วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาการหย่าร้างในสังคมไทย นาย อัมพรชัย ทองทิพย์ 53242926


รายงานวิชา830029 ปัญหาและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
บทความเรื่อง ปัญหาการอย่าร้างในสังคมไทย


นายอัมพรชัย ทองทิพย์ 53242926
คณะสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม ชั้นปีที่ 3

...........................................................................................................................................................................................

บทนำ

ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกเป็นสถาบันสากลและเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ แต่การที่สภาพครอบครัวเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าสภาพครอบครัวจะมั่นคงยั่งยืนตลอดไป อาจมีการสิ้นสุดหรือแตกสลายลงได้โดยทั่วไปการสิ้นสุดของครอบครัวมี 2 ประการ คือ ประการแรก การอย่าร้างกัน และประการที่ 2 คือ การตาย การสิ้นสุดด้วยการตาย ไม่ค่อยก่อให้เกิดความวุ่นวายในชิวิตครอบครัวเท่ากับการอย่าขาดกัน เพราเหตุว่าการอย่าร้างที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดภาวะเจ็บป่วยทางจิตใจแก่คู่สมรส หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากกว่าการตายจากกันการอย่าร้างจึงเป็นวิกฤตการณ์ของชีวิตสมรสที่คู่สมรสทุกคู่พยายามจะหลีกเลี่ยง แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ทุกคู่ บางคู่อาจโชคดีได้อยู่ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร แม้จะทุกข์หรือสุขก็ตามเพื่อชื่อเสียง เพื่อลูก เพื่อวงศ์ตระกูล ก็ต้องอยู่ด้วยกันตลอดไป แต่บางคู่ที่ถือว่าถ้าอยู่ด้วยกันไม่มีความสุขก็ไม่จำเป็นต้องครองชิวิตคู่ร่วมกันตลอดไป และจบลงด้วยการอย่าร้าง


ปัญหาการอย่าร้างในสังคมไทย

ในนอดีตการอย่าร้างไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย และถ้าสามีภรรยาคู่ใดอย่าร้างกัน ก็จะถือเป็นเรื่องที่ไม่ดี จะได้รับการติฉินนินทา ดังนั้นปัญหาการอย่าร้างจึงไม่ค่อยเกิดขึ้น ทั้งๆที่สมัยก่อนส่วนใหญ่เป็นการแต่งงานแบบคลุมถุงชน คือ พ่อแม่จับให้แต่งงานกัน แต่เมื่ออยู่กินด้วยกันแล้วก็รักกันและอยู่ด้วยกันจนตายจากกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้หญิงไทยในอดีตมีหน้าที่อยู่กับบ้านคอยปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่และเป็นแม่บ้านแม่เรือนดูแลการงานภายในบ้านทุกอย่าง ไม่ได้ออกไปทำงานนอกบ้านเหมือนในปัจจุบันปัญหาการหย่าร้างจึงไม่เกิดขึ้น
                นอกจากนั้นกานหย่าร้างยังกระทำได้ยาก เพราะความเคร่งคัดทางศาสนาและจารีตประเพณี บางสังคมบางประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ การหย่าร้างเกิดขึ้นได้ยาก เพราะถ้าเกิดการหย่าร้างสังคมจะไม่คบหาสมาคมด้วย เนื่องจากศาสนาห้ามการหย่าร้าง คู่สมรสจึงจำต้องอยู่ร่วมกันเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และในประเทศอินเดีย ที่ถือว่าภรรยานั้นถือเป็นสมบัติอยู่ภายใต้สิทธิ์ขาดของสามี จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องการหย่าร้างได้ และเมื่อสามีตายภรรยาก็ไม่มีสิทธ์จัดการกับชีวิตของตนเอง หญิงม่ายบางแห่งไม่มีสิทธ์แม้แต่การมีชีวิตอยู่ เพราะตามประเพณีภรรยาต้องเผาตัวตายตามสามีผู้เป็นเจ้าของชีวิตไปด้วย เรียกว่า พิธีสตรี
อ้างอิง : บทความทางวัฒนธรรม กองวัฒนธรรม กรมการศาสนา

                ในสังคมไทยเดิมการแต่งงานเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องญาติไม่ใช้เฉพาะคู่สมรสจึงอยู่ภายใต้ความดูแลคอยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งของกลุ่มเครือญาติ การปลูกฝังค่านิยมเกี่ยวกับพรหมจรรย์ค่านิยมเกี่ยวกับการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว มีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ผู้หญิงพยายามรักษาชีวิตการแต่งงานของตนเองไว้ให้ยาวนานที่สุด ถึงแม้ว่าผู้หญิงหลายคนต้องทนทุกข์ทรมานจากการแต่งงาน เช่น สามีมีเมียน้อย สามีไม่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ถูกสามีทำร้ายร่างกาย เพราะเมื่อมีการอย่าร้างผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ผู้หญิง และการอย่าร้างยังถือเป็นเรื่องน่าอับอายขายหน้าไม่เป็นที่พึงประสงค์ให้มีการอย่าร้างเกิดขึ้น สามีภรรยาจึงต้องอยู่ร่วมกันต่อไป ทั้งที่มีเรื่องขุ่นข้องหมองใจโดยถือว่าเป็นเรื่องของเคราะห์กรรม ถึงแม้ว่าสมัยก่อนการอย่าร้างจะทำได้อยาก แต่การอย่าร้างก็สามารถทำได้ในกรณีคู่สมรสมีความประสงค์ที่จะอย่าร้าง ดังจะเห็นได้จากจดหมายจากลาลูแบร (simon de la loubere) ที่กล่าวการอย่าร้างในสังคมไทยสมัยอยุธยาไว้ว่าการอยู่กินฐานสามีภรยาในประเทศสยามนั้นแทบจะราบรื่นแทบทุกครัวเรือนแต่หากสามีภรรยาคู่ใดไม่ประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันต่อไป ก็สามารถที่จะอย่าร้างกันได้ตามกฎหมายผู้เป็นสามีนั้นเป็นตัวสำคัญในการอย่าร้างเพราะจะยอมอย่าหรือไม่ก็ได้ แต่ก็ไม่ปฏิเสธหากภรรยามีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะอย่ากับตน( simon de la loubere อ้างในพุฒ วีระ ประเสริฐ 2536:9)การอย่าร้างจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ภายหลังการอย่าร้างก็สามารถแต่งงานใหม่ได้ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าการอย่าร้างเป็นสิ่งที่สังคมไทยยอมรับได้ ถึงแม้ว่าการอย่าร้างจะเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนักก็ตาม
                จำนง อดิวัฒนสิทธ์ และคณะ ,สังคมวิทยา , (กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2537)


สาเหตุของการอย่าร้างในสังคมไทย

สาเหตุที่ 1 เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว
ตั้งแต่ความสัมพันธ์ของสมีภรรยาจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่ ความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ฝ่ายหนึ่งก็อ้างการทำงาน ในขณะอีกฝ่ายก็ทำแต่งาน  ขาดความใส่ใจ ไม่มีเวลาให้กันและกัน เพราะประเด็นหลักที่ทำให้ปัญหาของการอย่าร้างเกิดขึ้น  เกิดจากพฤติกรรมของคนในครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างเวลาเรานัดเพื่อนเราจะให้ความสัมคัญกับเพื่อน แต่กับภรรยาหรือลูกเรามักจะไม่ให้ความสัมคัญ สิ่งแรกที่เราควรปรับแต่งคือพฤติกรรมตัวเราเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน ไม่ว่าจะทำอะไรเพื่อให้ยึดหลัก แฟมิรี่เฟร์ส คือ ให้ความสัมคัญกับครอบครัวเป็นอันดับแรก
ครอบครัวมีเวลาให้แก่กันเมื่อโลดโลกาภิวัตน์เข้ามาในสังคม ทำให้มนุษย์มีเวลาให้กันน้อยลง ครอบครัวไม่มีเวลามาเจอหน้ากัน ถ้าเรามีเวลาให้ครอบครัวกิจกรรมภายในครอบครัวก็จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะ เป็นการรดน้ำต้นไม้ พากันไปกินข้าว ไปเที่ยวด้วยกัน สัมพันธภาพในครอบครัวก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเรามีเวลาให้แก่กันเวลาที่เราจะเรียนรู้ซึ่งกันและกันก็เกิดขึ้นและกิจกรรมที่เราทำด้วยกัน สามารถที่จะสอนลูกๆไปในตัวด้วย แล้วสิ่งที่พ่อแม่ทำให้ลูกเห็น ลูกๆก็จะเรียนรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นและซึบซับไปเองโดยอัตโนมัติ
สาเหตุที่ 2 เพราะว่าคุณหรือเขาต่างคาดหวังให้เขาเป็น
ก่อนที่จะแต่งงานกัน(ช่วงที่รักกันใหม่ๆ) คุณและเขาก็อาจคาดหวังว่าพอได้แต่งงานกันไปเขาหรือเธอคงจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ เช่น เธออาจจะเป็นแม่บ้านที่ดี เป็นแม่ที่ดี หรืออาจจะคาดหวังว่า เขาคงจะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดี มีความรับผิดชอบช่วยเราดูแลครอบครัว และช่วยดูแลบ้าน หากสิ่งที่คุณๆได้คาดหวังไว้ แต่คุณไม่เคยบอกคู่ของคุณให้รู้ก่อนเลยละก็เมื่อคุณได้มาอยู่ร่วมกันแล้วละก็ คุณอาจจะเพิ่งจะรู้ความจริงก็ได้ว่า เขาเองไม่ได้เป็นไปอย่างที่คุณคาดหวัง หรืออยากให้เขาเป็น ดังนั้นทางแก้ก็คือ คุณและเขาควรหันหน้าพูดคุยกันก่อนเลยว่า คุณต้องการอะไร และเขาคาดหวังอะไรจากคุณ เพราะหากแต่งไปแล้วคุณหรือเขาพึ่งมารู้ความจริงละก็ หากเขา รับได้ก็โชคดีไป แต่หากรับไม่ได้ จากรักวันหวานก็กลายเป็นรักช้ำในวันนี้ก็ได้
สาเหตุที 3 สามีภรรยาขาดความอดทนซึ่งกันและกัน
สามีและภรรยาขาดความอดทนไม่มีการเสียสละและให้อภัยกันที่เป็นเช่นนี้เพราะ การที่มีคนมาอยู่ร่วมกันมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป ย่อมต้องมีเรื่องกระทบกระทั่งการเกิดขึ้นบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้าทั้งสองคนไม่ได้มีการใคร่ควรถึงเหตุผลต่างๆเป็นอย่างดี และร่วมช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นและลุล่วงลงได้ด้วยดี
                สาเหตุที่ 4 ค่านิยมพื้นฐานที่แตกต่างกันเกินไป
ค่านิยมพื้นฐานหมายถึง ความเชื่อ ความชอบ และความเห็นว่าดีและไม่ดีในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่พื้นฐานของชีวิต การกิน นอน ศาสนา ความเชื่อ ความสำเร็จ ค่านิยมส่วนตัว เช่น หากคุณเป็นผู้หญิงที่มีมุมมอง แนวคิดที่อยากจะทำงาน อยากใช้ความสามารถของตนเองในการทำงาน หรือ ทำธุรกิจ หากคุณสามีอยากที่จะให้คุณเป็นแม่บ้านที่ดีและเป็นคุณแม่ที่ดีของลูก ก็พอละก็คุณผู้หญิงก็อาจจะทนไม่ได้ที่สามีอยากให้นั่งอยู่บ้าน หรือหากว่าคุณเป็นคนที่ชอบช่วยเหลือคนอื่นมีน้ำใจ แต่สามีหรือคู่ของคุณจะไม่ทำอะไร หากไม่มีผลประโยชน์ร่วม


                ปัญหาการอย่าร้างในปัจจุบัน

ปัจจุบันหลังจากที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตก โดยเฉพาะด้านการศึกษา การเมือง และด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความก้าวหน้าที่ของระบอบประชาธิปไตยเกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจ เกษตรกรรม ไปสู่เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงค่านิยม เกิดค่านิยมใหม่ๆ เช่น ความเสมอภาค อิสรเสรี ความเป็นตัวของตัวเองตามครรลองอุดมการณ์ประชาธิปไตย ผู้หญิงมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นลักษณะค่านิยมใหม่ของไทยที่เห็นเด่นชัดคือ ผู้หญิงไทยตื่นตัวเรื่องความเสมอภาคเท่าเทียวกับชาย  ซึ่งแต่ก่อนเคยรู้สึกว่าเป็นช้างเท้าหลัง ปัจจุบันผู้หญิงไทยมีอิสระ และเสรีภาพมากกว่าแต่ก่อนในด้านการดำเนินชีวิตประกอบอาชีพทางสังคม ใช้ชีวิตนอกบ้านและกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น
                ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นำไปสู้การเรียกร้องให้มีการนิยามบทบาทของผู้หญิงเสียใหม่ภายในครอบครัว อำนาจและสิทธิต่างๆ รวมทั้งความเหลื่อมล้ำในบทบาทของชายและหญิงมีแนวโน้มลดลง และนอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงยังมีผมกระทบต่อโครงสร้างและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและก่อให้เกิดผลที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงมีค่านิยมที่จะอยู่เป็นโสดสูงขึ้น  พบว่ามีการหย่าร้างเพิ่มสูงขึ้นทั้งในสังคมเมื่อและสังคมในชนบท
                การศึกษาเกี่ยวกับการหย่าร้างในสังคมไทยพบว่า อัตตราการหย่าร้างในสังคมไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นและพบสูงมากที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร แต่ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจส่วนมากมาจากการสำรวจสถิติการหย่าร้างที่มีผู้มาจดทะเบียนการหย่าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดั้งนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการหย่าร้างที่ไม่มีการจดทะเบียนอย่าจึงไม่มีการจดบันทึก ส่งผลไห้ข้อมูลที่ได้รับอาจเกิดความคาดเคลื่อน โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการหย่าร้างในสังคมชนบท  แต่ข้อมูลดังกล่าวก็แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของการหย่าร้าง
                การหย่าร้างที่เกิดในแต่ละสังคมนั้นขึ้นอยู่กับบริบททางสังคม วัฒนธรรม และตัวบุคคลเป็นตัวกำหนด การหย่าร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสิ่งที่ควรได้รับความสนใจในกานศึกษา โดยเฉพาะการหย่าร้างในชนบท เพราะถึงแม้ว่าการหย่าร้างจะพบโดยทั่วไปในแทบทุกชุมชน แต่การหย่าร้างที่เพิ่มสูงขึ้นในสังคมชนบท เป็นเรื่องที่หน้าสนใจศึกษาเนื่องจากการหย่าร้างก็คือดัชนีชี้วัดความล้มเหลวในชีวิตแต่งงานระหว่างสามีและภรรยาที่ไม่สามารถปฏิบัติตามบทบาทที่สังคมคาดหวังได้
                ปัญหาการหย่าร้างมีผลกระทบทำไห้เด็กในสังคมไทยก่อปัญหาทางสังคมมากมาย ด้วยสาเหตุที่เด็กอยู่ในครอบครัวแตกแยก จะขาดความรัก ความอบอุ่น มีความรู้สึกไม่มั่นคง เนื่องจากลูกเคยชินต่อสภาพพ่อแม่ ให้ความรัก ความอุ่น และความมันใจแก่เขา แต่ความสัมพันธ์แบบนี้ต้องถูกทำลายไป ทำให้มีผลกระทบกระเทือน ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล เช่น เด็กที่เคยยึดพ่อแม่เป็นแบบฉบับ ในเรื่องค่านิยม อารมณ์ แบบของความประพฤติที่ช่วยให้เด็กมีบุคลิกภาพที่ดี แต่เมื่อหน่วยของครอบครัวถูกทำลายลงลูกๆบางครั้งก็ไม่ทราบว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร ซื่งอาจทำไห้เขาผิดหวัง และมีเรื่องที่ทำให้สะเทือนใจกลายเป็นเด็กกระทำผิด เช่น การประพฤติผิดทางเพศ ติดยาเสพติด และการเป็นเด็กจรจัด การปรับตัวของเด็กหลังการหย่าร้าง ลูกๆมักจะอยู่กับแม่ ซึ่งมีผมกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของเด็ก เพราะทั้งพ่อและแม่จะเป็นคนอบรบเด็ก  จะเป็นคนอบรมเด็กและเด็กก็เรียนรู้บทบาทจากพ่อแม่ซึ่งเป็นต้นฉบับสำหรับชีวิตของผู้ใหญ่แต่ถ้าเหลือแต่แม่ และแม่ต้องทำหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่  โดยบางครั้งแม่ก็ไม่สามารถปลูกฝังพฤติกรรมแบบพ่อ ให้แก่ลูกได้ ทำให้เด็กมีปัญหาทาเพศ เช่น เด็กผู้ชายจะมีนิสัยเป็นผู้หญิง (ตุ๊ด) ในอีกแง่มุมหนึ่งเด็กที่ถูกเลี้ยงดูจากพ่อก็จะมีพฤติกรรมเลียนแบบพ่อ แต่อย่างไรก็ตามเด็กทั้งหญิงและชายโดยทั่วไปมักจะมีความใกล้ชิดชอบแม่มากกว่าพ่อ แม่จึงมีอิทธิพลโน้มน้าวจิตใจเด็กมากกว่าและในกรณีที่ครอบครัวไม่มีความสุข ลูกสาวและลูกชายมักจะเข้าข้างแม่มากกว่าพ่อ การอย่าร้างเป็นการสิ้นสุดชีวิตของคู่สมรส  ย่อมเป็นเรื่องเศร้าที่เกิดขึ้นทางสังคมไทยโดยเฉพาะผู้หญิงที่อย่าร้างจะต้องทำหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูก หรือ ทำงานหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวการลดปัญหาการอย่าร้างนั้น ทำได้ไม่อยากนัดเพราะ เป็นความต้องการทั้งสองฝ่ายที่จะแยกกันอยู่อย่างเด็ดขาด ทางที่จะช่วยได้ก็คือ พยายามประวิงเวลาของการอย่าร้างไว้ก่อนถ้าเป็นไปได้ มีหลายคู่เหมือนกันที่มีเจตจำนงจะอย่าร้างกันเจ้าหน้าที่ก็แนะนำหาผลประกอบทั้งเหตุผลดีและผลเสีย ทำให้เปลี่ยนใจภายหลังได้ อาจจะให้โอกาสแต่ละฝ่ายใช้เวลาไตร่ตรองให้นานๆ เสียก่อนได้ หรือถ้าหากพิจารณาคดีของการอย่าควรจะทำเป็นความลับเพื่อไม่ให้แต่ละฝ่ายเสียชื่อเสียง นอกจากนั้นก็หาทางให้การศึกษาเรื่องเพศศึกษาแก่ครอบครัว เพื่อเป็นการสอนแนวทางชีวิตความเป็นจริงทางสังคม เน้นนักในด้านการศึกษาอย่างแท้จริง เพราะจะเป็นภัยอย่างยิ่งถ้าถือว่าเป็นเรื่องลึกลับต้องห้าม เพื่อป้องกันปัญหาอันจะเกิดตามมาภายหลังการอย่าร้าง


                จากสื่อและข่าวต่างๆของสังคมไทย


                จากสื่อและข่าวต่างๆของสังคมไทยจะเห็นได้ชัดเลยว่าสังคมไทยได้มีการอย่าร้างที่สูงขึ้นมาก จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา ดังข่าวตัวอย่างหัวข้อ ครอบครัวไทยสอบตก ความเข้มแข็งไม่ผ่านถึง 57% สถิติการอย่าร้างเพิ่มขึ้นถึง 1 ใน 3
                นพ. ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวภายในงานประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 9 เรื่อง ความสุขครอบครัว ความสุขชุมชนกล่าวว่า ปัจจัยที่ทำไห้เกิดความสุข มีทั้งครอบครัว ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ศาสนา และสังคม การเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านต่างๆ จึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญโดยรายงานสถานการณ์ครอบครัวเข้มแข็ง ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมันคงของมนุษย์ (พม.)ในปี2552พบว่า มีครอบครัวที่ไม่ผ่านเกณฑ์ความเข้มแข็งถึงร้อยละ 57.16 องค์ประกอบที่ทำไม่ให้ผ่านเกณฑ์มากที่สุดคือ ความเข้มแข็งของชุมชน ร้อยละ 77.84 ทุนทางสังคมของครอบครัว ร้อยละ 65.88 สัมพันธภาพของสมาชิกคนในครอบครัว ร้อยละ 46.53
                นพ. ชาตรี กล่าวว่าการที่ครอบครัวมีพื้นฐานไม่เข็มแข็งจะส่งผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนทำให้เกิดปัญหาความรุนแรงยาเสพติด ซึ่งเมื่อดูจากสถิติก็พบว่า อัตราการถูกทำลายของผู้หญิงและเด็ก โดยตนในครอบครัวมีจำนวนมาก รวมทั้งสถิติการหย่าร้างที่มีสูงขึ้นที่อัตรา 1 ใน 3 จากเมื่อ 10 ปีก่อนที่อยู่ 1 ใน 10 ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเร่งแก้ไข โดยการสร้างความสุขในสังคม ซึ่งในการประชุมวิชาการครั้งนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน เพื่อให้เกิดแนวทางที่ทำไห้สังคมเป็นสุขต่อไป ทั้งนี้ จากการสำรวจความสุขของประชาชนพบว่า ทรงตัว ส่วนอารมณ์รุนแรงทางการเมืองลดลง จากช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 40 เหลือเพียง ร้อยละ 15 แต่อารมณ์ทางการเมืองถือเป็นปัจจัยเล็กๆของความสุขทางสังคมเท่านั้น
                 เมื่อพิจารณาอัตราการค่าตัวตายครึ่งปีแรก ถือว่ามีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงมาก พบว่ามีอัตราการค่าตัวตาย 3.5 คนต่อประชากรแสนคน หรือประมาณ 1500-2000 คนในช่วงครึ่งปีแรกส่วนหนึ่งเป็นลมจากภาวะเศรษฐกิจทำให้อัตตราการฆ่าตัวตายรวมทั้งปีอาจจะสูงกว่ามาตราฐานที่วางไว้ว่าต้องไม่เกิน 6 คน ต่อ แสนประชากร ซึ่งในรอบ 10 ปี พบว่าอัตตราการค่าตัวตายของไทยสูงที่สุดช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2542 อยู่ที่ 8.6 คน ต่อ แสน ประชากร ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นโดยใช้แบบคัดกลองที่มีอยู่เพื่อไม่ให้สถานการณ์ขยายตัวนพ.ชาตรี กล่าว
                                                         อ้างอิง หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2553 เวลา 15:01น.

                สถิติการหย่าร้าง

สถิติการหย่าร้างในประเทศไทยสูงขึ้น เช่นเดียวกับในหลายๆประเทศทั่วโลก การหย่าร้างเป็นการสิ้นสุดส่วนหนึ่งของชีวิตสมรส แต่เป็นการเริ่มต้นใหม่ของชีวิตการเป็นทั้งพ่อแม่ในคนเดียวกัน(single parent)ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือของทั้งสองฝ่ายก็ตาม
ชีวิตสมรสอาจสิ้นสุดได้ แต่ครอบครัวจะสิ้นสุดมิได้ ครอบครัวจะดำรงอยู่ต่อไปโดยมีผู้นำที่เป็นทั้งพ่อและแม่ในคนเดียวกันไม่ว่าลูกจะอยู่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
หากจำเป็นจะต้องหย่าร้างโดยหลีกเลี่ยงมิได้ โดยพิจารณาเห็นแล้วว่าการหย่าร้างเป็นทางออกสุดท้ายของปัญหา คู่สมรส พึงเตือนตนเองเสมอไว้ว่า แม้ชีวิตสมรสจะสลายตัว ครอบครัวจะไม่มีวันสลายตาม
พ่อแม่อาจหย่าร้างกันได้ แต่ทั้งพ่อแม่จะไม่มีวันหย่าร้างจากลูก คนเราอาจยุติการเป็นสามีภรรยากันได้แต่จะยุดติการเป็นพ่อแม่นั้นมิได้เป็นอันขาด ทั้งสองคนยังเป็นพ่อและแม่ของลูกตลอดไปทั้งสองจะต้องทำหน้าที่อย่าดีที่สุด เพื่อลดปัญหาที่อาจตามมาเป็นผลพวงของการหย่าร้างให้เกิดผลกระทบต่อลูกน้อยที่สุด
การหย่าร้างไม่ควรเป็นผลสืบเนื่องจากอารมณ์ชั่ววูบของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยามโกรธ ยามน้อยใจ ยามแค้นใจ คนเรามีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดอย่างมากการพิจารณาว่าจาหย่าร้างจึงมิใช่เรื่องด่วนแต่อย่างใด
เมื่อเกิดปัญหาในชีวิตสมรส ก่อนอื่นสามีภรรยาควรเจรจาสื่อความรู้สึกและความคิดซึ่งกันและกันช่วยกันแก้ ช่วยกันหาทางแก้ไข ไม่เก็บสะสมไว้เป็นดอกเบี้ยทบต้น หากจำเป็นควรแสดงหาความช่วยเหลือ เช่น โดยการปรึกษาผู้รู้หรือผู้ทำงานในองค์กรที่ช่วยเหลือครอบครัว ในกรณีสุดวิสัย ที่จะหลีกการหย่าร้าง ทั้งคู่จะต้องเตรียมตัวและเตรียมลูกไห้พร้องก่อนการหย่าร้าง เพื่อป้องกันหรืออย่างน้อยก็ช่วยลดปัญหาจากผลกระทบที่อาจเกิดแก่ลูกไห้เหลือน้อยที่สุด


        
   
                   ปี 2549 สมรส347913 คู่ หย่าคู่  91155     
                  ปี 2550 สมรส          307910 คู่ หย่าคู่ 100420      
                  ปี 2551 สมรส 318496 คู่ หย่าคู่ 109084
                  ปี 2552 สมรส          300876 คู่ หย่าคู่ 109277
                ข้อมูลสถิติการหย่าร้าง จากกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย พอจะแสดงให้เห็นภาพของการหย่าร้างว่ามีเพิ่มมากขึ้น และเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเรื่องรักๆเลิกๆเป็นเรื่องปกติของชีวิตคู่ อยู่ด้วยกันไม่ได้ ก็เลิกรากันไป ทางใครทางมัน หรือบางคู่อาจจะมีเหตุผลอื่นๆนานัปการ หรือมีมือที่ 3-4-5 ทำให้ชีวิตคู่ต้องกลายเป็นชีวิตที่เคยผ่านการสมรสหรือชีวิตที่หย่าร้างไปที่สุด
                อ้างอิง : แพทย์หญิงสุพัฒรา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข หน้า 317-327


                สรุป

                การหย่าร้างหากจะถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัวก็จริง แต่ผลกระทบจากการอย่าร้างนี้ย่อมมีผลกระทบต่อครอบครัว ที่มีลักษณะบ้านแตก กระทบจิตใจลูกๆ ที่พ่อแม่ต้องแยกจากัน ทั้งยังมีผลกระทบสืบเนื่องถึงสภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว และสังคมด้วย ที่น่าคิดก็คือ การอย่าร้างนั้นไม่ใช่จะมีสาเหตุเนื่องจากความไม่ซื่อของชายต่อภริยาเพียงฝ่ายเดียว แต่ก็ยังมีสถิติเพิ่มขึ้นในการฟ้องอย่าของชาย หญิงที่ไม่ซื่อต่อสามี นั้นมีอยู่หลายระดับ ไม่ว่าในด้านสูงด้วยวุฒิการศึกษา อยู่ในสังคมชั้นสูง หรือในทางตรงกันข้าม
                ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่แต่งงานแล้ว(ยกเว้นผู้นิยมความสัมพันธ์ทาเพศเป็นพิเศษ) ย่อมไม่ต้องการเลิกร้างจากสามีอย่างแน่นอน แต่เท่าที่ปรากฏหญิงที่ขออย่าสามี จนทำให้ครอบครัวแตกแยกนั้น สาเหตุสำคัญที่สุดก็คือ ฝ่ายชายเป็นผู้ที่ไม่สนใจรักใคร่ภริยาเหมือนเดิมหรือไม่ก็ฝ่ายชายทำตัวห่างเหิน หรือแยกตัวไปทำมาหากินในถิ่นที่ไกลภริยา ทั้งบางคนยังมีภริยาน้อยไว้สำรอง ฉะนั้น จึงทำให้ภริยาเกิดความหึงหวง โกรธแค้น หรือ คิดแก้แค้น เมื่อหญิงเกิดความหว้าเหว่มากจนไม่อาจทนได้ จึงต่างคนต่างไป ความหว้าเหว่ผสมความโกรธแค้นนี่เอง อาจทำให้ฝ่ายหญิงคิดแก้ลำโดยเริ่มประพฤติผิด อาทิ การหันหลังเข้าหาเหล้า ของเสพติด และหาความสุขทางเพศโดยไม่คิดถึงศิลธรรมอันดี และ ประสบกับปัญหาเรื่องการคบชู้สู่ชาย ซึ่งเป็นที่ประณามของสังคม ทั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนี้ หญิงก็จะก็จะถูกฝ่ายชายฟ้องหย่าได้ทันทีจากฝ่ายชาย
                อย่างไรก็ดีถ้าหากกเราคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้หญิงบ้างก็จะดี เดิมฝ่ายหญิงก็รักใคร่สามี แต่เมื่อมาถูกสามีทอดทิ้งให้หว้าเหว่ ทั้งไม่เอาใจใส่สนใจครอบครัวเลย แต่สังคมแทนที่จะประณาม กับยกย่องชมเชยว่า เป็นชายชาตรีเก่งกล้าแบบขุนแผน ก็หน้าที่ผู้หญิงเราจะต้องมีความโกรธแค้นเป็นธรรมดา และยิ่งผู้หญิงสมัยนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา มีอาชีพ มีเกียรติ ผู้หญิงย่อมมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
                อย่างไรก็ดีปัญหาการอย่าร้างเป็นปัญหาร้ายแรงสำหรับชีวิตคู่ ถ้าคนเราไม่ว่าชายหรือหญิง รู้จักพอ และพอใจ ในสิ่งที่ตัวมี และรู้จักหน้าที่ของตัวดี ไหนเลยจะมีเรื่องผิดศิลธรรมของ การครองเรือน และปัญหาครอบครัว เกิดขึ้น ชีวิตคู่กว่าจะต้องมีความสุข แต่เหตุแห่งความไม่พอนั่นเองจึงเกิดปัญหาการอย่าร้างขึ้น
               


บรรณานุกรม

บทความทางวัฒนธรรม กองวัฒนธรรม กรมการศาสนา
จำนง อดิวัฒนสิทธ์ และคณะ ,สังคมวิทยา , (กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2537)
 แพทย์หญิงสุพัฒรา เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข หน้า 317-327
หนังสือพิมพ์ มติชน วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2553 เวลา 15:01น.


               


                

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

    แต่คำผิดเยอะมากครับ "หย่าร้าง" ไม่ใช่ "อย่าร้าง" นะครับ ไม่รวมพิมพ์เกิน พิมพ์ผิดอีกพอสมควร

    การเขียนบทความที่ขาดการตรวจทานที่ดีจะส่งต่อข้อผิดพลาดเล็กๆ ต่อไปให้ผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจนะครับ

    ที่เตือนเพราะชื่อ-สกุล ชั้นปี คณะที่เรียนปรากฏอยู่บนสื่อชัดเจนมากครับ

    ตอบลบ