วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ นางสาวพรทิพย์ ปะมายะยัง 53242193


รายงานวิชา 830029 ปัญหาและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
บทความทางวิชาการ เรื่อง พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ
นางสาวพรทิพย์   ปะมายะยัง   53242193
คณะสังคมศาสตร์  สาขาพัฒนาสังคม ปี3
พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ
บทนำ
                ในปัจจุบัน   โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก   เพราะสามารถพกพาได้   และให้บริการได้เกือบทุกพื้นที่   เป็นรูปแบบการสื่อสารที่สะดวก   รวดเร็ว   และมีประสิทธิภาพ   เสียค่าใช้จ่ายน้อย   ความต้องการโทรศัพท์มือถือจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง    ตอนนี้โทรศัพท์มือถือได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและมีใช้กันอย่างแพร่หลาย
                การให้บริการโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันไม่เพียงแต่ให้บริการแบบเสียง   การโทรออกและรับสายเท่านั้น   แต่ยังมีการให้บริการแบบโมบายอินเตอร์เน็ตอีกด้วย   การที่โทรศัพท์มือถือสามารถใช้งานได้หลากหลายขึ้น   ทำให้ผู้ให้บริการหันมาให้ความสำคัญกับลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น   เนื่องจากลูกค้าแต่ละกลุ่มจะใช้บริการที่แตกต่างกันไป   โดยเฉพาะอย่างยิ่งความนิยมการใช้โทรศัพท์มือถือในกลุ่มวัยรุ่น   นอกจากนั้นโทรศัพท์มือถือยังเป็นเครื่องมือแสดงสถานะทางสังคมที่สร้างความภาคภูมิใจและความโก้เก่ให้แก่วัยรุ่น   การเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือบ่อยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่อยากใช้โทรศัพท์ที่ตกรุ่นเพราะกลัวจะไม่ทัดเทียมกับเพื่อน
                นากจากนี้วัยรุ่นจำนวนมากยังใช้เวลาในแต่ละวันอยู่กับโทรศัพท์มือถือโดยใช้พูดคุยกับเพื่อน/แฟน   เล่นเกมส์ ฟังเพลง ถ่ายรูป ฯลฯ   มากกว่าจะใช้เวลากับพ่อแม่ ญาติพี่น้อง   ทุกวันนี้วัยรุ่นจำนวนมากคิดว่าโทรศัพท์มือถือเป็นแทบทุกอย่างสำหรับพวกเขา   เป็นทั้งเครื่องมือแก้เหงา   เครื่องมือคลายเครียด   เครื่องมือเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อน และแฟน ฯลฯ   วัยรุ่นจึงให้ความสำคัญกับโทรศัพท์มือถือมากจนเกินความจำเป็น   ส่งผลให้เกิดประเด็นปัญหาทางสังคมตามมา   ทั้งนี้การที่เด็กและวัยร่นใช้โทรศัพท์มือถือมากจนเกินไปมีโอกาสเสี่ยงต่อคลื่นโทรศัพท์มือถือ   ที่ผ่านเข้าไปในสมองทำให้เกิดอาการตากๆ มากมายตามมา   หากมีการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน   พบว่ามีอาการปวดหัว นอนไม่หลับ สูญเสียความจำในช่วงเวลาสั้นๆ เลือดกำเดาไหล และผู้ใช้โทรศัพท์ที่เป็นเด็ก มีอาการเป็นโรคลมบ้าหมูมากขึ้น   ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีโอกาสเป็นเนื้องอกในม่านตาเพิ่มขึ้นสามเท่า   ทั้งหมดนี้เป็นงานวิจัยหลายชิ้นที่พยายามชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน
ความหมายของโทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่
                โทรศัพท์มือถือหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือ โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อ   สื่อสารได้โดยไม่จำเป็นต้องมีสายโทรศัพท์   หรือที่เรียกว่าไร้สายโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวนำส่งสัญญาณ
วิวัฒนาการของโทรศัพท์
               การติดต่อสื่อสารทางไกล ในสมัยโบราณ ระหว่างมนุษย์ด้วยกันนั้น จะใช้วิธีการง่ายๆ อาศัยธรรมชาติ หรือเลียนแบบ ธรรมชาติ เป็นหลัก เช่น การใช้ควัน เสียง แสง หรือใช้นกพิราบ เป็นต้น การสื่อสารที่ใช้ชื่อดังกล่าวนั้น จะไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนัก เนื่องจากไม่สามารถให้รายละเอียดข่าวสารได้มาก หรือแม้จะให้รายละเอียดได้มาก แต่ก็ไม่ค่อยจะปลอดภัยเท่าใด เช่น นกพิราบ นำสารซึ่งให้รายละเอียดได้มาก แต่เป็นการเสี่ยง เพราะนกพิราบ อาจไปไม่ถึง ปลายทางได้ อย่างไรก็ตามการสื่อสารดังกล่าวนี้ เป็นการสื่อสารที่ราคาถูก ความรวดเร็วก็พอใช้ได้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุค โลกาภิวัฒน์ เป็นยุคแห่งความเจริญทางด้านเทคโนโลยี มนุษย์ได้นำเอาเทคโนโลยี ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้กับการสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงมาก ทั้งความ สะดวกสบาย รวดเร็วและถูกต้อง ชัดเจน แน่นอน  ระบบสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายชนิด เช่น วิทยุสื่อสาร (Radio Communication) โทรเลข (Telegraphy) โทรพิมพ์ (Telex) โทรศัพท์ (Telephone) โทรสาร (Facsimile) หรือวิทยุตามตัว (Pager) เป็นต้น แต่ระบบสื่อสาร ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกก็คือ โทรศัพท์ เพราะโทรศัพท์สามารถโต้ตอบกันได้ทันที รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งระบบ อื่น ๆ ทำไม่ได้ โทรศัพท์จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและในโลกของการสื่อสารปัจจุบัน โทรศัพท์ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ ถึงความเจริญ รุ่งเรืองของประเทศ ต่าง ๆ ด้วยมีคำกล่าวหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศอยู่ว่า ประเทศใด ที่มีจำนวนเลขหมาย โทรศัพท์ในประเทศ 40 หมายเลขต่อประชากร 100 คน ถือว่าประเทศนั้นมีความเจริญแล้ว หรือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศใดที่มีหมายเลขโทรศัพท์ 10 เลขหมายขึ้นไปต่อประชากร 100 คน ถือว่าประเทศนั้นกำลังได้รับการพัฒนา   จะเห็นว่าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ให้ความสำคัญกับกิจการโทรศัพท์เป็นอย่างมากในประเทศไทย คำว่า โทรศัพท์ ได้เริ่ม รู้จักกันตั้งแต่รัชการที่ 5 ซึ่งโทรศัพท์ตรงกับภาษากรีกคำว่า Telephone โดยที่ Tele แปลว่า ทางไกล และ Phone แปลว่า การ สนทนา เมื่อแปลรวมกันแล้วก็หมายถึงการสนทนากันในระยะทางไกลๆ หรือการส่งเสียงจากจุดหนึ่ง ไปยังจุดหนึ่งได้ ตามต้องการ

ประวัติทั่วๆไปของโทรศัพท์
โทรศัพท์ได้ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2419 โดยนักประดิษฐ์ ชื่อ ALEXANDER GRAHAM BELL หลักการของโทรศัพท์ที่ Alexander ประดิษฐ์ก็คือ ตัวส่ง (Transmitter) และ ตัวรับ (Receiver)   ซึ่งมีโครงสร้างเหมือนลำโพงในปัจจุบัน กล่าวคือ มีแผ่น ไดอะแฟรม (Diaphragm) ติดอยู่กับขดลวด ซึ่งวางอยู่ใกล้ ๆ แม่เหล็กถาวร เมื่อมีเสียงมากระทบแผ่น ไดอะแฟรม ก็จะสั่นทำให้ขดลวดสั่นหรือเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก เกิดกระแสขึ้นมา ในขดลวด กระแสไฟฟ้านี้ จะวิ่งตามสายไฟถึงตัวรับซึ่งตัวรับก็จะมีโครงสร้างเหมือนกับ ตัวส่ง เมื่อกระแสไฟฟ้ามาถึงก็จะ เข้าไปในขดลวด เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่มานี้ เป็น AC มีการเปลี่ยนแปลงขั้วบวกและลบอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้เกิดสนาม แม่เหล็กขึ้นรอบๆ ขดลวดของ ตัวรับ สนามแม่เหล็กนี้จะไปผลัก หรือดูดกับสนามแม่เหล็กถาวรของตัวรับ แต่เนื่องจาก แม่เหล็กถาวร ที่ตัวรับนั้นไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ขดลวดและแผ่นไดอะแฟรม จึงเป็นฝ่ายที่ถูกผลักและดูดให้เคลื่อนที่ การที่ ไดอะแฟรม เคลื่อนที่ จึงเป็นการตีอากาศตามจังหวะของกระแสไฟฟ้าที่ส่งมา นั่นคือ เกิดเป็นคลื่นเสียงขึ้นมาในอากาศ ทำให้ได้ยิน แต่อย่างไรก็ตาม กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากตัวส่งนี้มี ขนาดเล็กมาก ถ้าหากใช้สายส่งยาวมาก จะไม่สามารถได้ยิน เสียงของผู้ ที่ส่งมา วิธีการของ ALEXANDER GRAHAM BELL จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก แต่ก็เป็นเครื่องต้นแบบ ให้มีการพัฒนา ต่อมาในปี พ.ศ. 2420 THOMAS ALVA EDISON ได้ประดิษฐ์ ตัวส่งขึ้นมาใหม่ให้สามารถ ส่งได้ไกล ขึ้นกว่าเดิมซึ่ง ตัวส่งที่ Edison ประดิษฐ์ขึ้นมา มีชื่อว่า คาร์บอน ทรานสมิทเตอร์ (Carbon Transmitter) คาร์บอนทรานสมิทเตอร์ ให้กระแส ไฟฟ้าออกมาแรงมาก   เนื่องจากเมื่อมีเสียงมากระทบแผ่นไดอะแฟรม แผ่นไดอะแฟรมจะไปกดผง คาร์บอน (Carbon) ทำให้ค่าความต้านทานของ ผงคาร์บอน เปลี่ยนแปลงไปตามแรงกด ดังนั้นแรงเคลื่อน ตกคร่อมผงคาร์บอนจะเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจากแรงเคลื่อน ที่จ่ายให้ คาร์บอน มีค่ามากพอสมควร การเปลี่ยนแปลงแรงเคลื่อน จึงมีมากตามไปด้วย และการเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลง ยอดของ DC ที่จ่ายให้คาร์บอน (ดังรูปที่ 1.3) ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ก็คือ AC ที่ขี่อยู่บนยอดของ DC นั่นเอง    ดังนั้น เมื่อ DC ไปถึงไหน AC ก็ไปถึงนั่นเช่นกัน แต่ DC มีค่าประมาณ 6-12 Volts (ค่าแรงเคลื่อนเลี้ยงสายโทรศัพท์ ขณะยกหู) ซึ่งมากพอที่จะวิ่งไปได้ระยะทาง ประมาณ 5 กิโลเมตร นั่นคือ AC ที่เป็นสัญญาณเสียงก็ไปได้เช่นกัน หลังจากนี้ ก็ได้มี การพัฒนาโทรศัพท์ขึ้นมาใช้งานมากมายหลายระบบ ตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งมีการพัฒนาทั้งระบบชุมสาย (Exchange) และ ตัวเครื่องโทรศัพท์ (Telephone Set) ด้วย ให้สามารถใช้งานได้สะดวกสบาย และมี ประสิทธิภาพมากขึ้น 

พัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
1)  ระบบการสื่อสารบนเครือข่ายยุคไร้สายยุค 1G (First Generation) การสื่อสารจะเน้นไปที่ข้อมูลเสียงแต่เพียงอย่างเดียว   การเชื่อมของเครือข่ายเป็นแบบเซอร์กิตสวิตชิง คุณภาพของเสียงยังไม่ดีนัก ความเร็วของการส่งก็ไม่มาก ยังไม่มีระบบความปลอดภัยของการใช้งาน ทำให้มีการลักลอบใช้งานกันโดยง่าย ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นแบบอะนาล็อก การสื่อสารวิธีนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแกนความถี่ ตัวเครื่องโทรศัพท์ยังมีขนาดใหญ่ใช้กำลังไฟฟ้ามาก   ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอลและการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา
2)  ระบบการสื่อสารบนเครือข่ายยุคไร้สายยุค 2G (Second Generation)การส่งข้อมูลเริ่มเปลี่ยนจากอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอล   การส่งข้อมูลสามารถใช้ความเร็วได้มากขึ้น  โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล   ในยุคที่สองนอกจากจะมีจุดเด่นคือเสียงชัดแล้ว   ความจุของระบบเพิ่มขึ้นเมื่อใช้แบบกว้างความถี่เท่ากันกับอะนาล็อก
      ในยุค 1G และ 2G ยังมีความเร็วไม่พอที่จะใช้กับอินเทอร์เน็ต อาจส่งอีเมล์ได้บ้าง แต่ไม่เหมาะกับการค้นหาข้อมูล    ยุคนี้ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการส่งข้อมูลนอกเหนือจากการส่งเสียง   เริ่มมีการส่งข้อความสั้นๆ และเริ่มมีการใช้ WAP (Wireless Application Protocol) ในช่วงปลายของยุคนี้เครือข่ายแลนไร้สายเริ่มมีการใช้งานด้วยความเร็วไม่มากนัก
3)   ระบบการสื่อสารบนเครือข่ายยุคไร้สายยุค 2.5 G (Second Point Five Generation)ยุคนี้เป็นยุคเชื่อมต่อหรือเป็นหน้าด่านก่อนที่จะเข้าสู้การปฏิวัติวงการสื่อของโลก ในยุคนี้ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอลทั้งหมด   โดยพัฒนาต่อเนื่องจากระบบ GSM เดิมมาเป็นระบบ 2G (Extend 2G System) ความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ที่ระดับ 100 กิโลบิตต่อวินาที
       ระบบที่ใช้เป็นระบบ GPRS ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการให้บริการ การเก็บค่าใช้จ่ายเป็นชุดบริการ ไม่ใช่เป็นการเก็บตามเวลาที่ใช้แบบในยุคก่อนหน้านี้ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตจะเก็บค่าใช้จ่ายตามเวลาที่ติดต่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายเช่นเดียวกับเวลาที่ใช้ในการพูดโทรศัพท์   โดยไม่สนใจว่าในขณะนั้นจะมีการส่งผ่านข้อมูลกันหรือไม่ก็ตาม   แต่ในยุค 2.5 G จะเป็นการเรียกเก็บค่าบริการตามปริมาณของข้อมูลที่มีการส่งผ่าน
4)  ระบบการสื่อสารบนเครือข่ายยุคไร้สายยุค 3G (Third Generation)ยุคนี้เป็นยุคที่รองรับความต้องการในการรับส่งข้อมูลดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบด้วยความเร็วสูงในช่วงไม่กี่ปีผ่านมานี้   ก่อนที่เทคโนโลยี 3G จะมีการใช้งานได้มีการคิดค้นเทคนิค EDGE ขึ้นมา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วสูง   ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือหลายรุ่นได้ผนวกเอาเทคโนโลยี EDGE เข้ามาด้วยสำหรับผู้ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะต้องพิจารณาอุปกรณ์ที่รองรับการทำงานด้วยจึงจะสามารถทำงานได้
     สำหรับเครือข่ายไร้สายในยุค 3G มีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานด้านรับ-ส่งข้อมูลที่มากขึ้น   จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงถึง 2 Mbit/sec   ซึ่งมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลที่มากกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้บริการในปัจจุบันถึง 4 เท่า
5)   ระบบการสื่อสารบนเครือข่ายยุคไร้สายยุค 4G (Fourth Generation)ยุคนี้เป็นยุคที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 3 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะรองรับการสื่อสารที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตเครือข่ายไร้สายในลักษณะ WAN ไร้สายที่ความเร็วสูงถึงระดับ 155 Mbps   เช่นเดียวกับเทคโนโลยีของ LAN ไร้สายและ PAN ไร้สายที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน
     ความสามารถในการสื่อสารไร้สายด้วยความเร็วสูง   นำมาซึ่งการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ   ด้วยแนวทางใหม่ในชีวิตประจำวันที่คาดไม่ถึงอีกหลายรูปแบบนอกเหนือจากการใช้เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต   ส่งอีเมลล์   หรือเพื่อความบันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะจะเป็นด้านใดๆ สามารถสื่อสารได้ทุกสถานที่   มีการเชื่อมต่อกับระบบสื่อสารแบบไร้สายได้อย่างราบรื่น   มีทรัพยากรที่สามารถปรับตัวต่อสภาพการใช้งานได้หลายแบบ   และสามารถให้บริการสื่อผสมหรือมัลติมีเดียคุณภาพสูงได้
ประเภทของโทรศัพท์มือถือ
1)         Basic  Phone   เป็นโทรศัพท์ทั่วไป   มีเพียงฟังก์ชั่นพื้นฐานในการเป็นโทรศัพท์   นั่นก็คือการโทร
ออกรับสาย   ก็เป็นเบสิคโฟนได้แล้ว   จะเป็นมือถือจอสีหรือขาว-ดำก็ได้   ตัวอย่างเช่น Nokia 3310 (รุ่นยอดนิยม)   Motorola cl55   เป็นต้น
2)         Smart   Phone   สมาร์ทโฟน คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการต่างๆ ที่ย่อเอาความสามารถใน
การรับส่งข้อมูล ดูหนัง ฟังเพลง การจัดการไฟล์ต่างๆ ที่เทียบได้กับคอมพิวเตอร์พื้นฐานย่อมๆ ตัวหนึ่ง   ทำให้โทรศัพท์มือถือได้เพิ่มความสามารถมากไปกว่าการโทรออกรับสาย   สมาร์ทโฟนนั้นอาจแบ่งย่อยได้อีกดังจะกล่าวต่อไปนี้   ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีระบบที่แตกต่างกันแล้วแต่การผลิตของแต่ละยี่ห้อ  
3)         Symbian   Phone   ซิมเบี้ยนเป็นสมาร์ทโฟนแบบหนึ่ง เป็นระบบปกิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงสุด
สำหรับสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน   แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในประเทศไทย   ซิมเบี้ยนได้รับความนิยมมากจึงมีโปรแกรมรองรับออกมามากไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่เกี่ยวกับการจัดการงานต่างๆ หรือเกมส์ก็มีออกมาให้เลือกเล่นเยอะ   ตัวอย่างของโทรศัพท์ซิมเบี้ยนก็เช่น Nokia 7610, Nokia 6680, Siemens SX 1, Panasonic X700
4)            PDA   Phone   พีดีเอโฟน   เป็นการนำเอาความเป็นโทรศัพท์มือถือไปใส่รวมกับพีดีเอ   ซึ่งเรียกได้
ว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพา   เครื่องจัดการข้อมูลส่วนตัว PDAS   เป็นเหมือนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสามารถใช้งานได้หลายอย่าง   พีดีเอมีระบบปฏิบัติการของตัวเองเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์   เช่น   02 mini,   02 XDA IIs,   Plam,   Plam One Treo650
5)         Multimedia   Phone   มัลติมิเดียโฟน   คือ   โทรศัพท์ที่มีคุณสมบัติในการดูหนังฟังเพลงและ
ทางด้านความบันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพส่งออกทาง MMS การสร้างสีสันต่างๆ ให้กับโทรศัพท์ที่ไม่ใช่เพียงการโทรออกรับสาย   และไม่ได้เน้นไปในทางการจัดการไฟล์   ในปัจจุบันได้รับความนิยมมากสังเกตได้ว่ามีโทรศัพท์ประเภทนี้ออกมามาก   แต่ละรุ่นพยายามรวมความเป็นมัลติมีเดียออกมาให้ได้มากๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกการใช้งานได้อย่างหลากหลาย   เช่น   Sony Ericsson S700i,   Nokia 6230i,   Motorola E680
6)         Camera   Phone   ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือติดกล้อง หรือ Camera Phone   เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
คุณภาพของภาพถ่ายและความละเอียดก็ถูกพัฒนาขึ้นไป   นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มคุณสมบัติหลายๆ อย่างเข้าไปให้เปรียบเสมือนกล้องดิจิตอลทั่วๆ ไปไม่ว่าจะเป็น   โหมดมาโครที่ใช้ในการถ่ายภาพระยะใกล้ การ Zoom,   Flash   หรือไฟช่วยส่องสว่าง   การใส่กรอบ   ปรับสี   ปรับแสงของภาพ   หรือแม้แต่การถ่ายภาพเคลื่อนไหวหรือวีดีโอ   เช่น   Sharp Gx32,   Samaung D500,   Segam My-x-8
7)         Fashion   Phone   สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจหลักของการซื้อมือถือก็คงจะไม่พ้นดีไซน์ของตัวเครื่อง แฟชั่น-
โฟนจึงเป็นโทรศัพท์อีกประเภทที่ถือว่าได้รับความนิยมไม่แพ้กัน   โดยทั่วไปจะถูกออกแบบมาฉีกแนวแปลกออกจากความเป็นโทรศัพท์ออกไป   เช่น   การแรงปุ่มในแนวแปลกๆ หรือการออกแบบรูปร่างให้ไม่เหมือนใคร   มีสไตล์   เรียกได้ว่าบางรุ่นเห็นแล้วอาจจะไม่คิดว่าเป็นโทรศัพท์ได้เลย   เช่น   Nokia 7280,   7600,   7610,   7270
8)         Messaging   Phone   มีอยู่ช่างหนึ่งการส่งข้อความถือเป็นที่นิยมมาก   ก็เลยมีการออก Messaging
 Phone   มาตอบสนองความต้องการสำหรับผู้ใช้งาน   จุดเด่นก็คือการมีปุ่มกดครบ หรือเกือบครบทุกตัว   เอื้อประโยชน์กับการพิมพ์ข้อความ   เช่น   Nokia 6820,   6800,   5100,   Siemens SK65
9)          High-End   โทรศัพท์มือถือแบบ High-End   เป็นโทรศัพท์ที่ออกแบบมาให้ดูหรูหรา   ฟังก์ชั่นการ
ใช้งานไม่ซับซ้อน   เน้นการออกแบบและวัสดุที่นำมาใช้ให้ดูทันสมัยและหรูหรา   เช่น   Nokia 8910i,   Motorola V3RaZ-R,   Mobiado,   Vertu
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีการสร้างความทันสมัยด้วยการสื่อสาร Lerner’s Communications Theory of Modernization 
ตามแนวคิดของทฤษฎีอิทธิพลของการสื่อสารในการสร้างความเป็นสมัยใหม่สังเขปความได้ว่า   การสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารมวลชน   เป็นตัวการทำให้สังคมเกิดความเป็นสมัยใหม่ (ความเจริญก้าวหน้า) ขึ้น   โดยทำหน้าที่เผยแพร่ค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคมใหม่ (ในทฤษฎีใช้สังกัปจินตน-ภาพ   (images)   เมื่อสังคมนำเอาค่านิยมบรรทัดฐานทางสังคมเหล่านี้ไปถ่ายทอดปลูกฝังแก่สมาชิกของสังคม   ก็จะทำให้สังคมมีค่านิยมบรรทัดฐานทางสังคมแบบใหม่   นั่นคือ   สังคมสมัยใหม่
                คำอธิบายของทฤษฎีนี้อาศัยสังกัปและเหตุผลทั้งทางโครงสร้าง หน้าที่และจิตวิทยาที่เริ่มจากแบบความคิดพื้นฐานในเรื่องการให้รางวัล ((reward) และการลงโทษ (punishment) โดยในทฤษฎีนี้เปลี่ยนเป็น ความพยายาม (effort) และการให้รางวัล   เหตุผลโดยสรุปว่า   หากความพยายามของประชาชนได้รับผลตอบสนองทางบวก   ก็จะส่งผลให้พยายามต่อไปจนทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าหากความพยายามไม่ได้รับผลบวกสังคมก็ไม่เกิดความเจริญ  
แนวคิดพฤติกรรมผู้บริโภค
            ความคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจและพฤติกรรมผู้บริโภค   เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งต่อความสำเร็จในการดำเนินงานการตลาด   ต้องวิเคราะห์ถึงความต้องการ   ทัศนคติ   และพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างถ่องแท้   เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มากำหนดช่องทางในการจัดจำหน่าย   การโฆษณาการกำหนดราคา   และเครื่องมือทางการตลาดอื่นให้สอดคล้องกับการตลาดที่เราเลือกไว้   ความต้องการของลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต   สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
          1)  ความต้องการในการดำเนินชีวิต (Basic Needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานให้ชีวิตอยู่รอด   เช่น  ความต้องการอาหาร   ความต้องการที่อยู่อาศัย   เป็นต้น
        2)  ความต้องการความสะดวกสบาย (Convenience Needs เป็นความต้องการลดภาวะความยุ่งยากในชีวิต   เช่น   ความต้องการคนทำความสะอาดบ้าน   ความต้องการซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป   เป็นต้น
    3) ความต้องการรูปแบบของชีวิตหรือความเป็นเอกลักษณ์ ((Life-style / Identify Needs) เป็นความต้องการเสาะแสวงหาความสุข   หรือเป้าหมายสูงสุดในชีวิตด้วยความสามารถเผชิญกับสิ่งรอบตัว   เช่น   ความต้องการท่องเที่ยว   ความต้องการนันทนาการ   เป็นต้น
                3.1)   การพิจารณาเงื่อนไขต่อรอง   ก่อนอื่นลูกค้าจะระบุรูปแบบความเหมาะสมและคุณลักษณะของการบริการที่จะเลือกซื้อบนพื้นฐานของความต้องการส่วนบุคคล   และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ในการนี้ลูกค้าจะต้องสำรวจดูงบประมาณที่มีอยู่   และความจำกัดในการใช้เงินที่สามารถจ่ายเพื่อซื้อบริการ   ดังกล่าว   เมื่อกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เรียบร้อย   ลูกค้าจะดำเนินการค้นหาบริการที่ตรงกับเงื่อนไขที่ตกลงใจไว้   และระบุเป็นบริการที่ตรงกับความต้องการ
                3.2)   การพิจารณาเปรียบเทียบตัวเลือก   เมื่อลูกค้าทราบบริการที่ตรงกับความต้องการก็จะดำเนินการเปรียบเทียบ   และประเมินคุณลักษณะต่างๆ เพื่อค้นหาบริการที่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดมากที่สุด   ลูกค้าก็อาจตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการดังกล่าว
                พฤติกรรมผู้บริโภค   หมายถึง   พฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อ   และการใช้สินค้าและบริการ (ผลิตภัณฑ์) โดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนที่บุคคลต้องตัดสินใจ   ทั้งก่อนและหลังการกระทำ   ดังกล่าว   โดยระบุที่จะถือว่าเป็นผู้บริโภค   ในที่นี้คือ   บุคคลผู้ซึ่งมีสิทธิในการได้มาและใช้ไปซึ่งสินค้าและบริการที่ได้มีการเสนอขายโดยสถาบันทางการตลาด
                จากความหมายนี้จะเห็นได้ว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริโภค   ซึ่งการบริโภคจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร   ที่อยู่อาศัย   เครื่องนุ่งห่ม   ยารักษาโรค   ซึ่งถือเป็นปัจจัย 4 ที่มนุษย์ทุกคนต้องการ   แต่ความต้องการบริโภคสินค้าของแต่ละบุคคลอาจไม่เหมือนกัน   ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของบุคคล   จะเห็นได้ว่าหัวใจของพฤติกรรมผู้บริโภค   ก็คือ   ผู้บริโภคนั่นเอง
                เพราะฉะนั้นจากข้อความข้างต้นพฤติกรรมผู้บริโภค   หมายถึง   กิจกรรม   การแสดงออกต่างๆ และสิ่งที่มีอิทธิพลให้ผู้ซื้อและใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของแต่ละคนย่อมมีทัศนคติ (Attitude) หรือสิ่งจูงใจ (Motive) ของตนเอง   ที่ทำให้พฤติกรรมของตนเองแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ ทัศนคติหรือสิ่งจูงใจเหล่านี้จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา   โดยผลจากการยึดถือสิ่งต่างๆ ตามความคิดของตนเอง   และรับเอาสิ่งต่างๆ จากภายนอกเข้ามา   ซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรมของตนตลอดเวลา
ข้อดี ข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ
                ข้อดี
1) ใช้สื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา   ได้ทุกสถานที่และรวดเร็ว
2) โทรศัพท์มือถือสามารถทำได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น สื่อสาร   ส่งข้อความ   ถ่ายรูป   ฟังเพลง
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ฯลฯ
                ข้อเสีย
                หากผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ผิดหรือใช้ไม่เป็นทำให้เกิดโรคใหม่ๆ ตามมาหลายโรค   โดยโรคที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือที่มีผลกระทบในเชิงวัฒนธรรม   และวิถีชีวิตคนไทย   ได้แก่
1) โรคเห่อตามแฟชั่นที่ต้องเปลี่ยนไปตามรุ่นต่างๆ
2) โรคทรัพย์จางเพราะต้องหาเงินมาซื้อรุ่นใหม่   บางคนถึงขั้นกู้หนี้ยืมสิน
3) โรคขาดความอดทนและใจร้อน   เนื่องจากคุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือกดปุ๊บต้องติดปั๊บ   ทำ
ให้คนกลายเป็นคนไม่มีความอดทน   แม้แต่เรื่องเล็กๆ เช่น   นัดเพื่อนไว้ถ้าช้าแค่ 5 นาที ก็ต้องโทรตามหลายครั้ง   จึงกลายเป็นคนเร่งรีบ   ร้อนรน   และไม่รอบคอบ
4) โรคขาดกาลเทศะและไร้มารยาท   ซึ่งการโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูดทุกเวลา   ไม่ว่า
จะเป็นประชุม   นอน   รับประทานอาหาร   หรือวันหยุดพักผ่อน   โดยไม่ดูเวลาหรือกาลเทศะที่ควรโทร   บางคนโทรขายประกัน   ขายเครื่องกรองน้ำ   ชวนสมัครบัตรเครดิตต่างๆ   ที่ไม่รู้จักกัน   ทำให้ผู้รับสายเกิดความรำคาญใจ
5) โรคขาดมนุษยสัมพันธ์   คนส่วนใหญ่จะใช้มือถือพูดคุยกันกับญาติสนิท   ขาดความใส่ใจที่จะ
สร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น   หลบมุมโทรไปคุยกับเพื่อน/แฟนแทนที่จะคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครองหรือทำกิจกรรม   ทำให้ความสัมพันธ์ในบ้านห่างเหิน   ซึ่งจะเกิดอาการเฉาหรือเหงาหงอย   กลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคมมีโลกของตัวเองและเป็นโรคติดโทรศัพท์ในที่สุด
                 6) โรคไม่จริงใจ   เนื่องจากการพูดคุยทางโทรศัพท์ไม่ต้องเห็นหน้าตา   ท่าทาง   สายตาและ
ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน   ทำให้หลายคนสามารถใช้คำหวานหลอกลวง   หรือพูดโกหกผู้อื่นหรือนิยมส่ง SMS ไปยังอีกฝ่าย   ทำเสมือนรักใคร่   ผูกพันหรือห่วงใย
             นอกจากโรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว   โทรศัพท์มือถือยังทำให้เสียสุขภาพ   เช่น   ทำให้อ่อนเพลีย  ไม่สด-ชื่นเนื่องจากคุยทั้งวันทั้งคืน   หูตึง   หรือมีโรคเกี่ยวกับหู   ปวดไมเกรนหรือมีปัญหาทางเส้นประสาท   เพราะคลื่นจากมือถือที่มีกำลังส่งแรงสูง   เกิดพวกโรคจิตเพิ่มขึ้น คือ พวกชอบแอบถ่าย   หรือบางคนก็ถ่ายภาพหวิวของตัวเองไปลงตามอินเทอร์เน็ตเพราะทำได้ง่าย   และสะดวกสบายขึ้น   และหลายๆ ครั้งมือถือยังทำให้ขาดความระมัดระวัง   ขับคุยไปจนทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน   หรือชนคนอื่น   นอกจากนี้   โทรศัพท์มือถือยังก่อให้เกิดอาชญากรรมถูกคนร้ายติดตามมาทำร้ายร่างกายหรือแย่งชิงทรัพย์ได้ง่ายอีกด้วย
   ผลกระทบต่อสุขภาพ
                คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเป็นได้ศึกษาวิจัยเรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือ   ว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว   และได้เปิดทยอยเผยรายงานการวิจัยดังกล่าวออกมาเป็นระยะๆ   เมื่อไม่นานมานี้   นักวิจัยได้เปิดเผยผลการวิจัยที่ทดลองในสัตว์ทดลองมานานกว่า 7 ปี    พบว่าการใช้โทรศัพท์มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ของมนุษย์ทำให้การซ่อมแซมในระดับเซลล์เสื่อมสมรรถภาพและความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดเนื้องอกหรือมะเร็งที่สมองได้   จากการวิจัยดังกล่าว   นักวิจัยได้นำผลการวิจัยไปศึกษาต่อในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่สมอง   พบว่าเนื้องอกที่สมองมีความสัมพันธ์กับการใช้โทรศัพท์มือถือ   กล่าวคือพบผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกที่สมองจะเป็นข้างเดียวกับที่ใช้โทรศัพท์   และยังพบว่าในเนื้องอกนั้นมีเซลล์ลักษณะพิเศษที่พบเฉพาะในผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือ   ซึ่งนักวิจัยพยายามหาข้อมูลในเชิงระบาดวิทยาให้มากขึ้นเพื่อยืนยันผลการทดลองดังกล่าว
ผลกระทบต่อสังคม
                ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ห่างเหินกัน   เพราะทุกคนหันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สื่อสารกันแทนการไปมาหาสู่   เช่น   การใช้ Video Conference แทนการพบปะปะชุมกัน   อาจก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานเพราะการใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมใหม่ๆ แทนที่แรงงาน   เช่น   การใช้ระบบ Call Center แทนการใช้พนักงาน Operator อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต หรือพิการเป็นภาระของสังคมต่อไป   อาจทำให้สูญเสียขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันดีของเดิมไป   เพราะไปรับวัฒนธรรมใหม่ที่ผ่านเทคโนโลยีสื่อสารคมนาคมสมัยใหม่อย่างรวดเร็ว   อาจสูญเสียความเป็นอิสระ   ความเป็นส่วยตัว   เพราะเทคโนโลยีสื่อสารคมนาคมติดตามตัวไปทุกหนทุกแห่งจนสูญเสียความเป็นอิสระ   และความเป็นส่วนตัวไปรวมทั้งยังก่อให้เกิดความฟุ้งเฟ้อ   โดยถือว่าการมีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเครื่องประดับแสดงฐานะทางสังคมอย่างหนึ่ง   ที่จำเป็นต้องมีเพื่อความทัดเทียมกับผู้อื่น
สรุป
                จากบทความดังกล่าวข้างต้นในเรื่องพฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์จะเห็นว่าพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นในปัจจุบันถือว่าเป็นวัฒนธรรมใหม่ของวัยรุ่นไปแล้ว   เนื่องจากโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงสถานะทางสังคม   และความโก้เก๋ของวัยรุ่นที่ต้องการจะเปลี่ยนโทรศัพท์บ่อยๆ เพราะว่าไม่อยากใช้โทรศัพท์ที่ตกรุ่น   กลัวว่าจะไม่ทัดเทียมกับเพื่อน   และโทรศัพท์มือถือยังทำงานได้หลากหลายและสะดวกสบายมากขึ้น   ทำให้วัยรุ่นใช้เวลาในแต่ละวันอยู่กับโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่จนไม่ค่อยสนใจผู้คนรอบข้าง   จึงทำให้วัยรุ่นเห็นว่าโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน   และพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่นก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อสังคม   และผลกระทบต่อสุขภาพ
บรรณานุกรม
รัตนะ  บัวสนธ์   และคณะ.2551. พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร.รายงานการวิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
http://mobile-manman.blogspot.com/2012/05/blog-post.html
http://www.one-2-win.com/telephone_01.htm
computer.pcru.ac.th/emoodledata/52/ch2/ch2.doc








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น