วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้สื่อในทางที่ผิด(แบล็คเมล์) น.ส.ชญานิศ ไชยโย 53241783


..ชญานิศ ไชยโย รหัส 53241783
 
การใช้สื่อในทางที่ผิด การแบล็คเมล์

Blackmail คือ การรีดเอาทรัพย์เป็นความผิดอาญาประกอบด้วยการข่มขู่ว่าจะเปิดเผยต่อบุคคลที่สามหรือสาธารณชนซึ่งข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวเนื่องกับบุคคลครอบครัวของบุคคล หรือสมาคมของบุคคลนั้น เว้นแต่บุคคลนั้นจะยอมตามข้อเรียกร้องความผิดนี้อาจเรียกว่าเป็นการข่มขืนใจ (coercion) โดยมีการข่มขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายจะดำเนินคดี หรือเพื่อบังคับให้ส่งเงินทรัพย์สินมาให้ ทั้งนี้เป็นชื่อความผิดฐานความผิดตามกฎหมายของแคว้นอังกฤษและเวลส์กับแคว้นไอร์แลนด์เหนือของสหราชอาณาจักรประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย ประเทศเยอรมนี รัฐวิกตอเรียของประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา กับทั้งใช้เรียกความผิดอื่น ๆ ทำนองเดียวเพื่อความสะดวกปาก แต่ไม่ได้เป็นศัพท์กฎหมายในกฎหมายอังกฤษจนกระทั่งปี 2511
ชื่อความผิดนี้ในภาษาอังกฤษมีที่มาจากชาวอังกฤษซึ่งอาศัยอยู่ตามตะเข็บชายแดนประเทศสกอตแลนด์และมักให้ทรัพย์สินเงินทองแก่หัวหน้าเผ่าชาวสกอต เพื่อแลกกับการคุ้มครองพวกตนจากเหล่าโจรปล้นชิงวิ่งราว
การรีดเอาทรัพย์อาจนับว่าเป็นการกรรโชก (extortion)รูปแบบหนึ่งแม้โดยปรกติแล้ว คำ "รีดเอาทรัพย์"กับ "กรรโชก" เป็นไวพจน์ของกันและกัน แต่ในทางกฎหมาย การกรรโชกมุ่งหมายถึงการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยข่มขู่ว่าจะทำอันตราย อนึ่งการรีดเอาทรัพย์นั้นยังหมายถึง การข่มขู่บุคคลอื่นมิให้ประกอบอาชีพตามกฎหมายการเขียนหนังสือว่าร้าย การเขียนหนังสือชี้ชวนให้ละเมิดอาญาบ้านเมือง ตลอดจนการข่มขู่เพื่อเรียกให้ชำระหนี้สินค้างบางรัฐในสหรัฐอเมริกากำหนดองค์ประกอบความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ว่าต้องเป็นการข่มขู่โดยทำเป็นหนังสือเพื่อแยกความผิดฐานนี้กับฐานอื่น ๆ

จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฎเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆบนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆเข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายการใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้
1.        ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.        ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.        ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.        ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.        ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.        ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.        ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.        ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.        ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
1.        10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท
จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

 ตัวอย่างของการกระทำที่ผิดจริยธรรม
1. การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3. การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4. การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้วจะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) เป็นสิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่นสิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งตัวบุคคล กลุ่มบุคคลและองค์กรต่างๆซึ่งการละเมิดความเป็นส่วนตัวเช่น การดูข้อมูลในคอมพิวเตอร์ หรือการแอบเข้าไปดูข้อความใน e-Mail ของบุคคลอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy) คือการบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง การเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นความจริง
3. ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) เป็นกรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์ ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์  แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์  สิ่งพิมพ์  แฟลชไดร์ฟ เป็นต้น               
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) เป็นการกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และเข้าถึงข้อมูล เพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว
ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น 6 ฉบับ ดังนี้
1.  กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2.  กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.  กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4.  กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5.  กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6.  กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
            ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  ส่วนกฏหมายอีก 4 ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2546)

กฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศ
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษอันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (National Information Infrastructure Law)
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อ มูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอัน รวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
5. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

หลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั่วโลกเพราะเป็นช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วรวมถึงธุรกิจและพาณิชย์ในด้านต่างๆช่วยในเรื่องการลดระยะเวลาและต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้โดยทั่วไป ยังไม่เห็นความสำคัญ ของการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยเท่าที่ควรเนื่องจากยังขาดความรู้ในการใช้งานและวิธีป้องกันหรืออาจคิดว่าคงไม่มีปัญหาอะไรมาก ในการใช้งาน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตัวเองแล้ว ก็ทำให้ตนเองเดือดร้อน เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ ดังนี้
1. ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
2. ไม่ส่งหลักฐานส่วนตัวของตนเองและคนในครอบครัวให้ผู้อื่น เช่น สำเนาบัตรประชาชน เอกสารต่างๆ รวมถึงรหัสบัตรต่างๆ เช่น เอทีเอ็ม บัตรเครดิต ฯลฯ
3. ไม่ควรโอนเงินให้ใครอย่างเด็ดขาด นอกจากจะเป็นญาติสนิทที่เชื่อใจได้จริงๆ
4. ไม่ออกไปพบเพื่อนที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต เว้นเสียแต่ว่าได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครองและควรมีผู้ใหญ่หรือเพื่อนไปด้วยหลายๆ คน เพื่อป้องกันการลักพาตัว หรือการกระทำมิดีมิร้ายต่างๆ
5. ระมัดระวังการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตรวมถึงคำโฆษณาชวนเชื่ออื่นๆ เด็กต้องปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยต้องใช้วิจารณญาณ พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ขาย 
6. สอนให้เด็กบอกพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู ถ้าถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (Internet Bullying)
7. ไม่เผลอบันทึกยูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ดขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ อย่าบันทึกชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ดของคุณบนเครื่องคอมพิวเตอร์นี้อย่างเด็ดขาด เพราะผู้ที่มาใช้เครื่องต่อจากคุณ สามารถล็อคอินเข้าไป จากชื่อของคุณที่ถูกบันทึกไว้ แล้วสวมรอยเป็นคุณ หรือแม้แต่โอนเงินในบัญชีของคุณจ่ายค่าสินค้าและบริการต่างๆ ที่เขาต้องการ ผลก็คือคุณอาจหมดตัวและล้มละลายได้
8. ไม่ควรบันทึกภาพวิดีโอ หรือเสียงที่ไมเหมาะสมบนคอมพิวเตอร์ หรือบนมือถือ เพราะภาพ เสียง หรือวีดีโอนั้นๆ รั่วไหลได้ เช่นจากการแคร็ก ข้อมูลหรือถูกดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม เพียร์ ทู เพียร์ (P2P) และถึงแม้ว่าคุณจะลบไฟล์นั้นออกไปจากเครื่องแล้ว ส่วนใดส่วนหนึ่งของไฟล์ยังตกค้างอยู่ แล้วอาจถูกกู้กลับขึ้นมาได้ โดยช่างคอม ช่างมือถือ
9.  จัดการกับ Junk Mail จังค์ เมล์ หรือ อีเมล์ขยะ ปกติ การใช้อีเมล์จะมีกล่องจดหมายส่วนตัว หรือ Inbox กับ กล่องจดหมายขยะ Junk mail box หรือ Bulk Mail เพื่อแยกแยะประเภทของอีเมล์ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะคัดกรองจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตัวเอง เพื่อกันไม่ให้มาปะปนกับจดหมายดีๆ ซึ่งเราอาจเผลอไปเปิดอ่าน แล้วถูกสปายแวร์ แอดแวร์เกาะติดอยู่บนเครื่อง หรือแม้แต่ถูกไวรัสคอมพิวเตอร์เล่นงาน
10. จัดการกับแอดแวร์ สปายแวร์จัดการกับสปายแวร์แอดแวร์ที่ลักลอบเข้ามาสอดส่องพฤติกรรมการใช้เน็ตของคุณ ด้วยการซื้อโปรแกรมหรือไปดาวน์โหลดฟรีโปรแกรมมาดักจับและขจัดเจ้าแอดแวร์ สปายแวร์ออกไปจากเครื่องของคุณ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีได้ที่แต่แค่มีโปรแกรมไว้ในเครื่องยังไม่พอ คุณต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมออนไลน์และสแกนเครื่องของคุณบ่อยๆด้วยเพื่อให้เครื่องของคุณปลอดสปาย ข้อมูลของคุณก็ปลอดภัยโปรแกรมล้าง แอดแวร์ และสปายแวร์ จะใช้โปรแกรมตัวเดียวกัน ซึ่งบางครั้งเขาอาจตั้งชื่อโดยใช้แค่เพียงว่าโปรแกรมล้าง แอดแวร์ แต่อันที่จริง มันลบทิ้งทั้ง แอดแวร์ และสปายแวร์พร้อมๆ กัน เพราะเจ้าสองตัวนี้ มันคล้ายๆ กัน
11. จัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนดักจับและฆ่าไวรัสซึ่งอันนี้ควรจะดำเนินการทันทีเมื่อซื้อเครื่องคอม เนื่องจากไวรัสพัฒนาเร็วมากมีไวรัสพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แม้จะติดตั้งโปรแกรมฆ่าไวรัสไว้แล้ว ถ้าไม่ทำการอัพเดทโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ต เวลาที่มีไวรัสตัวใหม่ๆ แอบเข้ามากับอินเทอร์เน็ต เครื่องคุณก็อาจจะโดนทำลายได้ 
12. ใช้ Adult Content Filter ในโปรแกรม P2P สำหรับผู้ชื่นชอบการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรมแชร์ข้อมูล P2P ให้ระวังข้อมูลสำคัญ ไฟล์ภาพ วีดีโอส่วนตัวหรืออะไรที่ไม่ต้องการจะเปิดเผยสู่สาธารณะชน ควรบันทึกลงซีดี ดีวีดี หรือเทปไว้ อย่าเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะคุณอาจถูกเจาะเอาข้อมูลเหล่านี้ไปได้
13. กรองเว็บไม่เหมาะสมด้วย Content Advisor ในอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอ ในโปรแกรมเว็บ บราวเซอร์ อย่าง อินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอก็มีการตั้งค่า คอนเทนท์ แอดไวเซอร์ หรือฟังก์ชั่น การกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กไม่สามารถเปิดเข้าไปในเว็บไซท์ที่มีภาพและเนื้อหา โป๊ เปลือย ภาษาหยาบคาย รุนแรงได้ และยังมีการตั้งพาสเวิร์ด หรือรหัส สำหรับผู้ปกครอง เพื่อกันเด็กเข้าไปแก้ไขการตั้งค่าของคุณ ซึ่งคุณสามารถเข้าไปปลดล็อกได้ทุกเมื่อ ถ้าคุณจำเป็นต้องเข้าเว็บไซท์บางเว็บไซท์

การใช้สื่อในการแบล็คเมล์เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศ
การสื่อในทางที่ผิด ประกอบด้วย รูปภาพ คลิปเสียง คลิปวีดีโอ ลายลักษณ์อักษร รูปแบบการในการแสวงหาประโยชน์หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ถูกหลอกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถูกบังคับให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศเพื่อการผลิตสื่อลามก และใช้สื่อที่มีอยู่ เป็นเครื่องมือในการบังคับ ขู่เข็ญ หรือแบล็คเมล์ผู้เสียหาย รวมถึงการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นการสร้างโอกาสทางการค้า ให้กับผู้แสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้เสียหายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงการมีผู้ผลิตสื่อลามกมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ง่ายต่อการสร้างเครือข่ายและเข้าถึงเครือข่ายที่เผยแพร่สื่อลามก สื่อลามกผู้เสียหายถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกผ่านทางอินเทอร์เน็ต ในกลุ่ม วัยรุ่น เด็ก ได้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเหยื่อของภัยคุกคามที่เกี่ยวกับเรื่องลามกอนาจารทางอินเตอร์เน็ต การนำเสนอตัวเองโดยการอัพโหลดภาพถ่ายของตนผ่านทางสื่อออนไลน์ที่อยู่ในกระแสการบริโภค อาทิเช่น Facebook, Twitter เป็นต้น ในโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้คนมีความคิดเป็นของตัวเองและมีความมั่นใจมากขึ้น กล้าทีจะโชว์เรืองร่าง หรืออวัยวะ เช่นหน้าอก หรืออื่นๆ ในขณะที่ถ่ายรูป และในพื้นที่ส่วนตัวที่ล่อแหลม ที่จะทำให้สาวๆเหล่านั้นตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย
นอกจากนั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่และสิ่งของที่เป็นแฟชั่นทันสมัย อาทิเช่น นิตยสาร ทีวี และอินเตอร์เน็ต รวมถึงเรื่องราวและภาพลามกอนาจารทางอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้เด็กสาวดังกล่าวอาจมีพฤติกรรมเลียนแบบสื่อ และในค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงที่มีการ รวมถึงบันทึกภาพหรือวิดีโอ ในขณะที่มีเพสสัมพันธ์ ถ่ายภาพตอนจูบ กอด และสวมใส่เสื้อที่ยั่วยุทางเพศ ในขณะเดียวกันสาวๆบางส่วนใช้ช่องทางทางอินเตอร์เน็ตในการหาคู่ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้หญิงสาวตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามได้ง่ายขึ้น หรืออาจมีการนำสื่อมัลติมีเดียในการแบล็คเมล์เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศ
การใช้สื่อในทางที่ผิดนั้น ในยุคแห่งการสื่อสารที่ทันสมัย ไม่ว่าจะอินเตอร์เน็ตหรือโทรศัพท์ นอกจากผู้ใช้จะได้รับประโยชน์แล้ว ยังให้โทษหรือผลเสียจากการใช้ผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์อย่างคาดไม่ถึงมาตรฐานของโทรศัพท์มือถือ เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนที่ระบบการสื่อสารแบบเดิม ยิ่งทำให้โลกยิ่งแคบและคนยิ่งใกล้กันมากขึ้น โดยเฉพาะในหมู่เด็กวัยรุ่นที่ชื่นชอบทั้งการแชต การเล่นFacebookอาจตกเป็นเหยื่อผู้ไม่หวังดีได้

ความเสื่อมโทรมของสังคมและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของวัยรุ่น
 ในเรื่องความเสื่อมโทรมของสังคมและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของวัยรุ่น  ในปัจจุบันหากใช้สื่อผิดประเภทและไม่ถูกวิธี ก็อาจจะได้รับผลเสียหรือตกเป็นเหยื่อจากภัยสังคมได้ เพราะวัยรุ่นส่วนมากใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อวัตถุประสงค์อื่นมากกว่าการค้นคว้าหาข้อมูล ส่วนมากจะใช้เล่นFacebookที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่น
ที่นอกจากจะมีการโพสต์รูปของตัวเองแล้ว ยังมีการขายบริการทางเพศแอบแฝงอีกด้วย
 โปรแกรมแชตออนไลน์ที่วัยรุ่นส่วนมากใช้สนทนากัน เช่น เอ็มเอสเอ็น และไลน์ รวมถึงเกมออนไลน์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น เนื่องจากเกิดการติดงอมแงม เลิกไม่ได้ และหากไม่ได้เล่นก็จะเหงา เศร้า บางรายอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวและชอบใช้กำลังร่วมด้วย
เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันมีกล้องที่สามารถติดต่อคุยกันหรือโชว์อวัยวะเพศกันสดๆ ยิ่งเพิ่มความตื่นเต้นเร้าใจขึ้นไปอีก ที่น่าเป็นห่วงก็คือในสมัยก่อนจะกระทำกันในเฉพาะห้องส่วนตัว แต่ปัจจุบันแม้กระทั่งร้านอินเตอร์เน็ตก็ไม่มีใครอาย นี่คือตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีที่ผิด ส่วนผลที่ตามมาอาจจะมีการอัดวิดีโอเพื่อทำเป็นคลิปโพสต์ตามเว็บไซต์ต่างๆ สร้างความเดือดร้อนและอับอายแต่ตนเองและครอบครัวไม่เฉพาะเพียงแค่อินเตอร์เน็ตเท่านั้นที่วัยรุ่นมักจะใช้ผิดวัตถุประสงค์ โทรศัพท์มือถือก็เช่นกัน เพราะปัจจุบันมิได้ใช้เฉพาะการโทรคุยกันเท่านั้น แต่มีการถ่ายรูปโป๊ เซ็กซี่ เอาไว้โชว์หรือส่งให้เพื่อน หรือไม่ก็อาจจะถ่ายคลิปขณะมีเพศสัมพันธ์แล้วมีการส่งต่อ ซึ่งบางครั้งก็อาจเป็นการถูกแอบถ่าย เมื่อนำไปโพสต์ในอินเตอร์เน็ตก็สร้างความอับอายและเสื่อมเสียต่อผู้ที่อยู่ในคลิปได้
อีกไม่นานโทรศัพท์ก็จะสามารถคุยแบบเห็นหน้าผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถือด้วยเทคโนโลยี 3ที่มีรูปแบบไม่ค่อยแตกต่างจากวิธีการสนทนาผ่านโปรแกรมแชตมากนัก เพียงแต่เพิ่มความสะดวกมากขึ้น เนื่องจากไม่มีคอมพิวเตอร์ก็สามารถคุยกันสดๆ เห็นภาพผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้เลย วัยรุ่นคงจะชื่นชอบเป็นอย่างดี เพราะแค่โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวก็สามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการได้
การมองเห็นถึงศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมน่าจะเป็นเครื่องเตือนใจได้บ้าง เพราะจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดที่น่าจะมาจากการตั้งสติทบทวนดีๆ ว่า สิ่งที่กระทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีและสมควรหรือไม่
สิ่งสำคัญ คือ การรู้จักรักตนเองมากกว่าการที่จะคิดแต่เรื่องสนุกอย่างเดียว รวมถึงเปลี่ยนมุมมองของตนเองใหม่ในเรื่องการชอบนำเสนอตนเองออกสู่สาธารณชน แม้จะอ้างว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เทคโนโลยีเหล่านี้บางครั้งล้ำลึกเกินความสามารถที่เราจะควบคุมมันได้ อย่าลืมว่าตัวเราเองยังไม่สามารถควบคุมใจเราได้ แล้วจะหวังให้คนอื่นมาเก็บความลับของเราคงไม่ง่ายนัก อาจจะรู้ไม่เท่าทันว่าได้ตกเป็นเหยื่อไปเสียแล้ว การติดต่อกันผ่านเทคโนโลยีต่อให้รุดหน้าเท่าไรก็ตาม คงไม่สามารถมาทดแทนการมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงฉันเพื่อนมนุษย์ การเห็นสีหน้าท่าทาง อารมณ์อย่างแท้จริง
  การแบ่งปันความรักให้กับคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนในครอบครัวที่รักเรา ก็คงจะเป็นเครื่องช่วยเตือนสติได้เช่นเดียวกันว่า เราน่าจะต้องทำอะไรเพื่อเขาเหล่านั้นบ้าง และผู้ปกครองที่เห็นบุตรหลานมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ก็ควรที่จะดูแลและให้ความสำคัญให้มากๆ เพื่อป้องกันลูกหลานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของโลกไซเบอร์

จริยธรรมบนมือถือ การแบล็คเมล์  
ความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในยุคนี้มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ  ในแง่บวกก็คือ ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นในการติดต่อต่างๆ เราสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว ได้ทราบรายละเอียดทั้งหลายโดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน ซึ่งจะทำให้สามารถเอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้เพิ่มมากขึ้น  เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับนักธุรกิจที่ทุกเวลาทุกนาทีเป็นเงินเป็นทอง
อย่างไรก็ตาม สารัตถประโยชน์ที่ได้จากโทรศัพท์เป็นได้เหมือนกับเหรียญสองด้าน หากนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับตนหรือสังคม เช่น การอัดเสียงขณะโทรศัพท์ หากคู่สนทนากล่าวในสิ่งที่เป็นการดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือทำให้เราได้รับความเสียหายก็สามารถใช้เสียงที่อัดไว้นี้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง แจ้งความดำเนินคดีได้ ดังเช่น กรณีที่อาจารย์ชายขอร่วมหลับนอนกับเด็กนักเรียนเพื่อแลกเกรด แล้วมีการเผยแพร่เสียงที่อัดไว้ทางอินเทอร์เน็ตจนในที่สุดอาจารย์ชายถูกไล่ออกจากโรงเรียนไปนั้น นับเป็นประโยชน์กับสังคม เพราะเตือนให้สังคมได้รับรู้ถึงพฤติกรรมเลวๆ ของคนบางคนที่ใช้คราบอาจารย์หากินในทางที่ผิด 
          ขณะเดียวกัน การอัดเสียงทางโทรศัพท์แล้วเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตอาจกลายเป็นเครื่องมือในการแบล็คเมล์คู่สนทนา หรือบั่นทอนความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อคู่สนทนาได้หากมีการนำเรื่องที่เป็นเรื่องปกปิดของคู่สนทนาออกเผยแพร่ ดังเช่นที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งประสบอยู่ 
           นอกจากการอัดเสียงทางโทรศัพท์มือถือจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางที่ดี และไม่ดีแล้ว การถ่ายภาพในโทรศัพท์มือถือ ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ที่เรียกกันว่า วิดีโอคลิป นั้นก็กำลังถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายอยู่ในขณะนี้เช่นกัน หากเป็นภาพที่ดีที่น่าจดจำคงไม่เป็นข่าว แต่ที่เป็นข่าวเป็นคราวกันนั้นมักเป็นไปในทางที่ไม่ดีเสียมากกว่า เพราะเป็นการถ่ายรูปที่ไม่เหมาะสมแล้วส่งต่อให้กันและกันโดยไม่ต้องกังวลว่าใครจะเห็นเหมือนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพนิ่งที่เป็นภาพโป๊ หรือภาพอิริยาบถส่วนตัวของคนดังที่ไม่น่าเปิดเผยแล้วส่งต่อเพื่อสร้างภาพลบให้กับคนๆ นั้น  การถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่เป็นการทำร้ายร่างกายกันแล้วเผยแพร่เพื่อต้องการแสดงอำนาจของความเป็นรุ่นพี่ อย่างกรณีของนักศึกษาที่พัทยา หรือภาพการข่มขืนเด็กนักเรียนที่ถ่ายไว้เพื่อแบล็คเมล์ที่จังหวัดอ่างทอง และคงมีอีกหลายแห่งที่จะมีการเปิดเผย และการลอกเลียนแบบตามมา
           เราคงไม่อาจตำหนิบริษัทผู้ผลิตถึงมาตรฐานของจริยธรรมในการผลิตสินค้าที่มีหน้าที่หลายอย่างในผลิตภัณฑ์ชิ้นเดียวกันได้ เพราะเป็นการแข่งขันกันเสนอสินค้าที่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าโดยที่ผู้ผลิตไม่ได้คิดว่าจะต้องมีการนำไปใช้ในทางที่ผิดเช่นนี้ เรื่องราวที่เกิดขึ้นนับเป็นความคิดริเริ่มที่ไม่สร้างสรรค์ และไม่เข้าท่านักของผู้บริโภคต่างหาก ผู้บริโภคที่ใช้อารมณ์เพียงชั่ววูบในการกระทำการใดๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนโดยไม่ได้คิดถึงผลระยะยาว ได้ก่อให้เกิดการเลียนแบบ โดยเฉพาะจากเยาวชนที่มีกำลังซื้อจากผู้ปกครอง แต่ไม่มีกำลังความคิดที่เป็นผู้ใหญ่พอ ทำให้สังคมไทยมีปัญหาใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นอย่างที่ต่างประเทศต้องทึ่ง
            เรื่องนี้คงต้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเยาวชน และการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการหัวเรือใหญ่  กระทรวงวัฒนธรรม  และกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ต้องกลับไปคิดเป็นการบ้าน ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในการที่ผู้บริโภคซึ่งเป็นเยาวชนใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในทางที่ผิดๆ  ในการสร้างจริยธรรมในการดำรงชีวิต  การติดต่อสื่อสาร  การมองการณ์ไกล  การคิดเห็นแก่สังคม รวมทั้งการคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง  การสร้างความตระหนักรู้  ความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่เป็นเยาวชน น่าจะเป็นวิธีที่สำคัญที่จะช่วยให้เยาวชนเป็นผู้คิดก่อนทำมากขึ้น  แต่จะทำอย่างไร ด้วยวิธีการใดเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายน่าจะได้ร่วมมือกัน
ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการนำเสนอการใช้สื่อในทางที่ผิด การแบล็คเมล์ หลายรูปแบบ เช่น สื่อโทรทัศน์ที่มีการเอาแง่มุมมานำเสนอ ให้เห็นถึงโทษของการใช้สื่อในทางที่ผิดไว้อย่างชัดเจน เช่นตัวอย่างต่อไปนี้

สงครามคลิปในแรงเงา...เทรนด์อันตรายกับชีวิตจริงที่ต้องเท่าทัน
พิษภัยพฤติกรรมเลียนแบบคลิปแรงเงา ขณะนี้เรามีเครื่องมือการสื่อสารที่พัฒนาก้าวหน้า ทั้งมือถือ และอินเตอร์เน็ต ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีช่องทางปล่อยเวียนการเผยแพร่เป็นสองเท่า เช่น การฟอร์เวอร์ด จึงทำให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นการสนับสนุนการเลียนแบบ การผลิต เผยแพร่ และการกระตุ้น อย่างไรก็ตาม แม้ทุกฝ่ายจะมีความพยายามควบคุมไม่อยากให้สิ่งไม่ดีส่งต่อได้ แต่ที่ผ่านมากลับพบว่ามันยากมากที่จะควบคุมผ่านสื่อกระแสหลักต่างๆ ที่บริโภคกันทั้งทีวี วิทยุ ดารา จนกลายเป็นเรื่องตามกระแสสังคม โดยโซเชียลมีเดียส์ ฉายซ้ำ
ในฉากของละครแรงเงา มักนำเสนอเรื่องการฟอร์เวอร์ดคลิป เจาะระบบ และปล่อยคลิปประจาน แกล้งกัน ซึ่งทำโดยนางเอกที่เป็นตัวเอกของเรื่อง แสดงให้เห็นถึงชัยชนะ ความสำเร็จและความสะใจถูกชูเป็นฮีโร่ มีความชอบธรรม ที่ได้แก้แค้น ส่วนเด็กเยาวชนที่เสพสื่อเสพละครเหล่านี้ก็จะดูแค่ปลายๆ ยังไม่มีวุฒิภาวะ ไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์  จึงถือเป็นการชี้นำเด็ก ทำให้เห็นว่าการใช้ไอที ถ่ายคลิป เผยแพร่ และเข้าเจาะระบบของบุคคลอื่นเป็นเรื่องชอบธรรมที่สามารถทำกันได้ทั่วๆไป ไม่ได้ผิดกฎหมาย
ในความเป็นจริงเรื่องนี้ไม่มีความชอบธรรมที่จะทำได้ และจะเป็นการทำผิดกฎหมายโดยรู้เท่าไม่ถึงการ การเจาะระบบข้อมูลของผู้อื่น ถือเป็นการบุกรุก ทำผิดกฎหมายโดยตรงของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยเฉพาะมาตรา 3-6 ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล กรณีเจาะแฮคข้อมูล เพื่อนำคลิปไปเผยแพร่ประจาน เข้าข่ายผิดกฎหมายอย่างชัดเจน มีบทลงโทษทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีกฎหมายโดยตรงอยู่แล้วในการคุ้มครองบุคคลที่เสียหาย ยังสามารถฟ้องร้องหมิ่นประมาทได้ เพราะเรื่องการเผยแพร่คลิปไม่ใช่เรื่องที่รับรู้กันแค่คนสองคนแต่หมายถึงคนทั้งประเทศหรือคนทั้งโลก
                ขณะนี้ทางสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ได้มีความพยายามผลักดันบทบาทกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ฉบับประชาชน เข้าสู่สภาให้เป็นกฎหมายอย่างเร็วที่สุด เพื่อการทำให้สื่อมีความปลอดภัยกับเด็กและเยาวชนไทย เป็นการสร้างพื้นที่สื่อดีๆให้กับเด็กและครอบครัวได้เข้าถึงการมีส่วนร่วม พัฒนาสอดคล้องกับชุมชน ซึ่งขณะเดียวกันเราสนับสนุน เสริมสร้างกิจกรรมต่างๆเปิดพื้นที่สื่อดี โดยเฉพาะขณะนี้จากข้อมูลโดยตรง ที่ผู้ปกครอง ครู ต่างกังวลเรื่องการรับสื่อของเด็กเยาวชน ที่พัฒนาไปเร็วมาก เราจึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้รู้เท่าทันสื่อ รวมไปถึงเรื่องคลิปด้วย เพราะนี้เป็นวิธีเดียวเท่านั้นถึงจะป้องกันเด็กจากพิษภัยสื่อได้
กรณีที่มีผู้ที่ถูกกระทำจากการใช้สื่อ ใช้คลิป ต้องตกเป็นเหยื่อ เช่นถูกแอบถ่ายแล้วส่งต่อ หรือถูกแบล็คเมล์ข่มขู่ จึงอยากเสนอให้ กำหนดให้มีกลไกสนับสนุนการช่วยเหลือ เยียวยาฟื้นฟู หรือให้คำปรึกษากับผู้ที่ถูกกระทำจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นความรุนแรงอีกรูปแบบหนึ่ง  ที่ไม่ใช่แค่เรื่องในครอบครัว  แต่ผู้เสียหายถูกกระทำซ้ำจากการส่งต่อของคนนอก  เราจะเห็นได้จากกรณีคลิปถูกเผยแพร่ออกไป ตกเป็นข่าว สุดท้ายผู้ที่ถูกกระทำก็ตัดสินใจจบทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีละครแรงเงาเสียอีก คำถามคือใครหรือหน่วยงานไหนได้ยื่นมือเข้ามาช่วยและรับผิดชอบกับปัญหานี้

ภาพตัวอย่างการใช้สื่อข้อความแบล็คเมล์
การใช้สื่อข้อความในอินสตราแกรมมาแบล็คเมล์ โดยการแคปข้อความในอินสตราแกรมเก็บไว้เพื่อใช้การสร้างข่าว หรือกระแสให้ตัวเอง ให้ได้เป็นดารา มีชื่อเสียงขึ้นมาโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น กะเทยพลอย โดนเพื่อนแฉ! จ้าง 2 หมื่นเก็บข้อความแบล็คเมล์พระเอก







อ้างอิง
http://sw07026.blogspot.com/2009/02/blog-post_12.html ,จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
http://www.no-poor.com/inttotocomandcomapp/et.htm ,ตัวอย่างการกระทำที่ผิดจริยธรรม
http://kumungao.igetweb.com/index.php?mo=59&action=page&id=495852 ,กฎหมายเทคโนโลยี สารสนเทศ
http://www.learners.in.th/blogs/posts/330030 ,หลักการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/8889 ,ความเสื่อมโทรมของสังคมและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของวัยรุ่น
,จริยธรรมบนมือถือ การแบล็คเมล์  
http://www.thaihealth.or.th/partner/arti_partner/31915 ,สงครามคลิปในแรงเงา...เทรนด์อันตรายกับชีวิตจริงที่ต้องเท่าทัน
http://news.sanook.com/1135054, ภาพตัวอย่างการใช้สื่อข้อความแบล็คเมล์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น