วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปํญหาน้ำท่วม น.ส. นิจธนา น้อยพงษ์ 53242087


                                                                                                                                                                               น.ส. นิจธนา น้อยพงษ์ 
                                                                                                                                                                                                 53242087                                                                                     
                                                                                       บทความวิชาการ 
                                                                                          ปัญหาน้ำท่วม
                 น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากฝนที่ตกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำมีปริมาณมากและตกติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเกิดน้ำไหลบ่าเหนือผิวดินลงสู่ร่องน้ำลำธาร และ ในแม่น้ำมีปริมาณมากกว่าปกติ ซึ่งในขณะที่นำจำนวนมากไหลไปตามร่องน้ำ ลำธาร และแม่น้ำนั้น หากลำน้ำตอนใดไม่สามารถรับปริมาณน้ำทั้งหมดให้ไหลอยู่เฉพาะในตัวลำน้ำได้ก็จะทำให้น้ำมีระดับล้นสูงกว่าตลิ่ง แล้วไหลล้นฝั่งบ่าไปท่วมพื้นที่สองฝั่งลำน้ำหรืออาจไหลไปท่วมขัง ตามที่ลุ่มน้ำไกลออกไปเป็นบริเวณกว้างในกรณีเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเขตชุมชน หรือท่วมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร อาจทำให้ทรัพย์สินและพืชผลจำนวนมากของประชาชน ตลอดจนส่งก่อสร้างต่างๆ ได้รับความเสียหาย เรียกว่า "อุทกภัย" เช่น อุทกภัยเนื่องจากน้ำท่วมใหญ่ในบริเวณภาคกลาง ซึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีตโครงการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงมีจุดม่งหมายเพื่อการแก้ไขป้องกัน หรือช่วยบรรเทาปัญหาในการที่น้ำในแม่น้ำลำคลองซึ่งมีระดับสูงในฤดูน้ำหลาก ไม่ให้น้ำนั้นไหลบ่าเข้าไปท่วมพื้นที่และทำความเสียหายให้กับพืชที่ปลูกหรือท่วมพื้นที่ในเขตชุมชนได้รับความเสียหายด้วยวิธีการที่พิจารณาแล้วว่ามีความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ ไม่มีผลกระทบในการทำลายสภาวะแวดล้อมและธรรมชาติตลอดจนเสียค่าใช้จ่ายน้อยและได้รับประโยชน์คุ้มต่อการลงทุนดังวิธีการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วมที่สำคัญวิถีชีวิตของชาวกรุงเทพมหานครผูกพันกับแม่น้ำมาตั้งแต่อดีต ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่บน ที่ราบลุ่มตอนปลายแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเอื้ออำนวยต่อการเกษตร มีการขุดลอกคูคลองหลายสายเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำในการ อุปโภค บริโภค นอกจากนี้ยังถูกใช้ในการระบายน้ำ และคมนาคมขนส่ง  ด้วยเหตุที่มีเส้นทาง ระบายน้ำมากมาย ปัญหาน้ำท่วมในอดีตจึงไม่รุนแรง และสร้างความ เสียหายให้กับชาวกรุงเทพฯ มากนัก ปัจจุบันกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวง และศูนย์กลางธุรกิจของประเทศ กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การเปลี่ยนแปลงทางการภาพเพื่อรองรับการเติบโตขึ้นของเมือง การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ที่ดินจากเพื่อการเกษตร กลายเป็นเพื่อที่อยู่อาศัย ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงมากกว่าเดิม และ จำเป็นต้องรีบดำเนินการแก้ไข

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตมรสุม นอกจากฝนที่ได้รับอิทธิพลมาจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 1,400 มม.แล้วยังมีฝนที่มาจากพายุโซนร้อน และดีเปรสชั่น ฝนที่ตกหนักในระยะเวลาอันสั้นส่งผลให้เกิด น้ำท่วมขังชั่วคราวปริมาณน้ำท่าจากทางเหนือที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานคร ในปีที่น้ำน้อยจะประมาณ 1,000 - 2,000 ลบ.ม./วินาที ส่วนในปีที่น้ำมากจะประมาณ4,000 - 5,000  ลบ.ม./วินาที ในขณะที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสามารถในการลำเลียงน้ำได้โดยไมล้นตลิ่งประมาณ 2,000 - 3,000  ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำที่มากกว่าความสามารถในการลำเลียงของแม่น้ำเป็นเหตุให้ เกิดน้ำท่วมบริเวณริมแม่น้ำระดับน้ำในแม่น้ำเจ้ำพระยาขึ้นอยู่กับอิทธิพลการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล ซึ่งสามารถหนุนได้สูงถึง 2.1 ม.รทก. (ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
ถ้าน้ำทะเลหนุนในช่วงระยะเวลาเดียวกับน้ำเหนือไหลผ่าน จะทำให้น้ำล้นท่วมตลิ่งได้ในฤดูน้ำหลาก
ลักษณะทางกายภาพของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ชุมชนเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีปัญหาการใช้ที่ดินไม่ถูกต้อง เช่น ถมที่เพื่อการก่อสร้างการรุกล้ำคลองสาธารณะ ส่งผลให้เส้นทางลำเลียงน้ำลดลง ระบบระบายน้ำเดิมไม่สามารถรอง รับการขยายตัวของชุมชนได้ทัน
ปัญหาแผ่นดินทรุดเนื่องจากการสูบน้ำบาดาล ทำให้พื้นที่ในกรุงเทพฯ เดิมซึ่งเป็นพื้นที่ราบต่ำอยู่แล้วทรุดตัวลงมากกว่าเดิม เมื่อเกิดน้ำท่วมขังจึงยากที่จะระบายออกจากพื้นที่ได้
ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)

โดย ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตกุกและปริมาณน้ำฝนสูง จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตกห่วงใยในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ มา และทรงวิเคราะหืลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและทรงคำนึง ถึงการเลือกใช้วิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้อที่และสมรรถนะของกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ตลอดจนงบ ประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

วิธีการต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคือ

1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ
การป้องกันน้ำท่วมโดยการก่อสร้างคันกั้นน้ำ เป็นวิธีป้องกันน้ำมิให้ไกลล้นตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง เหมือนนักการเสริมของตลิ่งของลำน้ำให้มีระดับความสูงมากขั้นกว่าเดิม เพื่อเพิ่มเนื้อที่หน้าตัดของลำน้ำให้มีขนาดใหญ่พอที่จะระบายน้ำไหลหลากจำนวนมาก ให้สามารถไหลผ่านพื้นที่บริเวณนั้นไปโดยไม่ท่วมพื้นที่ต่างๆ จนได้รับความเสียหาย แรมชลประทานได้ก่อสร้างสนองพระราชดำริไว้หลายแห่งเช่น ที่ภาคใต้ ได้แก่ คันกั้นน้ำ ของโครงการมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส และคันกั้นน้ำของ โครงการปิเหล็งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น และ บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรมชลประทาน กรมทางหลวง และกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมบริเวณต่าง ๆ ในโครงการป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำเจ้าพระยา และน้ำตามคลองโดยรอบกรุงเทพมหานครทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกไม่ให้ไหลบ่าเข้ามาท่วมกรุงเทพฯชั้นในและพื้นที่เศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้งโบราณโดยการก่อสร้างคัน ดินกั้นน้ำขนาดที่เหมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่างๆ ด้านใน เช่น คันกั้นน้ำโครงการมูโนะ และโครงการปิเหล็งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นให้ออกไป โดยการก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำ ท่วมโดยให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเลตามความเหมาะสม ซึ่งการดำเนินการสนองพระราชดำริวิธีนี้ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน ในการแก้ไขปัญหาจากแม่น้ำโก-ลก เข้ามาท่วมไร่นาของราษฎรเสียหายหลายหมื่นไร่ทุกปี การขุดคลองมูโนะได้ช่วยบรรเทาลงได้เป็นอย่างดี
การก่อสร้างทางผันน้ำ หรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำท่วมเพื่อผันน้ำทั้งหมด หรือน้ำเฉพาะบางส่วนที่จะล้นตลิ่งออกไปจากลำน้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่นหรือระบายออกสู่ทะเล ตามความเหมาะสม

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยการก่อสร้างทางผันน้ำนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ให้กรมชลประทานพิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำจาก แม่น้ำโก-ลก ที่กั้นชายแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งในฤดูฝนมักมีระดับสูงล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าไปท่วมไร่นาของราษฎรในเขตอำเภอสุไหลลก-ลก จังหวัดนราธิวาส จำนวนหลายหมื่นไร่ให้ได้รับความเสียหายทุกปี ด้วยการขุดคลองผันน้ำ และแบ่งน้ำจากแม่น้ำ โก-ลก ในเวลาที่น้ำไหลหลากมามาก ออกสู่ทะเลอีกทางหนึ่ง กรมชลประทานได้ขุดคลอง มูโนะสนองพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ มีขนาดก้นคลองกว้าง ๒๐ เมตร คลองยาว ๑๕.๖๐ กิโลเมตร ขุดแยกจากแม่น้ำโก-ลก ที่ตำบลมูโนะอำเภอสุไหลลก-ลก ทำหน้าที่แบ่งน้ำจาก แม่น้ำโก-ลก ในขณะที่น้ำมีระดับสูงจะท่วมพื้นที่เพาะปลูกให้ระบายลงสู่ทะเลอีกทางหนึ่ง ซึ่งสามารถช่วยให้น้ำในแม่น้ำโก-ลก มีระดับต่ำลง และคลองสายนี้ยังทำหน้าที่รับน้ำจาก แม่น้ำโก-ลก มาเก็บกักไว้ใช้ประโยชน์ในการเกษตรอีกด้วย
การระบายน้ำออกจากพื้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยต่อปัญหาการเกิดน้ำท่วมขังเป็นอย่างยิ่ง เช่น นำท่วมขังที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเป็นประจำแทบทุกปีจึงพระราชทานพระราชดำริ ให้หาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑล ให้บรรเทาลงหรือแก้ไขให้หมดไป ซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวของได้แก่ กรมชลประทานกรุงเทพมหานคร กองบัญชาหารทหารสูงสุด สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทกรมทางหลวงและการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างละเอียด แล้วทำการก่อสร้างระบบการป้องกันนำท่วมและระบายน้ำ เพื่อสนองพระราชดำริในระยะต่อมาซึ่งได้ดำเนินการสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และระบายน้ำในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนใหญ่ได้ตามที่ต้องการ โดยการปรับปรุงขุดลอกและกำจัดวัชพืชคลองระบายน้ำภายในบริเวณพื้นที่ลุ่มให้สามารถระบายน้ำจำนวนมากออกจากพื้นที่ทิ้งไปยังลำน้ำสายใหญ่หรือทะเลได้อย่างสะดวก โดยการก่อสร้างอาคารประตูระบายน้ำปลายคลองพร้อมสถานีสูบน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำในพื้นที่ต่างๆ ให้เหลือต่ำลง หรือระบายน้ำออกไปจนหมด
3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกหรือช่วยให้กระแสน้ำไหล เร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้ โดยใช้วิธีการดังนี้

ขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น
ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ

กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้นหากลำน้ำคดโค้งมาก ให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรงให้น้ำไหลสะดวกการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเป็นมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่สำคัญประการหนึ่งใน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พื้นที่เกษตรกรและชุมชนต่างๆ ด้วยเขื่อนเก็บกักน้ำในหลายท้องที่ด้วยกัน เขื่อนเก็บกักน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริขนาดใหญ่ที่ช่วยแก้ไข และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ดี ได้แก่ เขื่อนเก็บกักน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริสร้างปิดกั้นลำน้ำแม่งัด ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่มีความจุ อ่างเก็บน้ำประมาณ ๒๖๕ ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อประโยชน์ในด้านการชลประทานเป็นหลัก ในการบรรเทาน้ำท่วมอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ สามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ เพราะปลูกสองฝั่งลำน้ำแม่วัดและแม่ปิงจนถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเคยเกิดขึ้นเป็นประจำให้ลดน้อยลงไปได้มาก

เขื่อนเก็บกักแม่น้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างปิดกั้นแม่น้ำป่าสักที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี มีความจุอ่างเก็บน้ำประมาณ ๗๘๕ ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จและเริ่มเก็บกักน้ำได้ พ.ศ. ๒๕๔๑ และจะเป็นแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน สามารถควบคุมและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ในจังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ตลอดจนกรุงเทพมหานคร

ฃการกักเก็บน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก  โดย เก็บไว้ทางด้านเหนือเขื่อนในลักษณะอ่างเก็บน้ำซึ่งปัจจุบันดำเนินการตามพระ ราชดำริมากมายหลายแห่งในประเทศไทย และการป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในระดับประเทศนั้น ขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างดำเนินการหลายจุด คือ

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
-    โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบนจังหวัดนครนายก

การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ แก้มลิง

จาก สภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครมีลักษณะลุ่มต่ำทำให้มีการระบายน้ำยาม เกิดภาวะน้ำท่วมให้ออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อยอีกทั้งมีจำนวนหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดเป็นสาเหตุในหลายปัจจัยของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานครและเขต ปริมณฑลเป็นระยะเวลายาวนาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม ในวิธีการที่ตรัสว่า แก้มลิง ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า

...ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้มลิงจะเอากล้วยเข้า ไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง...

เปรียบ เทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้ร่วมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง

ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
2.  เมื่อ ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4.  เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว(One Way Flow)

หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ

1.การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
2.เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
3.การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

จาก หลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่านำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำแหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักและ ระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออก ได้เป็น 2 ส่วน คือ

โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่ง

ตะวัน ออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่างๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ และพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสม เป็นบ่อพักน้ำเพิ่มเติมโดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือ-ใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยนุชิต  คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้าและออกจากบ่อพักน้ำ


โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำใน

พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่เจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี  นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปคลองมหาชัย-สนามชัยและแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
นอก จากสภาพพื้นที่ทั่วไปแถบนั้นยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาและคันกั้น น้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหมุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหล ออกทะเลได้ช้ามากก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีต่างๆ คือ

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับ สูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย  นอก จากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม โดยสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโคบริโภคได้อีกด้วย

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ

โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ประกอบด้วย
ประตูระบายน้ำ ค.ส.ล. ปิดกั้นน้ำแม่น้ำท่าจีน
ประตูเรือสัญจร
ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม
บันไดปลา
สถานีสูบน้ำขนาดใหญ่
โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย
ดำเนินการก่อสร้างทำนบปิดกั้นในคลองมหาชัย-คลองสนามชัย พร้อมก่อสร้าง
ประตูระบายน้ำ รวมทั้งคลองสาขาต่างๆ คือ
ประตูระบายน้ำคลองสหกรณ์สาย 3
ประตูระบายน้ำคลองเจ็ก
ประตูระบายน้ำคลองโคกขาม
ประตูระบายน้ำคลองแสมดำ
ประตูระบายน้ำคลองแสมดำใต้
พื้นที่ทั้งหมดนี้จะทำหน้าที่รับน้ำและน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนมาเก็บไว้พร้อม กับระบายลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเลโดยอาศัยแรงโน้ม ถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน โดยจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในระบายน้ำตามคูคลองธรรมชาติต่างๆ ในช่วงฤดูฝน และช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มมิให้ไหลเข้าไปในแม่น้ำลำคลองและพื้นที่ การเกษตร รวมทั้งสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย
โครงการแก้มลิง คลองสุนัขหอน ประกอบด้วย
ประตูปิดกั้นคลองสุนัขหอน พร้อมอาคาร ประกอบด้วย
สถานีสูบน้ำออกจากคลองสุนัขหอน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม "แก้มลิง" ซึ่งได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า "...ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง" เปรียบเทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันแล้วนำไปเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำ อันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง
 สำหรับลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ
ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ "แก้มลิง" ต่อไป
เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลงเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)ทั้งนี้ หลักการ 3 ข้อที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือการพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำเส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำการระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่องลุ่มน้ำปากพนัง   ลุ่มน้ำป่าสัก
จากหลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่า นำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำ แหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักและระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออก-ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากสภาพพื้นที่ทั่วไปแถบนั้นยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยา และคันกั้นน้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้น เมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหมุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหลออกทะเลได้ช้ามากก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีต่างๆ คือโครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย นอกจากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม นอกจากนั้นยังสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภคบริโภคได้อีกด้วย
                     โครงการแก้มลิงนับเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนสาหัสมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมนี้ ทรงมีพระราชดำรัสเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่" จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ดำเนินตามธรรมชาติ นั้นสามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมในหลายพื้นที่ให้หมดสิ้นไปได้ในอนาคตโครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ว่า ...ได้ ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงใน อนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่

1 ความคิดเห็น:

  1. งานนี้

    - ไม่รู้ว่า ผปู้เขียนเอง มีความคิดเห็นอย่างไร ที่นอกจากไปลอกและอ้างอิงจากที่อื่นมา

    ตอบลบ