วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาการเพิ่มประชากร นางสาวอัมพวรรณ รุจิมิตร 53242933


การเขียนบทความประเด็นปัญหาสังคม
รายวิชา 830329 ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา

นางสาวอัมพวรรณ   รุจิมิตร รหัสนิสิต  53242933 ชั้นปีที่ 3
คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร
……………………………………………………………………………


จากการคาดการณ์ประชากรโลกในปี 2011 ของสมาคมประชากรโลกที่ หนังสือวารสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค (National Geographic Society)  ฉบับเดือนมกราคม 2554 นำมาลงหน้าปก เป็นการเตือนว่าในปีนี้ ประชากรโลกจะมีจำนวนถึง 7,000 ล้านคน ที่หลายประเทศจะต้องไม่ละเลย และเตรียมการรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งไม่กี่ปีมานี้เราพูดถึงประชากรโลกที่ 6,000 ล้านคน ทำให้ต้องแก่งแย่งทรัพยากรกันมหาศาล  แต่ในขณะที่ปีนี้ประชากรโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เพราะที่ผ่านมาปัญหาของประชากรยังไม่ดูรุนแรงเท่ากับปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง หรือปัญหาโลกร้อนที่กล่าวถึงกันในปัจจุบัน ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ประชากรเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ในบางประเทศที่มีผู้สูงอายุปริมาณมากขึ้นต้องเป็นภาระที่รัฐบาลในหลายประเทศประสบปัญหาในการให้บริการทางสุขภาพ ความเป็นอยู่ของประชากรสูงวัยเหล่านั้นด้วยต้องใช้งบประมาณอีกมหาศาลในการดูแลเป็นภาระของประชากรวัยทำงานที่ต้องแบกภาระอีกทางหนึ่ง  อย่างไรก็ตามความต้องการอาหาร ทรัพยากรที่มีมากขึ้น กระทบต่อสิ่งมีชีวิต สภาพแวดล้อมของโลกใบนี้อย่างมาก ตั้งแต่ทรัพยากรที่ดินแหล่งเพาะปลูก ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า พืชพรรณธรรมชาติต่างถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ทรัพยากร ของประชากรโลก มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การพัฒนาเมืองจึงไม่เพียงแต่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ยังมีการขยายเมืองในพื้นที่รอบนอกอย่างมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจที่สัตว์ป่าพืชพรรณตามธรรมชาติจะสูญพันธุ์เร็วขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์  จากสภาพที่เปลี่ยนแปลงจากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ที่กล่าวมาแล้วผลจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด


จากจำนวนสถิติของประชากรทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ภายในศตวรรษหน้าประชากรจะเพิ่มขึ้นอีกราว ๑ พันล้าน (ขณะนี้ทั่วโลกมีประชากรประมาณ ๕.๕ พันล้าน) และกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนที่เพิ่มขึ้น จะแออัดอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศแถบเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา    องค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดให้วันที่ ๑๑ กรกฎาคมเป็นวันประชากรโลก โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชากรของโลกเป็นผู้รับผิดชอบ ได้แก่ กองทุนเพื่อกิจกรรมประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Fund for Population Activities)  หรือชื่อย่อว่า UNFPA ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์ก  เมื่อกล่าวถึง ประชากร มักจะมองเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา(Dynamic  สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มประชากรโลก และสถานการณ์ของประชากรไทย  ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 3,000 ล้านคน ในปี 2504 เป็น 4,000 ล้านคน ในปี 2518 และเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนครบ 5,000 ล้านคน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2530 (องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันประชากรโลก")จากนั้นประชากรโลกก็เพิ่มเป็น 6,000 ล้านคน ในปี 2542 และจากการคาดประมาณ พบว่า ในเดือนกรกฎาคม 2546 นี้ โลกจะมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 6,300 ล้านคน  เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของประชากรโลก จะเห็นว่าประเทศจีนและอินเดียเพียง ประเทศเท่านั้น ก็มีประชากรประมาณ ใน ของประชากรโลกแล้ว ที่น่าสนใจคือประเทศที่มีประชากรมากส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชีย หรือประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียและประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก

ประเทศที่มีขนาดของประชากรใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ.2545

อันดับที่
ประเทศ
ประชากร (ล้านคน)
1
จีน
1,281
2
อินเดีย
1,050
3
สหรัฐอเมริกา
287
4
อินโดนีเซีย
217
5
บราซิล
174
6
รัสเซีย
144
7
ปากีสถาน
144
8
บังกลาเทศ
134
9
ไนจีเรีย
130
10
ญี่ปุ่น
127
11
เม็กซิโก
102
12
เยอรมนี
82
13
ฟิลิปปินส์
80
14
เวียดนาม
80
15
อียิปต์
71
16
เอธิโอเปีย
68
17
ตุรกี
67
18
อิหร่าน
66
19
ไทย
63
ประเทศไทยมีขนาดของประชากรประมาณ 1% ของประชากรโลกและมีการเพิ่มขึ้นของประชากรประมาณ ใน 140 ส่วน ของการเพิ่มประชากรโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าทุก นาที โลกจะมีเด็กเกิดใหม่ 140 คน ในขณะที่ประเทศไทยทุก นาที จะมีประชากรไทยเพิ่มขึ้น คน ซึ่ง คนที่เพิ่มขึ้นนี้อาจจะเป็นเด็กเกิดใหม่ หรืออาจจะเป็นการเพิ่มโดยการย้ายถิ่นเข้ามา จากต่างประเทศก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกและประชากรไทยดังกล่าวนั้น เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี
การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลกและ ประชากรไทย พ.ศ.2546
การเพิ่ม ตามธรรมชาติ ต่อ
ประชากรโลก
ประชากรไทย
(จำนวนประชากร)
(6,302,309,691)
(63,959,000)
ปี
73,447,055
529,000
เดือน
6,120,588
44,083
สัปดาห์
1,412,443
10,146
วัน
201,225
1,449
ชั่วโมง
8,384
60
นาที
140
1
สำหรับประเทศไทยนั้นมีประชากรครบ 50 ล้านคน เมื่อปี 2527 และ 60 ล้านคน ในอีก 12 ปีต่อมา (ปี2539) ต่อจากนั้นได้มีการคาดประมาณว่าจะมีประชากร 70 ล้านคน ในอีก 23 ปีข้างหน้าคือ ปี 2562 จะเห็นได้ว่าการเพิ่มขึ้น ของประชากรไทยเป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการวางแผนครอบครัว จนทำให้ปัจจุบันประชากรไทยมีอัตราเจริญพันธุ์โดยรวมลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือกล่าวได้ว่าสตรี คนจะมีบุตรน้อยกว่า คน ในขณะที่ อายุของคนไทยยืนยาวขึ้น ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต คือ ประเทศไทยจะมี ประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่รวดเร็วมากจากร้อยละ 5.7 ในปี 2527 เป็นร้อยละ 9.6 ในปี 2546 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2562 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก (0-14 ปี) จะลดลงจากร้อยละ 36.9 ในปี 2527 เหลือเพียงร้อยละ 20.0 ในปี 2562 ถ้าเป็นเช่นนี้ในอนาคตประเทศไทยน่าจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเป็นประชากรสูงอายุนี้ กำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อทุกคน 
ในสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น การบริโภค การลงทุน การออม ตลาดแรงงาน ระบบการจ่ายเบี้ยบำนาญ การเก็บภาษี การให้บริการสาธารณสุข สถาบันครอบครัว แบบแผนการอยู่อาศัย การย้ายถิ่น 
การบริโภคทรัพยากรต่างๆ ของมนุษย์ ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก มีความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพหลายชนิด ที่ส่งผลกระทบกลับมายังระบบนิเวศ เช่น ความต้องการพลังงานใช้ทรัพยากรเชื้อเพลิงปริมาณมากๆ และเกิดมลพิษทางอากาศ ส่งผลกลับมาที่พืชพรรณในพื้นที่ได้รับฝนกรด จากการสะสมตัวของไอกรดจากการผลิตพลังงานในพื้นที่ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว บนโลกใบนี้จนยากจะฟื้นฟูกลับมาดังเดิม ทำให้มนุษย์ชาติ ต้องปรับตัว บทความนี้จึงอยากจะเสนอรูปแบบการใช้ชีวิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน ขีดจำกัดความเจริญเติบโต และการแย่งชิงทรัพยากร สิ่งที่จุดประกายให้นำเสนอเรื่องนี้เพราะเกิดจากการถกเถียงความเป็นไปของโลก ที่เกิดภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มขึ้นของประชากรจนเกิดความต้องการบริโภคที่สูงขึ้น จนมีผู้กล่าวถึงขีดจำกัดความเจริญเติบโต (limit to growth) ซึ่งหมายถึงการรองรับการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแหล่งพลังงานและแร่ธาตุต่างๆ จนเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของโลกนี้ที่ส่งผลกลับสู่ประชากรโลก มีผลการศึกษาเมื่อ 40 ปีก่อนที่เริ่มขึ้นก่อนขีดจำกัดความเจริญเติบโตและการแย่งชิงทรัพยากรนักวิชาการทั่วโลกมองหาแนวทางลดปัญหาการเพิ่มประชากรโลกไว้หลายคน อาทิ
แนวคิดและทฤษฎี

โรเบิร์ตมัลธัส (Robert Multhus)  อธิบายว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วจะเป็นภัยต่อสังคม เขาจึงเสนอวิธีการควบคุมโดยธรรมชาติ คือเมื่อจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้มาตรฐานการครองชีพต่ำลงจะมีสาเหตุบั่นทอนชีวิตมนุษย์ให้สั้นลง  ได้แก่  โรคภัย  สงคราม  ทุพภิกขภัย  เป็นต้นนอกจากนี้เขายังเสนอให้งดเว้นการแต่งงานหรือเลื่อนการแต่งงานออกไปจนกว่าคู่สมรสจะอยู่ในฐานะที่เลี้ยงดูครอบครัวได้ผลงานของมัลธัส ได้ก่อให้เกิดการคัดค้านจากนักวิชาการหลายคน ที่ไม่เชื่อว่าปัญหาเรื่องนี้จะเลวร้ายอย่างที่มัลธัสได้กล่าวไว้ และไม่เชื่อว่ามัลธัสจะมีหลักฐานสนับสนุนที่ถูกต้อง 
วิลเลียมก๊อดวิน (William Godwin) กล่าวว่า มนุษย์ควรพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเพื่อผลิตอาหารเพิ่มเป็นทวีคูณ แนวคิดเมืองช้า (slowly city) คือการใช้ชีวิต ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันในเมืองที่เคยเร่งรีบตั้งแต่การกิน การนอน การทำงานให้ช้าวิลเลียมก๊อดวิน ลงไป จากการแข่งขัน แก่งแย่งกันในเรื่องต่างๆ ของชีวิต ลองหันกลับมาทบทวน และลดความเร็วในการใช้ชีวิตดูบ้าง ที่เป็นรูปธรรมได้แก่ การกินโดยการเคี้ยวอาหารให้นานขึ้น ละเอียดขึ้น การทำงานที่ใช้สติรอบคอบ การนอนที่เหมาะสมกับวัย การเดินทางที่หันมาเดินแทนการขับรถซิ่งตามท้องถนน สร้างกฎกติกาการดำเนินชีวิตอย่างช้าๆบ้าง จะทำให้เราได้ตระหนักถึงความเป็นไปในการดำเนินชีวิตและความสวยงามของการใช้ชีวิตอย่างประณีตมากขึ้น ในเมือง slow city จริงๆ มีให้เห็นอยู่มากในเมืองชนบท เมืองเกษตรกรรมต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายและดั้งเดิม ดูจะเป็นวิถีแบบไทยๆ ที่น่าสัมผัส slow city จึงไม่ใช่เมืองฝันกลางวันแต่เป็นเมืองแห่งการมีสติ และมองรอบด้านด้วยการเห็นคุณค่าของเวลาและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ร่วมกัน ข้อเสนอแนวคิดนี้จึงน่าจะเป็นการเริ่มที่ตัวเราเองก่อน ประเทศไทยได้เสนอเมืองลำพูน เป็นตัวอย่างเมืองslow city ที่เรียกว่าเมืองสบายสบายซึ่งจะเป็นตัวอย่างเมืองอื่นๆที่มีความเป็นอยู่และวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน
ชูมัคเกอร์ ชาวเยอรมัน แนวคิด small is beautiful เป็นแนวคิด ที่นำเสนอการทำงานเล็กๆ ที่ให้ความเป็นตัวตนของเราการขับเคลื่อนของธุรกิจที่มีความคล่องตัวกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
คาร์ล  มาร์กซ์  (Karl  Marx) กล่าวไว้ว่า ไม่ต้องไปกังวลกับการเพิ่มของประชากร แต่ควรจัดระบบและควบคุมให้มีการแบ่งปันที่เป็นธรรม  ก็จะแก้ปัญหาได้ 
 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ปัญหาประชากร นับเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ซึ่งมีการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งกลุ่มอายุหลักๆ ได้เป็นประชากร วัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน และวัยสูงอายุ และมีการนำเอาผลวิจัยที่ได้มาใช้ในการพัฒนา และการวางแผนการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของคน
ปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น
 การค้นคว้าทางการแพทย์
-ที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรค รวมถึงมีองค์การที่เกี่ยวกับการระบาดของโรคและวัฎจักรของการแพร่เชื้อโรค
1.ความรู้เรื่องสุขอนามัยของประชากร
-ประชากรโลกแทบทุกประเทศมีความรู้เรื่องสุขอนามัยมากขึ้นรวมทั้งมีการจัดการระบบ การวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ
2.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
-ที่ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เช่น ผู้ป่วยสามารถปรึกษาอาการกับแพทย์ ได้ทางโทรศัพท์หรือสื่อต่างๆ หรือการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ผ่านระบบโทรคมนาคมต่างๆ เป็นต้น
3.ระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
-ผู้หญิงเริ่มมีบทบาททางสังคมมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงทีมีทัศนคติต่อการแต่งงานเป็นด้านลบ ส่งผลให้จำนวนประชากรวัยเด็กลดน้อยลง
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากร
ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ  มนุษย์จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารและพลังงานที่มีอยู่ในระบบนิเวศเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แต่มนุษย์ไม่ได้จำกัดการใช้ธาตุและพลังงาน จากระบบนิเวศชนิดเดียวเท่านั้น แต่มีความสามารถที่จะใช้ธาตุอาหารและพลังงาน จากระบบนิเวศทุกระบบที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด เช่น สามารถที่จะนำสัตว์ทะเลมาเป็นอาหาร นำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาดื่ม นำพืชที่อยู่ในป่ามาเป็นอาหาร ฯลฯ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีวิวัฒนาการการใช้ทรัพยากรทั้งหลายที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่ได้ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายปกติเท่านั้น แต่มนุษย์ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอื่นด้วย เช่น ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เครื่องประดับ น้ำมันเชื้อเพลิง และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ภายในโลก ในปัจจุบันมนุษย์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ หรือต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย และในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
การเพิ่มประชากรทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
การเพิ่มของประชากรก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลงดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่นปัญหาน้ำเสีย อากาศเสีย ฝุ่นละออง และขยะมูลฝอย
                2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่นการสูญเสียระบบนิเวศที่ดีของสัตว์บกและสัตว์น้ำไป
3.การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เรื่องของการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
4. คุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัญหาของเมือง ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐาน ปัญหาการจราจร ซึ่งรวมไปถึงปัญหาการดำรงชีวิต และปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นต้น
ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพชีวิตการเพิ่มจำนวนของประชากรมีผลโดยตรงต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นก็ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหากับประชากรด้วยเช่นกัน ดังมีกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1.การขาดแคลนอาหาร  แม้ว่าผลิตผลทางการเกษตรของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา จะมีปริมาณมาขึ้นก็ตาม แต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วผลผลิตจะคงที่ ขณะเดียวกันการเพิ่มจำนวนของประชากรทั้งโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประเทศที่มีความยากจนและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ยังคงขาดแคลนอาหารมากยิ่งขึ้น ดังกรณีตัวอย่างในประเทศในทวีปแอฟริกาหลายประเทศ เช่น เคนยา เอธิโอเปีย โซมาลี ต้องล้มตายลง เนื่องมาจากการขาดแคลนอาหาร ส่วนที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นประชากรที่ ไม่สมบูรณ์ทั้งทางสมองและร่างกาย มีการประมาณกันว่าประชากรของโลกอย่างน้อยต้องตายลงเพราะการขาดอาหารอย่างน้อยปีละ 15 ล้านคน

2.การเกิดโรค การเพิ่มสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารพิษจากการเกษตร น้ำเสียและควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของผู้ที่ได้รับสารพิษเหล่านั้น อันตรายจากสารพิษมีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น วิงเวียน ปวดศีรษะ แพ้อากาศ ไปถึงการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และถ้าได้รับสารพิษ ในปริมาณมาก ก็ทำให้เสียชีวิตได้ทันทีในประเทศไทย เคยพบว่าผู้ที่ดื่มน้ำที่มีสารหนูเจือปน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็นพื้นที่เหมืองเก่า ทำให้ผิวหนังมีผื่นขึ้นทั่วไป การกินอาหารที่มีสารพิษตกค้างจากการเกษตร สารพิษที่เกิดจากการปรุงแต่งสีและรสชาติ อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหัวใจ มะเร็ง โรคผิวหนัง โรคตับ และมีผลต่อทารกในครรภ์มารดา การอยู่ในบริเวณที่เสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบล เป็นเวลานานก็อาจทำให้หูตึงได้
3.การอพยพย้ายถิ่น การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและความแห้งแล้ง ทำให้ประชากรในหลายประเทศต้องอพยพย้ายถิ่น ไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ทั้งเป็นการอพยพย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชีย นับว่ามีการอพยพ ย้ายถิ่นสูงกว่าประเทศในยุโรป และอเมริกาเหนือ การอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศในปัจจุบัน มักจะเกิดขึ้นหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางความคิด และการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

4.ปัญหาสังคมการขาดแคลนทรัพยากรได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การที่ประชาชนบุกรุกป่าพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้อย่างผิดกฎหมายของผู้มีอิทธิพล เกิดการลอบทำร้ายซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลทรัพยากร ประพฤติทุจริตต่อหน้าที่ จะเห็นได้ว่าปัญหาสังคมหลายอย่างมักจะมีสาเหตุมาจาก การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสาเหตุสำคัญ
5.ความยากจน ต้นเหตุของปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในโลกประการหนึ่งคือ การที่ประชากรของประเทศ ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประเทศที่จัดว่ามีความยากจน ก็มักจะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากร และความหนาแน่นของประชากรมาก เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ ยกเว้นในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่ถ้าประชากรมีความรู้ดี ก็สามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแสวงหา เปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติได้ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น
6.ขาดที่พักผ่อนหย่อนใจ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินับว่าเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ดีของมนุษย์ จะเห็นได้ว่าเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้นเท่าไร ความต้องการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นทุกวัน ในปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง จะนิยมออกไปพักผ่อนตามชายทะเล น้ำตก อุทยานแห่งชาติ เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น แต่สถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจกลับมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อประชากชนออกไปใช้กันมากขึ้น ก็กลับทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ที่บางแสน พัทยา สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม

7.ขาดสถานที่ศึกษาหาความรู้ สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้ที่สำคัญแก่มนุษย์ได้ โดยตรง ไม่ว่ามนุษย์จะมีความก้าวหน้าขึ้นมากเท่าใด แต่การดำรงชีวิตของมนุษย์ ก็ยังคงจะต้องอาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบตัวมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้ต่อไป แต่การเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จะทำให้มนุษย์ขาดสถานที่ ที่จะศึกษาหาความรู้ได้โดยตรง ทำให้เกิดความยากลำบากที่จะส่งเสริมให้เกิดความรักและหวงแหนธรรมชาติและจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในอนาคต

วิเคราะห์ปัญหาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น อากาศเสีย น้ำเสีย การสูญเสียป่าไม้ ฯลฯ ต่างก็เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรม ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่จะต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ เกิดการขาดอาหาร เกิดการอพยพครอบครัว ฯลฯ ตามมา ดังนั้นถ้าจะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมแล้ว จึงพอจะทราบสาเหตุของความเสื่อมทรามของสิ่งแวดล้อมว่า เกิดมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1. จำนวนประชากรมากเกินไปการเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้มีความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรทุกชนิดเพิ่มขึ้น เช่น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวน ทำให้มีอัตราการใช้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาลก่อให้เกิดอากาศร้อนและแห้งแล้งฯลฯ

2.ธรรมชาติขาดความสมดุลการร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน ก็เนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ที่มีการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพสมดุลได้ เมื่อองค์ประกอบในระบบนิเวศขาดหายไป ทำให้เกิดการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ แต่ก่อนหน้านั้นความไม่สมดุลของธรรมชาติได้เกิดขึ้นแล้ว และความไม่สมดุลของธรรมชาตินี้เองก็จะทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพเน่าเสีย มีสารพิษในอากาศ ต้นไม้ตาย อากาศร้อน ฯลฯ มนุษย์จะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. ความจำกัดในการเติบโตของประชากร ในอนาคต ถ้ามนุษย์ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอลงไป และมีความเป็นพิษมากขึ้น จำนวนประชากรก็จะไม่สามารถเพิ่มอีกต่อไป แต่กลับต้องลดลงมา จนกว่าจำนวน จะอยู่ในระดับที่พอดี ที่จะทำให้ธรรมชาติมีความสมดุล (ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ) 

การแก้ไขปัญหาประชากร
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาประชากรของ คือ การเพิ่มขึ้นของประชากร อย่างรวดเร็ว และการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายมากขึ้นตัวเมืองอุตสาหกรรมขยายเพิ่มขึ้นผู้คนต้องเร่งรีบแข่งขัน
แนวทางแก้ไขต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐบาลและเอกชนดังนี้
1.ลดอัตราการเพิ่มของประชากร การลดอัตราการเพิ่มของประชากร โดยกำหนดนโยบายควบคุมอัตราการเพิ่มของประชากรให้แน่นอนและมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2540 - 2544 ) ได้ตั้งเป้าหมายลดอัตราการเพิ่มของ ประชากรให้เหลือเพียงร้อยละ1.1เมื่อสิ้นแผนฯ
2.ปรับปรุงคุณภาพของประชากร การปรับปรุงคุณภาพของประชากรโดยการเร่งขยายคุณภาพการศึกษา และให้บริการด้านสวัสดิการทางสังคมอย่างทั่วถึง เช่น การอนามัยและสาธารณสุข การแพทย์ และการสาธารณูปโภคประเภทไฟฟ้าประปารวมทั้งให้ประชากรเป็นผู้มีระเบียบวินัยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นต้น
3.ควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยกำหนดมาตรการทางกฎหมาย ให้รัดกุมและเคร่งครัด ทางราชการควรถือเป็นนโยบายอย่างชัดเจนที่จะควบคุมและป้องกันการทำลายทรัพยากร ธรรมชาติ
4.การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมระยะยาวโดยเน้นการพัฒนาภาคชนบทให้มากขึ้นเพื่อสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคมพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในชนบทให้ดีขึ้น โดยเน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน
ประชากรโลกและประชากรไทย มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกันคือ การเกิด และการตาย แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงของประชากรไทยมีการย้ายถิ่นเกี่ยวข้องด้วย ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลก อยู่ในทวีปเอเซีย ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก และมีประชากรคิดเป็น 1% ของประชากรโลก ขนาดของประชากรไทยมีการเคลื่อนไหวของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี ประเทศไทยประสบความสำเร็จด้านการวางแผนครอบครัว ทำให้มีอัตราการเจริญพันธุ์โดยรวมลดลงต่ำกว่าระดับทดแทน ในขณะที่ประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้นทำให้โครงสร้างของประชากรไทยจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นประชากรสูงอายุในอนาคตอย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ปัญหาประชากรนับเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ซึ่งมีการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากโดยแบ่งกลุ่มอายุหลักๆ ได้เป็นประชากร วัยคือ วัยเด็ก วัยทำงานและวัยสูงอายุและมีการนำเอาผลวิจัยที่ได้มาใช้ในการพัฒนาและการวางแผนการกำหนด นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัญหาต่างๆ ในปัจจุบัน จำเป็นต้องพิจารณาในบริบทของประวัติศาสตร์ ลักษณะของการพัฒนาอุตสาหกรรม การลงทุนอย่างเสรีและไร้ขอบเขต ดังนั้นภูมิภาคต่างๆ จึงต้องระมัดระวังในการจำกัดการใช้ทรัพยากรอย่างเข้มงวด และเริ่มแสวงหาทรัพยากรจากแหล่งอื่นๆ เพื่อรองรับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในระยะยาว จุดศูนย์รวมความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย คือ ภาวะการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ เนื่องจากแหล่งทรัพยากรน้ำถูกใช้อย่างมากในประเทศต้นน้ำ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บทรัพยากรน้ำในแหล่งต้นน้ำ ทำให้เห็นความขัดแย้งกับประเทศต้นน้ำกับท้ายน้ำอย่างชัดเจน จนเกิดกระแสกดดันในลักษณะการแบ่งปันที่เป็นธรรมมากขึ้น เพราะน้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญต่อการเพาะปลูก ประเทศในกลุ่มอาเซียน ส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ต้องการใช้น้ำอย่างมาก การเมืองเรื่องน้ำจะเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญต่อการจัดการความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ ของโลก การเพิ่มขึ้นของประชากรจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความต้องการใช้น้ำอย่างมาก คาดว่าในอนาคต ประเทศที่เป็นเจ้าของแหล่งน้ำจะมีอิทธิพลเหนือประเทศต่างๆ ที่อยู่ปลายน้ำอย่างมากเนื่องจากผลกระทบจากการแบ่งปันน้ำคือผลต่อการผลิตอาหารโลกนั้นเอง
ในฐานะที่ข้าพเจ้าก็ถือว่าเป็นประชากรคนหนึ่งบนโลก ที่เห็นถึงผลกระทบของการเพิ่มประชากรที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบมากมายหลายประการ ทั้งการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อประชากรมากขึ้น ย่อมมีความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นด้วย เช่น การขยายพื้นที่เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ใช้ไม้ในการก่อสร้างอาคาร ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น  เกิดสภาพชุมชนแออัด ท้องถิ่นที่มีความเจริญสูง ประชากรจึงเข้าไปอาศัยอยู่มาก แต่พื้นที่อยู่มีจำกัด จำเป็นต้องอยู่กันอย่างแออัด มีการแบ่งที่อยู่ อาหารการกิน สิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร เกิดการว่างงาน เมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้แรงงานมีจำนวนมากขึ้นด้วย ถ้าไม่สามารถเตรียมงานไว้รองรับแรงงานที่เพิ่มขึ้นได้ จะเกิดปัญหาการว่างงาน และการแข่งขันหางานทำมากขึ้น เกิดการจราจรติดขัด จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นตามเมืองใหญ่ ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร ทำให้การเดินทางสัญจรด้วยรถยนต์ต้องเพิ่มขึ้นด้วย แต่พื้นที่ถนนเพื่อการจราจรไม่สามารถรองรับได้ จึงทำให้เกิดปัญหาการจราจร และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ เกิดมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง ในด้านคุณภาพชีวิตประชากร เมื่อจำนวนประชากรมากกว่าทรัพยากรและผลผลิตต่าง ๆ ตลอดจนการขาดแคลนกำลังทรัพย์ที่จะซื้อเครื่องอุปโภคอย่างเพียงพอผลที่ตามมา คือ การขาดอาหาร ขาดการบำรุงสุขภาพ ส่งผลให้ประชากรเป็นผู้ไม่มีคุณภาพทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา จะเห็นได้ว่าการเพิ่มประชากรได้ก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ตามมาอีกมากมายดังนั้นควรเห็นความสำคัญ หันมาใส่ใจถึงปัญหา ถ้าเริ่มจากตัวบุคคล ในการวางแผนครอบครัว การมีความพร้อมก่อนและหลังแต่งงานก็สามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง

บรรณานุกรม
(รัฐ เรืองโชติวิทย์ )  นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ
            ศูนย์เทคโนโลยีสะอาด ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
หนังสือวารสารเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค (National Geographic Society)  ฉบับเดือนมกราคม 2554



























1 ความคิดเห็น:

  1. ประเด็นของงานเขียนนี้

    - ข้อมูลที่อ้างอิง เป็นข้อมูล ย้อนหลังและไม่ได้อ้างอิงเพื่อประโยชน์อะไรเลย
    - ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการสื่อ คือ อะไร อ่านแล้ว มีแต่ ผู้เขียนต้นฉบับ เขาได้บอกเล่าไว้หมดแล้ว ตัวเอง อยากสื่ออะไร
    - ยังไม่มีความชัดเจนของตนเองในงานเขียน

    ตอบลบ