วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคมที่ไม่ควรมองข้าม (นางสาว สุวิมล บุณณะ 53242810)


บทความวิชาการ วิชา  830329  ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา

ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคมที่ไม่ควรมองข้าม

น.ส สุวิมล บุณณะ 53242810
สาขาพัฒนาสังคม  คณะ สังคมศาสตร์
      ปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ ของสังคมไทยในปัจจุบันที่คนในปัจจุบันมักจะมองข้ามก็คือ ปัญหาเรื่องคนในครอบครัว การที่ชีวิตของเรามีปัญหาอยู่มากมายเรามักจะมองออกไปถึงเรื่องปัญหาภายนอกก่อนว่า เรามีปัญหาเรื่องงานเรื่องเพื่อนหรือเรื่องอื่นๆ โดยลืมมองกลับมาในชีวิตว่าจริงๆ แล้วปัญหาที่สมควรจะแก้ไขก่อนอันดับแรกคือ เรื่องครอบครัวซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ คนที่มีปัญหาชีวิตน้อยๆ มีความสุขมากส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ดีมีความสุขและอบอุ่นเป็นปัจจัยหลัก เมื่อครอบครัวดีแล้วปัญหาอย่างอื่นซึ่งเป็นปัญหาภายนอกก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าหนักใจ
     ครอบครัว คือ ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนทางสายโลหิต และการแต่งงาน อันวัฒนธรรมการจัดระบบครอบครัวและเครือญาติของสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการกำหนดวิถีชีวิตของชุมชน จากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความซับซ้อนและเป็นไปอย่างเร็ว ปัจจุบันโครงสร้างและรูปแบบของครอบครัวซึ่งเคยเป็นครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ขนาดของครอบครัวเริ่มเล็กลง ครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม สถาบันครอบครัวซึ่งเคยเป็นทุนทางสังคม มีระบบเครือญาติที่มีความผูกพันอย่างใกล้ชิด มีความเกื้อกูล เอื้ออาทร และการอบรม ขัดเกลาบุตรหลาน การปลูกฝังวัฒนธรรมและค่านิยมประเพณี กลับอ่อนแอลง ซึ่งมีผลต่อปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกครอบครัวทั้งทางลบและทางบวก ครอบครัวยังเป็นเสมือนแหล่งบ่มเพาะทักษะทางการเมือง  การอยู่ร่วมกันอย่างมีกติกา มีบทบาท  หน้าที่รับผิดชอบ  เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน  การตัดสินใจร่วมกัน   รู้จักรับฟังและสื่อสารเจรจาประนีประนอมกันด้วยความรัก   ความเข้าใจ และเหตุผล   รู้จักการให้อภัยกัน     มีการแบ่งอำนาจหน้าที่และแบ่งงานกันในครอบครัวอย่างชัดเจน  จะเห็นว่าในสมัยก่อนแม้ภรรยาจะมีฐานะเป็นรองสามี แต่ก็มีการแบ่งหน้าที่กัน ซึ่งฝ่ายสามีมีอำนาจการตัดสินใจภายนอกบ้าน  การเป็นผู้นำ  ในขณะเดียวกันภาระการดูแลบ้านเรือนและผู้คนในบ้านเป็นหน้าที่ของฝ่ายภรรยา  สำหรับผู้สูงอายุจะทำหน้าที่อบรม   สั่งสอน  ขัดเกลาสมาชิกที่เป็นเด็กให้เรียนรู้การดำเนินชิวิตเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล ถึงแม้จะเป็นหน่วยเล็กหน่วยหนึ่งในสังคม  แต่ก็คงจะไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้ว่า  หน่วยทางสังคมหน่วยเล็กหน่วยนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  เป็นพื้นฐานของสังคม  เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกำเนิดของสมาชิกในสังคม  เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่อยู่ร่วมกัน  มีปฏิสัมพันธ์กัน   เป็นเบ้าหลอมเบื้องต้นให้สมาชิกในสังคมมีแนวคิด  พฤติกรรมต่าง ๆหลากหลายกันไป  ทั้งสอดประสานและขัดแย้ง  ต้องมีการเรียนรู้และปรับตัว  เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้เป็นครอบครัวใหญ่ในสังคมอย่างสันติ 
ครอบครัวที่เคยเหนียวแน่นในอดีต ปัจจุบันเริ่มเปราะบางลง  มีปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการอย่าร้าง  การทอดทิ้งผู้สูงอายุ   การทำแท้ง และอื่นๆอีกมากมายหรือกระทั้ง ความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่น่าเชื่อว่าคนที่มีความผูกพันฉันสามีภริยา   หรือคนที่มีสายโลหิตเดียวกันแล้วจะมีปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นได้  สังเกตได้จากกฎหมายซึ่งเป็นตัวรองรับเพื่อป้องกัน  แก้ไขและปรามให้สังคมมีความสงบสุข   อันจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันตามยุคสมัยนั้นๆ  ซี่งกฎหมายครอบครัวในปัจจุบันนั้น  มีลักษณะเป็นกฎหมายตั้งรับ ที่ครอบคลุมเรื่องของหมั้น  การสมรส การหย่า  ทรัพย์สินระหว่างสามี-ภรรยา  บุตรนอกสมรส  บุตรบุญธรรม  และมรดก ของครอบครัวในทุกระดับสิ่งเหล่านี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าถูกเขียนขึ้นเพื่อรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัวทั้งสิ้น
        ทั้งนี้เห็นได้ว่าปัญหาครอบครัวนั้นมีสาเหตุมาจากคนในครอบครัวเอง  เป็นสำคัญการที่ไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำ หน้าที่ บทบาทของตนได้อย่างสมบูรณ์  เกิดความห่างเหินของคนในครอบครัว  ไม่มีเวลาพูดคุยปรึกษาหารือกัน  ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน  เกิดปัญหาการอย่าร้าง  การทอดทิ้ง   เสี่ยงต่อการที่บุตรประพฤติในทางไม่เหมาะสมตามมาและสาเหตุหนึ่งที่สำคัญและพบมากขึ้นในสังคมไทยปัญหาครอบครัวที่เกิดจากความไม่พร้อม   คือความไม่พร้อมที่จะมีครอบครัว   ไม่ว่าจะด้วยวุฒิภาวะและอายุ  ที่จะเป็นพ่อและแม่ได้อย่างสมบูรณ์  หากแต่เกิดจากการรักใคร่ในวัยหนุ่มสาว  จนพลาดพลั้งตั้งครรภ์และมีบุตร  เช่นนี้ทำให้เกิดการลองผิดลองถูกในการดำเนินกลุ่มชีวิตที่เรียกว่า  ครอบครัว  ด้วยวุฒิภาวะแล้วการที่จะอดทน  และดูแลบุคคลอื่นภายในครอบครัว  แบกรับภาระอันใหญ่หลวงของคำว่าพ่อและแม่จึงยากนักสำหรับพวกเค้า
          ชีวิตมีการเริ่มต้นก็ต้องมีจุดจบ เมื่อถึงจุดจบ แต่ละคนก็เป็นไปตามวิถี ชีวิตของตน ชีวิตการแต่งงานก็เช่นกัน มีการสิ้นสุดลงโดยวิธีการหย่าร้าง การตายจากกัน การละทิ้ง การแยกกันอยู่ คู่สมรสอาจจะอยู่กันนาน บางคู่ก็อาจจะอยู่กันสั้นการหย่าร้าง คือ การสิ้นสุดชีวิตแต่งงานของคู่สมรส เป็นการแตกแยกของบุคคลที่เคยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด การหย่าร้างในตัวของมันเองเป็นเรื่องเศร้า เป็นการทำลายความรัก ความเชื่อของบุคคลที่เคยผูกพันกันอย่างลึกซึ้ง แต่การหย่าร้างก็ไม่ใช่ความเศร้าที่ถาวร เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขได้เหมือนกัน
ปัญหาการหย่าร้างมีผลกระทบทำให้เด็กในสังคมไทยก่อปัญหาทางสังคมมากมาย ด้วยสาเหตุที่เด็กอยู่ในครอบครัวแตกแยก จะขาดความรัก ขาดการเอาใจใส่ ขาดความอบอุ่น มีความรู้สึกไม่มั่นคง เนื่องจากลูกเคยชินต่อสภาพพ่อแม่ให้ความรัก ความอบอุ่น และความมั่นใจแก่เขา แต่ความสัมพันธ์แบบนี้ต้องถูกทำลายไป ทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล เช่น เด็กที่เคยยึดพ่อแม่เป็นแบบฉบับ ในเรื่องค่านิยม อารมณ์ แบบของความประพฤติที่ช่วยให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดี แต่เมื่อครอบครัวถูกทำลายลง ลูก ๆ บางครั้งก็ไม่ทราบว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร ซึ่งอาจทำให้เขาผิดหวัง และมีเรื่องที่ทำให้สะเทือนใจ กลายเป็นเด็กกระทำผิด เช่น การประพฤติผิดทางเพศ ติด ยาเสพติด และการเป็นเด็กจรจัด ฯลฯ การปรับตัวของเด็ก หลังการหย่าร้าง ลูกมักจะอยู่กับแม่ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของเด็ก เพราะทั้งพ่อและแม่จะเป็นคนอบรมเด็ก และเด็กก็เรียนรู้บทบาทจากพ่อและแม่ ซึ่งเป็นต้นฉบับสำหรับชีวิตของผู้ใหญ่ แต่ถ้าเหลือแต่แม่ และแม่ต้องทำหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่ โดยบางครั้งแม่ก็ไม่สามารถปลูกฝังพฤติกรรมแบบพ่อให้แก่ลูกได้ ทำให้เด็กมีปัญหาทางเพศ เช่น เด็กผู้ชายจะมีนิสัยเป็นผู้หญิง (เพศที่3) ในอีกแง่มุมเด็กที่ถูกเลี้ยงดูจากพ่อก็จะมีพฤติกรรมเลียนแบบพ่อ แต่อย่างไรก็ตามเด็กทั้งหญิงและชายโดยทั่วไปมักจะมีความใกล้ชิดชอบกับแม่มากกว่าพ่อ แม่จึงมีอิทธิพลโน้มน้าวจิตใจเด็กได้มากกว่า และในกรณีที่ครอบครัวไม่มีความสุข ลูกสาวและลูกชายมักจะเข้าข้างแม่มากกว่าพ่อ
การหย่าร้างเป็นการสิ้นสุดชีวิตแต่งงานของคู่สมรส ย่อมเป็นเรื่องเศร้าที่เกิดขึ้นใน สังคมไทย โดยเฉพาะผู้หญิงที่หย่าร้างมักจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูก หรือ ทำงานหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว การลดปัญหาการหย่าร้างนั้น ทำได้ไม่ยากนักเพราะ เป็นความต้องการทั้งสองฝ่ายที่จะแยกกันอยู่อย่างเด็ดขาด ทางที่จะช่วยได้ก็คือ พยายามประวิงเวลาของการหย่าร้างไว้ก่อนถ้าเป็นไปได้ มีหลายคู่เหมือนกันที่มีเจตจำนงจะหย่าร้างกัน เจ้าหน้าที่ก็แนะนำหาเหตุผลประกอบทั้งผลดีและผลเสีย ทำให้เปลี่ยนใจภายหลังได้ อาจจะให้โอกาสแต่ละฝ่ายใช้เวลาไตร่ตรองให้นาน ๆ เสียก่อนได้ หรือถ้าหากพิจารณาคดีของการหย่าควรจะทำเป็นความลับ เพื่อไม่ให้แต่ละฝ่ายเสียชื่อเสียง นอกจากนั้นก็หาทางให้ การศึกษาเรื่องเพศศึกษาแก่ครอบครัว เพื่อเป็นการสอนแนวทางชีวิตเป็นจริงในสังคม เน้นหนักในด้าน การศึกษาอย่างแท้จริง เพราะจะเป็นภัยอย่างยิ่งถ้าถือว่าเป็นเรื่องลึกลับต้องห้าม เพื่อป้องกันปัญหาอันจะเกิดตามมาภายหลังจากการหย่าร้าง
        อันแท้จริงแล้วปัญหาครอบครัวอาจจะไม่เกิดกับการที่พ่อแม่อย่าร้างเพียงอย่างเดียวอาจรวมถึงความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก ปัญหาการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว ปัญหาความสัมพันธ์และความไม่เข้าใจกันในครอบครัว ปัญหาในครอบครัวอาจจะแสดงอาการออกได้หลายรูปแบบ เช่น ความเครียด อยากอยู่คนเดียว ปวดหัว ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ จนถึงคิดอยากตาย อาจมีการขัดแย้งทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ ปัญหาอาจลุกลามใหญ่โต หรือเรื้อรัง ดังนั้นก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ร้ายๆขึ้นเราควรมาช่วยกันใสใจคนในครอบครัวของเราให้มากกว่านี้
   อนึ่งความสำคัญของการมีครอบครัวที่สมบูรณ์  และจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมได้นั้น  สิ่งสำคัญที่จะป้องกันและปกป้องครอบครัวได้นั้นก็คือ   การวางแผนการมีครอบครัว  เราควรมีการวางแผนชีวิตครอบครัว  ไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีครอบครัว  อาทิ   ตั้งเป้าหมายว่าจะแต่งงานตอนอายุเท่าไหร่   มีบุตรกี่คน  มีในช่วงเวลาไหนจะเหมาะสม  อายุควรห่างกันเท่าไหร่   ฯลฯ เช่นนี้ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจในครอบครัวได้เป็นอย่าดีทำให้เรารู้ว่าจะต้องใช่จ่ายในครอบครัวยังไง  ทำให้มีเวลาดูแลบุตร   และทำหน้าที่ของตนในครอบครัวได้ออย่างสมบูรณ์ 
    ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาเบื้องต้นของความสงบสุขของสังคมปัญหาความรุนแรงที่พบบ่อย ได้แก่ สามีทำร้ายภรรยา การทารุณเด็ก การใช้แรงงานเด็ก ความรุนแรงเหล่านี้มีผลกระทบต่อบุคคลทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เก็บกด อาฆาต ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นครอบครัวที่พ่อแม่ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด ใช้อาวุธต่อสู้กัน ทำร้ายบุตร รวมทั้งการหย่าร้าง เป็นสาเหตุให้เด็กหวาดระแวงผู้ใหญ่และสูญเสียสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นอาจทำให้ตั้งแก๊งก้าวร้าวทารุณเด็กอื่น หนีออกจากบ้าน รู้สึกว่าตนเองหมดคุณค่าหันไปหาที่พึ่งอื่น ๆ เช่น สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควรและขาดความรับผิดชอบ ผลต่อครอบครัวคือขาดสัมพันธภาพภายในครอบครัว แยกตัวกลายเป็นเด็กเร่ร่อน ส่งผลกระทบต่อสังคมกลายเป็นเด็กก่ออาชญากรรม สร้างปัญหารุนแรงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ทำให้สูญเสียกำลังบุคคลของประเทศ  ความรุนแรงภายในครอบครัว มีสาเหตุพื้นฐานของปัญหาจาก ความเชื่อ ประเพณี ทัศนคติต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของปัจเจกบุคคล เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิ การที่บุคคลในครอบครัวมีฐานะ และสถานภาพที่แตกต่างกัน ทำให้มีการใช้กำลังบังคับกันในครอบครัว ซึ่งคนภายนอกมักไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว เด็กและสตรีจึงมักตกอยู่ในสภาพของการถูกกดขี่ หรือครอบครัวใดที่พ่อดื่มเหล้า ทำทารุณต่อลูกเมียมักก่อให้เกิดปัญหาความแตกแยกตามมา การงาน ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นภาวะกดดันเบื้องต้นในครอบครัว เด็กไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะขาดทักษะชีวิต เช่นทักษะในการลดความขัดแย้งและความกดดัน จึงกลายเป็นคนเก็บกด มีอารมณ์ไม่อยู่กับร่องกับรอย ก้าวร้าว และเปราะบางกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เด็กต้องไปหาที่พึ่ง เพื่อแกปัญหาความเครียดความกดดันนั้น หรืออาจมีพฤติกรรมที่รุนแรงยกพวกตีกัน ทะเลาะวิวาท เป็นต้น 
       เมื่อความครอบแตกแยก ขาดความอบอุ่น ไม่มีใครให้ปรึกษาเด็กจึงไปหาเพื่อนมากขึ้นจนติดเพื่อนและทำตามเพื่อน ไม่ได้บอกถึงว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกลายเป็นไม่สามารถที่จะแยกแยะสิ่งถูกผิดได้เนื่องจากไม่มีใครให้ปรึกษา ซ้ำยังก้าวร้าวเนื่องจากเห็นพ่อแม่ทะเลาะหรือทุบตีกันบ่อยๆจนไปฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก เด็กบางคนอยากได้ความสุขจากพ่อแม่ แต่เมื่อครอบครัวมีปัญหาเมื่อถูกชักจูงไปเสพยาเสพติด ก็ไปเพราะคิดว่านั่นมันคือความสุขแต่เขาทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะเหตุนี้เราจึงต้องมาหาหนทางแก้ปัญหาเบื้องต้นง่ายๆที่ครอบครัว ก่อนเป็นอย่างแรก
    ปัญหาหลักๆที่เกิดในครอบครัว อาทิเช่น นิสัยและความเคยชินส่วนตัว ไม่มีเวลาให้กัน และใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหาในครอบครัว เป็นต้น สาเหตุที่กล่าวมาคือนิสัยความเคยชินส่วนตัว เป็นนิสัยที่ติดตัวมานานจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นได้อยาก ใช้ความรุนแรง มากเกินไป ทำอะไรไปเกินกว่าเหตุ ทั้งที่สิ่งนั้นเด็กอาจจะทำผิดเพียงนิดเดียวเพราะเขาไม่รู้ แต่เราทำรุนแรงจนเด็กนั้นเกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจ กลัวเรา ไม่กล้าที่จะมาปรึกษาเรา ดังที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า ลูกที่เกิดในครอบครัวที่พร้อมกว่า ย่อมมีแนวโน้มที่จะเป็นอาชญากรน้อยกว่าลูกที่เกิดในครอบครัวที่แร้นแค้น นั่นคือความพร้อมในการมีลูก ส่งผลต่อการลดลงของปัญหาอาชญากรรมได้มากกว่าปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ การบังคับใช้กฎมาย หรือแม้แต่จำนวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ตาม
     สถานบันครอบครัวจัดว่าเป็นสถาบันที่เล็กที่สุด แต่มีความสำคัญมากที่สุดเหมือนกับ สมาชิกในครอบครัวนั้นจะสุขหรือทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนครอบครัวซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของคนทุกคนที่จะต้องนำไปใช้เพื่อคุณภาพของคนในครอบครัวการวางแผนครอบครัว เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในทุกด้าน เริ่มแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย และอาชีพ การเงิน รวมไปถึงการแต่งงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการวางแผนครอบครัว เพราะคู่สมรสนั้นจะต้องวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีลูกกี่คน เว้นช่วงระยะห่างการมีลูกอย่างไรให้เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีควรปฏิบัติอย่างไร เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธีให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข มีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ อันจะนำไปสู่การกินดีอยู่ดีในสังคม หากขาดการวางแผนครอบครัวที่ดีแล้วย่อมทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย เช่น การหย่าร้าง เด็กขาดความรักความอบอุ่น ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เป็นต้น เพราะในยุคปัจจุบันสภาพสังคม ภาวะเศรษฐกิจนั้นเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆในครอบครัว เพราะปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อนซับซ้อนเกี่ยวพันกันกับบุคคลใกล้ชิดจึงมีลักษณะแตกต่างจากการใช้ความรุนแรงระหว่างบุคคลทั่วไป ครอบครัวจัดว่าเป็นสถาบันทางสังคมและเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุดเพราะครอบครัวมีบทบาทสำคัญให้การหล่อหลอมขัดเกลา เลี้ยงดูอบรมเด็กจนเติบโตเข้าสังคมและแยกย้ายไปมีครอบครัว ดังนั้นครอบครัวเป็นอย่างไรเด็กหรือในสมาชิกในครอบครัวก็จะเป็นอย่างนั้น ดังคำกล่าวว่า ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
         ความรุนแรงในครอบครัวจึงนับว่าเป็นปัญหาเบื้องต้นของความสงบสุขของสังคมปัญหาความรุนแรงที่พบบ่อย ได้แก่ สามีทำร้ายภรรยา การทารุณเด็ก ความรุนแรงเหล่านี้มีผลกระทบต่อบุคคลทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เก็บกด อาฆาต ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นครอบครัวที่พ่อแม่ดื่มเหล้า ใช้สารเสพติด ใช้อาวุธต่อสู้กัน ทำร้ายบุตร รวมทั้งการหย่าร้าง เป็นสาเหตุให้เด็กหวาดระแวงผู้ใหญ่และสูญเสียสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นอาจทำให้ตั้งแก๊งก้าวร้าวทารุณเด็กอื่น หนีออกจากบ้าน รู้สึกว่าตนเองหมดคุณค่าหันไปหาที่พึ่งอื่น ๆ เช่น สารเสพติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันสมควรและขาดความรับผิดชอบ ผลต่อครอบครัวคือขาดสัมพันธภาพภายในครอบครัว แยกตัวกลายเป็นเด็กเร่ร่อน ส่งผลกระทบต่อสังคมกลายเป็นเด็กก่ออาชญากรรม สร้างปัญหารุนแรงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ทำให้สูญเสียกำลังบุคคลของประเทศ 
  ความรุนแรงภายในครอบครัว มีสาเหตุพื้นฐานของปัญหาจาก ความเชื่อ ประเพณี ทัศนคติต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของปัจเจกบุคคล เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิ การที่บุคคลในครอบครัวมีฐานะ และสถานภาพที่แตกต่างกัน ทำให้มีการใช้กำลังบังคับกันในครอบครัว ซึ่งคนภายนอกมักไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว เด็กและสตรีจึงมักตกอยู่ในสภาพของการถูกกดขี่ หรือครอบครัวใดที่พ่อดื่มเหล้า ทำทารุณต่อลูกเมียมักก่อให้เกิดปัญหาความแตกแยกตามมา การงาน ฐานะทางเศรษฐกิจเป็นภาวะกดดันเบื้องต้นในครอบครัว เด็กไม่สามารถแก้ปัญหาได้เพราะขาดทักษะชีวิต เช่นทักษะในการลดความขัดแย้งและความกดดัน จึงกลายเป็นคนเก็บกด มีอารมณ์ไม่อยู่กับร่องกับรอย ก้าวร้าว และเปราะบางกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
การแก้ปัญหาครอบครัวนี้ต้องเริ่มตั้งแต่ตัวคุณพ่อ คุณแม่เองต้องคิดตั้งแต่ก่อนจะมีลูก ว่าพร้อมที่จะเลี้ยงคนๆหนึ่งให้เติบโตมาเป็นคนดีได้แค่ไหน ต้องคิดว่ามีสภาพครอบครัวที่พร้อมหรือยัง กับการที่จะมีหนึ่งชีวิตเข้ามาอยู่ร่วม พร้อมที่จะให้ความรัก เวลา ความเข้าใจกับเขาหรือเปล่า การที่คนเราเริ่มต้นมีครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่ายดังนั้นเราต้องมารับรู้วิธีวางแผนครอบครัว
  การวางแผนครอบครัว หมายถึง การตั้งเป้าหมายเพื่อให้ครอบครัวมีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและอาชีพ การแต่งงาน การวางแผนที่จะมีบุตร การเว้นช่วงระยะห่างของการมีบุตรที่เหมาะสม การเป็นพ่อแม่ที่ดีเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้เป็นคนดี มีคุณภาพและมีความสุข มีผลเพื่อให้เกิดความสุข ความเหมาะสมทางสังคม เศรษฐกิจ แก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ   ความสำคัญของการวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัว เป็นเครื่องมือสำคัญในการ นำพาครอบครัวให้มีความสุขและเป็นแหล่งสร้างคนที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติ เปิดโอกาสให้สามี–ภรรยาได้พัฒนาตนเองอย่างเท่าเทียมกัน โดยการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการทำงานและการแสวงหาความรู้ได้ทั้งสองฝ่าย
องค์ประกอบของการวางแผนคู่ครองได้แก่การเลือกคู่ครองเป็นการที่จะเริ่มต้นของการที่จะมีครอบครัวที่ดีการเลือกคู่ครองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากก็ว่าได้ เพราะการเลือกคู่ครองของคนสมัยนี้จะเลือกตามอารมณ์และความรู้สึกกันเป็นส่วนใหญ่  แต่ไม่นึกถึงความเป็นจริง ครั้นเมื่ออายุมากสังขารก็เปลี่ยนสภาพตามกาลเวลา หากไม่มีความเข้าใจซึ่งกันและกันแล้ว การหย่าร้างก็จะตามมา ทั้งนี้ การเลือกคู่ครองที่ถูกต้องนั้น เริ่มแรกคือใจต้องรักกันก่อน จากนั้นต้องมีการวางเป้าหมายในชีวิตร่วมกันต่อไป  การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัย และอาชีพที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ฉะนั้นจะต้องตกลงกันตั้งแต่ก่อนแต่งงาน เช่น แยกมาอยู่ด้วยกันตามลำพัง หรืออยู่กับครอบครัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุผล และความจำเป็นของทั้งสองฝ่าย สำหรับอาชีพควรมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้แน่นอน และเพียงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ การเงินคู่บ่าวสาว จำเป็นต้องนำเงินเดือนของเราทั้งสองคนมารวมกันก่อนเพื่อให้รู้รายรับที่แน่นอนของครอบครัว จากนั้น ให้เขียนถึงรายจ่ายของครอบครัวในหนึ่งเดือน และควรทำตารางรายรับ-รายจ่ายให้ชัดเจนการวางแผนมีบุตร และการเว้นช่วงการมีบุตร คือการเตรียมความพร้อมสำหรับมีบุตรว่าเมื่อแต่งงานกันแล้วต้องการจะมีบุตรกี่คน และเว้นระยะห่างกันนานแค่ไหน เลือกวิธีอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการคุมกำเนิด การวางแผนการเงิน และการวางอนาคตบุตร ตลอดจนการเว้นช่วงการมีบุตร เพื่อให้ผู้เป็นแม่ได้พื้นฟูสุขภาพร่างกาย ก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป  ที่สำคัญก็คือไม่ควรมีบุตรเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือถี่เกินไป จะทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงดูและให้ความอบอุ่น แก่ลูกได้อย่างทั่วถึง   การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดี   เพื่อให้บุตรเติบโตมาเป็นคนดี มีคุณภาพ และมีความสุข ผู้ที่เป็นพ่อแม่จะต้องต้องเตรียมตัวที่จะปฏิบัติตนเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับบุตรโดยประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดี มีหลักการในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงและการอบรมแก้ไขบุตรให้ดีต่อไปในอนาคต
       ความสำคัญในการว่างแผนครอบครัว  ช่วยให้คู่สมรสที่เพิ่งแต่งงานกันได้มีโอกาสในการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันก่อนมีลูก เป็นการลดปัญหาเรื่องการหย่าร้าง ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี ลูกมีโอกาสได้รับศึกษาสูง คู่สมรสสามารถเว้นช่วงการมีลูก หรือจำกัดขนาดของครอบครัวได้ คู่สมรสสามารถสร้างฐานะการเงินให้มั่นคงได้ สุขภาพของครอบครัวไม่ทรุดโทรม ทุกคนสามารถดูแลกันได้อย่างทั่วถึงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการในการวางแผนครอบครัว ป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนาให้การรักษาการเป็นหมันให้คำแนะนำก่อนการสมรสให้คำแนะนำแก่หญิงตั้งครรภ์และให้บริการการคลอดบุตร ให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว
   อันดับแรกเราควรที่จะพร้อมทั้งด้านร่างกายก่อนว่าสุขภาพของเราต้อนนี้ดีพร้อมที่จะตั้งครรภ์ลูกน้อยหรือยัง โดยเฉพาะสุภาพสตรี ควรไปปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจร่างกายดูสุขภาพทั่วไป โรคประจำตัว ตรวจทั้งการเพาะเชื้อจากปากมดลูก ตรวจมะเร็งปากมดลูก รวมทั้งการตรวจหาภูมิต้านทานโรคหัดเยอรมัน และไข้สุกใส หากไม่มีภูมิคุ้มกันเหล่านี้ แพทย์ก็จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนซึ่งก็ต้องใช้เวลาอีก3 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้นอกจากนี้ ก็ควรดูที่จิตใจของเราว่าตอนนี้อยู่ในสภาพอะไร ดีหรือไม่ดี สำหรับท่านที่ดื่มสุรา ติดยาเสพติด และสูบบุหรี่ (รวมทั้งสตรีที่สามีสูบบุหรี่ด้วยเช่นกัน) ควรจะละหรือเลิกเสียก่อน เพราะจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก และหากตั้งครรภ์ก็อาจจะมีผลเสียต่อเด็กในครรภ์คู่สมรสควรมีความพร้อมในการปรับตัวชีวิตของเราเป็นอย่างไรเมื่อครั้งก่อนนั้น มันอยู่ในสภาพแบบไหน ถ้าชีวิตที่ยังชอบสนุกสนานอยู่ก็ไม่ควรที่จะมีลูก แต่ถ้าชีวิตพร้อมที่จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นก็ควรที่จะลืมชีวิตแบบเก่าเสีย แล้วจึงตัดสินใจที่จะมีลูก และจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงชีวิต เป็นแบบอย่าง เพื่อจะได้สอนลูกตามหลักการของพ่อแม่ที่ดีต่อไปสุขภาพร่างกายของภรรยา ต้องแข็งแรงทั้งสุขภาพกายและจิตใจ
    ความแข็งแรงของร่างกายจะช่วยให้คุณผู้หญิงตั้งครรภ์และคลอดอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ มีการศึกษาว่า หากออกกำลังตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ และระหว่างการตั้งครรภ์ จะทำให้คลอดได้ง่าย รวมถึงการควบคุมน้ำหนักไม่ให้มาก หรือน้อยกว่า 15% ของน้ำหนักมาตรฐาน จะทำให้เด็กเจริญเติบโตได้ดี หากคุณน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานเกิน 15% แสดงว่าคุณผอมเกินไป ทำให้ตั้งครรภ์ยาก ซึ่งข้อควรระวังจากผล กระทบเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในเดือนแรกๆ นั้น อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักคุณผู้หญิงจะลดลงอีก ซึ่งแนะนำว่าคุณผู้หญิงควรจะเพิ่มน้ำหนัก ก่อนการตั้งครรภ์ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ พยายามอย่าให้เครียด เพราะความเครียดจะมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ตั้งครรภ์ยาก คลอดก่อนกำหนด เด็กคลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักน้อย
         การมีลูกถือเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ให้กับคู่สมรสอีกทางหนึ่ง ดังนั้น คู่สมรสควรมีความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งจะต้องมีฐานะที่มั่นคงพอสมควร จึงควรเก็บเงินไว้สักก้อนหนึ่งก่อนที่จะมีลูก เพื่อจะได้ไม่ขัดสน และเมื่อมีลูกออกมาแล้วนั้น ผู้เป็นพ่อแม่จะต้องดูว่าเศรษฐกิจการเงิน ของครอบครัวด้วยว่าเป็นอย่างไร โดยจะต้องจัดทำตารางรายรับรายจ่ายอยู่เสมอ เพื่อจะรู้ว่าในแต่ละครั้งเราใช้เงินมากหรือน้อย เงินพอที่จะเก็บไว้ในอนาคตหรือไม่ ต้องรู้จักการวางแผนการใช้เงินให้เป็นต้องให้เวลาในการเลี้ยงลูกเพราะการเติบโตที่ดีของลูกนั้น ย่อมมาจากการเลี้ยงดูที่ดีของผู้เป็นพ่อและแม่ ที่จะต้องให้ความรัก ความอบอุ่น และการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ เพื่ออนาคตที่ดีของลูกต่อไปนอกจากนี้แล้ว คุณพ่อ คุณแม่ควรแบ่งเวลาและหน้าที่กันให้เหมาะสมการจัดการในบ้าน การจัดการในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นภาระหน้าที่ของภรรยา แต่เพื่อความสุขของครอบครัว ทั้งสามีและภรรยาควรวางแผนในการจัดการในบ้าน โดยแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้หน้าที่ของสามี มีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญเป็นต้นว่า เป็นหัวหน้าครอบครัวต้องหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว หรือมอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้ภรรยา เพื่อควบคุมดูแลภายในบ้าน รวมทั้งดูแลทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ให้ความอุปการะเลี้ยงดูภรรยา เพื่อควบคุมดูแลภายในบ้าน รวมทั้งดูแลทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ให้ความอุปการะเลี้ยงดูภรรยาและบุตรตามฐานะของตน ดูแลห่วงใยให้ความช่วยเหลือเมื่อภรรยาและบุตรได้รับความเดือดร้อนหรือเจ็บป่วย ช่วยเหลืองานในบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามสมควร ในกรณีที่ภรรยาต้องทำงานนอกบ้าน เช่น ช่วยดูแลบุตรในขณะที่ภรรยาเตรียมอาหาร เป็นต้น รับผิดชอบงานในบ้านที่ต้องใช้กำลังหรือเสี่ยงอันตราย เช่น งานในสวน ซ่อมแซมบ้าน ซ่อมแซมเครื่องใช้เครื่องเรือน ดูแลไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น และให้การอบรมบุตร เพื่อให้บุตรเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพ   หน้าที่ของภรรยา มีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญเป็นต้นว่า จัดการงานบ้าน เช่น ทำความสะอาดบ้านเรือน เสื้อผ้าเครื่องใช้ ให้เรียบร้อยเป็นระเบียบน่าอยู่ มีความขยันหมั่นเพียร รู้จักดูแลซ่อมแซมแก้ไขสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้าน เช่น เสื้อผ้า เครื่องตกแต่งบ้าน ให้มีสภาพที่ดีใช้งานได้ อันเป็นการช่วยให้ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนาน ช่วยประหยัดและคุ้มค่า รวมทั้งรู้จักเก็บรักษาและสะสมทรัพย์ให้พอกพูน เพื่อใช้จ่ายในยามจำเป็น และเพื่อสร้างฐานะครอบครัวต่อไป ดูแลเอาใจใส่ทุกข์สุขความเป็นอยู่ต่าง ๆ ของสามีและบุตร จัดหาเครื่องใช้สิ่งของที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันให้พร้อม ให้ความช่วยเหลือและดูแลรักษาสามีและบุตร เมื่อมีความเดือดร้อนหรือเจ็บป่วย ถ้าต้องทำงานนอกบ้านก็ต้องพร้อมที่จะรับผิดชอบงานบ้านไม่ให้ขาดตกบกพร่องด้วย และให้ความใกล้ชิดอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาบุตรร่วมกับสามี แต่เมื่อครอบครัวเรามีบุตรพอใจแล้วหรืออยากเว้นช่วงระยะบุตร เราก็สามารถที่จะคุมกำเนิดได้ การคุมกำเนิดนั้นก็มีหลายวิธีด้วยเช่น การคุมกำเนิดแบบถาวร  การทำหมันหญิง คือ การทำให้รังไข่หรือทางเดินของไข่ทั้ง 2 ข้างตีบตันหรือ ขาดจากกัน ซึ่งอาจทำได้โดยการผูก ตัด อุดด้วยสารเคมี หรือจี้ด้วยไฟฟ้า ทำให้รังไขและอสุจิไม่สามารถผสมกันได้ การตั้งครรภ์จะไม่เกิดขึ้น การทำหมันหญิงสามารถทำได้ ดังนี้การทำหมันเปียก หรือหมันสด มักจะทำหลังคลอดบุตรใหม่ ๆ ภายใน 24-48 ชั่วโมง วิธีนี้ส่วนมากใช้การผ่าตัดทางหน้าท้อง โดยแพทย์จะใช้ยาสลบแล้วผ่าเปิดหน้าท้องเล็กน้อย จับท่อรังไข่ตรงกลางใช้ไหมผูกให้ห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วตัดท่อรังไข่ให้ขาดจากกัน การตัดท่อรังไข่จะต้องตัดทิ้งทั้ง 2 ข้าง หลังจากนั้นจะเย็บปิดแผล ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ผู้ป่วยอาจนอนพักในโรงพยาบาล 1-2 วัน การทำหมันแห้ง เป็นการทำหมันในระยะเวลาปกติขณะที่ไม่มีการตั้งครรภ์ หรือหลังจากคลอดบุตรมานานแล้ว การทำหมันแห้งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้องบริเวณเหนือหัวหน่าว การผ่าตัดผ่านกล้องส่องหน้าท้องต่อจากนั้นทำการผูก บีบ ตัด หรือใช้ไฟฟ้าจี้ท่อรังไข่ทั้งสองข้าง การทำหมันแห้งกำลังเป็นที่นิยมกันมากเพราะสามารถทำได้ ง่าย ปลอดภัย และได้ผลดี บางวิธีสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวและทำงานได้เป็นปกติ ผู้ทำหมันแห้งจะมีความรู้สึกว่าเหมือนกับตนเองไม่ได้ถูกผ่าตัด การทำหมันชาย ในปัจจุบันทำได้สะดวก โดยใช้เวลาทำประมาณ 15-20 นาที และใช้เวลารักษาแผลผ่าตัดเพียง 1 สัปดาห์ โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ฉีดเข้าบริเวณผิวหนังหุ้มลูกอัณฑะใกล้ ๆ กับท่ออสุจิ จากนั้นจะใช้มีดกรีดผิวหนังบาง ๆ บริเวณท่ออสุจิแผลยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรา เมื่อพบท่ออสุจิจะใช้ไหมผูกมัดท่อไว้ แล้วตัดท่อให้ขาดแยกออกจากกัน ท่ออสุจิมี2 ท่อ ฉะนั้นจะต้องผูกและตัดทั้ง 2 ท่อด้วยวิธีเดียวกัน เมื่อผูกและตัดท่ออสุจิแล้ว จะสามารป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิออกจากลูกอัณฑะไปผสมกับน้ำเชื้อ หลังจากทำหมันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ถุงเก็บน้ำเชื้อจะบีบตัวปล่อยอสุจิพุ่งออกมาทางท่อปัสสาวะ แต่น้ำอสุจิที่ออกมาแม้จะเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงก็ไม่ทำให้เกิดการปฏิสนธิ หรือการตั้งครรภ์แต่อย่างใด เพราะว่าไม่มีตัวเชื้ออสุจิปะปนออกมากับน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาแต่ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีการอื่น ๆ ก่อนในระยะแรกหลังการทำหมัน เมื่อคู่สมรสได้ร่วมกันพิจารณาแลตัดสินใจวางแผนครอบครัวว่าควรจะทำอย่างไร วิธีที่ดีที่สุดก็ควรจะปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม
  แหล่งบริการในการวางแผนครอบครัว เมื่อคู่สมรสนั้นยังไม่พร้อมที่จะมีลูก หรือต้องการจำกัดขนาดของครอบครัว สามารถขอรับบริการวางแผนครอบครัวได้ที่สถานที่ หรือหน่วยงานทั้งของราชการและของเอกชน ได้แก่ คลินิกบริการวางแผนครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข หรือคลินิกบริการวางแผนครอบครัว สังกัดกระทรวงอื่น ๆ เช่น โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลทหาร โรงพยาบาลหน่วยราชการอื่น ๆ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลจังหวัด หรือหน่วยพยาบาลของหน่วยงานราชการอื่น ๆ หรือหน่วยงานการวางแผนครอบครัวเอกชน เช่น สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สวท.)โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน สมาคมทำหมันแห่งประเทศไทย (สทมท.) สมาคมสนับสนุนโครงการวางแผนครอบครัวในด้านประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ส.ส.ป.)
   แนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความสุขในครอบครัวพอสรุปได้ ดังนี้ให้ความสำคัญต่อครอบครัว เอื้อเฟื้อมีน้ำใจต่อกัน ให้เวลาแก่กันให้มากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขาดความอบอุ่นและความใกล้ชิดในครอบครัวแก้ปัญหาด้วยเหตุผล เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ สามีภรรยาจะต้องปรึกษาหารือกันโดยใช้แหตุผลไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา ร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหานั้นให้ลุล่วง ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขเองได้ควรขอคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือจากผู้ที่จะให้ความช่วยเหลือได้ เช่น ญาติผู้ใหญ่ผู้บังคับบัญชา แพทย์ เป็นต้นคู่สมรสต้องมีคุณธรรม รู้จักปฏิบัติหน้าที่ที่ดีของสามีและภรรยา ศึกษาธรรมะทางศาสนาที่ตนนับถือ โดยเลือกหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตคู่นำมาปฏิบัติให้เหมาะสม เช่น ในพระพุทธศาสนามีหลักธรรมสำหรับผู้ครองเรือน คือฆราวาสธรรม ทิศทั้งหก ทิฏฐิธัมมิกัตถประโยชน์ เป็นต้น 
      แก้ไขความขัดแย้งอย่างรีบด่วน ถ้าสามีภรรยาเกิดการขัดแย้ง ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ก็ไม่ควรปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม จะต้องรีบแก้ไขความขัดแย้งอย่างรีบด่วน โดยหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ปรึกษาขอคำแนะนำจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนฝูงให้ช่วยประสานรอยร้าว รีบปรับความเข้าใจโดยเร็วไม่ปล่อยให้เนิ่นนาน ต่างฝ่ายต้องลดทิฐิมานะยอมอ่อนข้อเข้าหากันทุกกรณีต้องมีความอดทนต่อสภาพต่าง ๆ โดยคิดถึงบุตรหรือสิ่งดี ๆ ในอดีต
ลักษณะของครอบครัวในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการใช้ชีวิตประจำวัน และสภาพของสังคม สังคมเมืองและสังคมชนบทก็จะมีลักษณะของครอบครัวที่แตกต่างกัน ลักษณะของครอบครัวนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวขยาย
       ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และ ลูก ซึ่งครอบครัวลักษณะนี้มักจะพบในสังคมเมืองครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวที่สมาชิกครอบครัวมีมาแต่เดิม โดยอาจจะมีปู่ย่า หรือตายาย หรือญาติคนอื่นๆ อาศัยรวมกับพ่อแม่และลูกหลาน ซึ่งเป็นครอบครัวใหญ่มักจะพบในสังคมชนบทและชานเมืองลักษณะของครอบครัวที่ดี นั้นสมาชิกในครอบครัวควรมีชีวิตที่มีความสุข และมีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยสามารถทำได้ดังนี้ มีความรักและความห่วงใยซึ่งกันและกันมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน สามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผย ไม่ปิดบัง และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น เห็นแก่ประโยชน์ของครอบครัวมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ต้องรู้จักเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัวมีความซื่อสัตย์และไว้วางใจกัน จะต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ทะเลาะกันต่อหน้าคนอื่น รู้จักยอมรับผิดและให้อภัยแก่ผู้ทำผิด  ทำกิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ จะทำให้เกิดความอบอุ่น และความสามัคคีภายในครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

สรุป โดยรวมแล้วสถาบันครอบครัวเป็นรากฐานของการผลิตเยาวชนขึ้นมาเพื่อให้เป็นกำลังของชาติ เมื่อครอบครัวแตกร้าวเด็กเหล่านั้นก็หมดที่พิงต้องไปพึงสิ่งที่ผิด ทำให้ประเทศต้องเสียกำลังที่สำคัญเพื่อไปพัฒนาบ้านเมืองในภาคหน้า การวางแผนครอบครัวก็เป็นเรื่องสำคัญที่เราควรศึกษาก่อนที่เราจะมีครอบครัว เพราะการที่เราจะสร้างครอบครัวที่ดีและสมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะความรักเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ ต่อการมีครอบครัว เราจะต้องมีภาระเพิ่มมากขึ้น ถ้ามัวคิดถึงแต่ตนเอง เราอาจสร้างปัญหาให้กับสังคมโดยที่เราไม่ได้รู้ตัว ดังนั้นจึงฝากเรื่องนี้ให้ทุกคนเห็นความสำคัญของครอบครัวมากขึ้น

อ้างอิง

สิงหาคม 31, 2011 โดย ธ. ธรรมรักษ์(ออนไลน์) แหล่งที่มาhttp://torthammarak.wordpress.com/2011/08/31/ปัญหาในครอบครัว วันที่สืบค้น 4พฤศจิกายน 2555

กระทรวงวัฒนธรรม 2553 (ออนไลน์). แหล่งที่มา                                                                      http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1772  วันที่สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2555

บริษัทคลินิก-จิตประสาท 2550 (ออนไลน์). แหล่งที่มา
http://www.psyclin.co.th/new_page_39.htm  วันที่สืบค้น 5พฤศจิกายน 2555

การวางแผนครอบครัว (ออนไลน์). แหล่งที่มา
http://haamor.com/th/การวางแผนครอบครัว  วันที่สืบค้น 5พฤศจิกายน 2555  

การเลือกคู่ครองและการวางแผนครอบครัว 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (ออนไลน์). แหล่งที่มา
http://taoacmo-family.blogspot.com/2011/06/blog-post.html วันที่สืบค้น 7 พฤศจิกายน 2555

สุขศึกษา .(ออนไลน์)แหล่งที่มา 
http://www.vimanloy.com/lesson/lesson5_4.php วันที่สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2555

(ออนไลน์).แหล่งที่มา
http://school.obec.go.th/salanrad/sara2.htm วันที่สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2555

ลักษณะของครอบครัว  2011 .(ออนไลน์) แหล่งที่มา
http://www.thaieditorial.com/ลักษณะของครอบครัว-และคร  วันที่สืบค้น 14 พฤศจิกายน2555


1 ความคิดเห็น:

  1. A new video game show in 2021 with - Vulture - Vulture
    It also has a brand-new trailer for 'A new trailer' for 'A New Trailer' on the Xbox One/Xbox Series X, a new trailer for 'A New youtube to mp4 Trailer' on the

    ตอบลบ