วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความเครีดกับสังคมไทย นาย ธรณินทร์ พรหมศรี 53242018


ความเครียดในสังคมไทย
          สังคมเราทุกวันนี้มีแต่ความวุ่นวายและความรุนแรงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ การทำงาน การใช้ชีวิตก็ดูจะวุ่นวายมากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งของความเครียด โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่นอกจากจะมีปัญหาดังกล่าวแล้วยังมีปัญหาการจราจรที่ติดขัดเพิ่มมาอีกซึ่งต้องแข่งกับเวลามากขึ้น ความเครียดที่มากเกินไปย่อมมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของบุคคล นอกจากจะทำให้สมรรถภาพในการทำงานลดลงแล้ว ยังทำให้ความสามารถในการใช้เหตุผล การควบคุมอารมณ์ และควบคุมพฤติกรรมของตนเองลดลงตามไปด้วย
        คนที่ตกอยู่ในภาวะเครียดมากๆ จึงมักจะคุยไม่รู้เรื่อง เจรจาตกลงกันยากขึ้น และใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ซึ่งในทางการแพทย์พบว่าโรคเครียด หรือโรคสุขภาพจิตเสื่อม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคปวดศรีษะ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ รวมไปถึงโรคมะเร็งและอีกหลายๆ โรค ดังนั้นเราจึงควรหาวิธีรักษาและดูสุขภาพจิตของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ      
       “ความเครียด” เป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆและทำให้ถูกรู้สึกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นว่ายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับหรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายจะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายเสียไป
              นักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่มีแนวคิดบนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า ร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นร่างกายเราสามารถจัดการกับความเครียดซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมได้และการจัดการนั้นจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ร่างกายจะมีการตอบสนองเป็นปฏิกิริยาเตือน เพื่อนำไปสู่การเตรียมตัวต่อต้าน หลังจากได้รับการเตือนและร่างกายพร้อมที่จะทำการต่อต้าน โดยการนำวิธีการจัดการกับปัญหาหลายๆ วิธีมาใช้ อันนำไปสู่การปรับตัว เพราะการปรับตัวคือ กระบวนการในการจัดการปัญหา จัดการกับอารมณ์ ความเจ็บป่วย เป็นต้น หากเกิดกระบวนการเช่นนี้บ่อยครั้ง และการจัดการกับปัญหาไม่ประสบความสำเร็จ การปรับตัวก็จะลดน้อยลง และร่างกายก็เข้าสู่ภาวะหมดแรง ณ จุดนี้จะมีการลดลงของการต่อต้าน ร่างกายก็จะอ่อนแอลงและมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเจ็บป่วย
ความเครียดในวัยเด็ก
           เมื่อเด็กได้รับความเครียดหรือต้องเผชิญกับความเจ็บปวดในวัยเด็กไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้จะเข้าไปฝังในก้านสมอง สมองสามารถตอบสนองต่อความทุกข์ทรมานได้และจะเกิดความไวต่อความเครียดที่เกิดขึ้น ดร.ราจิตา สินหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเครียดของมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้สมองจะสร้างเส้นใยที่แน่นหนาต่อความเครียดที่เกิดขึ้นกับเด็กที่มีประวัติได้รับความทุกข์หรือความเจ็บปวดในวัยเด็กและจะฝังติดแน่นอยู่มากกว่าเด็กที่ไม่มีประวัติ ความเจ็บปวด โรคภัยไข้เจ็บ และการบาดเจ็บจะเป็นความเครียดหลักสำหรับเด็กๆ แต่ระดับความเครียดจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว เช่นการหย่าร้าง การทารุณทั้งร่างกายและจิตใจ การต้องเห็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว ปัญหาเรื่องการเงิน การสูญเสียผู้เป็นที่รัก หรือมีผู้ปกครองที่ติดยา หรือมีปัญหาทางจิต
          การจากศึกษาของศูนย์สุขภาพจิต พบว่าโดยธรรมชาติแล้วเมื่อเด็กเกิดความเครียดในระดับสูง เด็ก 1 ใน 8 คนอาจต้องเผชิญกับโรควิตกกังวล หวาดระแวงจนถึงขั้นเป็นโรคจิตได้ จากการศึกษาของดร.ราจิตาพบว่า เด็กเล็กที่อยู่ภายใต้ความเครียดจะมีอาการก้าวร้าวหรือซึมเศร้าที่น่าเป็นห่วง ในเด็กวัยรุ่นจะมีอาการแยกตัว จิตใจอ่อนแอ อารมณ์ไม่มั่นคง มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ เป็นต้น
        ถึงแม้ว่าเราอาจจะมีครอบครัวที่แสนอบอุ่น แต่บางครั้งผู้ปกครองก็ไม่สามารถสร้างโล่ป้องกันความเครียดได้ตลอดเวลา เช่นปัญหาเด็กถูกแกล้งที่โรงเรียน หรือสูญเสียญาติผู้ใหญ่อย่างกะทันหัน แต่เราในฐานะที่เราเป็นคุณพ่อ คุณแม่ คุณครู หรือผู้ดูแลเด็กเราสามารถช่วยเป็นกำลังใจ ปกป้อง คอยดูแลช่วยเหลือ แนะนำ และพูดคุย เพื่อให้เด็กผ่านประสบการณ์เหล่านั้นไปได้
ความเครียดในวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม จึงทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเครียดอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพัฒนาการเหล่านี้อย่างมากตามไปด้วย นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศจนถึงระดับโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจการเมือง ค่านิยม และวัฒนธรรม ล้วนมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นอย่างมาก รวมไปถึงการที่พ่อแม่และสังคมมีความคาดหวังต่อวัยรุ่นสูง โดยเฉพาะในด้านการเรียน ปัจจัยเหล่านี้รวมกันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นในปัจจุบัน ต้องเผชิญกับความเครียดในชีวิตประจำวันมากกว่าวัยรุ่นในอดีต
สาเหตุความเครียดของวัยรุ่น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกิดความเครียดบ่อย ๆ ได้แก่

      1. ปัญหาความสัมพันธ์และความขัดแย้งกับผู้อื่น เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนต่างเพศ ครูอาจารย์ เป็นต้น
      2. ปัญหาภายในครอบครัว เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การทะเลาะเบาะแว้งและการทำร้ายร่างกายของพ่อแม่ การหย่าร้างของพ่อแม่ การเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิตของพ่อแม่และญาติพี่น้อง การถูกพ่อแม่ลงโทษด้วยความรุนแรง การถูกพ่อแม่ตำหนิหรือดุว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว
     3. ปัญหาการเรียนและปัญหาอื่นในโรงเรียน พ่อแม่ในปัจจุบันมักคาดหวังกับลูกวัยรุ่นสูงในเรื่องการเรียน วัยรุ่นที่เรียนไม่เก่ง หรือเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควรจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคทักษะด้านการอ่านบกพร่อง ขาดกำลังใจ เป็นต้น
     4. ปัญหาสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพ
     5. ปัญหาจากตัววัยรุ่นเอง เช่น รูปร่าง หน้าตาและความเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงวัยรุ่น ความ       คิดความรู้สึกต่อตนเองในทางลบ รับผิดชอบกิจกรรมหลายอย่าง การมีความคาดหวังว่าต้องทำทุกอย่างสมบูรณ์แบบ การรับความคาดหวังจากพ่อแม่และผู้อื่นมาเป็นของตนเอง และป่วยเป็นโรคทางกายเรื้อรัง เป็นต้น
      วัยรุ่นแปลความหมายของปัญหาที่ทำให้เกิดความตึงเครียดแตกต่างกันไป ตามประสบการณ์ของแต่ละบุคคล และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เพศ อายุ ระดับพัฒนาการด้านความคิด อารมณ์ และสังคม รวมไปถึงอิทธิพลจากครอบครัว สังคม และวัฒนธรรม และปัจจัยเหล่านี้ยังมีส่วนกำหนดว่าวัยรุ่นจะจัดการกับความเครียดอย่างไร วัยรุ่นหญิงมักตึงเครียดจากสาเหตุความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าวัยรุ่นชาย ในเรื่องปัญหาการเรียนและปัญหาในโรงเรียน พบว่าวัยรุ่นตอนต้นมักตึงเครียดจากปัญหาการปรับตัวในโรงเรียน ส่วนวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลายตึงเครียดจากปัญหาการเรียนและการเลือกอาชีพมากกว่า
ความเครียดในวัยผู้ใหญ่
       วัยผู้ใหญ่ วัยนี้เป็นวัยของการทำงาน ต้องหาเลี้ยงทั้งตัวเองและครอบครัว ต้องพยายามสร้างชีวิตให้ มั่นคงและก้าวหน้าเพื่อเกียรติยศ ศักดิ์ศรี เพื่อได้รับการยอมรับจากคนในสังคม เพื่อสร้างความมั่นใจและความ ภาคภูมิใจในตนเอง ความเครียดในวัยผู้ใหญ่โดยทั่วไปจึงมักเกิดจากการมีความรับผิดชอบในการทำงาน รวมทั้ง ความรับผิดชอบในครอบครัว
ความเครียดในวัยผู้สูงอายุ
        สำหรับในรายของผู้สูงอายุนั้นส่วนใหญ่มีสาเหตุความเครียดมากจากด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย ประกอบกับภาวะโรคต่างๆที่เกิดขึ้นตามมาทำให้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและเอาใจใส่อยู่เสมอ

        ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย
ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดี มันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย
ชนิดของความเครียด
1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกันโดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไปร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด
เสียง
อากาศเย็นหรือร้อน
ชุมชนที่คนมากๆ
ความกลัว
ตกใจ
หิวข้าว
อันตราย
2. Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง
ความเครียดที่ทำงาน
ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ความเครียดของแม่บ้าน
ความเหงา
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
        เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดัน หรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ
สิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุการณ์ทำให้เกิดความเครียด   มี 3 ชนิด คือ
1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที มีลักษณะเฉพาะ มีอำนาจ/อิทธิพลต่อชีวิตมาก ต้องการการปรับตัวของคนจำนวนมาก เป็นกลุ่มที่แบ่งปันประสบการณ์ มักไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ สงคราม การทิ้งระเบิดปรมาณู
2. เหตุการณ์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตบุคคลจำนวนไม่มากหรือเฉพาะบุคคล แต่ไม่มีอำนาจหรืออิทธิพลทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้น ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความตาย การผ่าตัด การออกจากงาน การหย่า การคลอดลูก
3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างคงที่ สม่ำเสมอ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เรียกว่าเป็นชีวิตประจำวัน เช่น ความลำบากในชีวิตครอบครัว ความขัดแย้งระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งทางเพศ ความสัมพันธ์กับเด็กและคนสูงอายุในบ้าน ความไม่พอใจในงาน ที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตอันตราย เป็นต้น

ผลเสียต่อสุขภาพ
        ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์
วิธีจัดการกับความเครียด
        การจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การระงับหรือหลีกเลี่ยงความเครียดแต่เป็นการ "ปรับ" และ "เผชิญ" กับความเครียดโดยไม่มีผลติดตามมาในทางลบ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ
-ต้องรู้ตัวว่าตัวเองกำลังเครียด (ดูจากผลกระทบของความเครียด)
-ทบทวนหาสาเหตุของความเครียด
-เรียนรู้วิธีจักการกับความเครียด
         วิธีจัดการกับความเครียด มีหลายวิธีให้เลือกในส่วนของการฝึกปฏิบัติมีให้ท่านเลือก  2 วิธี การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ และการฝึกการหายใจ ไม่จำเป็นต้องฝึกทั้ง 2 วิธี ให้เลือกวิธีใดวิธีหนึ่งสำหรับการปฏิบัติตัว เมื่อมีความเครียดเริ่มได้ตั้งแต่
ทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่อยากทำ เช่น อ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ วาดรูป ฟังเพลง ฯลฯ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ไม่ทำลายสุขภาพตนเองด้วยการกินเหล้า สูบบุหรี่ กินยาบ้าหรือยาเสพติดอื่นๆ
          การฟังดนตรีคลายเครียด เมื่อฟังดนตรีจิตใจจะสบายและพึงพอใจการฟังดนตรีเพื่อคลายเครียดควรเลือกเพลงที่ชอบ และควรเป็นเพลงที่มีจังหวะช้าๆ เสียงกลางถึงต่ำ จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความดันโลหิตและลดความตึงเครียดของจิตใจ
           การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเพื่อคลายเครียด ควรเลือกกีฬาที่ชอบและถนัด ควรเป็นกีฬาที่ต้องออกแรงเต็มที่ เช่น วิ่งเร็ว ยกน้ำหนัก วิดพื้น ตีแบดมินตัน เทนนิส ฟุตบอล ฯลฯ การเล่นกีฬา ถ้าจะเล่นเพื่อคลายเครียดจริงๆ ควรใช้เวลาในการเล่นประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดของกีฬา สำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในการเล่นกีฬาอาจใช้กายบริหาร เช่น โยคะ หรือมวยจีน แทนก็ได้ เพราะการฝึกโยคะและมวยจีนทำให้จิตใจมีสมาธิ ลดความฟุ้งซ่านของจิตใจลงได้
          การพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อมีความเครียดร่างกายและจิตใจจะถูกกระตุ้นมากจนทำให้นอนไม่หลับ หลับยากหรือหลับๆ ตื่นๆ ถ้านอนไม่หลับ ลองปฏิบัติดังนี้
- ฝึกเข้านอนให้เป็นเวลา เพราะความเคยชินจะทำให้สมองเฉื่อยชา เมื่อได้เวลาหลับ
- หาหนังสืออ่านก่อนนอน ฟังเพลงเบาๆ ที่ไพเราะ หรือฟังเทปธรรมะ
- บางคนเล่นกีฬาตอนเย็นทำให้นอนหลับง่าย บางคนเล่นกีฬาตอนเย็นเป็นประจำทำให้นอนหลับยากเพราะร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป บางคนออกกำลังกายหรือวิ่งในตอนเช้าจะรู้สึกร่างกายตื่นตัวตลอดวัน เมื่อใกล้เวลานอนจะรู้สึกง่วงและหลับได้ง่ายขึ้น การออกกำลังกายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละบุคคล
         การจัดการกับอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ในที่นี้จะพูดถึงอารมณ์โกรธและขี้อิจฉา เมื่อมีอารมณ์โกรธร่างกายจะเต็มไปด้วยความเครียด ความแค้น อัดแน่นในใจ ส่วนใหญ่ มักจะขาดความยังคิด ขณะมีอารมณ์โกรธให้รู้ตัวว่ากำลังโกรธ และไม่เปลี่ยนอารมณ์โกรธไปเป็นอารมณ์อื่น เช่น อารมณ์เกลียด ขณะมีอารมณ์โกรธให้นับ 1 - 10 หรือหายใจเข้าออกลึกๆ หลายครั้ง หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ถ้าคุณยังเผชิญหน้ากับคนที่คุณโกรธไม่ได้ ลองเขียนระบายในกระดาษปลดปล่อยความโกรธออกมาเขียนอะไรก็ได้ที่อยากเขียน พออารมณ์สงบ ฉีกกระดาษเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและทิ้งไปเมื่ออารมณ์สงบแล้วจึงเผชิญหน้ากับคนที่คุณโกรธ อารมณ์ขี้อิจฉา คนที่มีอารมณ์ขี้อิจฉา หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น
         มองในเชิงบวก มองในแง่ดี หลายๆ คนเมื่อประสบความล้มเหลวในชีวิตมักจะท้อแท้สิ้นหวัง และคิดลงโทษตัวเอง คิดว่าความผิดพลาดทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะตัวเอง ดูถูกตัวเองว่าด้อยคุณค่า ไร้ความสามารถ เศร้าหมอง และหมดกำลังไปตลอดชีวิต แต่บางคน แม้จะพบกับความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่าก็ยังมุ่งมั่นบากบั่นไม่ท้อถอย ฝ่าฟันอุปสรรคจนประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะมีกำลังใจที่จะทุ่มเทในการทำงานอย่างมาก ความคิดในแง่ดี มองอุปสรรคหรือความล้มเหลวว่าเป็นสิ่งท้าทาย เริ่มต้นจาก การมองตัวเองในแง่ดี มองอุปสรรคหรือความล้มเหลวว่าเป็นสิ่งท้าทาย เริ่มต้นจาก การมองตัวเองในแง่ดี มองว่าตัวเองมีความสามารถอะไรบ้าง เช่น อาจจะทำงานเก่งแต่พูดไม่เก่งก็ควรภาคภูมิในจุดนี้ มองตัวเองในแง่ดี แล้วควรมองผู้คนและเหตุการณ์รอบข้างในแง่ดีด้วย จะทำให้มีความคิดดี อารมณ์แจ่มใส มีสติที่จะแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
         ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ในชีวิตคนเรามักจะพบกับความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงที่ดีจะทำให้จิตใจเป็นสุข ถ้าเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้ามมักจะยอมรับไม่ได้ ทำให้จิตใจไม่เป็นสุข ถ้าเปลี่ยนแปลงในทางตรงกันข้ามมักจะยอมรับไม่ได้ ทำให้จิตใจไม่เป็นสุข ลองคิดว่าการเปลี่ยนแปแลงต่างๆ มักจะมีเหตุผลในการเปลี่ยนแปแลงเสมอ เช่น อยากรวยก็ต้องขยันทำงาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ขอให้มองหาเหตุผลว่าเกิดจากอะไร ถ้าหากท่านทุ่มเทกับงานอย่างมาก แต่ไม่ได้รับผลดีเท่าที่คิดไว้ ก็คงต้องทำใจให้ยอมรับ และคิดหาเหตุผลที่จะแก้ไขต่อไป หรือถ้าท่านอกหักขอให้มองที่เหตุผลว่าเป็นเพราะอะไรอาจจะเป็นที่เราเองหรือคนรัก และคงต้องทำใจให้ยอมรับและปรับปรุงแก้ไขตัวเองให้ดีขึ้น ในวันข้างหน้าเราอาจจะพบรักคนใหม่ที่เหมาะสมกว่า หรือถ้าไม่พบใครที่เหมาะสมและถูกใจ การอยู่เป็นโสดก็เป็นสุขอีกแบบหนึ่ง
          หาคนปรับทุกข์ เมื่อมีความเครียดมักจะเก็บความสับสนและกังวลใจเอาไว้คนเดียวทำให้อึดอัดไม่มีความสุขลองหาคนไว้ใจได้ อาจจะเป็นสามีภรรยาพ่อแม่หรือเพื่อนสนิท พูดระบายความคับข้องใจ ถ้าหากไม่ไว้ใจคนใกล้ชิดก็ลองใช้บริการจากสถานบริการของรัฐ ที่มีบริการสายด่วนสุขภาพจิตก็ได้
 หัดเป็นคนมีอารมณ์ขัน ยิ้มหัวเราะ ชีวิตคนไม่จำเป็นต้องมีสาระตลอดไปหัดเป็นคนมีอารมณ์ขัน ยิ้มและหัวเราะบ้าง เพราะการหัวเราะร่างกายจะผลิตฮอร์โมน "ความสุข" ออกมา นอกจากนั้นการหัวเราะทำให้เลือดขยายตัว ทำให้เลือดไหลเร็วมากขึ้น ทำให้ร่างกายภายในอบอุ่น ออกซิเจนไปเลี้ยงทุกเซลล์ของร่างกาย ระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ สามารถต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ กระตุ้นให้เจริญอาหาร หัวเราะ 1 นาที เท่ากับได้พักผ่อน 45 นาที
         ภาวะสุขภาพจิตคนไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ตามสภาวะแวดล้อมและวิถีชีวิตคือ ชีวิตคนเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองหลักๆ ของไทย เราจะพบว่าวิถีชีวิตของคนเมืองมักเคร่งเครียด ต้องแข่งกับเวลาและแข่งขันกับคนอื่น อีกทั้งค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น ทำให้คนเมืองต้องแบกรับภาระต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้หลายๆ คนเกิดภาวะเครียด และบางรายไปหาทางออกที่ผิดๆ เช่น ดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติดเพื่อระบายความเครียด
         ส่วนชีวิตคนต่างจังหวัด แม้ว่าค่าครองชีพสูงขึ้น แต่พวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องแข่งขันหรือชิงดีชิงเด่นกับใคร ใช้ชีวิตอยู่แบบพอเพียง อีกทั้งยังเป็นสังคมแบบไทยดั้งเดิม คือมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใกล้ชิดศาสนา ทำให้คนต่างจังหวัดมีภาวะความเครียดน้อยกว่าคนเมือง
ปัจจัยหลักๆ ที่เป็นตัวกำหนดว่าสุขภาพจิตของคนไทยมีทิศทางเป็นอย่างไร คงต้องมองจากเรื่องใกล้ตัวในชีวิต ประจำวัน ซึ่งหนีไม่พ้นเรื่องของปัจจัย 4 หรือชีวิตความเป็นอยู่นั่นเอง ปัญหาความเครียดเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ภาวะว่างงาน ปัญหาการเมือง ไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด หากหลายๆ ฝ่ายช่วยกันทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นในทุกด้าน ย่อมส่งผลถึงความสุขของคนไทย ก็จะทำให้สุขภาพจิตของคนไทยดีขึ้นได้

1 ความคิดเห็น:

  1. งานเขียนนี้

    - ชื่อบทความกับเนื้อหา ไม่ตรงกัน
    - ขาดความคิดเห็นของผู้เขียน ไม่มีเนื้อหาอะไรที่ต้องการสื่อออกมาอย่างชัดเจน

    ตอบลบ