วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาคนว่างงาน นายจตุรงค์ แคนสิงห์ 53241714


นายจตุรงค์ แคนสิงห์ 53241714
สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์
บทความวิชาการ
เรื่อง ปัญหาคนว่างงาน
ปัจจุบันปัญหาการว่างงานในประเทศไทยมีอัตราสูงมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัญหาการเมืองภายในประเทศที่เกิดขึ้นในช่วงที่ต่างๆ  ที่เรียกร้องให้รัฐบาลลาออก เพื่อปรับเปลี่ยนระบบรัฐบาล สร้างความกดดันให้รัฐบาลในประเทศ  ยิ่งเป็นการเพิ่มภาวะการว่างงานอย่างมากไม่ว่าจะเป็นในส่วนอุตสาหกรรม เกษตรกรรม รวมถึงการแรงงานเพื่อ รวมถึงภาคเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจภายในและนอกประเทศ เช่นธุรกิจการท่องเที่ยว การส่งออก  ในหลายประเทศที่มีการลงทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยก็เกิดปัญหาตามมาติด ๆ  หลายประเทศได้ออกข่าวให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยว นักลงทุน การส่งออก ระวังปัญหาที่เกิดกำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย   นั่นยิ่งทำให้ประเทศเสียหายอย่างหนัก บรรดาบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ที่เปิดเป็นบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก หลาย ๆ แห่ง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรืออุตสาหกรรมย่อย ต่างก็ได้รับผลกระทบ เช่นบริษัทผลิตรองเท้า  เสื้อผ้าส่งออก อุตสาหกรรมหนัก ต่าง ๆ ต่างก็ทยอยปิดตัวลงเนื่องจากการปัญหา การส่งออก  ต้นทุน และปริมาณการผลิต  มีราคาสูง ยิ่งทำให้ภาวะการว่างงานยิ่งสูงขึ้น ดังนั้น ผู้คนที่ถูกให้ออกจากงาน หรือไม่มีงานทำ โรงงานปิดตัว ไม่มีค่าจ้าง ลดชั่วโมงการทำงาน ลดปริมาณการผลิต ลดวันเวลาทำงาน ทำให้เป็นปัญหากับผู้ถูกจ้าง  ทำงานได้ แต่รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอยู่ตลอดได้ ก็เกิดความเครียด บางรายใช้วิธีการผิด เช่น เป็นโจร จี้ปล้น หลอกลวงคนที่รู้เท่าไม่ทัน  บางรายก็ใช้วิธีการฆ่าตัวตาย ยกครอบครัว บางคนที่ไม่สามารถทนต่อความเครียดได้ก็ถึงขั้นเสียสติไปเลยก็มี  สำหรับคนที่มีงานทำอยู่แล้ว พยายามสร้างผลงานของตัวเองให้ดี อย่าให้ตัวเองเสียประโยชน์    ถึงมีงานทำ มีรายได้น้อย  ก็ยังดีกว่าผู้ไม่มีงานทำอย่างกับรายอื่น ๆ  พยายามรักษางานของตัวเองไว้ เรามาดูความหมายของการว่างงาน (Unemployment)
            การว่างงาน (Unemployment) หมายถึง ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงานที่พร้อมจะทำงานแต่ไม่สามารถหางานทำได้ หรือเจ็บป่วย รองานใหม่ หางานที่เหมาะสมไม่ได้ บุคคลในวัยแรงงานจะพิจารณาผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป ส่วนแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักบวช ผู้ที่เกษียณอายุ ผู้เจ็บป่วยพิการทางร่างกายและสติปัญญา และผู้ทำงานอยู่ในครัวเรือน ซึ่งขนาดของบุคคลในวัยแรงงานเล็กกว่าขนาดของประชากรของประเทศ (Total Population) เพราะประชากรของประเทศประกอบด้วยเด็ก ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน และผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน

ประเภทของการว่างงาน 
            การว่างงานแบ่งออกได้ 5 ประเภท คือ
การว่างงานชั่วคราว (Frictional Unemployment) เป็นการว่างงานในระยะสั้น สาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของตลาดแรงงานในด้านต่างๆ เช่น ข้อมูล การคมนาคม เป็นต้น
การว่างงานตามฤดูกาล (Seasonal Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลพบส่วนใหญ่ในภาคเกษตรกรรม ส่วนสาขาการผลิตอื่นๆ ที่เกิดการว่างงานประเภทนี้เช่น ภาคก่อสร้าง เป็นต้น
การว่างงานเนื่องจากโครงสร้างของเศรษฐกิจ (Structural Unemployment) การว่างงานประเภทนี้เกิดจากการที่แรงงานไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้เช่น เทคโนโลยีการผลิต การย้ายแหล่งอุตสาหกรรม เป็นต้น
การว่างงานเนื่องจากรัฐจักรเศรษฐกิจ (Cyclical Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดจาก เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งสินค้าขายไม่ออก ผู้ผลิตต้องลดการผลิตและการจ้างงานตามมา
การว่างงานแฝง (Disguised Unemployment) เกิดจากการที่มีจำนวนแรงงานเกินความจำเป็น ส่วนใหญ่พบในภาคเกษตรกรรม บุคคลที่ว่างงานแฝงจะทำงานต่ำกว่าระดับ (Underemployment)
ประโยชน์ของตัวเลขการว่างงาน
            ตัวเลขอัตราการว่างงานของประเทศใช้ประโยชนสำคัญด้านต่างๆ ดังนี้
            เป็นเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานในประเทศจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถบอกภาวะเศรษฐกิจได้เช่น ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราการว่างงานค่อนข้างสูง ในช่วงภาวะเศรษฐกิจขยายตัว อัตราการว่างงานจะลดลง อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง การจ้างงานขยายตัวมากจนถึงระดับการจ้างงานเต็มที่ (full employment) อัตราการว่างงานก็ยังมีค่ามากกว่าศูนย์ เรียกอัตราการว่างงาน ณ ระดับการจ้างงานเต็มที่ว่า อัตราการว่างงานตามธรรมชาติ (The Natural Rate of Unemployment) หรืออัตราการว่างงานที่เป็นเป้าหมาย (The Target Rate of Unemployment) จะถือว่า  การว่างงานดังกล่าวไม่เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ
            เป็นเครื่องชี้อัตราการว่างงานในประเทศ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนแก้ปัญหาโดยการดำเนินนโยบายสร้างงานให้แก่แรงงานของประเทศเพื่อให้มีรายได้ใช้ในการบริโภค และประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากแรงงานได้อย่างเต็มที่ เกิดผลดีแก่เศรษฐกิจของแรงงานและของประเทศ
            เป็นเครื่องชี้การจัดทำงบประมาณการจ่ายเงินชดเชยการว่างงาน ในประเทศที่มีระบบประกันสังคม มีกองทุนจ่ายเงินทดแทนการว่างงาน กองทุนจะต้องจัดทำงบประมาณรายจ่ายเงินทดแทนการว่างงานซึ่งต้องอาศัยตัวเลขอัตราว่างงาน
การแก้ไขปัญหาการว่างงาน
            การว่างงานมีสาเหตุต่างๆ ซึ่งทำให้สังคมต้องเสียผลประโยชน์จากทรัพยากรแรงงานที่รัฐบาลลงทุนสร้างประสิทธิภาพโดยเฉพาะการศึกษา รัฐบาลจึงมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานดังนี้
การแก้ปัญหาการว่างงานชั่วคราว ทำได้โดยการให้บริการข่าวสารแก่คนงานและนายจ้างเพื่อให้ทราบแหล่งงานหรือจัดตลาดนัดแรงงานเพื่อให้คนงานและนายจ้างพบกันขึ้นสะดวก
การแก้ไขปัญหาการว่างงานตามฤดูกาล ทำได้โดยการกระตุ้นให้คนงานทำงานอื่นๆ เมื่อพ้นฤดูกาลทำงานประจำ
การแก้ปัญหาการว่างงานเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีถ้าหากมีการนำมาใช้โดยไม่จำเป็น รัฐบาลก็อาจต้องมีการเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นขณะเดียวกัน ต้องมีการศึกษาฝึกหัดอบรมคนงานให้มีความสามารถที่จะโยกย้ายงานได้
นโยบายการเงิน รัฐบาลควรใช้มาตรการทางการเงินเพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศซึ่งจะมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง การลงทุนของประเทศสูงขึ้น การผลิต การจ้างงานขยายตัว
นโยบายการคลัง รัฐบาลต้องเพิ่มการใช้จ่ายและลดอัตราภาษีให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการผลิตการส่งออกและการบริโภค ส่งผลให้การจ้างงานสูงขึ้น
นโยบายการศึกษา การวางแผนการศึกษาให้กับประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษา และต้องกำหนดโครงสร้างการศึกษาให้เหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้การศึกษาที่ตรงความต้องการของตลาด และความจำเป็นของประเทศ

กลยุทธ์การกำจัดปัญหา "งานว่างคน"
ถ้ามองปัญหาคนว่างงานในเชิงของสังคม ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศที่รัฐบาลจำเป็นต้องเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหานี้โดยตรง เพราะผลกระทบของการว่างงานจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งปัญหาสังคมและปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศ แต่ถ้ามองปัญหาของคนว่างงานในมุมมองขององค์กรต่าง ๆ ปัญหานี้อาจจะไม่ใช่ปัญหาสำคัญขององค์กรต่าง ๆ แต่อาจจะกลายเป็นโอกาสของบางองค์กรที่สามารถหาคนเก่งเข้ามาร่วมงานได้ง่ายขึ้นเพราะมีตัวเลือกมาก ด้วยค่าจ้างที่ไม่แพงมากนักเพราะองค์กรมีอำนาจต่อรองมากกว่าคนทำงาน แต่มีอีกหนึ่งปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรโดยตรง แต่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงในสังคมวงกว้างนั่นก็คือ ปัญหา "งานว่างคน" คือสถานการณ์ที่ปริมาณงานมีมากกว่าปริมาณคนทำงาน ทำให้งานบางส่วนเหลือหรือขาดคนทำงาน ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อองค์กรในหลาย ๆ ด้าน เช่น
เสียโอกาส หลายองค์กรสูญเสียโอกาสทองของการสร้างรายได้ทั้ง ๆ ที่ออร์เดอร์มาจ่ออยู่ในมือแล้ว สาเหตุสำคัญคือองค์กรหาคนมาทำงานตามออร์เดอร์ไม่ได้ทั้ง ๆ ที่เครื่องจักรพร้อม วัตถุดิบพร้อม เงินทุนพร้อม ขาดอย่างเดียวคือคนที่หาคนมาทำงานไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะหาคนไม่ได้ หาคนไม่ทัน หาคนไม่พอกับงาน ฯลฯ
เสียเครดิต  เมื่อคนน้อยกว่างานหรืองานไม่มีคนทำ ผลที่เกิดขึ้นคือส่งสินค้าให้ลูกค้าไม่ทัน ส่งไม่ครบ คุณภาพไม่ดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น ทำให้องค์กรเสียภาพลักษณ์เสียเครดิตในระยะยาว
ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดปัญหางานมากกว่าคน การแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่มักจะออกมาในรูปของการทำงานล่วงเวลา การจ้างคนเพิ่มเฉพาะกิจ การส่งงานไปให้องค์กรภายนอกทำแทน ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้ต้นทุนของสินค้าเพิ่มขึ้น
ประสิทธิภาพและคุณภาพการทำงานลดลง เมื่อคนน้อยกว่างาน ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือคนที่มีอยู่จำกัดต้องทำงานเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดเพิ่มมากขึ้น โอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น และประสิทธิภาพการทำงานต่อหน่วยจะลดลงเมื่อคนต้องทำงานเกินกว่ามาตรฐานที่เคยทำได้
ถ้าวิเคราะห์กันจริง ๆ แล้วจะพบว่า ปัญหา "งานว่างคน" เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น งานเข้ามามากกว่าและเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ พัฒนาคนไม่ทันงาน คนที่มีทักษะเฉพาะลาออก คนทำงานไม่เต็มที่ ระบบการทำงานยังไม่มีประสิทธิภาพ
ผลกระทบของการว่างงานทำให้เสียสุขภาพจิตเมื่อเกิดการว่างงานขึ้นผู้ที่เคยมีงานทำมักจะคิดฟุ่งซานเเละเกิดปัญหาเครียดตามมาจึงทำให้เสียสุขภาพจิตเเละร่างกายก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว ผู้ที่ว่างงานอาจจะเป็นหัวหน้าครอบครัวเเล้วเกิดการว่างงานจึงส่งผลให้รายได้ในครอบครัวที่จะเลียงครอบครัวจึงทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้นก่อให้เกิดปัญหาความยากจนก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมบุคครที่ตกงานมักหาเเนวทางเพื่อให้ตนเองมีความอยู่รอดในสังคมได้ บางส่วนก็จะหางานที่สุจริตทำเเต่บางส่วนจะจะลกเล็กขโมยน้อยเพื่อให้ตนเองอยู่รอดเป็นผลเสียต่อการพัฒนาประเทศและในปีพ.ศ. 2553 นั้นมีการลดลงจำนวนของการว่างงานก็น่าจะเกิดผลกระทบน้อยลงในสังคม
 จากผลกระทบและสาเหตุของปัญหา "งานว่างคน" ที่มักจะเกิดขึ้นกับองค์กร ต่าง ๆ นั้น บางสาเหตุสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้บ้าง แต่บางสาเหตุไม่สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ามาช่วย เช่น
-การจัดทำระบบ Succession Plan องค์กรควรค้นหาดูว่ามีตำแหน่งงานใดบ้างที่เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านที่หาคนจากภายนอกมาทดแทนไม่ได้ หรือหาได้แต่ต้องใช้เวลาในการพัฒนานาน และให้หาตัวตาย ตัวแทนของคนทำงานในตำแหน่งงานนั้น ๆ อย่างน้อย 1 คน อาจจะรับคนภายนอกเข้ามาเรียนรู้งานก่อนหรือจะฝึกคนภายในที่ทำงานในตำแหน่งอื่นอยู่แล้วโดยการ โยกย้ายมาชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือต้องสร้างคนมาแทนคนปัจจุบันก่อน ส่วนจะต้องสร้างก่อนนานแค่ไหนก็ให้ถามว่า ถ้าคนปัจจุบันลาออกไป วันนี้ ต้องใช้เวลานานเท่าไรจึงจะให้คนใหม่ทำงานได้เหมือนกับคนที่เคยทำงานอยู่ นั่นคือเวลาที่ต้องสร้างคนมารองรับก่อนล่วงหน้า
- การจัดทำระบบ Skills Inventory องค์กรควรค้นหาดูว่ามีทักษะในการทำงานจุดไหน ตำแหน่งไหน เรื่องไหนบ้างที่เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ หลังจากนั้นให้ประเมินดูว่าในแต่ละทักษะมีคนจำนวนกี่คนที่มีทักษะนั้น ๆ และขณะเดียวกันให้ประเมินดูว่าคนแต่ละคนมีกี่ทักษะ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนว่าในแต่ละปีองค์กรควรจะพัฒนาทักษะของคนแต่ละคนไปในแนวไหน  เช่น คนนี้ต้องมีทักษะมากกว่า 1 ทักษะ (multi-skills) คนนี้ต้องมีทักษะในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม (skill level) เมื่อมองเห็นข้อมูลของทักษะทั้งหมดในองค์กรและเห็นจำนวนคนที่อยู่ในแต่ละทักษะแต่ละระดับนั้นมีจำนวนเท่าไร ก็ให้วางแผนต่อไปว่าองค์กรต้องการเพิ่มทักษะของคนในเรื่องใดที่น่าจะช่วยป้องกันหรือรับมือกับปัญหา "งานว่างคน" หรือ "งานล้นคน" โดยการลองสมมติเหตุการณ์ขึ้นมาดูว่าถ้างานที่ต้องใช้ทักษะนั้นทักษะนี้เพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ 2 หรือ 3 เท่า เรามีคนทำงานที่มีทักษะ นั้น ๆ เพียงพอที่จะรองรับงานที่เพิ่มขึ้นแล้วหรือยัง
-จัดทำระบบ Job Competency เป็นการกำหนดมาตรฐานของความรู้และทักษะในงานของแต่ละตำแหน่งงาน เพื่อนำไปใช้ในการประเมินว่าคนทำงานแต่ละคนมีความรู้ทักษะในงาน ต่ำกว่า เท่ากับ หรือสูงกว่ามาตรฐาน และนำผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนพัฒนาความรู้ทักษะเป็นรายบุคคล (individual development plan) ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหา "งานว่างคน" เนื่องจากคนทำงานมีความรู้ความสามารถต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
-การสรรหาแบบ Proactive Recruitment องค์กรควรจะทบทวนระบบการสรรหาเสียใหม่ โดยการวิเคราะห์ดูว่าตำแหน่งงานไหนบ้างที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการสรรหา ตำแหน่งไหนบ้างที่หายาก แล้วนำมาจัดทำแผนการสรรหาเชิงรุก เช่น การลดเวลาในการสรรหาโดยการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรไว้ล่วงหน้า รายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะเก็บไว้ในบัญชีของผู้สมัคร ที่พร้อมจะเรียกทำงาน บางองค์กรจัดตั้งโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาเป็นของตัวเองเพื่อผลิตคนที่มีความรู้และทักษะเฉพาะ บางองค์กรมีการให้ทุนนักเรียนนักศึกษาและให้ทำงานพร้อม ๆ ไปกับการเรียน บางองค์กรก็สรรหาคนทดแทนจากบุคลากรภายใน
-สร้างองค์กรให้เป็น Flexi-Organization  องค์กรควรพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง เช่น คนทุกคนพร้อมที่จะทำงานในหน้าที่อื่นได้ (flexi-people) เครื่องจักรสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตได้หลายรูปแบบ (flexi-process) การจัดกระบวนทัพของตำแหน่งหน้าที่และหน่วยงานพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้ตลอดเวลา (flexi-job/structure) องค์กรพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเวลาทำงาน ให้เหมาะสมกับปริมาณงาน (flexi-working time)
สรุปการป้องกันไม่ให้องค์กรประสบ กับปัญหา "งานว่างคน" จำเป็นต้องวางแผนระยะยาว และนำเอาเครื่องมือ การบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องต่าง ๆ เข้ามาช่วย และต้องสามารถตอบได้ตลอดเวลาว่า ถ้างานจุดนี้ งานประเภทนี้ งานกลุ่มนั้นมากกว่าคนทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน องค์กรพร้อมรับมือแล้ว หรือยัง ถ้าตอบว่าพร้อมแล้วก็ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าตอบว่ายังไม่พร้อมนั่นคือโจทย์ ที่องค์กรต้องนำไปกำหนดแนวทางและจัดทำแผนรองรับต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตองค์กรต่าง ๆ คงจะสามารถป้องกันหรือลดการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ เสียเครดิต และเสียต้นทุนที่ไม่ควรเสียเนื่องจากปัญหา "งานว่างคน" อีกต่อไป
ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีการทดถอยและชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมาก จนทำให้ได้ยินคำว่าคนว่างงาน  คนตกงาน อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอยู่บ่อยๆ   และปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือสถานะการณ์ภัยแล้ง  หากฝนมีการทิ้งช่วงยาวนานมากก็จะส่งผลทำให้มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มสูงขึ้นอีกและปัจจุบันนี้ในเรื่องของการศึกษาก็มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมากขึ้น  และการที่ผลิตนิสิตออกมาเป็นจำนวนมากๆนั้นไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานเลย การว่างงานนั้นมีสาเหตุส่วนใหญ่มากจากความต้องการของผู้สำเร็จทางการศึกษาและการว่างงานนั้นเนื่องจากการเลือกงานคือผู้ที่สมัครจะคาดหวังกับค่าตอบแทนที่สูง แต่งานที่ได้ทำนั้นสะดวกสบายแก่ตนเองจึงทำให้เกิดการเลือกงาน    และสภาวะเศรษฐกิจในสังคมเศรษฐกิจนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของผู้ประกอบการส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานออกเป็นบางส่วนเพื่อความสมดุลในการประกอบอาชีพและ ผลกระทบของการว่างงานก็ทำให้เสียสุขภาพจิตเมื่อเกิดการว่างงานขึ้นผู้ที่เคยมีงานทำมักจะคิดฟุ้งซานเเละเกิดปัญหาเครียดตามมาจึงทำให้เสียสุขภาพจิตเเละร่างกาย  ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว ผู้ที่ว่างงานอาจจะเป็นหัวหน้าครอบครัวเเล้วเกิดการว่างงานจึงส่งผลให้รายได้ในครอบครัวที่จะเลียงครอบครัวจึงทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้นก่อให้เกิดปัญหาความยากจนก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมบุคครที่ตกงานมักหาเเนวทางเพื่อให้ตนเองมีความอยู่รอดในสังคมได้ บางส่วนก็จะหางานที่สุจริตทำเเต่บางส่วนจะจะลักเล็กขโมยน้อยเพื่อให้ตนเองอยู่รอดและอีกอย่างเป็นผลเสียต่อการพัฒนาประเทศ การว่างงานมีการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกเป็นปัญหาสังคมและเศรษฐกิจการว่างงานนั้นยังก่อให้เกิดอาชญกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฆ่าตัวตาย และถูกฆ่าเพราะบางครั้งถ้าเกิดตกงานและอยู่ในสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ค่อยดีเท่าไหร่ยิ่งจะทำให้เราเกิดความเครียด  คิดมาก   บางครั้งอาจควบคุมอารมณ์ไม่อยู่จนอาจก่อให้เกิดการฆ่าตัวตาย  อาชญากรรม และยังทำให้เกิดปัญหาความยากจนตามมาอีกด้วย   แต่เนื่องจากทางรัฐบาลก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมหรือส่งเสริมช่วยเหลือให้การสนับสนุน  จึงทำให้อัตราการว่างงานนั้นลดลง จะเห็นได้ว่าปี พ.ศ. 2553 มีจำนวนผู้ว่างงานถึง 451000 คน จึงทำให้เป็น
เรื่องที่น่าตกใจและน่าเป็นห่วงอย่างมากสำหรับจำนวนตัวเลขของคนว่างงานในประเทศไทยเรา คิดเป็นอัตราการว่างงาน1.2 % หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันมีจำนวนคนว่างานถึง 817000 คนลดลงถึง 366000 คน  ทำให้ภาวการณ์ว่างงานนั้นมีแนวโน้มดีขึ้นเพราะจำนวนคนว่างงานนั้นลดลง  สาเหตุของการว่างงานเกิดจากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการผลิตนิสิตออกมาเป็นจำนวนมากไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและการว่างงานมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความต้องการของผู้สำเร็จทางการศึกษาและความต้องการของสถานประกอบการเป็นหลักการว่างงานเนื่องจาก  ผู้สมัครจะคาดหวังกับค่าตอบแทนที่สูงและงานมีความสะดวกสบายแก่ตนจึงทำให้เกิดการเลือกงานสภาวะเศรษฐกิจในสภาพเศรษฐกิจ   ในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้เป็นสาเหตุแกผู้ที่ประกอบการส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานออกเป็นบางส่วนเพื่อให้เกิดความสมดุลในการประกอบอาชีพจึงส่งผลทำให้มีคนว่างงานเยอะมาก
การว่างงานมีการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกเป็นปัญหาสังคมและเศรษฐกิจการว่างงานนนั้นยังก่อให้เกิดอาชญกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการฆ่าตัวตาย และถูกฆ่าเพราะบางครั้งถ้าเกิดตกงานและอยู่ในสถานะการเศรษฐกิจไม่ค่อยดีเท่าไหร่ยิ่งจะทำให้เราเกิดความเครียด  คิดมาก   บางครั้งอาจควบคุมอารมณ์ไม่อยู่จนอาจก่อให้เกิดการฆ่าตัวตาย  อาชญากรรม และยังทำให้เกิดปัญหาความยากจนตามมาอีกด้วย   แต่เนื่องจากทางรัฐบาลก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมหรือส่งเสริมช่วยเหลือให้การสนับสนุน  จึงทำให้อัตราการว่างงานนั้นลดลง
ปัญหาการว่างงานจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศมากเพราะสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศก็คือประชาชน หากพื้นฐานความเป็นอยู่ของประชาชนนั้นไม่ดียังมีปัญหาการว่างงานเกิดขึ้นอยู่การพัฒนาประเทศก็จะช้าลงไปด้วย การฝึกอบรมหรือฝึกอาชีพอาจยังไม่เพียงพอเพราะประชาชนเหล่านี้ขาดเงินทุนในการประกอบอาชีพฉะนั้นรัฐต้องสร้างอาชีพและให้เงินทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของคนว่างงานให้มีอาชีพที่มั่นคงและจะไม่เป็นปัญหาของสังคมต่อไป   จะเห็นได้ว่าปัญหาคนว่างงานในปี พ.ศ. 2550-22552  นั้นมีจำนวนคนว่างงานที่เพิ่มขึ้น  แต่พอถึงปี พ.ศ. 2553 นั้นมีแนวโน้มจำนวนของคนว่างงานนั้นลดลงเป็นจำนวนมาก  ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและในแต่ละปีนั้นก็มีคนว่างงานในจำนวนที่ไม่เท่ากัน  แต่ภาคใต้จะเป็นภาคที่มีคนว่างงานน้อยที่สุด รองลงมาคือภาคกลางและภาคที่มีคนว่างงานมากที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในปี พ.ศ.2553  นั้นมีจำนวนผู้ว่างงานลดลงจากปี พ.ศ. 2550-2552 แต่ถ้าเทียบกัน 3ภาคแล้ว  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ยังมีจำนวนคนว่างงานเยอะเป็นอันดับหนึ่งเหมือนเดิม รองลงมาคือภาคกลางและลำดับสุดท้ายคือภาคใต้  และในปี พ.ศ. 2553 ในแต่ละเดือนนั้นมีคนว่างงานมากที่สุดคือเดือนพฤษภาคมรองลงมาคือเดือนมกราคมและเดือนที่มีคนว่างงานน้อยที่สุดคือเดือนสิงหาคมจะเห็นได้ว่าจำนวนคนว่างงานนั้นมีจำนวนลดลง ถึงแม้ว่าตัวเลขจะลดลงก็ตามแต่บางครั้งถ้านานๆเราไม่ได้สนใจปัญหาคนว่างงานนั้นก็อาจจะเกิดขึ้นมาอีกก็ได้
ในเวลานี้ปัญหาใหญ่ประการหนึ่งที่ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกต้องเผชิญ คือ การว่างงานในกลุ่มวัยรุ่น โดยนับตั้งแต่เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับวิกฤติทางการเงินในปี 25512552 อัตราการว่างงานของคนหนุ่มสาวในระดับโลกเพิ่มขึ้นสูงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์และปัจจุบันการหางานที่ดีให้กับนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่และกำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานเป็นครั้งแรกยังคงเป็นเรื่องยากในหลายประเทศ
          คนหนุ่มสาวในประเทศพัฒนาแล้วที่ร่ำรวยได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นเวลานานและการปรับลดงบประมาณเพื่อลดการขาดดุลและแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในประเทศ เช่น กรีซ ที่ซึ่งอัตราการว่างงานของคนหนุ่มสาวนั้นสูงกว่าร้อยละ 51
ข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือไอแอลโอระบุว่าในปี 2555 นี้จะมีวัยรุ่นอายุ 15-24 ปีว่างงาน ราว 75 ล้านคน หรือราวร้อยละ 12.7 ของวัยรุ่นทั่วโลก สูงขึ้นจากร้อยละ 12.6 ในปี 2554 และที่สำคัญยังไม่มีท่าทีว่าสถานการณ์อัตราวัยรุ่นว่างงานจะลดลงได้ก่อนปี 2559 อีกด้วยยิ่งวัยรุ่นเหล่านี้ตกงานนานเท่าไร ผลกระทบก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นสำหรับเศรษฐกิจโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจาก แทนที่เราจะสร้างกำลังแรงงานที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่กลายเป็นว่าเราสร้างแรงงานที่ไม่มีความสุขและไม่มีทักษะเพียงพอที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในทศวรรษหน้าที่จะมาถึงนอกจากนี้ในประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เช่น ในยุโรปและญี่ปุ่น การว่างงานในกลุ่มวัยรุ่นเป็นการสร้างภาระทางด้านการเงินต่อระบบสุขภาพและระบบบำเหน็จบำนาญในกลุ่มผู้ที่เกษียณแก่รัฐเป็นอย่างมาก เนื่องจากรัฐจะมีรายได้ภาษีน้อยลงจากจำนวนแรงงานที่น้อย แต่ต้องจัดสรรเงินช่วยเหลือสำหรับผู้เกษียณอายุที่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ประเทศเสี่ยงจะเป็นหนี้สาธารณะมากขึ้น เป็นต้นปัญหาร้ายแรงอีกประการหนึ่งที่เกิดจากการว่างงานของกลุ่มวัยรุ่น คือ พวกเขาเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะก่ออาชญากรรมและเหตุรุนแรง ซึ่งเราได้เห็นแล้ว เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในลอนดอนและหลายเมืองในสหราชอาณาจักร รวมทั้งอาหรับสปริงหรือการลุกขึ้นประท้วงที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองในหลายประเทศในตะวันออกกลาง (ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่คนหนุ่มสาวว่างงานสูงที่สุดในโลกถึงร้อยละ 25) เป็นต้น
สาเหตุที่ทำให้การว่างงานของวัยรุ่นหนุ่มสาวในโลกสูงนั้นเป็นเพราะโดยปรกติแรงงานวัยรุ่นมีแนวโน้มสูงอยู่แล้วที่จะถูกไล่ออกก่อนกลุ่มอื่นในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากหลากหลายปัจจัย เช่น กฎระเบียบในตลาดแรงงานของหลายประเทศในยุโรป มีการปกป้องแรงงานสูงมาก การไล่คนงานออกทำได้ยาก ซับซ้อนและมีต้นทุนสูง นายจ้างจึงจ้างแรงงานใหม่เพิ่มน้อยสำหรับในประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีอัตราการเกิดสูงและมีประชากรอายุน้อยเป็นจำนวนมากอย่างเช่นฟิลิปปินส์ การว่างงานของวัยรุ่นนั้นสูง เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำ ไม่เพียงพอที่จะดูดซับแรงงานรุ่นใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในแต่ละปีได้
นอกจากนี้ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญนั่นคือ การที่สถานศึกษาไม่ได้เตรียมผู้เรียนเหล่านี้ให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งนักเรียนอาจเลือกเรียนวิชาที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เนื่องจากความชอบส่วนตัวหรืออาจเป็นผลมาจากการที่โครงสร้างของระบบการศึกษานั้นบังคับให้นักเรียนหัวกะทิไหลไปรวมกันอยู่ในบางสาขาเท่านั้น
รัฐบาลในหลายประเทศพยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยหลายวิธีการ เช่น รัฐบาลอังกฤษให้เงินอุดหนุนบริษัทต่างๆ เพื่อจ้างงานแก่เยาวชนที่ว่างงาน หรือในเยอรมันและสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งอัตราการว่างงานในกลุ่มเยาวชนต่ำกว่าหลายประเทศในยุโรป รัฐบาลพยายามลดช่องว่างทางทักษะระหว่างสิ่งที่นักเรียนถูกฝึกมาให้ทำกับสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องการโดยการจัดโครงการฝึกงาน โดยให้นักเรียนใช้เวลาในห้องเรียนและในการทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้ซึมซับเอาทักษะที่จำเป็นในการทำงานติดตัวมา ซึ่งภายหลังนักเรียนเหล่านี้อาจถูกจ้างโดยบริษัทที่พวกเขาไปฝึกงานนั่นเอง
นอกจากนี้ในบางประเทศยังมีการเสนอให้แก้ไขกฎระเบียบด้านแรงงาน ลดการปกป้องแรงงานลง เพื่อให้การจ้างงานและการไล่คนงานออกง่ายขึ้นและต้นทุนถูกลง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการกระตุ้นความเป็นผู้ประกอบการในคนหนุ่มสาว และสนับสนุนเรื่องเงินทุน เพื่อให้ริเริ่มกิจการของตนเองและทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามการที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัว ทำให้การแก้ไขปัญหานี้ในหลายประเทศทำได้ยาก เนื่องจากการสร้างงานใหม่เกิดขึ้นไม่มากนัก
สำหรับประเทศไทยนั้น ยังดีที่การว่างงานในกลุ่มวัยรุ่นอาจยังไม่เป็นปัญหามากนักในเวลานี้ เพราะอัตราว่างงานของกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวอายุ 1524 ปีของไทยจากการสำรวจล่าสุดเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ขณะที่ในปี 2554 อยู่ในช่วงร้อยละ 1.53.8 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหลายประเทศแต่ที่เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทยมากกว่าคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือจำนวนมาก ซึ่งสำนักข่าวรอยเตอร์เคยอ้างคำพูดของซีอีโอชาวอเมริกันว่าการหาคนงานซึ่งอยู่ในวัยหนุ่มสาว มีความสามารถรอบตัว มีทักษะสูงและสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เป็นการง่ายกว่ามากถ้าหาในสิงคโปร์ ไต้หวัน และจีน เมื่อเทียบกับประเทศไทย ซึ่งในอนาคตหากประเทศไทยไม่ปฏิรูปและไม่พัฒนาฝีมือแรงงานจะทำให้หมดเสน่ห์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในที่สุดทั้งปัญหาการว่างงานของกลุ่มวัยรุ่นและปัญหาการขาดแคลนฝีมือแรงงานอาจแก้ไขได้ยากพอกัน แต่ว่าหนทางในการแก้ไขปัญหานั้นมีอยู่ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลนั้นเอาจริงเอาจังในการแก้ไขปัญหามากน้อยเพียงใดและเห็นแก่ความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างแท้จริงหรือไม่
จากระยะเวลายาวนานที่ผ่านมาหลายปี บทสรุปหลายอย่าง ได้ทำให้เราเห็นว่าปัญหาคนตกงานก็ยังคงเพิ่มขึ้นนักศึกษาจบใหม่ก็ตกงานเพิ่มมากขึ้น จนถึงปี 2555 นี้ก็ยังคงไม่มีอะไรดีขึ้นมาเลย ? เพราะอะไรหรือ ทางบริษัทส่วนใหญ่จะเรื่องมากเรื่องการรับคนมากจนเกินเหตุ เช่นต้องมีประสบการณ์การทำงานที่มากเกินไปต้องมีบุคคลคำประกัน อันนี้ปัญหายอดฮิตของใครหลายๆคนที่กำลังหางานที่เกี่ยวกับการขาย การเงิน บางบริษัทถึงกับตั้งกฎว่า ผู้ค้ำประกันต้องมีเงินเดือนอย่างน้อย 25000 บาทขึ้นไป บางคนได้พยายามไปหาญาติพี่น้องที่มีงานดีๆทำ บางคนเงินเดือนก็ไม่ถึงเขาก็ไม่ให้ บางคนรวยล้นฟ้าเงินเดือนมากกว่า 25000 ก็ไม่คิดจะค้ำให้  ทำให้ใครหลายๆคนในประเทศต้องตกงานเพราะสาเหตุนี้เป็นจำนวนมาก แถมมีพวกเกรียนๆที่ไปทำงานแล้วเป็นพวกขโมย  หรือพวกคอรัปชั่น จนเป็นข่าวครึกโครม จนหลายบริษัทต้องตั้งกฏใหม่คือ ต้องมีบุคคลค้ำประกัน ทีนี้พอข่าวถึงหูประชาชน ก็ไม่มีใครกล้าค้ำประกันให้ เพราะเริ่มกลัวกันว่าต้องมานั่งรับผิดชอบ ต้องมาเป็นหนี้ แล้วคนที่เดือนร้อนที่สุดคือคนที่กำลังหางานเลี้ยงชีพ เลี้ยงครอบครัว ทั้งหมดนี้เหตุเกิดเพราะ บุคลิกไม่ผ่าน อ้าวซวยแล้วตู เกิดมาหน้าตาแบบนี้มันแก้ลำบากแล้วซิวะ กิริยา ความประพฤติ ไม่ผ่านงานนี้เข้ายาก เป็นบางแห่ง ที่ต้องใช้พนักงานที่มี กิริยา ความประพฤติ และบุคลิก ที่ดี ส่วนใหญ่มักเป็นงานที่อยู่ในระดับดีพอตัว คนอยากได้งานดีๆ ถ้าไม่มีบุคคลค้ำประกันก็ตกงาน ทำให้บริษัทไม่ได้คนที่เก่งกาจเข้าทำงาน คนเก่งๆในสายงานที่ชำนาน ตกงานเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจไม่เจริญ บริษัทเจริญเติบโตช้าลงอย่างมาก เนื่องจากลำบากกับการหาคนค้ำประกัน
ปัญหาการว่างงานมันมีในทุกๆประเทศ ซึ่งจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับ สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆ ถ้าจะนับเฉพาะ ปริญญาตรีเมืองไทย ก็ยังมีผู้ว่างงานเป็นหลายแสนคน จากการสำรวจ แล้วอีกจำนวนเท่าไหร่ที่ตกสำรวจไป ส่วนพวกที่ได้งานทำก็ได้งานไม่ตรงกับวุฒิที่เรียนมา แล้วองค์กรต่างๆก็มักจะมองคนที่เกรด มองคนที่สถาบัน เท่านั้น แล้วก็ใช้มาตรฐานความพอใจในการรับคนเข้าทำงานมากกว่าความตั้งใจ แล้วการสอนงานนั้นมันก็ไม่มีแล้ว ด้วยเหตุนี้เอง มันก็เลยทำให้ปัญหาการว่างงานยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถึงแม้การได้งานจะยิ่งยากขึ้น แต่ก็จะมีคนบางกลุ่มที่ได้งาน เพราะสาเหตุอื่น ทั้งระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง คนรู้จักแนะนำ รู้จักกับเจ้าของซึ่งก็มักจะได้ค่าจ้างที่มากกว่าคนที่หาและสมัครเองซะอีก ส่วนพวกที่พอมีฐานะ มีกิจการก็อาจจะไม่ต้องกังวลอะไรนัก แล้วก็ ไม่ต้องไปให้เขากดขี่ แต่หากไม่รักษาจนมันมลายหายไปถือว่าเสียหายอย่างมาก เพราะการเริ่มต้นอะไรตอนนี้มันยากจนแทบเป็นไปไม่ได้
นอกจากนี้แล้วอีกสาเหตุ สำคัญที่ทำให้ปัญหาการว่างงานเพิ่มมากขึ้น ก็คือ ระบบการศึกษา มักจะเปิดหลักสูตรต่างๆ โดยไม่ได้ตรงกับความต้องการของแรงงาน "เปิดไปเพื่อผลประโยชน์แก่ตนเองเท่านั้น "มันก็เลยทำให้ไม่ค่อยมีลู่ทางที่จะไปต่อ ยกเว้นพวกที่พอมีฐานะมีต้นทุนชีวิตดีก็สามารถไปเรียนต่อ หรือ เรียนอีกใบ เพื่อเพิ่มลู่ทาง ทางเลือกให้กับตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่า "มันไม่ได้เรียนกันฟรีๆ" แล้วก็ต้องมีเวลาไปเรียนด้วย ซึ่งพวกที่พอมีฐานะอยู่บ้าง คงจะไม่รุ้สึกลำบากอะไรกับตรงนี้ ส่วนพวกที่ไม่มี การแสวงหาโอกาส จึงต้องอาศัยความอดทนและพยายามอย่างมาก และสำเร็จยากกว่า ก็เท่านั้น ตรงนี้จะเห็นได้ว่า ในเมื่อสภาพ การจ้างต่างๆมันช่างเอาแน่นอนไม่ได้ จะมัวแต่หวังกับการเป็นลูกจ้าง มันคงจะไม่ได้แล้ว แต่สิ่งที่จะต้องพยายามต่อไปก็คือ พยายามหาความรู้ เพิ่มเติม เพื่อที่จะให้สิ่งเหล่านั้น มันพอจะเป็นลู่ทางให้กับตัวเองได้ต่อไป โดยพยายามอ่านหนังสือ บทความต่างๆอยู่เรื่อยๆ ไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเงินเรียน หรือ อบรมหลักสูตรเป็นหมื่นๆ
                ดังนั้นก็ไม่ควรที่จะมองข้ามในเรื่องของการทำงานและบางครั้งก็ควรที่จะมีการกระตุ้นตัวเองให้ตื่นตัวอยู่ตลอด    เพราะถ้าหากคุณยิ่งเฉยและไม่สู้กับงานรอให้งานเข้ามาหาเอง  ถ้าคุณทำแบบนี้คุณก็จะเป็นคนว่างงาน  ตกงาน  หรือไม่มีงานทำก็ได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น