วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทความวิชาการเรื่องค่านิยมของวัยรุ่นไทยใช้สินค้าแบรนด์เนม( นางสาว กาญจนา ทะลือ รหัสนิสิต 53241691)


บทความวิชาการ วิชา  830329  ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา

ชื่อเรื่อง ค่านิยมของวัยรุ่นไทยใช้สินค้าแบรนด์เนม
นางสาว กาญจนา  ทะลือ รหัสนิสิต 53241691
คณะสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม

          ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้สังคมทั่วโลกปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว มีผลให้คนในสังคม ทุกวัย ต่างตกอยู่ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ และถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาจนยากจะต้านทานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชน เป็นกลุ่มที่ถูกวัฒนธรรมดังกล่าวกลืนกินและหล่อหลอม จนกระทั่งเกิดปัญหารุนแรงขึ้นในสังคมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน รวมทั้งตัวของเยาวชนเองก็กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะประสบปัญหาต่าง ๆ มากขึ้นกระแสความคลั่งวัตถุนิยม การที่วัยรุ่นมีความคลั่งไคล้ในการแต่งกายแบบแนวแปลกๆ หรือแฟชั่นโมเดิร์นฮิปปี้ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่สังคมวัยรุ่นไทย หรือบางรายก็นิยมสินค้าแบรนด์เนมราคาแพง อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋าเครื่องหนัง รองเท้า และเครื่องประดับ เป็นต้นสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ได้ทวีความรุนแรงสูงมากขึ้นเกือบทุกด้าน ซึ่งปัญหาค่านิยมแบบบริโภคนิยมอย่างฟุ่มเฟือยในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง เพราะวัยรุ่นส่วนใหญ่ชอบที่จะใช้ของแบรนด์เนมแต่ไม่มีรายได้เป็นของตัวเองเพราะคิดว่าการที่มีสินค้าแบนรนด์เนมใช้เป็นการบ่งบอกฐานนะทางสังคมไปอีกทางหนึ่งเช่นเดียวกัน แต่ ก็มีส่วนน้อยของคนในสังคมเท่านั้นที่ เป็นบริโภคนิยม ดังนั้น คนอีกกลุ่มหนึ่งจึงต้องเข้าไปพึ่งพาสินค้าเลียนแบบ และสินค้ามือสองกัน เพราะนอกจากจะไม่สามารถเลือกซื้อสินค้าได้เพราะราคาแพงแล้ว  สินค้าบางอย่างก็ไม่เหมาะสำหรับเขาเหล่านั้น การที่มีสินค้าเลียนแบบจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมของวัยรุ่นไทยเป็นอย่างมากอย่างไรก็ตามท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งหลาย เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาของวัยรุ่นก็คือ ภาพสะท้อนของปัญหาสังคมไทยนั่นเอง
         ความต้องการในการบริโภค สื่อเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด และก้าวตามให้ทันกับยุคกับ สมัยนิยม หากวัยรุ่นคนไหนก้าวตามไม่ทันก็ถูกเพื่อนในวัยเดียวกันต่อว่า ว่าล้าหลัง ตกเทรน ทำให้วัยรุ่นหลายคนต้องขวานขวาย เพื่อสิ่งที่จะได้มาเพื่อเป็นค่านิยมในสังคมของเด็กวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเนื้อแต่งตัวตามแฟชั่น ก็เป็นอีกหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมของเด็กวัยรุ่นเป็นอย่างสูง บางคนแต่งตัวตามแฟชั่นในราคาที่สูงจนเกินตัว ใช้จ่ายจนเกินตัวหรือเกินความจำเป็น และนำไปสู่การที่จะต้องทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการ ที่สำคัญไม่ว่าเทคโนโลยีหรือ จะก้าวหน้านำสมัยขนาดไหน แฟชั่นจะก้าวเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงค์ชีวิตมากน้อยเพียงใด หากกลุ่มวัยรุ่นนั้นมีความเข้าใจในการที่จะบริโภคค่านิยมทางวัตถุให้พอดี กับการใช้ประโยทย์ ก็ คงจะพอทำให้ได้รับโยชน์จากการใช้วัตถุนิยมเหล่านี้ได้อย่างมีคุณค่ายิ่ง แต่หากนำมาเพื่อการใช้งานในส่วนที่ไม่เหมาะสมผลที่ตามมาคือความไม่คุ้มค่าในการบริโภค วัตถุนิยมนั่นเอง
  จากการสังเกตวัยรุ่นไทยใช้สินค้าแบรนด์เนม แต่ดูอีกที ก็เป็นของปลอม แต่วัยรุ่นไทยไม่ได้สนใจว่า ของสิ่งนั้นเป็นของจริงหรือของปลอมหากแต่ความสนใจของเขาคือการที่ได้ หยิบยืม และต้องการให้ตัวเองดูดีมีระดับ ในสายตาคนอื่น สังคมไทยพยายามสร้างชุดความหมายออกมา ในเรื่องของการใช้สินค้าแบรนด์เนม เพื่อเป็นการโอ้อวดฐานะและเป็นการประชันเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่มีอยู่ ของคุณหญิงคุณนาย และคนมีฐานนะทางสังคมไทย และโดยเฉพาะในหมู่กลุ่มวัยรุ่นไทยนั้น สิ้นค้าแบรนด์เนมยังเป็นที่นิยมมาก เพราะเขาเหล่านั้นจะได้นำไปประชันกัน แต่หารู้ไม่ว่าหากแต่การที่เขาเหล่านั้นอาจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มคนชั้นสูงก็เป็นได้ แต่เขาอาจจะพักอยู่ในห้องเช่าแบธรรมดา นั้นก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เห็นในสังคมไทย เป็นอย่างมาก
         ความเป็น “วัฒนธรรม” แท้จริงแล้วจึงหมายถึงการ “เลียนแบบ” นั่นเอง เพียงแต่ว่าใครจะเลียนแบบใคร แล้วการเลียนแบบนั้นให้ประโยชน์กับใครเท่านั้น ในทางกลับกัน สังคมตะวันตกนั้นเขาชื่นชมความคิดใหม่ ๆ เป็นที่น่าตื่นเต้น แต่สำหรับคนไทยแล้วการสร้างสรรค์งานและผลงานใด ๆ  นั้นก็ขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์ หรือตามแบบแผนที่วางไว้ ทำให้ คนไทยจึงจมปลักอยู่กับการเลียบแบบและการใช้สินค้าแบบเดิมๆและคิดว่าการใช้สินค้า เลียนแบบนั้น ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรมากนัก
          การใช้สินค้าเลียบแบบก็เป็น เป็นชุดความหมายหนึ่งของสังคมไทยที่บอกว่า การใช้สินค้าเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในเรื่องของแฟชั่นก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่าเกิดการลอกเลียนแบบกันทั่วไปตามสมัยนิยมอย่างกว้างขวาง จนในบางครั้งเป็นที่ยอมไม่ได้ของชนชั้นสูง ดังในสมัยหนึ่งที่อังกฤษถึงกับต้องตราเป็นกฏหมายว่าชนชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถใส่เสื้อผ้าเครื่องประดับราคาแพงบางชนิด  แต่สำหรับวัยรุ่นไทยที่ไม่มีรายได้เป็นของตัวเองแล้วมักต้องหันไปสนใจกับของลอกเลียนแบบเป็นอย่างมากเพราะหากจะไปใช้ของ แบรนด์เนมนั้น ก็จะมีราคาแพงและไม่มีกำลังที่จะซื้อ การใช้สินค้าเลียนแบบของคนไทยนั้น เป็นการหล่อหลอมทางวัฒนธรรมและเป็นชุดความหมายของคนหมู่มากในสังคมอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก ชุดความหมายที่บอกว่า “การใช้สินค้าเลียบแบบไม่ใช่เรื่องผิดอะไร” ที่มีการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ และการเห็นของเลียนแบบที่เกลื่อนเมืองนั้นเอง   การซื้อสินค้าแบรนด์เนมของวัยรุ่นในสังคมว่าจะต้องมีการแข่งขันและมาอวดกันในสังคม เพื่อที่จะแสดงตนว่า เป็นผู้ที่นำแฟชั่น และรวมถึง  การลอกเลียนแบบสินค้า นี่เป็นชุดความรู้มายาคติแบบไทย ไทย ที่คนตะวันตกเจ้าของสินค้าต้อง กุมขมับ เพราะคนไทยนั้นมีชุดความรู้ว่า การเลือกใช้สินค้าลอกเลียนแบบนั้นเป็นเรื่องปกติเสียแล้วทำให้ สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นมายาคติทางวัตถุนิยมในสังคมไทย นั่นเอง 
อิทธิพลของสื่อ
           วัยรุ่นไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับสภาวะความกดดันจากสังคมรอบข้างอย่างที่วัยรุ่นยุคก่อน ๆ   ไม่เคย
ประสบ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในยุคสังคมข่าวสาร ที่แม้แต่ผู้ใหญ่ซึ่งผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน มีประสบการณ์ชีวิตมาอย่างโชกโชนก็ยังแทบรับมือไม่ไหว และบางรายต้องตกเป็นเหยื่อของผู้ที่รู้จักใช้ข้อมูลข่าวสารให้เป็นประโยชน์กับตนเองมากกว่าโดยรู้ไม่เท่าทันนอกจากนี้การดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมปัจจุบันที่ตกอยู่ภายใต้กระแสวัตถุนิยม ซึ่งดำเนินไปในลักษณะแก่งแย่งแข่งขันกันโดยผู้ชนะเท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพการงาน  ส่งผลให้แนวทางการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่ เด็กไทยมุ่งเน้นที่การแข่งขันเพื่อเอาชนะเหนือคนอื่นรอบข้าง จนดูเหมือนว่าโลกนี้ไม่มีมิตรมีแต่ศัตรูคู่แข่งเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น สภาพครอบครัวไทยยุคใหม่ซึ่งเป็นครอบครัวเดี่ยวที่ค่อนข้างว้าเหว่ เนื่องจากไม่มีปู่ย่าตายายคอยให้คำชี้แนะในยามที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงานหาเลี้ยงชีพนอกบ้านสภาพการณ์ต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบโดยตรงต่อวัยรุ่นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
                 ดังนั้น การปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมของวัยรุ่นไทยคงไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของผู้ที่เป็นวัยรุ่นเองเท่านั้นแต่ทุกคนในสังคม ก็ล้วนแล้วแต่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยกันทั้งสิ้นวัยรุ่นไทยถูกดึงดูดจากโฆษณาส่งผลให้มีการใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ในเรื่องของข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่จำเป็นหรือซื้อของราคาแพง เช่น มีของใช้ที่มียี่ห้อราคาแพงๆ มีเครื่องประดับในตัวมากมาย แล้วในที่สุดก็จะเบื่อง่าย ไม่รักษาข้าวของ ไม่ได้เห็นคุณค่าของของที่ซื้อมา ไม่ดูแลทะนุถนอมเมื่อของเสียหรือหายก็ซื้อใหม่และไม่สามารถที่จะมีความยั้งคิดหรือจัดการกับเรื่องการใช้เงินได้ ในเด็กเล็กอาจจะเห็นลักษณะอย่างนี้บ้าง แต่ไม่มากนักเนื่องจากว่าสิ่งที่เด็กสนใจราคายังไม่สูงมาก แต่ในเด็กวัยรุ่นของที่เด็กชอบหรือที่เด็กนิยมมักจะมีราคาแพงมากการที่เด็กมีค่านิยมเช่นนี้ ทำให้เกิดผลกระทบกับตัวเด็กเองและปัญหาทางสังคมตามมา ปัญหาที่ทำให้เด็กมีค่านิยมทางวัตถุนั้น พบว่าส่วนหนึ่งเห็นแบบอย่างมาจากพ่อและแม่ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ฐานะดี พ่อแม่มักจะเป็นคนที่ติดยี่ห้อหรือนิยมในสิ่งของฟุ่มเฟือยต่างๆ และแสดงลักษณะอย่างนี้ให้เด็กได้เห็นได้เลียนแบบ
ในจุดนี้พ่อแม่ควรจะต้องทบทวนตัวเองว่าได้เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของการใช้จ่ายเพียงไรให้กับเด็กๆ แม้พ่อแม่จะอยู่ในฐานะซื้อของราคาแพงได้ แต่ความสามารถยับยั้งชั่งใจในเด็กยังมีน้อย เด็กจะใช้เงินมากเกินกว่าที่พ่อแม่ให้ อาจส่งผลให้เด็กต้องหาทางหาเงินด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง
ประการที่สองพ่อแม่ตามใจลูกมากจนเกินไป ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเราให้สิ่งของต่างๆ กับลูกมากจนเกินจำเป็น บางครั้งเป็นไปตามค่านิยมทางสังคม เช่น อุปกรณ์ในการสื่อสาร ความจริงแล้วในเด็กในวัยขนาดนี้อาจจะไม่ได้มีความจำเป็นจริงจังที่จะต้องมีอุปกรณ์ติดตามตัวมากขนาดนั้น แต่ด้วยความที่ไม่อยากให้ลูกน้อยหน้าคนอื่นหรือตามกระแสที่ใครๆ ก็มีกัน ก็หาให้ลูกมากจนกระทั่งลูกไม่รู้คุณค่าของสิ่งของที่ได้มา เพราะถ้าอยากได้อะไรก็ได้สิ่งนั้นโดยง่าย เพราะฉะนั้นค่านิยมเหล่านี้จะปลูกฝังตั้งแต่ในวัยเด็ก
ในเรื่องของการใช้จ่ายเงินควรฝึกให้เด็กได้รู้ว่าถ้าอยากได้เงินพิเศษเขาก็จะต้องทำงานหรือเขาจะต้องทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ต้องใช้ความมุมานะและความพยายาม มิใช่ได้มาโดยง่าย และควรปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องในเรื่องการเลือกซื้อสิ่งของโดยเน้นที่คุณภาพของสิ่งของมากกว่าเป็นการซื้อตามใจตัวเอง หรือซื้อตามความนิยม นอกจากนี้พ่อแม่ต้องมีความสามารถในการที่จะขัดใจลูกได้อย่างเหมาะสม ไม่ตามใจลูกในทุกเรื่อง
การฝึกปฏิเสธลูกตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กให้เด็กได้เรียนรู้ว่าหากเขาต้องการอะไรที่ไม่สมควรหรือไม่ควรจะได้ก็จะได้รับการปฏิเสธอย่างเข้มแข็ง แต่มีเหตุผล เช่น แสดงอาการเข้าใจหรือเห็นใจว่าเขาต้องการสิ่งเหล่านี้จริงๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีเหตุผลว่าพ่อแม่ไม่สามารถหาทุกสิ่งทุกอย่างให้เด็กตามใจชอบได้ตลอดเวลา
ประการสำคัญควรปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้คุณค่าทางด้านจิตใจมากกว่าทางด้านวัตถุ ครอบครัวควรจะเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตัวเองให้กับเด็ก พบว่าเด็กที่ต้องการใช้เงินส่วนหนึ่งแล้วเป็นเพราะขาดความเชื่อมั่นในตัวเองหรือไม่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง มีความกลัวว่าจะน้อยหน้าเพื่อนหรือด้อยค่ากว่าคนอื่นจึงต้องมีเครื่องประดับที่มีราคาแพง ความภาคภูมิใจในตัวเองของเด็กนั้นเกิดจากการที่พ่อแม่สามารถยอมรับอย่างที่ลูกเป็น เห็นคุณค่าและความสามารถของลูก ไม่เปรียบเทียบตัวเด็กกับคนอื่นๆ ให้เขารู้สึกด้อยค่าในตัวเอง ในขณะเดียวกันเมื่อเขามีศักยภาพหรือความสามารถบางอย่าง พ่อแม่ก็ให้การยอมรับ บางคนอาจจะไม่มีความถนัดหรือความสามารถทางการเรียน แต่เขาอาจจะมีความถนัดหรือความสามารถที่เป็นข้อดีของตัวเด็กเองในด้านอื่นๆ
ถ้าหากคุณให้คุณค่ากับสิ่งที่ลูกมีและสิ่งที่ลูกเป็น เขาก็จะมีความภาคภูมิใจในตัวของเขาเองโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องประดับเหล่านี้ ความภาคภูมิใจในตัวเองนั้นยังเกิดในครอบครัวที่มีความอบอุ่น มีความเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน มีคนที่รักและเข้าใจเด็ก นอกจากความภาคภูมิใจในตัวเองจะช่วยเด็กในเรื่องของค่านิยมในเชิงวัตถุนิยมแล้วก็ยังจะช่วยทำให้เด็กเป็นคนที่มีจิตใจที่ดีงาม มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเองและต่อผู้อื่นก็จะทำให้เขาสามารถมีเพื่อนหรืออยู่ในสังคมที่เป็นกลุ่มเพื่อนได้ ไม่ต้องใช้เงินเลี้ยงเพื่อนเพื่อให้เพื่อนยอมรับ
ประการสุดท้ายสอนให้ลูกเข้าใจสถานการณ์ของครอบครัว ไม่ใช่มีความรู้สึกว่าครอบครัวตัวเองด้อยกว่าคนอื่น และให้เด็กรู้ว่าไม่ว่าฐานะครอบครัวจะเป็นอย่างไรแต่ทุกคนในครอบครัวก็รักเด็ก และถ้าเด็กมีเหตุผลในเรื่องของการใช้จ่ายเงินทอง เป็นการช่วยเหลือครอบครัวอีกทางหนึ่ง ให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง ไม่ต้องรู้สึกอายหรือรู้สึกด้อยกับเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจ
การได้รับการฝึกฝนในเรื่องของการใช้จ่ายเงินทองอย่างเหมาะสมกับฐานะครอบครัว จะเป็นรากฐานที่สำคัญที่จะช่วยให้เด็กจัดการรับผิดชอบกับเรื่องของตัวเองดูแลเรื่องการใช้จ่ายเงินในแต่ละช่วงของตัวเองได้เป็นอย่างดี
เด็กๆ ควรมีโอกาสใช้เงินให้เหมาะกับวัยของเขา เมื่อถึงวัยหนึ่ง เขาควรจะถือเงินด้วยตัวของเขาเอง อาจจะใช้ในการซื้อของบางอย่างให้กับตัวเองได้บ้าง หรืออาจจะเป็นการใช้จ่ายประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องของการไปโรงเรียน การคำนวณค่าใช้จ่ายของลูกก็เป็นเรื่องสำคัญ การให้เงินก็ไม่ควรจะมากหรือน้อยจนเกินไป ถ้าน้อยจนเกินไปจนเด็กไม่สามารถที่จะใช้จ่ายได้เพียงพอก็เป็นความเครียดกับเด็กเหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันถ้าให้เงินมากจนเกินไป โดยไม่ได้ฝึกค่านิยมเรื่องการอดออมเงิน การเก็บสะสมเงิน เด็กก็อาจจะใช้เงินไปอย่างไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม
การฝึกใช้เงินควรจะจำแนกให้เด็กเห็นว่ามีบางอย่างเป็นความจำเป็นที่จะต้องใช้ในแต่ละวัน เช่นค่าอาหาร ค่าเดินทางไปโรงเรียน เขาอาจจะมีเงินเหลือเก็บอีกเล็กน้อย อดออมเอาไว้ใช้ในเวลาที่เขาต้องการ ถ้าคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าเด็กโตขึ้นมีอายุมากพอที่จะเลือกซื้อข้าวของบางอย่างของตัวเองได้บ้าง อาจจะเป็นเรื่องของเสื้อผ้าหรือของใช้ก็อาจจะให้เงินรวมไปในค่าใช้จ่ายในแต่ละอาทิตย์หรือในแต่ละเดือน ที่มากพอที่เด็กจะเก็บสะสมในการซื้อของบางอย่างของตัวเองด้วย
การฝึกเรื่องการใช้เงินให้มีความรับผิดชอบต่อจำนวนเงินที่ตัวเองได้รับจะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าหากฝึกในเรื่องความรับผิดชอบในเรื่องอื่นๆ ไปด้วย เช่น การดูแลตัวเอง การรับผิดชอบกับงาน หรือมีความรับผิดชอบในเรื่องอื่นๆ
ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงร่วมกันในเรื่องค่านิยมแบบวัตถุนิยม คือ กระแสและสื่อในสังคมมีผลโดยตรงต่อค่านิยมในวัยรุ่น การสร้างแรงจูงใจด้วยสื่อที่เน้นความทันสมัยด้วยความฟุ่มเฟือย ค่านิยมที่แสดงความสำเร็จจากการมีเงินทองเครื่องประดับในตัวมากกว่าการตั้งใจทำงานและคุณค่าในตัวของคน จะทำให้ครอบครัวและเด็กวัยรุ่นต้องมีความยืนหยัดที่จะต้านทานกระแสเหล่านี้ แต่ครอบครัวยังคงเป็นภูมิคุ้มกันเด็กจากกระแสเหล่านี้ หากพ่อแม่เข้าใจและสามารถพูดคุยกับลูกวัยรุ่นได้ และได้ดูแลลูกในเรื่องการใช้เงิน

         กรณีที่เด็กมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ผู้ใหญ่บางคนออกมาพูดให้ท้ายเด็ก เช่น เขายังเป็นเด็ก ยังไม่มีวุฒิภาวะ คิดไม่เป็น เป็นเรื่องของวัย เป็นแฟชั่นชั่วครั้งชั่วคราว โตขึ้นก็หายไปเอง นี่คือ ผู้ใหญ่ที่หาเสียงกับเด็ก เพราะกลัวว่าเด็กจะเกลียดชัง
เพราะฉะนั้นอย่าได้ไปหลงในคำพูดของผู้ใหญ่ที่ปกป้องเด็กสารพัดทุกเรื่อง เพราะมีนิทานอีสปเรื่องหนึ่งชื่อ พ่อแม่รังแกฉัน คือ การที่พ่อแม่ตามใจลูกในทุกเรื่อง จนกระทั่งไม่รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก โตมาลูกก็กลายเป็นคนชั่วร้าย
ฉะนั้น บรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายที่ชอบพูดจาให้ท้ายพวกเด็กนี่ ต้องเรียกว่า คนแก่รังแกเด็กจนเสียคน
สิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญในขณะนี้คือ สื่อประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ ที่ถาโถมใส่วัยรุ่นไทยอย่างหนัก เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญ และตระหนักว่า สิ่งที่พบและได้เห็นนี้มีไว้เรียนรู้ และ เลี่ยง ไม่ใช่เพื่อเลียนแบบที่พูดถึงสื่อและสภาพแวดล้อมต่างๆ นั้น ต้องการให้เห็นภาพของสังคมที่มีอิทธิพลรอบตัวเรา  เมื่อคำว่า “ค่านิยม” ซึ่งหมายถึง ทัศนะของคนหรือสังคมที่มีต่อสิ่งของความคิด และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวัง คุณค่า และความถูกต้องของสังคมนั้นๆ
      
      ปัจจัยที่ทำให้วัยรุ่นไทยใช้ของแบรนด์เนมอีกอย่างหนึ่งคือความอยากเด่น
     วัยรุ่นที่พยายามทำตัวเด่นในหมู่เพื่อน เชื่อว่าร้อยละร้อยเป็นผู้ที่มีปัญหามากจากทางบ้าน ปัญหาที่ว่านี้อาจะไม่ใช่ลักษณะขัดแย้งกันหรือไม่ลงรอยกันเสมอไป แต่ส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาที่เราอาจไม่สังเกตเห็น เช่น เด็กขาดความอบอุ่น ความเอาใจใส่ โดยที่พ่อแม่มัวแต่ทำงานยุ่ง และคิดว่าการที่ถึงเวลามีข้าวปลาให้กิน มีสเตริโอให้เล่น มีเงินให้ใช้ไม่ขาดมือ ก็เป็นการให้ความเอาใจใส่ และเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพ่อแม่ที่ดีเพียงพอแล้ว กับครอบครัวประเภทนี้ เด็กจะมีการแสดงออกในลักษณะที่ไม่รุนแรงนัก ไม่ว่าในทางดีหรือร้ายก็เพียงแต่แค่หอมปากหอมคอ ยังพอว่ากล่าวตักเตือนกันก็รู้ และเมื่อเด็กรู้สึกว่าได้รับการเอาใจใส่ จะทำให้แกพยายามทำตัวดีขึ้น แต่ในรายที่มีความรู้สึกว่าตนเองถูกทอดทิ้งหรือยิ่งไปกว่านั้น คือ ถูกเกลียดชัง ถูกปฏิเสธจากคนที่ตนต้องการความรัก อันอาจจะเป็นพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ พี่หรือผู้อุปการะ บางทีเลยพาลให้อิจฉาน้องหรือพี่ ทะเลาะเบาะแว้งไม่ลงรอยกัน กรณีเช่นนี้วัยรุ่นจะมีปฏิกิริยาทางความคิดรุนแรง เริ่มตั้งแต่การทำตัวแหวกแนว ผ่าเหล่า ก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเอง และบ่อยครั้งที่จะหลอก หรือปลอบใจตนเองด้วยการสร้างภาพความสุขความสำเร็จที่สูงส่งเลอเลิศ มาทดแทนอารมณ์เศร้าและผิดหวัง บ้างอาจจะฝันว่าตัวเองเป็นดาราดัง โจรปล้นธนาคาร ฆาตกรโหด หรือเจ้าหญิงเจ้าชายอะไรไปโน่น ซึ่งล้วนเป็นสถานภาพที่ผู้คนทั้งหลายจะรู้สึกทึ่งหรือประณามหรือยกย่อง หรือสนใจ และยิ่งสร้างภาพเหล่านี้ไว้มาก บ่อย สูงส่งเท่าใด ก็จะทำให้ผิดหวัง เมื่อทนต่อสภาพที่เป็นจริงต่อไปไม่ได้มากเท่านั้น แน่นอนสิ่งที่ตามมาก็คือ ความล้มเหลวทางการเรียน การปรับตัวเข้ากับสังคม ตลอดจนวิถีชีวิตด้านอื่น ๆ หรือทั้งหมดและอาจรุนแรงจนนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เมื่อตกอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถที่จะหาทางออกของชีวิตได้     ในฐานะที่เป็นวัยรุ่น ผู้เขียนอยากจะพูดแทนพวกเขาเหล่านั้นว่า บ้านคือเบ้าหลอมแห่งชีวิต แม้ว่าในปัจจุบันเด็กจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในโรงเรียนหรือนอกบ้านมากขึ้น ตั้งแต่ตีนยังเล็กเท่าฝาหอย จนโตเท่าฝาตุ่ม แต่บ้านก็คือบ้าน คือสถานที่ที่เด็กจะได้รับความอบอุ่น การเอาใจใส่ดูแล บรรยากาศของความเป็นครอบครัว ที่สำคัญ ความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่พี่น้องและ “ความรู้สึกของความเป็นลูก” นั้น เป็นสิ่งซึ่งเขาไม่อาจจะหาได้จากที่อื่นใดในโลก ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนอนุบาลเกรดเอ หรือโรงเรียนชั้นวิเศษสุดราคาแพงใด ๆ ก็ตามจากชื่อเรื่องที่ว่า วัยรุ่นกับความอยากเด่น ก็ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของความรักและความเข้าใจในชีวิตครอบครัว ระหว่างพ่อแม่ลูก และเด็กกับผู้ใหญ่ไว้ด้วยประการฉะนี้  ดังที่กล่าวมาในข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าเด็กไทยไม่สามารถที่จะหลีกหนีวัฒนธรรมหลักนี้ไปได้  และเราก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมหลักนี้ได้  แต่เราจะทำอย่างไรให้เด็กไทยอยู่ในกระแสนี้ได้  โดยไม่ไปหลงใหลกับวัตถุนิยมมากเกินไป  ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเด็ก หรือแม้กระทั่งตัวเด็ก  ต้องทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์สิ่งของและวัตถุต่างๆขึ้นมา ว่าสิ่งเหล่านั้นสร้างมาเพื่ออะไร? เมื่อเราให้เด็กเข้าใจถึงวัตถุประสงค์นั้นแล้ว เด็กก็จะเข้าใจถึงประโยชน์  และใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นอย่างสูงสุด

    อีกปัญหาหนึ่งของกระแสวัตถุนิยมก็คือ การแข่งขัน การแก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ตามความเข้าใจที่ว่าผู้ที่แข่งแกร่ง ผู้ที่เก่งที่สุด คือผู้ที่สังคมยอมรับ เราจำเป็นต้องให้เด็กเข้าใจถึงความพ่ายแพ้ ว่าเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ เป็นธรรมดา  และไม่ใช่สิ่งที่น่าละอายใจ  ครู – อาจารย์ ในโรงเรียนควรให้ความเอาใจใส่กับนักเรียนที่เรียนไม่ดีมากขึ้นหว่าเดิม เพราะนักเรียนเหล่านี้จะถูกทางบ้านตำหนิ เมื่อมาโรงเรียนก็ถูกครูตำหนิอีก ดังนั้นครู – อาจารย์ ต้องให้ความเท่าเทียมกับนักเรียนทุกคน ตามสมควร เนื่องจากนักเรียนที่เรียนไม่ดีนั้น ต่างคิดว่า สังคม ในโรงเรียนไม่ได้ใส่ใจดูแลเขา จึงพยายามแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ

    ถึงแม้ว่ากระแสวัตถุนิยมจะเข้ามามีบทบาทในสังคมมนุษย์ แต่ภายใต้จิตสำนึก  และจิตวิญญาณ ของมนุษย์  ย่อมมีความต้องการทางจิตใจกัน ทุกๆคน  เพราะถ้าเมื่อใดแล้วที่มนุษย์ขาดความต้องการทางด้านจิตใจก็ยากที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
 คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง เคยมีปัญหาเรื่องลูกวัยรุ่นใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เกินตัว ชอบซื้อของที่ไม่จำเป็น ชอบใช้ของแบรนด์เนม พอเลิกเห่อ ก็เลิกสนใจไปเลย หรือไม่ก็ซื้อเพราะอยากได้อยากมีเหมือนเพื่อนๆ ทั้งๆที่พวกเขายังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง แต่กลับใช้ของที่ราคาแพง หลายบ้านที่มีฐานะก็สามารถมีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อให้ลูกได้ ส่วนบ้านที่ฐานะปานกลาง หรือหาเช้ากินค่ำ คงจะลำบากใจ และหาวิธีอะไรที่จะมาพูดให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐิกิจในบ้าน ครั้นอยากจะหักดิบไปเลย ลึกๆ หลายบ้านก็กลัวลูกเสียใจ และอาจจะไปหาเงินด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เพื่อมาซื้อของใช้แบรนด์เนมราคาแพงนักจิตวิทยาพบว่า ถ้าเราจะวิเคราะห์กันจริงๆ ลงไป เราก็จะพบว่า เด็กที่เรียกร้องส่วนใหญ่ เป็นเด็กที่หาเงินยังไม่ได้ด้วยตัวเอง ไม่รู้ค่าของเงินว่า กว่าที่จะได้มาแต่ละบางแต่ละสตางค์นั้น ต้องทำงานหนักอย่างไร แต่ที่เรียกร้องเช่นนี้ได้ก็เพราะ มีพ่อแม่ที่คอยหามาสนองอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เล็กจนโต ทำให้เด็กรู้ไม่ได้เลยว่า เงินทองเป็นของหายากหลายครั้ง พ่อแม่ ผู้ปกครอง มักจะบอกว่าเด็กมักจะเอาตามอย่างแฟชั่น ดารา เพื่อน แต่ความเป็นจริงแล้วผุ้ที่ใกล้ชิดเด็กที่สุดคือ พ่อแม่ ผู้ปกครองที่ดูแลลูก โดยธรรมชาติเด็กทุกคนจะไม่ทำตามผู้ใหญ่สอน แต่เขาจะทำตามที่เขาเห็นพ่อแม่เขา หากพ่อแม่พร่ำบอก พร่ำเตือนลูกถึงเหตุที่ไม่ควรใช้ของแพงเกินความจำเป็น แต่เราเองกลับนิยมที่จะใช้ของแบรนด์เนมซะเองเนื่องจากพ่อแม่เป็นต้นแบบของลูก โดยเฉพาะลูกวัยอนุบาลที่สามารถเปลี่ยนความคิดและมุมมองได้หลายอย่าง ตลอดจนช่วงวัยนี้เรียนรู้ผ่านการเลียนแบบถ้าพ่อแม่ทำตัวบ้าวัตถุนิยมให้ลูกเห็นมากเกินไปลูกอาจซึมซับจนติดเป็นนิสัยเกินตัวได้
        แต่กระนั้น ปฏิเสธได้ยากว่า สังคมรอบตัวลูกถือเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความอยากได้อยากมีไม่น้อย
โดยเฉพาะสังคมเพื่อน ส่งผลให้พ่อแม่จำนวนหนึ่งที่รักและอยากให้ลูกทัดเทียมกับเพื่อนคนอื่นๆ ออกแสวงหามาสนองความต้องการของลูกสิ่งเหล่านี้ถือเป็นตัวสร้างนิสัยให้ลูกยึดติดเป็นนิสัยเกินตัวได้ง่าย
ผู้เขียนเคยเห็นผู้ปกครองหลายคนที่นิยมใช้สินค้าแบรนด์เนม และเปลี่ยนรุ่นบ่อยๆ เพื่อจะได้อินเทรนด์ ทันเพื่อนๆ บางคนประหยัดเรื่องการกิน การอยู่ แต่ว่าไม่เคยตกรุ่นกับสินค้าแบรนด์เนมนักจิตวิทยาเชื่อว่า พ่อแม่ควรจะสอนให้ลูกรู้จักวิธีใช้เงินให้เป็นและการสอน ก็จะต้องเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กๆ เหมือนเรื่องอื่นๆ ในชีวิต เราต้องการเห็นเด็กๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องการใช้เงิน มีการใช้เงินอย่างฉลาด และจัดการเกี่ยวกับเรื่องเงินทองในชีวิตได้ ในส่วนของพ่อแม่ก็ต้องมีการสอนลูก ให้รู้ค่าของเงิน ไม่ใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย หรือกลัวจนไม่กล้าใช้ในสิ่งที่สมควร กล่าวง่ายๆ ก็คือ เราต้องการให้เด็กๆ ใช้เงินด้วยความรับผิดชอบพ่อแม่ควรชี้ให้ลูกเห็นถึงการใช้ของที่ไม่เกินตัว โดยไม่ทำให้ลูกเห็นว่า ต้องกู้หนี้ยืมสินเพื่อทำให้ตัวเองดูดีพร้อมกับชี้ให้ลูกเห็นคุณค่าในตัวเอง เพราะการให้คนอื่นยอมรับ และชื่นชมไม่จำเป็นต้องใช้ของแพง หรือมียี่ห้อเสมอไป แต่การเป็นเด็กดีน่ารักก็ทำให้คนรอบข้างชื่นชมได้เช่นกัน ถ้าเด็กคิดได้แบบนี้
เมื่ออยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยวัตถุ เด็กจะไม่อ่อนไหวและรู้สึกว่าตัวเองมีปัญหา
เราจะฝึกเด็กตามวัยต่างๆ ได้อย่างไร   
วัย 3 – 6 ปี
ถ้าเด็กเล็ก อาจจะใช้เด็กเริ่มหัดแยกขนาดของเหรียญต่างๆ เป็นกลุ่มๆ เช่น เหรียญบาท เหรียญห้า หรือเหรียญสิบบาท รวมทั้งอาจอาจจะให้เด็กรู้จักแยกขนาด ของธรบัตรสีต่างๆ หากเด็กโตหน่อยก็สอนให้รู้จักแลกธนบัตรกับเหรียญ หรือหัดทอนสตางค์เป็นต้น หากคุณพาลูกไปยังซูเปอร์มาเก็ต ก็อาจจะสอนให้เด็กหัดดูราคาของ ที่ติดไว้ที่ป้าย และพูดอธิบายให้ลูกฟังอย่างง่ายๆ ว่า ของแต่ละชิ้นมีราคาต่างกันอย่างไร เพื่อให้เขาเริ่มมีความเข้าใจว่า ของทุกอย่างที่คุณแม่ซื้อใส่ตระกร้านั้นล้วนมีราคา และราคาจะถูกแพงต่างกันออกไป
ผู้เขียน  เคยฝึกลูกๆ เล่นเกมส์ขายของ ซึ่งเด็กๆจะชอบมาก แรกๆ ก็เอาของใช้ในบ้าน มาตั้งราคา ซื้อขาย โดยใช้เงินกระดาษ หรืออาจจะใช้เงินจริงก็ได้ พอเก่งแล้วก็เริ่มให้ลูกเปิดร้านขายของเล่นเล็กๆ บางวันลูกนั่งขายครึ่งวันยังขายไม่ได้เลย เปลี่ยนมุมสินค้าในร้าน 3-4 รอบก็ยังขายไม่ได้ ทำให้ลูกเรียนรู้ว่ากว่าเราจะได้เงินมาสักบาท ลำบากและเหนื่อยขนาดไหน และสินค้าแต่ละชนิดต้นทุน กำไรไม่ได้เยอะเลย ถ้าเขาไม่ระวังเอามาเล่น หรือกินเอง ก็จะทำให้ขาดทุนได้ง่าย ที่สำคัญเด็กจะเข้าใจ และเห็นคุณค่าของเงิน รู้จักการทำงานที่จะทำให้เราได้เงินมาสำหรับใช้จ่ายในครอบครัว
กฎเหล็กอีกอย่างคือ ในหนึ่งสัปดาห์ลูกจะมีสิทธิซื้อของเล่น ได้ 1 ชิ้น ราคาไม่เกิน 20 บาท ถ้าลูกอยากได้ของเล่นแพง ลูกต้องเก็บเงินจนกว่าจะได้ตามสินค้าที่อยากได้ บางครั้งลูกเดินวนรอบร้านขายของอยู่ 2-3 สัปดาห์ จนบางครั้งคนขายก็ลดราคาให้
วัย 7 ถึง 8 ขวบ
พัฒนาการของเด็กอายุ 7-8 ขวบส่วนใหญ่ จะเป็นช่วงที่เด็กเรียนรู้ที่จะมองและเข้าใจ ในเรื่องของเหตุและผลออกว่า ถ้าเขาทำอะไรลงไปผลจะเป็นอย่างไร การเรียนรู้ดังกล่าว จะทำให้เด็กเริ่มที่จะหัดตัดสินใจหลายๆ สิ่งได้ เช่น ถ้าเขาไม่ยอมกินข้าวเขาจะหิว หรือถ้าเขาแกล้งน้องเขาจะถูกลงโทษ เป็นต้น เด็กๆ จึงสามารถที่จะตัดสินใจหลายอย่าง ก่อนที่เขาจะลงมือกระทำอะไรลงไป และความสามารถในการรับรู้นี้เอง
ในช่วงวัย 9-12 ปี
คุณพ่อคุณแม่อาจให้เงินลูกเป็นรายสัปดาห์ เพื่อฝึกการวางแผนการใช้เงิน รู้จักตัดสินใจคำนวณการใช้จ่ายในแต่ละสัปดาห์ทำอย่างไรลูกถึงจะสามารถควบคุมการใช้เงินของตัวเองให้เพียงพอตามจำนวนเงินที่ได้รับมา คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกอ่านบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครอบครัว อ่าน บิลค่าของใช้ บิลค่าน้ำ ค่าไฟ เพื่อรับรู้ และมีส่วนร่วมในการช่วยผู้ปครองประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว
วัยรุ่น 13-17 ปี
เด็กวัยนี้มักจะมีพฤติกรรมเลียนแบบกลุ่ม ต้องมีของใช้เหมือนกัน ต้องแต่งตัวเหมือนกัน ถ้าคุณรู้ว่าเขามี “นิสัย” ที่ชอบซื้อของแพงโดยไม่สมเหตุสมผล คุณจะต้องเรียนรู้ที่จะ “Say No” กับลูกให้เป็น พร้อมกับบอกเหตุผล โดยไม่ต้องลงไป ต่อล้อต่อเถียงกับเขา โดยทั่วๆ ไป พ่อแม่มักจะให้เงินเดือนลูกวัยรุ่นกันอยู่แล้ว ถ้าลูกคุณอยากได้จริงๆ เขาควรจะหัดเก็บเงินประจำของเขา และซื้อเอง สอนให้ลูกรู้จักวิเคราะห์เหตุผลในการซื้อสินค้า ว่าเราจะได้ประโยชน์จากการใช้สินค้านั้นจริงๆ หรือไม่
ถ้าสินค้านั้นราคาแพง และคุณอยากจะให้เขาบ้าง ก็อาจจะเสนอว่า คุณจะช่วยจ่ายให้เขาครึ่งราคา ส่วนอีกครึ่งให้เขานำเงินที่เขาเก็บมาใช้
ที่สำคัญพ่อแม่ ต้องยอมรับ และฟังความคิดเห็นของลูก เป็นการปลูกฝังให้ลูกรู้จักคิดวิเคราะห์ในความต้องการของตัวเอง สร้างความมั่นใจในการวางแผนการใช้เงิน การออมเงิน อย่างถูกต้องในอนาคต
เลี้ยงลูกวัยรุ่น พ่อแม่ต้องเข้าใจ พฤติกรรมลูกวัยนี้ พยายามทำวิกฤตให้เป็นโอกาสที่จะอบรมสั่งสอนลูก วัยรุ่นสมัยนี้ กับสมัยเรา วิถีชีวิตก็ไม่เหมือนกัน แต่ความรู้สึกตอนเรายังเป็นวัยรุ่นก็จะใกล้เคียงกัน ถ้าเรายังจำช่วงเวลานั้นได้ เราก็สมารถเข้าใจลูกวัยรุ่นได้ง่ายขึ้นค่ะ
แนวทางที่จะคุยกับลูกก็ต้องรู้จักการยืดหยุ่น และหาจุดกึ่งกลางที่เหมาะสม ในวิธีการที่ยึดความถูกต้อง เด็กต้องเรียนรู้ว่าถ้าอยากได้อะไร ต้องเข้าใจความต้องการของตนเอง ต้องรู้จักสื่อสารกับพ่อแม่ ไม่แอบไปทำเองตามลำพัง
ข้อเสนอแนะในการลดความรุนแรงของปัญหา
การเสวนาดังกล่าวได้เสนอทางออกให้แก่สังคมไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
“เด็กควรเรียนรู้ความเป็นจริง เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของสังคม โดยทุกระบบในสังคมต้องทำหน้าที่ฝึกสอนให้เด็กได้เรียนรู้ แต่กลับพบว่า หน้าที่ในการอบรมเด็กกลับถูกผลักภาระไว้ที่โรงเรียนเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ระบบโรงเรียนกลับมุ่งเน้นในเชิงวิชาการ แม้จะมีระบบคัดกรองเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อนำเข้าสู่การแก้ไขปัญหา”
“แต่กลไกเหล่านี้ยังไม่ถูกทำหน้าที่ จึงเห็นด้วยที่ผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลลูก ไม่ควรฝากภาระและอนาคตให้กับโรงเรียน โดยต้องมีระบบกลไกทางสังคมที่ช่วยให้ระบบครอบครัวมีความเข้มแข็ง มีทักษะและความรู้ความเข้าใจในการแนะนำลูกของตนเอง ซึ่งการสร้างระบบเครือข่ายผู้ปกครองสามารถทำได้”
“โรงเรียนต้องเปิดพื้นที่ให้กลุ่มพ่อแม่ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของความเป็นผู้ปกครองเช่นมีห้องให้ผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการให้คำปรึกษาการเลี้ยงดูลูกเพื่อให้เครือข่ายครอบครัวมีส่วนในการเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาเด็กในโรงเรียนมากขึ้น”ทางออกเพียงเท่านี้จะเพียงพอหรือไม่อย่างไรสำหรับการแก้ไขปัญหาที่ยังคงเป็นแผลฉกาจฉกรรจ์ของวัยรุ่นไทย ในเมื่อผู้ใหญ่ในสังคมมีความคิดที่แตกแยกกันอย่างรุนแรงเช่นนี้ จนยากที่จะหาทางออกร่วมกันได้ มันย่อมเป็น “แม่แบบทางความคิด” หรือ สร้าง “ค่านิยมใหม่”ให้แก่เด็กไทยที่นับวันจะมุ่งไปสู่ “ความรุนแรง”เช่นเดียวกัน เพราะ...เราอยากได้ขนมหวานอะไร ก็ต้องใช้แม่แบบขนมหวานตัวนั้น เป็นเครื่องพิมพ์ให้ออกมาตามแบบ เราอยากได้ความรุนแรงเป็นเครื่องยุติความแตกแยกของสังคม เราอยากได้การยุติปัญหาแบบขาดวุฒิภาวะ ...ฤา? หรือเราได้ให้สังคม “กลบเกลื่อนความผิด” มาลบเลือนความชั่วของคนในสังคม เราก็จะได้เห็นเยาวชนของเราเดินตามรอยเท้านั้นในไม่ช้า
สิ่งข้างต้นนี้เองที่ถือว่าเป็นความฟุ้งเฟ้อทางวัตถุนิยม ที่เข้ามาครอบงำให้เด็กวัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงยิ่งนัก เพราะมันเข้ามามีอิทธิพลดึงดูดให้เด็กกลุ่มนี้ต้องตกอยู่ในวังวนของความอยากได้อยากมี หรือความฟุ้งเฟ้อในการใช้ของแพงตามแฟชั่น


      ดังนั้น ค่านิยมนั้นเป็นข้อสรุปรวมของสังคมก็ย่อมหมายความว่า “เป็นทัศนะที่รวมๆ กันของคนหมู่มากที่ทำตามกันไป อาจจะถูกหรือจะผิดก็ไม่อาจทราบได้ แต่เมื่อได้เฮตามกันไปแล้ว ค่านิยมที่เกิดใหม่อีกชั้นในขณะนั้นก็คือ การใช้กฎหมู่มาอยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งอาจสร้างปัญหาให้แก่สังคม”เมื่อถูกชักนำไปในทางที่ผิด เช่น ช่วงหนึ่งผู้คนนิยมว่า ใช้ของแบรนด์เนมเป็นเรื่องที่เท่ทันสมัยหรือสมาร์ท ก็ใช้ตามกันไป แล้วเดิม“ค่านิยม”ของเด็กและเยาวชนไทยคืออะไรคือฝักใฝ่ในคุณธรรม เคารพผู้ใหญ่  กตัญญูรู้คุณ  สนใจในการศึกษาเล่าเรียน เพื่อการเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมในอนาคต .... ใช่หรือไม่ แต่เพียงเราเดินข้ามสู่ทศวรรษใหม่ กลับพบว่า เด็กและเยาวชนไทยมีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน จนสังคมไม่ทันหันกลับมามองและแก้ปัญหานั้นได้ นี่คือบาดแผลในจิตใจที่คนในหมู่เด็กและเยาวชนเราจำนวนมากที่ทำตามกันไป  คงเห็นแล้วว่า เมื่อพวกเขามีความฟุ้งเฟ้อในวัตถุนิยมมากเท่าใด ก็ทำให้พวกเขาพยายามที่จะไขว่คว้าหาวัตถุนิยมต่างๆ มาปรนเปรอให้กับตนเองมากที่สุด และที่สำคัญดูเหมือนว่าเด็กวัยรุ่นไทยของเรากำลังตกอยู่ในความฟุ้งเฟ้อกระแสวัตถุนิยมเต็มตัว...ซึ่งคงถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนคงต้องเยียวยาช่วยเหลือพวกเขาไม่ให้ถลำลึกไปจนกว่าที่จะดึงกลับมาได้ โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวคงต้องเป็นประการด่านแรกในการที่จะช่วยเหลือลูกหลานของเรามิให้ตกอยู่ในห้วงกระแสวัตถุนิยมอย่างจมปลักเช่นนี้






อ้างอิง
จากบทความของ ฟิลิป คอร์นเวล-สมิธ   เรื่อง มายาคติเชิงวัตถุนิยมของคนไทย
                       จากบทความวของศรัชย์ชยา อารีย์ ค่านิยมวัยรุ่นไทย
                       นสพ.มติชน วันที่ 17กันยายน 2547 อ้างใน เด็กไทยในมิติวัฒนธรรม
                        นสพ.ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21สิงหาคม 2553
โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด สถาบันรามจิตติ 2548





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น