรวจสอบเรือประมง โดยข้อมูลดังกล่าวได้มาจากการสอบถามแรงงานบนเรือประมง องค์กรพัฒนาเอกชน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ โดยระบบยุติธรรมยังคงมีความล่าช้าในการจัดการกับคดีอาญา รวมทั้งคดีค้ามนุษย์ นอกจากนี้  การเปลี่ยนบุคลากรบ่อยครั้งเป็นอุปสรรคขัดขวางความคืบหน้าของรัฐบาลในการ บังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามการค้ามนุษย์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 เจ้าหน้าที่ตำรวจแผนกปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชน ได้บุกเข้าค้นอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และให้ความช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ชาวอุซเบกิสถานจำนวน 12 คนออกมา โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าบางคนเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ส่วนคนที่เหลือซึ่งน่าจะเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ด้วยนั้น เจ้าหน้าที่ก็ปล่อยให้กลับไปทำงานค้าบริการทางเพศ หรือไม่ก็ส่งตัวกลับไปให้ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองส่งตัวกลับประเทศ ตามสถานภาพวีซ่าของคนเหล่านี้ ในเบื้องต้น หญิงชาวอุซเบกิสถานที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนักค้ามนุษย์ถูกจำคุกระหว่างการสอบ สวนของตำรวจ แต่ได้รับการประกันตัวอออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ และกลับไปทำงานเกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าประเวณีในกรุงเทพฯ อีกครั้ง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 เจ้าหน้าที่ปราบปรามการค้ามนุษย์ระดับสูงคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน ขบวนการค้ามนุษย์ชาวอุซเบกิสถาน พร้อมผู้ใต้บังคับบัญชาสองนาย ถูกสั่งพักราชการชั่วคราวในข้อหาทุจริต
 ศาลยุติธรรมรายงานว่าคดีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ที่ศาลพิพากษาตัดสินค่อยๆ มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นภายหลังพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้  บทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดในคดีที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นคดีค้ามนุษย์มี ตั้งแต่สี่ถึง 20 ปี ในเดือนธันวาคม ศาลไทยตัดสินลงโทษจำคุก 20 ปีผู้ต้องหาสามรายในคดีบังคับใช้แรงงานพม่าที่โรงงานแปรรูปกุ้งรัญญาแพ้ว ซึ่งโทษดังกล่าวเป็นโทษสูงสุดภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ อย่างไรก็ดี ผู้ต้องหายังไม่ถูกคุมขังเนื่องจากอยู่ระหว่างการรอผลการอุทธรณ์ ในเดือนตุลาคม ศาลตัดสินจำคุกสี่ปีหญิงไทยรายหนึ่งในข้อหาดำเนินกิจการบริษัทจัดหางานปลอม ที่เกี่ยวข้องกับการค้าแรงงานไทยไปต่างประเทศ สื่อมวลชนประโคมข่าวการจับกุมผู้ต้องหาคดีค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณีหลาย คดี เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของไทยทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้ กฎหมายจากทั่วโลก และนำไปสู่การจับกุมและพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด ผู้สังเกตการณ์บางคนเห็นว่าควรมีความร่วมมือสอบสวนระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อจับกุมนักค้ามนุษย์ที่อยู่ในไทย
 การทุจริตคอร์รัปชั่นยังคงมีอย่างกว้างขวางในหมู่ เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการค้ามนุษย์ ในช่วงปีที่จัดทำรายงานนี้ มีการกล่าวหาว่ามีการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ รวมทั้งคดีบังคับค้าประเวณีและคดีบังคับใช้แรงงานคนต่างด้าว มีรายงานที่น่าเชื่อถือได้ว่ามีเจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครองซ่องโสเภณี สถานบริการทางเพศอื่นๆ ตลอดจนโรงงานอาหารทะเลและโรงงานเถื่อนจากการบุกเข้าค้นหรือการตรวจของเจ้า หน้าที่ นอกเหนือจากการทุจริตของเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับท้องถิ่นซึ่งเป็นที่ทราบกัน ทั่วไปแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการให้ความคุ้มครองระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ระดับกลางที่ทำงานด้านนี้กับพื้นที่ที่มีการค้ามนุษย์ที่ตนถูกส่งไปประจำการ ด้วย ไม่มีข้อมูลที่ชี้ว่ามีการยอมให้มีการค้ามนุษย์ในระดับสถาบัน อย่างไรก็ตาม กรมสอบสวนคดีพิเศษรายงานว่าในช่วงปีที่จัดทำรายงานได้สอบสวนเจ้าหน้าที่ ตำรวจสี่นาย และดำเนินการลงโทษทางวินัย กับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์  โดยคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการสอบสวนต่อไป รัฐบาลไม่ได้ตอบโต้รายงานที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่ไทยเกี่ยวข้องกับกระบวนการ ค้าชายหญิงและเด็กชาวพม่า ซึ่งถูกผลักดันกลับพม่าแต่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของกองทัพกะเหรี่ยงพุทธ (ดีเคบีเอ) นอกจากนี้ รัฐบาลไทยก็ไม่ได้ตอบโต้รายงานที่ระบุว่าตำรวจไทยและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้า เมืองขู่กรรโชกเงินหรือมีเพศสัมพันธ์กับชาวพม่าที่ถูกกักกันตัวอยู่ในไทยใน ข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง รวมทั้งการขายชาวพม่าที่ไม่สามารถจ่ายเงินค่าหัวคิวให้แก่นายหน้าจัดหาแรง งานและนักค้ามนุษย์เพื่อค้าประเวณี รัฐบาลยังคงให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจ แรงงาน พนักงานอัยการ นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในเรื่องการคัดกรองเหยื่อค้ามนุษย์อย่างต่อ เนื่อง 

การคุ้มครอง
 ในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยแสดงความพยายามอย่างจำกัดในการคัดแยกและให้ความคุ้มครองแก่เหยื่อ การค้ามนุษย์ทั้งสัญชาติไทยและต่างด้าว  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า มีเหยื่อชาวต่างชาติ 381 คนถูกระบุว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในประเทศไทยและได้รับความช่วยเหลือจาก สถานพักพิงของทางรัฐบาลในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงจากปี พ.ศ. 2552 ที่มีเหยื่อชาวต่างชาติ 530 คนที่ได้รับความช่วยเหลือ  กว่ากึ่งหนึ่งของเหยื่อที่ได้รับความช่วยเหลือในช่วงปีที่ผ่านมานั้นมาจาก ประเทศลาวและหนึ่งในสี่มาจากพม่า  รัฐบาลยังคงส่งเหยื่อการค้ามนุษย์ชาวต่างชาติกลับประเทศต้นทาง โดยผ่านการประสานงานตามสายงานปกติกับรัฐบาลลาวและพม่า  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ในปีพ.ศ. 2553 มีคนสัญชาติไทย 88 คนถูกระบุว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในต่างประเทศจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิ เรตส์ มาเลเซีย ศรีลังกา บาห์เรน จีน รัสเซีย แอฟริกาใต้ เยเมน เวียดนาม สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและสิงคโปร์ และเหยื่อการค้ามนุษย์ชาวไทยเหล่านี้ได้ถูกส่งกลับเมืองไทยโดยได้รับความ ช่วยเหลือจากกระทรวงการต่างประเทศของไทย   ทั้งนี้  จำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์ชาวไทยลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากจำนวนผู้ที่ถูกส่งกลับ เมืองไทยในปีพ.ศ. 2552 ซึ่งมีถึง 309 คน  รัฐบาลรายงานว่า ได้เพิ่มความพยายามในการชี้ตัวเหยื่อการค้ามนุษย์ในกลุ่มประชากรที่มีความ เสี่ยงโดยทำการคัดกรองที่จุดตรวจที่สนามบินและชายแดน  อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาว่าจำนวนเหยื่อการค้ามนุษย์ในประเทศไทยในรายงานมีจำนวนสูงแต่มี เพียง 52 รายเท่านั้นที่มีรัฐรายงานว่าได้คัดแยกในศูนย์กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้า เมือง รัฐบาลจึงควรเพิ่มความพยายามในด้านนี้ต่อไป
 รัฐบาลให้สิ่งจูงใจที่จำกัดในการสนับสนุนให้เหยื่อ การค้ามนุษย์มีส่วนร่วมในการสอบสวนและดำเนินคดีกับนักค้ามนุษย์  รัฐบาลไทยส่งตัวเหยื่อไปยังหนึ่งในเก้าสถานพักพิงที่ดำเนินการโดยกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เพื่อรับบริการการให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่จำกัด และการดูแลทางการแพทย์  เหยื่อการค้ามนุษย์ชาวต่างชาติที่ทางการระบุตัวยังคงถูกกักกันในสถานพักพิง ของรัฐบาล  และโดยปกติแล้วยังไม่สามารถเลือกที่จะไปพักข้างนอกได้หรือออกจากสถานพักพิง ได้ก่อนที่ทางการไทยจะเตรียมส่งตัวกลับประเทศต้นทาง  กฎหมายปี พ.ศ. 2551 มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เหยื่อการค้ามนุษย์ชาวต่างชาติในการทำงานในขณะที่รอ การดำเนินการคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายให้แล้วเสร็จและรัฐบาลไทยได้ออก กฏกระทรวงใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ให้มีการบังคับใช้บทบัญญัตินี้  รัฐบาลไทยได้ออกกฏกระทรวงใหม่ที่อนุญาตให้เหยื่อการค้ามนุษย์ชาวต่างชาติ อาศัยและทำงานในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว  ผลจากการดำเนินการกักกันในลักษณะนี้คือ เหยื่อการค้ามนุษย์ชาวต่างชาติไม่มีโอกาสเหมือนคนต่างด้าวอื่นๆ ที่สามารถหางานและได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยได้    ในช่วงปีที่ผ่านมาว่า มีรายงานอยู่เสมอว่ามีเหยื่อการค้ามนุษย์ชาวต่างชาติที่หลบหนีออกจากสถานพัก พิง  โดยน่าจะมีสาเหตุมาจากกระบวนการทางกฎหมายและกระบวนการส่งตัวกลับประเทศที่ ล่าช้า ตลอดจนการที่ไม่สามารถหารายได้ในช่วงการพิจารณาคดี อุปสรรคทางภาษาและความไม่วางใจในเจ้าหน้าที่ของรัฐ  มีรายงานเหตุการณ์ที่เหยื่อเลือกที่จะไม่ถูกคัดแยกว่าเป็นเหยื่อการค้า มนุษย์เนื่องจากขาดความแรงจูงใจจากระบบเช่น การอาศัยในสถานพักพิงเป็นระยะเวลายาวนานในช่วงกระบวนการส่งตัวกลับประเทศและ กระบวนการศาลที่ยาวนาน  องค์กรพัฒนาเอกชนรายงานว่า เหยื่อค้ามนุษย์บางคนได้รับการอบรมจากนายหน้าให้โกหกเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อ หลีกเลี่ยงการถูกระบุตัวว่าเป็นเหยื่อค้ามนุษย์  กฎหมายไทยคุ้มครองเหยื่อจากการดำเนินคดีในการกระทำความผิดที่เป็นผลมาจากการ ถูกค้ามนุษย์  อย่างไรก็ตาม เหยื่อค้ามนุษย์บางรายอาจยังต้องได้รับโทษจากความผิดดังกล่าวเนื่อง จากกระบวนการคัดแยกเหยื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพและความพยายามของทางการใน การจับกุมและผลักดันผู้ละเมิดกฎหมายตรวจคนเข้าเมืองกลับประเทศ
 โดยทั่วไป รัฐบาลให้การสนับสนุนเหยื่อการค้ามนุษย์ให้มีส่วนร่วมในการสอบสวนและดำเนิน คดีกับผู้กระทำความผิดข้อหาค้ามนุษย์ แม้เหยื่อบางรายเลือกที่จะไม่ร่วมมือในการสอบสวน  ไม่มีหลักฐานในช่วงเวลาที่ทำรายงานฉบับนี้ว่ารัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายเพื่อสนับสนุนให้คนงานเรียกร้องค่าเสียหายชดเชยจากนายจ้างในกรณีที่ ถูกบังคับใช้แรงงาน  อุปสรรคด้านค่าใช้จ่ายที่สูงในการดำเนินการทางกฎหมาย ภาษา ระบบราชการและการเข้าเมือง รวมถึงความกลัวที่จะถูกนักค้ามนุษย์แก้แค้น ความไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ไทย กระบวนการทางกฎหมายที่ล่าช้า และความจำเป็นทางด้านการเงินของเหยื่อ กีดกันไม่ให้เหยื่อเข้าร่วมกระบวนการทางกฎหมาย  โดยในอดีตทางการได้ช่วยเหลือเหยื่อจากการค้ามนุษย์ให้ได้รับเงินชดเชยจากผู้ ค้ามนุษย์ในบางคดี แต่ปีที่ผ่านมานี้ ไม่มีรายงานความช่วยเหลือในลักษณะดังกล่าว  การที่แรงงานประมงขาดการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานภายใต้พระราชบัญญัติคุ้ม ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ทำให้ประชากรกลุ่มนี้ถูกแสวงประโยชน์ได้ง่าย  แม้จะมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปีพ.ศ. 2548 ที่กำหนดให้เหยื่อการค้ามนุษย์ชาวต่างชาติในประเทศไทยที่เป็นบุคคลไร้ สัญชาติได้รับสถานะผู้พักอาศัยถาวรเป็นกรณีๆ ไป แต่รัฐบาลไทยยังไม่ได้รายงานว่าได้ให้สถานะผู้พักอาศัยถาวรแก่เหยื่อการค้า มนุษย์ชาวต่างชาติคนใดๆ

การป้องกัน
รัฐบาลไทยแสดงความพยายาม อย่างชัดเจนในการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งรวมถึงการร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชน  นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีบางท่านได้มีส่วนร่วมในความพยายามป้องกันปัญหา การค้ามนุษย์  ในขณะที่บางกิจกรรมมุ่งส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านการค้ามนุษย์ให้กับสังคม ไทยโดยรวม บางกิจกรรมก็มุ่งเน้นส่งเสริมความตระหนักรู้ให้แก่อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มี ความเสี่ยงสูง  รัฐบาลรายงานว่า ตลอดปี พ.ศ. 2553 และต้นปี พ.ศ. 2554 รัฐบาลได้เข้าถึงกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงกว่า 3,000 คน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านการค้ามนุษย์ นอกจากนั้น รัฐยังสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิแรงงานและการค้ามนุษย์กับนายจ้างประมาณ 2,000 คน  องค์กรพัฒนาเอกชนตั้งข้อสังเกตว่ามีความตระหนักรู้ด้านการค้ามนุษย์และสิทธิ แรงงานเพิ่มมากขึ้นทั้งในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงและในกลุ่มเจ้า หน้าที่ของรัฐ  รัฐบาลเพิ่มความพยายามในการให้ความรู้แก่แรงงานอพยพเกี่ยวกับสิทธิของตนและ หน้าที่ของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง  โครงการการพิสูจน์สัญชาติและให้อภัยโทษแก่แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองผิด กฎหมายเพื่อให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักร ของรัฐบาลนั้นยังไม่เพียงพอในการให้สิทธิทางกฎหมายแก่แรงงานต่างด้าวชาวพม่า และชาติอื่นๆ ซึ่งทำให้ให้พวกเขามีสถานะการเข้าเมืองที่ผูกพันกับนายจ้าง ทำให้แรงงานไม่มีที่พึ่งพิงทางกฎหมายหรือได้รับความคุ้มครองจากการบังคับใช้ แรงงาน  ผู้สังเกตการณ์ยังคงกังวลอยู่ว่า กระบวนการที่จะทำให้แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายเข้ามาเป็นแรงงานที่ถูกต้อง ตามกฎหมายนั้นมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บจากนายหน้าจัดหา งานที่ไม่มีใบอนุญาตและไม่มีการควบคุมกำกับดูแลจากทางการนั้นจะเป็นปัจจัย ส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวมีความอ่อนไหวที่จะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และ ติดอยู่ในพันธนาการหนี้  ในบางกรณี คนงานรายงานว่ามีหนี้สินที่ต้องจ่ายให้กับนายจ้างในการดำเนินการจดทะเบียน แรงงานต่างด้าวตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งสูงเทียบเท่ากับค่าแรงทั้งปีที่คนงานจะ ได้รับ ในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลพม่าเพื่อเปิดสำนักงานของรัฐบาลพม่าในประเทศ ไทย เพื่อลดความจำเป็นของแรงงานพม่าที่ไม่มีเอกสารให้ไม่ต้องกลับไปพม่าเพื่อทำ เอกสารและช่วยลดความเสี่ยงที่จะถูกแสวงหาประโยชน์  ในปีพ.ศ. 2553 รัฐบาลประกาศแผนเก็บเงินกองทุนเพิ่มสำหรับแรงงานต่างด้าวที่กำลังดำเนินการ พิสูจน์สัญชาติเพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่ายในการส่งแรงงานที่ไม่มีเอกสารกลับ ประเทศต้นทาง ซึ่งหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว จะเป็นการเพิ่มภาระหนี้สินให้แก่แรงงาน  ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 นายกรัฐมนตรีประกาศก่อตั้งศูนย์ปราบปรามจับกุมและดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวลักลอบทำงานและกระบวนการค้า มนุษย์”  มีรายงานว่า ทางการร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศในการให้เงินสนับ สนุนรัฐบาลว่าจ้างล่ามตอบข้อซักถามที่เป็นภาษาต่างประเทศจากโทรศัพท์สายด่วน เกี่ยวกับการค้ามนุษย์  อย่างไรก็ตาม ระบบโทรศัพท์สายด่วนแบบกระจายศูนย์ของรัฐบาลทำให้เป็นการยากที่จะประกันได้ ว่าหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ ที่ส่งต่อไปนั้นจะตอบข้อซักถามได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิผลเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรศัพท์ที่มาจากบุคคลที่ไม่ใช่คนไทย  มีรายงานว่า รัฐบาลใช้เงิน 200,000 เหรียญสหรัฐจากกองทุนรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์และสนับสนุน กิจกรรมต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งในจำนวนเงินดังกล่าวเป็นเงินเพื่อช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์เพียงส่วน เล็กน้อยเท่านั้น  ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 รัฐบาลตีพิมพ์รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนิน งาน  รัฐบาลรายงานว่าการสุ่มสัมภาษณ์ผู้อพยพชาวไทยที่จุดตรวจชายแดนทางบกช่วย ป้องกันผู้เดินทาง 171 คนที่อาจจะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ หรือการแสวงประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ  นอกจากนี้ ทางการได้รายงานว่าจุดตรวจแรงงานที่สนามบินระหว่างประเทศที่กระทรวงแรงงานทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้า เมืองได้สุ่มสัมภาษณ์ผู้เดินทางที่อาจจะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์  แม้รัฐบาลจะไม่ได้รายงานว่าได้พบหรือยืนยันผู้ที่อาจจะตกเป็นเหยื่อการค้า มนุษย์จากความพยายามนี้ก็ตาม  รัฐบาลสร้างความตระหนักรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวที่มี ความต้องการซื้อบริการทางเพศกับเด็ก แต่ไม่ได้มีความพยายามอื่นในการลดความต้องการบริการทางเพศเพื่อการพาณิชย์ หรือการใช้แรงงานบังคับ  ประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันพิธีสารสหประชาชาติว่าด้วยการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2543

บรรณานุกรม
1.ดรัสวัต เลอวงศ์รัตน์.  การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย .
กรุงเทพมหานคร  :  ซี  แอนด์  เอส  พริ้นติ้ง  จำกัด,  2549.

2.นโยบายและแผนระดับชาติ.  การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์  (ประเทศไทย) ,  
กรุงเทพมหานคร :มปท., 2548.

3.http://www.mirror.or.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=1848&auto_id=18&Top     icPk
4.http://auswathai.activeboard.com/t35666888/human-trafficking-thailand-and-australia/
5.http://www.gotoknow.org/blogs/posts/456714

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น