วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เปิด AEC (ASEAN Economic Community) เปิดปัญหาสังคมไทย นายสาธิต ลำเพ็ญ รหัสนิสิต 53242667


นายสาธิต  ลำเพ็ญ 53242667
สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์

บทความวิชาการ วิชา 830329 ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
เรื่อง  เปิด AEC (ASEAN Economic Community)  เปิดปัญหาสังคมไทย

             AEC เกี่ยวข้องกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียน ซึ่งครอบคลุมการเปิดเสรีและอานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายทุน, การเคลื่อนย้ายแรงงาน, การปรับพิธีการศุลกากร, การกำหนดมาตรฐานสินค้าและนโยบายเศรษฐกิจให้สอดคล้องกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งการรวมตัวเป็น AEC นั้นจะทาให้อาเซียนน่าสนใจขึ้น ด้วยตลาดที่ใหญ่กว่า EU ในแง่ของประชากร ทาให้อาเซียนสามารถมีบทบาทที่โดดเด่นขึ้นในเศรษฐกิจโลก  ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศสมาชิกกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งปัจจุบันพบว่า สังคมไทยได้ให้ความสำคัญกับกระแสการเข้าสู่การเป็น AEC จำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกัน จากกระแสดังกล่าว ยังคงพบว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวอยู่มากเช่นกัน  
               ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจข้อเท็จจริงกับ AEC (ASEAN Economic Community) จากงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 เรื่อง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: มายาคติ ความเป็นจริง โอกาส และความท้าทาย” โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ จึงได้ถูกจัดขึ้นเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง ที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน ตลอดจนนำเสนอบทวิเคราะห์เกี่ยวกับโอกาส และความท้าทายของประเทศไทย ในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าว ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู และคณะ ได้มีการพูดถึง และมีการนำเสนอความเป็นจริงเพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ที่ได้มีการพูดถึงในบทความนี้มี 4 ข้อคือ
1. ในปี 2558 ประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนข้อเท็จจริงคือ ในปี 2558 จะยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ต่อประเทศไทย เนื่องจากการเปิดเสรีการค้าสินค้าในปัจจุบันมีการลดภาษีศุลกากรให้เป็น 0% (เริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 ตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน AFTA-CEPT) ไปแล้วถึง 99.5% ซึ่งถือว่าเสร็จสิ้นเกือบสมบูรณ์แล้ว เมื่อเกิด AEC ในปี 2558 จึงแทบไม่มีการเปลี่ยนปลงในเรื่องนี้และเรื่องการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุนยังคงไม่มีความคืบหน้ามาก เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านกฎหมายภายในประเทศของไทย
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานทุกประเภทโดยเสรี

ข้อเท็จจริงคือ จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเกี่ยวข้องเฉพาะวิชาชีพ 8 สาขา ภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วมกัน (MRAs) เท่านั้น ในข้อตกลงระบุว่า แรงงานจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักวิชาชีพอาเซียน และผู้ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ จะต้องผ่านการสอบความรู้และมาตรฐานวิชาชีพที่เป็นภาษาไทย ทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยจึงยังไม่เกิดขึ้นทันที ขณะที่การจดทะเบียนวิศวกรอาเซียนกลับพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีวิศวกรคนใดเลยที่ไปจดทะเบียนเป็นวิศวกรอาเซียนตามข้อตกลง

3. AEC จะทำให้นักลงทุนอาเซียนสามารถลงทุนในธุรกิจบริการได้อย่างเสรี โดยไม่มีข้อจำกัด ตั้งแต่ปี 2558 ข้อเท็จจริงคือ ในปี 2558 ชาติอาเซียนจะถือหุ้นในธุรกิจบริการได้อย่างน้อย 70% โดยการเปิดเสรีขึ้นกับกฎหมายภายในประเทศ ซึ่งพบข้อเท็จจริงว่า ไม่มีข้อกำหนดของ AEC ที่บังคับให้สมาชิกประชาคมต้องแก้กฎหมายให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในธุรกิจได้ 100% ส่งผลให้กรอบการเปิดเสรีภาคบริการภายใต้ AEC ซึ่งเป็นไปตามความสมัครใจของประเทศสมาชิกยังมีความคืบหน้าไม่มากนัก สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 49 ในธุรกิจบริการ ดังนั้น การเปิดเสรีภาคบริการของไทยภายใต้ AEC จึงอยู่ในระดับที่จำกัดมาก
4. การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนคล้ายกับสหภาพยุโรป (European Union: EU) จึงก่อให้เกิดความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน
ข้อเท็จจริงคือ ระดับการบูรณาการทางเศรษฐกิจของ AEC แตกต่างจากสหภาพยุโรปมาก เพราะสหภาพยุโรปเป็น Economic Union ซึ่งมีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจเหนือรัฐ แต่ประชาคมอาเซียนเป็น Free Trade Area ที่มีการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานเสรีจำกัดมาก โดยแต่ละประเทศยังคงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย การตัดสินใจดำเนินการใดๆ ของอาเซียนจึงต้องได้รับความยินยอมจากประเทศสมาชิกทั้งหมด ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินนโยบายต่างๆ ร่วมกัน
ความเข้าใจผิดต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ และทำให้เกิดการเสียโอกาส ในบทความนี้จึงได้นำเสนอ ภาพ “ความเป็นจริง” (reality) เกี่ยวกับการรวมกลุ่ม AEC แม้ว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะยังไม่บรรลุเป้าหมายการเป็นตลาดเดียวอย่างแท้จริงในปี 2558 ตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป แต่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนในความเป็นจริงได้เกิดขึ้นแล้ว ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงาน
ด้านการค้า พบว่าการลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศอาเซียนเดิมส่วนใหญ่ลดลงเหลือร้อยละ 0 แล้ว โดยมูลค่าการค้าของไทยกับประเทศกลุ่มอาเซียนมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะสัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ที่เพิ่มสูงกว่ามากด้านการลงทุน พบว่าในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ธุรกิจไทยไปลงทุนในอาเซียนมากกว่าที่อาเซียนมาลงทุนในไทย โดยมุ่งไปที่กลุ่มพลังงาน สาธารณูปโภค วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ ซึ่งการลงทุนของไทยในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยอาเซียนถือเป็นแหล่งทุนโดยตรงที่สำคัญของไทย และอาเซียนเป็นผู้ลงทุนโดยตรงอันดับต้นๆ ของไทยรองจากญี่ปุ่น
            ด้านแรงงาน
พบว่าในปี 2553 มีแรงงานต่างด้าวในไทยที่ได้รับอนุญาตมากกว่า 1.35 ล้านคน และในจำนวนนี้กว่า 1.18 ล้านคน มาจากอาเซียน โดยส่วนใหญ่มาจากกัมพูชา ลาว และพม่า ในจำนวนนี้มีแรงงานจากกัมพูชา ลาว และพม่า ที่ทำงานกรรมกรและงานรับใช้ในบ้านในประเทศไทยกว่า 1.14 ล้านคน
จากความจริงที่พบจึงสรุปได้ว่า ในความเป็นจริง เศรษฐกิจไทยได้ผนวกเข้ากับเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศ CLMV ทั้งในด้านการค้าระหว่างประเทศ การลงทุนโดยตรง และการเคลื่อนย้ายแรงงานไร้ฝีมือ ทำให้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้รับประโยชน์สูง และยังคงมีโอกาสต่อประเทศไทยอีกมากในอนาคต

               เปิด AEC (ASEAN Economic Community)   เปิดปัญหาสังคมไทย
จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น คงจะเห็นแล้วว่าการเปิด AEC มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชนคนไทยอย่างแน่นอน ดังนั้น การเปิด AEC ก็เป็นการเปิดปัญหาสังคมไทย  
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นกระแสที่พูดถึงกันเยอะที่สุดในช่วงนี้ก็ว่า โดยเฉพาะประเทศไทย มีการรณรงค์ จัดกิจกรรมส่งเสริมทั้งภาครัฐและเอกชน และองค์กรสื่อต่างๆ ซึ่งก็ทำให้ประชากรส่วนหนึ่งตระหนักถึงปัญหาที่จะตาม แต่ประชาชยกรอีกส่วนหนึ่งไม่ได้ตระหนักกลับปัญหาที่จะตามโดยที่ไม่รู้ตัว  หลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี จนลืมมองถึงปัญหากับศักยภาพที่เราต้องแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา ทรัพยากร เทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง และอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถสร้างโอกาสและข้อได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งขอยกตัวอย่างประเด็นที่น่าประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งคือ ด้านแรงงาน ที่หลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วง และมีการตั้งคาถามว่า การเปิดเสรีด้านการค้าที่จะทาให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมืออย่างเสรีในระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศอย่างแน่นอนซึ่งมีทั้งแง่บวกและแง่ลบ
             ในแง่บวกของ AEC จะทำให้ตลาดแรงงานมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้มีสถานที่ทางานให้เลือกมากขึ้น อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะได้รับค่าแรงที่สูงขึ้น ถ้าแรงงานนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนั้นทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศภาคีสมาชิกในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้อยู่บนมาตรฐานเดียวกันเพราะฉะนั้นเท่ากับว่า จะเป็นโอกาสให้กับแรงงานเหล่านี้จะได้รับการพัฒนามากขึ้น และสามารถอยู่ในประเทศใดก็ได้ ภายใต้ระเบียบกฎหมายและมาตรฐานแบบเดียวกัน สรุปว่าเงินเพิ่ม เรียนรู้เพิ่ม โอกาสเพิ่ม นั่นเป็นข้อได้เปรียบ เมื่อมองในข้อเสียเปรียบ ประเด็นแรกคือ แรงงานจะไหลบ่า ทะลักเข้ามาอย่างยากที่จะห้ามได้ซึ่งเป็นที่คาดหมายของหลายฝ่ายหากเปิดเสรีแรงงานเต็มที่การเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะทั้งในด้านที่มีฝีมือแรงงานที่ดีแล้วยังมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษที่ดีด้วยอาทิ สถาปนิกและวิศวกรเข้าไปยังประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมากขึ้น และหากมีการขยายกรอบเป็นอาเซียนบวก 3 อาเซียนบวก 6 บุคลากรในภาคต่าง ๆ เช่น ภาคการเงิน ธนาคารและไอที ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าจะมีแรงงานจากต่างประเทศเคลื่อนย้ายเข้ามาเมืองไทยมากขึ้นและ ที่สำคัญก็คือ การเข้ามาแย่งแรงงาน ไทยมากขึ้น ทาให้ค่าจ้างแรงงานไทยอาจถูกลง 
จากการศึกษาของรายงานฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการวิเคราะห์เรื่องการแข่งขันด้านแรงงานในกรณีการเปิดเสรีการค้าพบว่า ประเทศไทยยังขาดการเตรียมการด้านแรงงานอย่างจริงจังในการที่จะรองรับการเปิดเสรีการค้ารายงานนี้ได้ทาการศึกษาในกลุ่มบริการวิชาชีพใน 6 สาขา ได้แก่ ทันตแพทย์ แพทย์ พยาบาล นักบัญชี วิศวกรและสถาปนิก พบว่ากลุ่มวิชาชีพทันตแพทย์ พยาบาล และวิศวกรวิชาชีพเหล่านี้ยังมองไม่เห็นประโยชน์ของการเปิดเสรีอาเซียน แต่กลับจะมีแรงงานวิชาชีพจากต่างชาติเข้ามาทางานในไทยมากขึ้น ผลการวิเคราะห์ยังได้รายงานต่ออีกว่ากลุ่มอาชีพที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ทันตแพทย์ และพยาบาลเนื่องจากจะมีทันตแพทย์สัญชาติจากยุโรปโอนสัญชาติเป็นสิงคโปร์ และมีพยาบาลจากฟิลิปปินส์เข้ามาใช้สิทธิเข้ามาประกอบวิชาชีพจานวนมาก ถึงแม้แต่ละวิชาชีพของไทยอยู่ในระดับกลุ่มที่มีศักยภาพในอาเซียนก็ตามแต่ไทยยังมีความเสียเปรียบด้านภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก จากผลการสำรวจคะแนนสอบวัดภาษาอังกฤษ TOEFL ปรากฏว่า คนไทยอยู่ลำดับสุดท้ายในอาเซียน 
            ดังนั้น ผลการวิเคราะห์นี้น่าจะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่ภาครัฐที่ควรเร่งรีบให้กลุ่มวิชาชีพเหล่านี้ได้มีความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งประโยชน์ และผลกระทบที่มีต่อแต่ละวิชาชีพให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนที่จะทาการตกลงเปิดเสรีแรงงานอาเซียน การเตรียมการรองรับสถานการณ์ดังกล่าวควรเตรียมการทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยระยะสั้นควรให้มีการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ส่วนในระยะยาวควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรในระดับมัธยม และมหาวิทยาลัยเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาที่จะให้เกิดความสอดคล้อง และทันต่อการเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการพัฒนาทักษะด้านฝีมือให้สามารถรองรับกับภาคการผลิต และทักษะภาษาต่างประเทศ ที่สำคัญอีกประเด็นคือ รัฐบาลควรจัดตั้งสานักงานแรงงานไทยในประเทศอาเซียนด้วยเพื่อช่วยเหลือกลุ่มอาชีพที่โยกย้ายไปให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และถูกต้องตามกฎระเบียบที่ตั้งขึ้นของประเทศนั้นๆ
           ในส่วนสุดท้ายของบทความ ที่ได้พูดถึงความท้าทายของสังคมไทยว่า จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยได้ประโยชน์สูงสุดจากโอกาสที่มากับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่เกิดขึ้น โดยระบุถึงความท้าทาย 3 ข้อ คือ
1. การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ สร้างสมดุลระหว่างภาคส่งออกและภาคบริการ และเพิ่มผลิตภาพของภาคการผลิต
2. การปฏิรูปกฎระเบียบและการดำเนินการของรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การปรับทัศนคติของธุรกิจ ประชาชน และภาครัฐ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ในบทความจึงได้เสนอประเด็นที่ไทยควรตระหนัก คือ การได้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มในภูมิภาคไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ต้องอาศัยการกำหนดนโยบายและมาตรการของภาครัฐ และการดำเนินการของธุรกิจที่เหมาะสม โดยภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ ในประเทศไทย ควรมีท่าทีและแนวทางดำเนินการ ควรมีท่าทีและแนวทางดำเนินการใน 3 ด้าน คือ

1. การปฏิรูปเชิงโครงสร้างและกฎระเบียบ (structural and regulatory reform) ที่รัฐควรจะให้มีการเปิดเสรีการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยลดอุปสรรคการค้าจากมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร (NTM) การผ่อนคลายกฎแหล่งกำเนิดสินค้า เปิดเสรีการค้าบริการสำหรับธุรกิจที่ยังผูกขาด มีการอำนวยความสะดวกทางการค้า (trade facilitation) การปรับปรุงพิธีการศุลกากรให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบชำระเงิน มีการอำนวยความสะดวกทางการลงทุน (investment facilitation) ปรับปรุงการคืนภาษีให้ดีขึ้น การสนับสนุนให้มีทุนเพียงพอกับธุรกิจไทยในการลงทุนในต่างประเทศ การจัดตั้งหน่วยงาน one-stop service ให้ข้อมูลคำปรึกษาอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจเพื่อการลงทุน และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงาน

2. การกระจายประโยชน์จากการรวมกลุ่มในภูมิภาคอย่างเป็นธรรม ที่ไทยควรให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศเพื่อนบ้านในด้านโครงสร้างพื้นฐานและสังคม เช่น ถนน การศึกษา การสาธารณสุข และควรคุ้มครองแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยอย่างเป็นธรรม ควรส่งเสริมให้เกิดการลงทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศเพื่อนบ้าน และควรร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาข้ามพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด การค้ามนุษย์
3. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและประชาชนไทยมีความเป็นสากลมากขึ้น คนไทยควรปรับเลิกทัศนคติที่ว่าเพื่อนบ้านเป็นศัตรูตามประวัติศาสตร์ และความเชื่อที่ว่าคนไทยเหนือกว่า ขณะเดียวกัน คนไทยควรปรับระดับการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนให้ดีกว่าปัจจุบัน ทั้งนี้ จากการสำรวจคะแนนสอบวัดภาษาอังกฤษ TOEFL ปรากฏว่า คนไทยอยู่ลำดับสุดท้ายในอาเซียน และควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมอาเซียนด้วย
ดังนั้น ความท้าทายที่แท้จริงของการรวมกลุ่มในภูมิภาคก็คือ การที่ภาครัฐจะต้องเอาชนะกลุ่มผลประโยชน์ในภาคธุรกิจบางส่วน ที่ได้ประโยชน์จากการผูกขาดในสาขาบริการ และระบบราชการบางส่วนที่ได้รับประโยชน์จากความไม่โปร่งใสในระบบศุลกากร การตรวจสินค้าผ่านแดน และการบังคับใช้กฎหมายต่อแรงงานต่างด้าว ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และการที่ผู้ประกอบการและประชาชนไทยจะต้องปรับทัศนคติต่อประเทศเพื่อนบ้านให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การพัฒนาด้านภาษาและภาษาอาเซียน เพื่อที่เราจะก้าวเดินอย่างมั่งคงในเส้นทาง AEC และเชื่อศักยภาพของคนไทยเมื่อได้รับการพัฒนาแล้วไม่แพ้พ้ชาติใดอย่างแน่นอน

อ้างอิง
http://www.cdcthailand.com





1 ความคิดเห็น:

  1. งานเขียนนี้

    - อ่านแล้ว ไม่พบว่า ผู้เขียนเอง มีประเด็นอะไรที่ต้องการนําเสนอ
    - ลอกเขามาแล้ว มีเหตุและผล อะไรที่จะนําเสนอ

    ตอบลบ