วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทความวิชาการเรื่องการรู้ไม่เท่าทันในสังคม นายณัฐพล กุลบุตร 53241905


บทความวิชาการเรื่องการรู้ไม่เท่าทันในสังคม
รายวิชา  ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
โดย นายณัฐพล  กุลบุตร 53241905 พัฒนาสังคม

บทนำ
            เป็นที่รู้กันว่าสังคมไทยในวันนี้นั้นเปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีตเราได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกอย่างใกล้ชิด และสังคมนั้นเปลี่ยนจากความไม่เท่าเทียมในด้านต่าง ๆโดย เฉพาะอย่างยิ่งในด้านของเพศและสิทธิทางการเมืองจากที่ไม่เท่าเทียมเป็นเท่าเทียมกันมากขึ้น  เช่นเดียวกันกับ  ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมต่าง ๆ  ของเราก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลกมากเรื่อยจนสิ่งที่เราทำแตกต่างจากสังคมโลกนั้น  เป็นคล้าย ๆกัน  การติดต่อสื่อสารแบบข้ามชาติก็ทำได้ง่ายขึ้น   รวมถึงเรื่องแฟชั่นเครื่องแต่งกาย  หรือค่านิยมต่างๆ    
            บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านวัตถุ และเทคโนโลยี มีการส่งสินค้าออกสู่สังคมโลก อีกทั้ง มีชาวต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยมากมาย   สังเกตเห็นได้ว่า ความเจริญก้าวหน้าเหล่านั้นกระจุกอยู่แต่ในเมืองไม่ได้กระจายออกไป ทำให้คนชนบทอพยพเข้าสู่เมืองเกิดปัญหาตามมาทั้งในชนบทและในเมือง แต่ถึงอย่างไรประเทศของเราก็พยายามที่จะพัฒนาตลอดเวลา       ทุกวันนี้การดำเนินชีวิตนั้นเปลี่ยนไปอย่างมากมีการทำงานมากขึ้นรวมถึง เศรษฐกิจที่ผันผวนได้ตลอดเวลา อีกทั้งธรรมชาติที่ยากจะคลาดการล่วงหน้าว่าจะเกิดเมื่อไหร่ที่ไหนและมีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน      เทคโนโลยีต่างๆมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่นโทรศัพท์มือถือซึ่งมีความสำคัญมากในการใช้ติดต่อสื่อสารกันรวมทั้งอินเตอร์เน็ตที่ไว้ search หาข้อมูลต่างๆหรือติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้อีกทั้งใช้ในการติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นแม้กระทั่งใช้ในการศึกษาซึ่งอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากในปัจจุบันรวมถึง Tablet  คอมพิวเตอร์ ที่มีกันเกือบทุกครัวเรือน   เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆที่จำเป็นและไม่จำเป็น  และฯลฯ  ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ต่างก็มีข้อดีข้อเสียและความต้องการที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือใช้ในทางที่ผิด    โดยเฉพาะมิจฉาชีพที่มีวิธีจะฉ้อโกงหลอกลวงเพื่อให้ได้มาด้วยทรัพย์ แม้จะมีการกวาดล้างเท่าไรก็ตามก็ไม่เป็นผลสำเร็จ    มิจฉาชีพเหล่านี้มีหลายรูปแบบทั้งทำคนเดียวหรือทำเป็นแก๊ง เช่นแก๊งคลอเซ็นเตอร์ที่ออกข่าวมาล่าสุด    
            การดำเนินชีวิตในปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องตามสังคมให้ทันโดยเฉพาะการติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเพื่อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อและการใช้ชีวิตนั้นมีความเสี่ยงตลอดเวลาไม่ว่าเราจะเดินจ่ายตลาดหรือที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านก็แฝงไปด้วยเหล่าบรรดามิจฉาชีพมือฉมังที่เราได้ยินกันบ่อยๆตามข่าวทีวีว่ามีการล้วงกระเป๋า  กรีดกระเป๋าตามสถานที่ต่างๆ  และในปัจจุบันได้ลามไปถึงการใช้เด็กในการโจรกรรม  รวมทั้งการไว้ใจให้ทำธุรกรรมต่างๆการไม่รอบครอบไม่ระวังตัวก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โดนมิจฉาชีพเหล่านั้นจัดการได้      สภาพเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนหรือปัญหาการว่างานก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมิจฉาชีพขึ้นพวกเขาต้องการเงินไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามการสร้างอาชีพให้กับพวกเขาเหล่านั้นก็น่าจะลดปัญหานี้ได้                                                       
ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในสังคมต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1     แก๊งมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร โทรศัพท์หลอกเหยื่อว่าเป็นลูกหนี้ธนาคารให้โอนเงินคืนผ่านตู้เอทีเอ็ม  ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นใน จ.เชียงราย เข้าแจ้งความต่อร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรเมืองเชียงราย หลังมีโทรศัพท์อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งหนึ่ง แจ้งว่าทั้งสองเป็นลูกหนี้ที่ขาดผ่อนชำระ และธนาคารกำลังจะอายัดเงินในบัญชีเงินฝาก หากไม่อยากถูกอายัดเงินในบัญชี ให้โอนเงินคืนผ่านทางตู้เอทีเอ็ม ซึ่งทั้งสองยืนยันไม่เคยกู้เงินกับธนาคารดังกล่าว ตำรวจจึงลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน พร้อมระบุตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคม มีประชาชนถูกแก๊งมิจฉาชีพดังกล่าวโทรศัพท์หลอกให้โอนเงินในลักษณะเดียวกันเป็นจำนวนมาก มีทั้งอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่  ดีเอสไอ และเจ้าหน้าที่ติดตามทวงหนี้ มีผู้หลงเชื่อจนยอมโอนเงินไปแล้วเกือบ 100,000 บาท เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ และให้ติดต่อชำระหนี้ไปยังสถาบันการเงินเจ้าหนี้โดยตรง 
ที่มา http://news.thaiza.com/
จากเหตุการณ์นี้เราจะเห็นได้ว่าเป็นการที่เหยื่อนั้นหลงเชื่อโดยไม่ตรวจสอบให้รอบครอบจึงทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวฉะนั้นเราควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนที่จะทำอะไรเพื่อที่จะไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้
ตัวอย่างที่ 2  ในวันที่  20 ส.ค.  2555  ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพเป็นชาย 2 คน เข้ามาก่อเหตุงัดเบาะรถจักรยานยนต์ และใช้มือล้วงทรัพย์สินที่ประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรีใส่ไว้ใต้ เบาะรถ หลังนำรถมาจอดบริเวณโดยรอบสวนสาธารณะเพื่อมาออกกำลังกาย
          เบื้องต้น ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบพบว่า มีประชาชนตกเป็นเหยื่อและสูญเงินและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก และเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. เมืองจันทบุรีแล้วกว่า 10 หลาย ประชาชนต้องสูญเงิน สร้อยคอทองคำ บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ และบัตรเอทีเอ็ม รวมกันกว่า 2 แสนบาท ไป   นางสาวประภาพรรณ เวชสรรเสริญ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 2 ตำบลมาบไพ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อ ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงเย็นเวลา 17.00 น.ของทุกวันได้ขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้าน เพื่อมุ่งหน้ามาออกกำลังกาย ที่สวนสาธารณะทุ่งนาเชย ที่เป็นจุดศูนย์รวมของประชาชนที่มาออกกำลังกาย เป็นจำนวนมาก  ประชาชนจะต้องมีการนำรถจักรยายนต์มาจอดโดยรอบสวนสาธารณะและนำทรัพย์สินที่ติดตัวมาไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าเงิน สร้อยคอทองคำ บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็มต่างๆ และทรัพย์สินอื่นๆใส่ไว้ใต้เบาะรถ จึงตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพที่เฝ้าดูอยู่ก่อเหตุงัดเบาะรถ และใช้มือล้วงเอาทรัพย์สินไป ทั้งนี้ ตนได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐานแล้ว
           พ.ต.ท.วุฒิพงศ์  วิสุทธิธาภรณ์ สารวัตรเวรสถานีตำรวจภูธรเมืองจันทบุรี เจ้าของคดี ได้เปิดเผยว่าได้มีประชาชนและผู้เสียหายหลายสิบหลายได้เข้ามาแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าถูกกลุ่มมิจฉาชีพงัดเบาะรถและใช้มือล้วงนำทรัพย์สินใต้เบาะรถไปเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้นิ่งนอนใจได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสายสืบ และเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจลงพื้นที่หาข่าวและเร่งติดตามกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้มาดำเนินคดีตามกฎหมาย
          ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการฝากเตือนประชาชนที่มาออกกำลังกาย ขออย่าได้พกทรัพย์สินมีค่าติดตัวมา หรืออย่านำทรัพย์สินใส่ไว้ในใต้เบาะรถ เพราะอาจจะจุดล่อแหลมของกลุ่มมิจฉาชีพลงมือก่อเหตุได้ พร้อมกันนี้ขอให้ประชาชนที่นำรถมาจอดออกกำลังกายขอให้จอดในสถานที่จอดรถที่ทางเจ้าหน้าที่จัดไว้ให้ไม่ควรจอดในที่ลับตาคน    ผู้บังคับการตำรวจจราจร เตือนผู้ที่ขับขี่รถยนต์ตามลำพังในช่วงเวลากลางคืน ให้ระวังแก๊งมิจฉาชีพที่แกล้งทำเป็นถูกรถชน เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ย้ำควรเรียกตำรวจที่อยู่บริเวณใกล้เคียง หรือโทรแจ้งที่เบอร์ 1197 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา  พล.ต.ต. อุทัยวรรณ แก้วสะอาด  ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) เปิดเผยว่า บก.จร.ได้รับข้อมูลเบื้องต้นว่า มีแก๊งมิจฉาชีพมีพฤติการณ์แกล้งขับขี่รถจักรยานยนต์มาเฉี่ยวชน หรือเดินมาชนรถของประชาชนที่จอดติดสัญญาณไฟจราจรตามแยกต่าง ๆ เสมือนเกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งคนร้ายจะลงมือกับผู้ที่ขับขี่รถมาเพียงลำพังในเวลาค่ำคืน หลังจากนั้นก็จะเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของรถคู่กรณี ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำของแก๊งมิจฉาชีพที่จงใจใช้อุบายเพื่อหลอกลวงเอาทรัพย์สินจากประชาชน
ที่มา  http://www.dailynews.co.th/
จากเหตุการณ์นี้จะเห็นได้ว่าผู้เสียหายนั้นชะล่าใจโดยเก็บทรัพย์สินของมีค่าที่เบาะรถมอเตอร์ไซค์ซึ่งมิจฉาชีพอาศัยความมืดและมีทักษะความชำนาญงัดเบาะเพื่อจะขโมยสิ่งมีค่าและอีกกรณีนึงคือการที่มิจฉาชีพแกล้งทำเป็นรถชนแล้วมาเรียกร้องความเสียหาย
ตัวอย่างที 3   ปอท.  ฟิตล็อกแฮกเกอร์แสบดูดเงินจากแบงก์ผ่านเน็ต รับสิ้นไส้เอาไว้เติมโทรศัพท์-ซื้อชั่วโมงเกมออนไลน์ เมื่อ เวลา 12.00 น. วันที่ 23 ก.ค. ที่ บก.ปอท. พ.ต.อ.ชนะชัย ลิ้มประเสริฐ รอง ผบก.บก.ปอท. เปิดเผยว่า ช่วงต้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้รับการร้องทุกข์ จากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ว่า มีลูกค้าหลายรายที่ใช้ธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตพบว่าเงินสูญหายไปจากบัญชีโดย ไม่ทราบสาเหตุ และเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเงินที่สูญหายไปนั้นได้ถูกโอนไปทางธุรกรรมทาง อินเตอร์เน็ตออนไลน์ เพื่อเติมเงินเพิ่มมูลค่าในโทรศัพท์มือถือ และนำไปซื้อชั่วโมงเกมออนไลน์ สร้างความเสียหายนับแสนบาท
หลังทราบเรื่องจึงสั่งการให้ พ.ต.อ.ภูธร ปริศนานันทกุล ผกก.1 บก.ปอท. พ.ต.อ.สุวัฒน์ อินทสิทธิ์ ผกก.2 บก.ปอท.และชุดสืบสอบออกหาเบาะแส กระทั่งทราบว่าคนร้ายก่อเหตุจากบ้านเลขที่ 40/47 หมู่3 ซอยมัยลาภ ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน และบ้านเลขที่ 43/1 ซอยวิภาวดี 16/9 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร จึงนำกำลังเข้าตรวจค้นพบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กระทำผิด โดยมีนายเอกพันธ์ กุมมาน้อย อายุ 23 ปี รับว่าเป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าว จึงนำตัวมาสอบสวนที่ บก.ปอท.
จากการสอบสวนนายเอกพันธ์ ให้การรับสารภาพว่า ก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวจริง เพราะส่วนตัวชอบเล่นเกมออนไลน์มาก และใช้ธุรกรรมการเงินทางอินเตอร์เน็ตอยู่เป็นประจำ จึงลองเดาชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านของบุคคลอื่นหลายครั้ง ในที่สุดก็สามารถเข้าไปทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตได้ จากนั้นได้โอนเงินจากบัญชีบุคคลอื่นมาใช้เติมเงินโทรศัพท์มือถือ และนำเงินดังกล่าวไปซื้อชั่วโมงเกมออนไลน์ด้วย
ด้าน พล.ต.ต.สุพล หอมชื่นชม ผบก.บก.ปอท. กล่าวว่า ขอฝากเตือนไปยังประชาชนทั่วไปที่กระทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ตให้เพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะการตั้งชื่อและรหัสในการใช้งานให้ยากต่อการคาดเดา เบื้องต้นแจ้งข้อหา เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน และลักทรัพย์ผู้อื่น ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 คุมตัวส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป.
ที่มา  http://www.สมเดช.com
จากเหตุการณ์นี้จะเห็นได้ว่ามิจฉาชีพรายนี้ใช้เทคโนโลยีในการกระทำดังกล่าวเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน   การกระทำนี้เป็นการยากที่จะตามจับตัวเพระไม่เห็นหน้าคร่าตาและวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่แยบยลมากๆผู้ที่จะกระทำในรูปแบบนี้ได้จะต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการรู้ไม่เท่าทันในสังคมหรือหลงกลมิจฉาชีพ
1.ไม่ติดตามข่าวสารว่ามีอะไรเกิดขึ้นในสังคมบ้างจึงทำให้ตามไม่ทันและอาจทำให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้
2.คาดไม่ถึงว่าจะเกิดกับตัวเอง  คิดว่าตัวเองคงไม่โดนจึงไม่ระวังหรือสนใจอะไรมากมายเพราะการใช้ชีวิตในปัจจุบันนี้มีความเสี่ยงตลอดเวลาและนับวันความเสี่ยงหรือภัยเหล่านี้จะยิ่งเยอะขึ้นเรื่อยๆ
3.ชะล่าใจไม่รอบครอบ  เหล่าบรรดามิจฉาชีพก็จะมีบรรดาคนกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายหลักอยู่แล้วเนื่องจากง่ายต่อการจัดการ
4.ความประมาท  ไม่ว่าเราจะทำอะไรหากตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเราก็จะปลอดภัยจากเหตุการณ์ต่างๆได้
5.การไว้ใจคนสนิทหรือลูกน้อง การที่เราจะไว้ใจให้ไปทำอะไรก็ตามโดยเฉพาะเรื่องเงินๆทองๆหากไม่สนิทหรือรู้จักกันมากพอก็ไม่ควรที่จะมอบหมายให้ทำควรที่จะทำเองมากยิ่งมีมูลค่ามากยิ่งเสี่ยงมากอย่างที่ได้เห็นอยู่บ่อยครั้งตามข่าวทีวี
6.ปัญหาการว่างงานก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมิจฉาชีพขึ้นพวกเขาต้องการเงินไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามการสร้างอาชีพให้กับพวกเขาเหล่านั้นก็น่าจะลดปัญหานี้ได้
7.เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ                                                  

วิธีป้องกัน
            การมีสติตลอดเวลาอย่าประมาทให้พึงระวังอย่าชะล่าใจเพราะภัยเหล่านี้สามารถเกิดได้ตลอดเวลาอีกทั้งเราควรติดตามข่าวสารเพื่อว่าสังคมนั้นมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างเพื่อที่ว่าจะหาวิธีป้องกันได้ทัน    หากเป็นทรัพย์สินที่อยู่กับตัว  อย่างเช่น สร้อย แหวน นาฬิกา  กระเป๋าเงิน  เมื่อเราไปในที่ที่คนพลุกพล่านเช่นงานกาชาด หรืองานประจำปี   หรือตามศูนย์การค้าต่างๆ ไม่ควรที่จะใส่เครื่องประดับแบบประเจิดประเจ้อควรใส่แต่พอดี  กระเป๋าเงินก็ควรไว้กระเป๋าหน้าไม่ควรหยิบเงินออกมาเยอะๆ  หากเป็นการทำธุรกรรมการเงินก็ควรที่จะไปดำเนินการเองตรวจสอบปลายทางที่จะโอนไปหรือที่รับให้แน่ชัดเพราะปัจจุบันนี้แก๊งคลอเซ็นเตอร์มีอยู่เกลื่อนเมือง  หรือแม้กระทั่งการขายของออนไลน์ควรจะซื้อของจากที่ไว้ใจได้เป็นเวปที่มีมาตรฐานรับรองเพื่อความมั่นใจ  หากมีคนแปลกหน้ามาชวนทำธุรกิจโดยให้โอนเงินไปจงพึงระวังอย่าหลงกล  หากเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในบ้านก็ควรอย่าลืมล็อคบ้านอย่าวางของสิ่งมีค่าไว้ล่อแหลมถ้าหากเป็นสำนักงานก็ควรมีกล้องวงจรเพื่อที่จะติดตามคนร้ายได้ง่ายขึ้น

วิธีป้องกันมิจฉาชีพจากการเดินทาง
1.กระเป๋าเงินเป็นสิ่งที่มิจฉาชีพคอยจ้องที่จะลักเอาไปเสมอ ดังนั้น จึงควรเก็บรักษากระเป๋าเงินไว้ในที่ปลอดภัย ซึ่งเวลาเดินทางไปที่ไหนมาไหนควรเก็บกระเป๋าเงินไว้ด้านหน้าตัวเราเสมอเพื่อยากแก่การลักเอาไป เช่น เก็บไว้ในกระเป๋าหน้าท้อง ที่มีเสื้อคลุมไว้อีกทีหนึ่ง หรือใช้กระเป๋าแบบคาดติดหน้าอก
2.หลีกเลี่ยงการหยิบเงินจำนวนมากออกมาจ่ายข้าวของ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะการกระทำเหล่านั้นทำให้เป็นจุดสนใจต่อเหล่ามิจฉาชีพได้ ทางที่ดีจึงควรวางแผนในการใช้เงินให้ดีก่อนโดยแบ่งส่วนที่จะใช้ไว้แยกจากกัน เพื่อเวลาจะนำมาใช้จะได้ไม่ต้องเอาเงินทั้งหมดออกมา เช่น เงินค่าซื้อของแบ่งไว้ส่วนหนึ่ง เงินจ่ายค่าห้องพักส่วนหนึ่ง เงินค่าเดินทางส่วนหนึ่ง เงินค่าอาหารอีกส่วนหนึ่ง
3.เก็บเอกสารสำคัญไว้หลายๆ ที่ เช่น บัตรประชาชนเก็บไว้ที่หนึ่ง ใบขับขี่เก็บอีกที่หนึ่งบัตรเครดิตเก็บไว้อีกที่หนึ่ง เพื่อว่าเมื่อหายจะยังมีเอกสารบางอย่างเหลืออยู่บ้าง และควรทำสำเนาเอกสารเหล่านี้ติดไว้กับตัวด้วยอย่างน้อย 1 ชุดและสแกนไว้ในอีเมลเพื่อว่าหากเอกสารทั้งหมดหายไปจะได้นำจากอีเมลมาใช้อ้างอิงได้
4.ไม่ควรทิ้งกระเป๋าสตางค์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องประดับ สมุดเช็ค สมุดบัญชีธนาคาร หรือทรัพย์สินมีค่าไว้ในห้องพักโรงแรม หากไม่สามารถนำติดตัวเดินทางไปด้วยได้ก็ควรเก็บไว้ในตู้นิรภัยของทางโรงแรมจะเป็นการปลอดภัยกว่า และตั้งรหัสตู้นิรภัยที่ไม่ตรงกับข้อมูลส่วนตัวใดๆ เพื่อให้ยากแก่การคาดเดารหัสนั้น
5.หากมีการใช้บัตรเครดิตในการชำระราคา เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องรีบเก็บไว้กับตัวให้เร็วที่สุด อย่ามัวแต่ทำอย่างอื่นเพราะอาจจะลืมเก็บและทำหายได้ และอย่าลืมที่จะเก็บสำเนาใบเสร็จไว้เพื่อว่าจะได้นำมาใช้อ้างอิงได้เวลามีปัญหาในการเรียกเก็บเงิน
6.ในการเดินทางไม่ว่าจะโดยยานพาหนะใดที่เราจำเป็นต้องใช้กระเป๋าเดินทางและกระเป๋าเดินทางไม่ได้อยู่ติดตัวกับเราตลอดเวลา ไม่ควรใส่ข้อมูลสำคัญในป้ายติดกระเป๋าเดินทางนั้น ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดส่วนตัว เลขบัตรประชาชน เลขใบขับขี่ เพราะอาจเป็นไปได้ว่ามิจฉาชีพอาจเอาข้อมูลนั้นไปใช้ให้เกิดความเสียหายแก่เราได้ ทางที่ดีควรใส่แค่ชื่อ นามสกุล เมือง ประเทศ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
7.ควรเลือกกระเป๋าเดินทางที่มีลวดลายหรือสีสันที่เป็นที่จดจำได้ง่ายจะสามารถป้องกันมิจฉาชีพได้ในระดับหนึ่งเพราะโจรคงไม่เสี่ยงที่จะลักเอากระเป๋าที่เป็นที่สังเกตได้ง่ายไป หรือถ้าจะลักเอาไปจริงๆ อย่างน้อยเราจะสามารถติดตามเอาคืนได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีลักษณะโดดเด่น และอย่าลืมว่าต้องล็อคกระเป๋าเดินทางให้ดี มีที่ให้ล็อคกี่ที่ก็ล็อคไปเถิดไม่ต้องเสียดายค่ากุญแจ เพราะถ้าของหายเราจะเสียดายกว่าค่ากุญแจแน่นอน
8.เวลาเดินทางอย่าขนสัมภาระไปมากเหมือนย้ายบ้าน ควรมีแต่ของที่จำเป็นเท่านั้น เมื่อเกิดเหตุไม่น่าไว้ใจหรือรู้สึกว่าจะตกอยู่ในอันตรายจะเคลื่อนไหวคล่องตัว ดังนั้น ไม่ควรมีกระเป๋ามากกว่า 2 ใบ และเลือกขนาดที่เหมาะสมกับรูปร่างของตัวเองด้วย
9.แต่งตัวให้กลมกลืนกับสถานที่ อย่าแต่งตัวให้เป็นจุดสนใจเพราะสามารถบอกได้ทันทีว่าคุณเป็นนักเดินทางที่ไม่ใช่คนในถิ่นนั้นๆ และไม่ควรประดับของมีค่าให้มากเพราะจะเป็นที่ล่อตาล่อใจให้มิจฉาชีพกระชากและกระตุกไปจากตัวคุณได้
10.การเดินทางที่ใช้ระยะเวลาหลายวัน อาจทำให้มีปัญหาเรื่องของจดหมายหรือพัสดุไปรษณีย์ ดังนั้น ควรบอกกล่าวเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้หรือคนสนิทชิดเชื้อให้ช่วยรับจดหมายและพัสดุไปรษณีย์ต่างๆ และเก็บไว้ให้เพื่อป้องกันการสูญหาย

            จากที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นถึงปัญหาการรู้ไม่เท่าทันในสังคมปัญหานี้ก็เนื่องด้วยพวกเขาเหล่านั้นไม่มีอาชีพที่มั่นคง  สภาพเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนหรือเงินไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอีกทั้งค่าครองชีพในปัจจุบันก็สูงขึ้นจึงเป็นเหตุให้ใช้วิธีหาเงินทางลัดไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม   หากไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจังปัญหาเหล่านี้อาจจะสูงขึ้น   
            การเปลี่ยนแปลงในสังคมทั้งด้านเทคโนโลยี หรือด้านอื่นๆ เป็นสิ่งเราทุกคนในสังคมจะต้องตามให้ทันเพื่อประโยชน์ของเราเองหากจะหวังพึ่งแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจคงเป็นไปได้ยากเพราะต่างคนต่างก็มีปัญหา    
           จากที่รายงานไปข้างต้นไว้ว่าปัญหาว่าปัญหาต่างๆจะเกิดกับบุคคลที่ประมาทชะล่าใจเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากง่ายต่อการก่อเหตุเพราะฉะนั้นเราจะทำอะไรไปไหนมาไหนควรรอบครอบไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของเราเอง

 แหล่งอ้างอิง
Mcot news   แก๊งมิจฉาชีพอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร โทรศัพท์หลอกเหยื่อว่าเป็นลูกหนี้ 
       ธนาคารให้โอนเงินคืนผ่านตู้เอทีเอ็ม [ ออนไลน์ ]     http://news.thaiza.com/    
       (วันที่สืบค้นข้อมูล: 9 ธันวาคม 2555).
www.สมเดจ.com   ล็อกแฮกเกอร์แสบโกงเงินผ่านเน็ต  [ ออนไลน์ ]  
        เข้าถึงได้จาก   http://morning-news.bectero.com
       (วันที่สืบค้นข้อมูล: 9 ธันวาคม 2555).
        
     
     
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น