วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาความรุนเเรงต่อเด็กเเละสตรี นางสาวทิวาภรณ์ ทองเดช 53241974


ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี  ทิวาภรณ์  ทองเดช  53241974
                                                                                                                                                         

รายงานวิชา 830329 ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
บทความทางวิชาการ เรื่อง ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

                                                                                                          
                                                                                                          ทิวาภรณ์  ทองเดช 53241974 
 คณะสังคมศาสตร์ สาขาพัฒนาสังคม ชั้นปีที่ 3


 ความรุนแรงต่อสตรีเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาอย่างช้านาน ด้วยค่านิยมความเชื่อว่าเป็นเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องในครอบครัว บุคคลภายนอกจึงไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยวและให้ความช่วยเหลือสตรีที่ถูกทำร้ายเท่าที่ควร สิ่งเหล่านี้ทำให้ปัญหาความรุนแรงต่อสตรีทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้จะมีการรณรงค์จากหลายหน่วยงาน แต่ก็ยังไม่ว่างเว้นที่จะมีข่าวการประทุษร้ายร่างกายสตรีให้เห็นอยู่แทบทุกวัน ด้วยค่านิยมที่ว่าเพศชายเป็นใหญ่ในสังคม ทำให้ความรุนแรงยังคงมีให้เห็นอย่าต่อเนื่อง  เมื่อวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา เป็นวันยุติความรุนแรงในสตรีและเด็กสากล นั่นหมายถึงว่า ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในโลกนี้ยังมีการก่อความรุนแรงในสตรีและเด็กอย่างมากมาย ไม่ว่าจะในประเทศพัฒนาแล้ว กำลังพัฒนา และด้อยพัฒนา จนต้องมีประชากรโลกจำนวนไม่น้อยรวมตัวกันสร้างกลุ่มก้อนรณรงค์ให้พฤติกรรมดังกล่าวหมดไปจากสังคมโลกนี้โดยสิ้นเชิง ประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้า ในอีกหลายประเทศที่ยังมีประชากรจำนวนหนึ่งที่ใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กในทุกรูปแบบที่รวมเรียกว่า ทำร้ายร่างกายและจิตใจ จะว่าไปแล้ว สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดมั่นอยู่ในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสตร์ ที่มีหลักธรรมคำสั่งสอนให้มีความเมตตา กรุณา ให้อภัย มีความเอื้อเฟื้อ ไม่โลภ ไม่โกรธ จึงไม่น่าจะมีความรุนแรงด้านการทำร้ายกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำร้ายผู้หญิง ทำร้ายเด็ก เยาวชน  แต่เมื่อหลักธรรมความดีงามแห่งพระพุทธศาสนาไม่อาจเข้าขัดเกลาจิตใจให้เกิดสำนึกแห่งความรับผิดชอบดีงามได้ ความดีงามไม่อาจเข้าไประงับยับยั้งความชั่วของคนที่ถูกสำนึกฝ่ายต่ำ อันได้แก่ อบายมุขที่เข้าครอบงำสติไปซะแล้ว จึงไม่อาจดึงสติกลับมาสำนึกผิดได้ด้วยตัวเอง จึงเกิดการสร้างความรุนแรง โดยเฉพาะในสตรีและเด็กอย่างต่อเนื่องและมากขึ้น ไม่ว่าจะในครอบครัวตัวเอง และนอกครอบครัวทั่วไป  เพราะฉะนั้น สังคมจึงต้องร่วมกันระงับยับยั้ง ช่วยกันหยุดความรุนแรงดังกล่าว
ในปัจจุบันปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง เป็นปัญหาร่วมกันของผู้หญิงทั่วโลก และได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้หญิง โดยเมื่อปี พ.ศ.2537 องค์การสหประชาชาติ ได้ออกคำประกาศเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง โดยได้ให้นิยามความหมาย

 "  ความรุนแรงต่อผู้หญิง  หมายถึง การใช้ความรุนแรงใด ๆ อันสืบเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่างหญิง - ชาย ซึ่งมีผลหรือมักจะมีผล ทำให้เกิดอันตรายหรือความเดือนร้อน ทางกาย ทางเพศ หรือทางจิตใจต่อผู้หญิง ซึ่งความรุนแรงต่อผู้หญิงนั้นเกิดขึ้นได้ในทุกมิติของสังคม ทั้งในครอบครัว ในชุมชน สถานที่ทำงานและสถาบันการศึกษา ในขณะที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมาย ของความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรส (Intimate partner violence: IPV)ซึ่งหมายถึง ความรุนแรงที่เกิดระหว่างบุคคลสองคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด (intimate relationship) หรือมีความผูกพันทางอารมณ์ (emotional bonding ) ในฐานะสามี-ภรรยาหรือเป็นเพียงการอยู่ด้วยกันโดยไม่มีข้อผูกพันใดๆ (cohabiting) ทั้งนี้ความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจไม่มีการแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายก็ได้อาจเป็นความสัมพันธ์ต่างเพศหรือความสัมพันธ์เพศเดียวกันก็ได้ โดยที่ผู้ถูกกระทำหรือเหยื่อ มักเป็นสตรีส่วนใหญ่อยู่ในฐานะภรรยา ส่วนผู้กระทำส่วนใหญ่มักเป็นสามี  ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าการให้นิยามความหมายข้างต้น นั้นค่อนข้างกว้าง เพราะเป็นการแบ่งประเภทของความรุนแรงตามวัยของสตรีมากกว่าที่จะแบ่งตามความสัมพันธ์ของแต่ละบุคคล ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงมักพบผู้กระทำเป็นเพศชายก็ตาม แต่ในความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในแต่ละวัยอาจมีสาเหตุของการทำร้ายที่แตกต่างกันเช่น ความรุนแรงในสตรีวัยรุ่นอาจมีสาเหตุมาจากความหึงหวงมากกว่าความรุนแรงที่พบในสตรีที่เป็นวัยสูงอายุซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการทอดทิ้ง

             สำหรับประเทศไทยนั้น มีการให้ความหมายของความรุนแรงต่อสตรีในบริบทเดียวกับความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งหมายถึงความรุนแรงต่อผู้หญิงทั้งทางกาย ทางเพศและทางจิตใจที่เกิดในบ้านทุกรูปแบบ รวมถึงการที่เด็กผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายหรือการทำท่ารุณกรรมทางเพศในบ้าน ความรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้  ลักษณะ คือ
1.ความรุนแรงที่กระทำโดยผู้ใหญ่ ได้แก่การทำร้ายเด็ก การทำร้ายคู่สมรส
2.การทำร้ายผู้สูงอายุ และความรุนแรงที่เด็กเป็นผู้กระทำ ได้แก่ การทำร้ายพี่น้อง
             
 การทำร้ายเด็ก  หมายถึงการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจการล่วงเกินทางเพศหรือการทอดทิ้งเด็กจนได้รับอันตรายหรือคุกคามต่อสวัสดิภาพของเด็ก การทำร้ายเด็กจะปรากฏชัดในครอบครัวที่มีการทำร้ายกัน การทำร้ายเด็กแบ่งเป็น ประเภท
1. การทอดทิ้ง   เกิดขึ้นเมื่อสิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กถูกขัดขวางตัวอย่างของการทอดทิ้งทางกายได้แก่การทำให้เด็กไม่ได้รับอาหาร เสื้อผ้า หรือที่อยู่อาศัย หรือปล่อยให้เด็กเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตราย การทอดทิ้งอาจเป็นการทอดทิ้งทางจิตใจ หากเด็กไม่ได้รับการเลี้ยงดูและการสนับสนุนด้านจิตใจที่จะเป็นผลดีต่อพัฒนาการทางจิตสังคมที่ปกติ
2.การทำร้ายร่างกาย  เกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจากการตั้งใจทำร้ายของสมาชิกในครอบครัว
3. การทำร้ายจิตใจ   เป็นการกระทำอย่างต่อเนื่องที่มีผลกัดกร่อนความเคารพในตนเองและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของเด็ก
4. การล่วงเกินทางเพศ เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมต่างๆทางเพศกับเด็ก ได้แก่ การแสดงความรักใคร่ การเปลือยกายต่อหน้า และการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กด้วย
               
          ผลกระทบของการทำร้ายเด็กนั้นมีมากและหลากหลาย เด็กที่ถูกทำร้ายจะมีปัญหาในเรื่องของหลักการดำรงชีวิตและการต่อสู้มากกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน พวกเขามักกลายเป็นขโมย โจร และมีปัญหาพัฒนาการที่สัมพันธ์กับการเสพยาและแอลกอฮอล์มากกว่าเด็กที่ไม่ถูกทำร้าย  อีกทั้งเด็กที่ถูกทำร้ายจะกลายเป็นบิดามารดาที่ทำร้ายบุตรในเวลาต่อมา
               
   การทำร้ายคู่สมรส หมายถึง พฤติกรรมก้าวร้าวทั้งที่รุนแรงและไม่รุนแรงระหว่างคู่สมรสที่สมรสถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตามการทำร้ายคู่สมรสในสถานการณ์ต่างๆ นั้น พฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่รุนแรงเป็นการแสดงความรู้สึกโดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมพฤติกรรมของคู่สมรส อาจเป็นการเผชิญหน้ากัน โดยความกลัวที่เกิดขึ้นในผู้ถูกทำร้ายจะเป็นแรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ถูกทำร้ายเอง หรือทำให้ผู้ถูกทำร้ายรู้สึกผิดเป็นตัวควบคุมพฤติกรรม การทำร้ายคู่สมรสเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นวัฎจักร เกิดขึ้นใน ขั้นตอน
1.  ผู้ทำร้ายจะเกิดความรู้สึกตึงเครียดเพิ่มขึ้น เมื่อถูกรบกวนด้วยเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของผู้ถูกทำร้าย
2. เกิดการทุบตีกันขึ้น เนื่องจากความตึงเครียดได้ระเบิดออกมาเป็นความโกรธแล้วแสดงออกมาเป็นการทำร้ายทารุณทางกาย
3. เป็นช่วงระงับอารมณ์และกลับคืนดีกันด้วยความรัก ซึ่งผู้ทำร้ายจะแสดงความเสียใจ แล้วพยายามแก้ตัว และให้สัญญาว่าจะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น
                 
             การทำร้ายคู่สมรสเกิดขึ้นทุกช่วงเวลาที่อยู่ร่วมกัน โดยจุดเริ่มต้นเกิดจากการเผชิญปัญหาของครอบครัว จนก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์เชิงลบต่อกัน และถ้าหากเรื่องราวถูกเปิดเผยต่อบุคคลที่สามจะทำให้เกิดความกดดันกับสามี และการกระทำซ้ำจะเกิดขึ้นต่อจากการกระทำครั้งแรก และมีความรุนแรงขึ้น ช่วงเวลาและภาวะการกระทำรุนแรงซ้ำจะขึ้นอยู่กับแรงสนับสนุนทางสังคม ภรรยายุติความรุนแรงระหว่างการกระทำซ้ำโดยการ หลบหนี พึ่งพากฎหมาย และการฆ่าสามี  จึงมีผลกระทบทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายจะมีสุขภาพเสื่อมโทรม และมีอาการทางจิตประสาท เช่น ปวดศรีษะ เก็บกด มีความรู้สึกไร้คุณค่า สิ้นหวัง และจะพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ถูกทำร้าย
               
     การทำร้ายผู้สูงอายุ หมายถึง การทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของผู้สูงอายุโดยตรงการทำร้ายผู้สูงอายุสามารถเกิดขึ้นได้ภายในครอบครัวหรือในสถาบันต่างๆ เช่น สถานพยาบาลผู้สูงอายุ หรือแหล่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงการทำร้ายผู้สูงอายุในครอบครัวการทำร้ายผู้สูงอายุมีหลายรูปแบบเช่นเดียวกับการทำร้ายเด็ก ได้แก่ การทำร้ายร่างกาย การทำร้ายจิตใจ และการทอดทิ้งทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
                1. การทำร้ายร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือการบาดเจ็บทางร่างกายหรือการให้ยาเกินขนาดแก่ผู้สูงอายุจนมีอาการเซื่องซึมก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการทำร้ายร่างกาย
                2. การทำร้ายจิตใจ เป็นความตั้งใจให้เกิดความทุกข์ใจ อาจได้แก่ การเรียกชื่อ หรือการข่มขู่
                3. การทอดทิ้งทางตรง เป็นการละเลยในการจัดหาสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร ยา เงิน หรือความช่วยเหลือต่างๆ
                4. การทอดทิ้งทางอ้อม มักจะเป็นความล้มเหลวโดยไม่ได้ตั้งใจในการเข้าถึงความต้องการการดูแลผู้สูงอายุ หรือปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่คนเดียวและแยกตัวออกจากสังคม
                จากการรายงานพบว่า สถิติของการทำร้ายผู้สูงอายุมีน้อยกว่าความเป็นจริงมาก อาจเนื่องจากความลำบากในของผู้สูงอายุในการยอมรับว่า บุตรของตนเป็นผู้ทำร้าย เนื่องจากผู้ทำร้ายส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัวที่ผู้สูงอายุรักหรือต้องพึ่งพา หรือกลัวว่าจะได้รับบาดเจ็บซ้ำอีก ผลกระทบทางด้านร่างกายจากการทอดทิ้งและการทำร้ายผู้สูงอายุนั้น ก่อให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ อาการบาดเจ็บ หรือบาดแผล ส่วนผลกระทบทางจิตใจ คือ กลัว วิตกกังวล เก็บกด สิ้นหวัง และไร้ความช่วยเหลือ อาจนำไปสู่การเสพย์สารเสพย์ติด หรือฆ่าตัวตายเพื่อหนีจากสถานการณ์
               

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อสตรี
แนวทางหนึ่งที่ใช้ในการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อสตรี คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวคิดทางทฤษฎีที่อธิบายปัญหาดังกล่าว ซึ่งแต่เดิมในช่วงทศวรรษที่ 1960 นักวิจิตวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาคุณลักษณะของบุคคลที่กระทำรุนแรง โดยอธิบายว่าสาเหตุของความรุนแรงเกิดจากปัญหาทางจิต (Psychopathology) จนกระทั่งทศวรรษที่ 1970 นักสังคมวิทยาเริ่มหันมาศึกษาปัญหาความรุนแรงในระดับที่กว้างขึ้นและพบว่าความรุนแรงระหว่างสมาชิกในครอบครัวมักเกิดขึ้นมากกว่าความรุนแรงที่ได้รับจากบุคคลภายนอกครอบครัว

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ทฤษฎีนี้อธิบายว่า การใช้ความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ลอกเลียนแบบความรุนแรงอันเกิดจากสมาชิกคนใดคนหนึ่งในครอบครัวไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อม เมื่อเด็กโตเป็นวัยรุ่นหรือเป็นผู้ใหญ่ก็จะเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงที่พบเห็นเป็นประจำในวัยเด็กนั้นเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ เนื่องจากคิดว่าการกระทำดังกล่าวถูกต้องเหมาะสม ทฤษฎีนี้จัดได้ว่ามีความสำคัญมากต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมความรุนแรงของมนุษย์เพราะสามารถถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้

ทฤษฎีสตรีนิยม (Feminist Theory) ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความรุนแรงต่อสตรีนั้นมีรากเหง้ามาจากความแตกต่างระหว่างเพศหญิงและเพศชายที่ใช้อำนาจและควบคุม (Power and Control) เพศหญิงในทุกๆด้าน ตัวอย่างเช่น สังคมไทยจะยกก่องเพศชายเป็นเสมือนช้างเท้าหน้า เป็นผู้นำครอบครัว ตลอดจนเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในครอบครัวแต่เพียงผู้เดียว ในทางตรงกันข้ามเพศหญิงเปรียบเสมือนช้างเท้าหลังและไม่มีสิทธิในการตัดสินใจใดๆ สังคมไทยในอดีตยังไม่นิยมให้ผู้หญิงได้มีโอกาสเล่าเรียนหนังสือเหมือนผู้ชาย เนื่องจากค่านิยมและความเชื่อว่า เพศหญิงเมื่อโตขึ้นต้องแต่งงานมีเหย้ามีเรือนจึงไม่จำเป็นต้องเรียนหนังสือมากเช่นเดียวกับเพศชาย


ชนิดและรูปแบบของความรุนแรงต่อสตรี
 ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลกและ Center for Injure Prevention and Control ได้แบ่งชนิดและรูปแบบของความรุนแรงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความรุนแรงทางกาย ทางเพศ และทางจิตใจอารมณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                               1.ความรุนแรงทางกาย (Physical Violence) หมายถึงความรุนแรงที่เกิดจากการทำรายทางกายโดยตั้งใจหรือเจตนา มีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บ ทุพพลภาพ จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต รูปแบบของการทำร้ายร่างกายได้แก่ ตบ ตี เตะ ต่อย ผลัก การกดรัดบริเวณหน้าอกจนทำให้หายใจไม่ออก ขีดข่วน ขว้างปาสิ่งของ กัด เผา กักขังหน่วงเหนี่ยว และรวมถึงการใช้อาวุธต่างๆ ความรุนแรงทางกายมักจะเพิ่มระยะความถี่ตามระยะต่างๆอย่างไรก็ตามการทำร้ายร่างกายส่วนใหญ่มักลงเอยด้วยการบาดเจ็บมากน้อยแตกต่างกันและกินเวลายาวนานไม่เท่ากัน ทำให้สตรีที่ถูกทำร้ายไม่มาพบแพทย์หรือเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล แต่กลับเยียวยาตนเองหรือปล่อยให้ร่องรอยของความบอบช้ำหายไปเองในที่สุด ในขณะที่ความบอบช้ำทางจิตใจนั้นกลับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

2.ความรุนแรงทางเพศ (Sexual Violence) หมายถึง การกระทำในลักษณะการข่มขืน ลวนลามทางเพศ ละเมิดสิทธิทางเพศต่างๆ รวมตั้งแต่การอวดอวัยวะเพศ การจับต้อง ลูบคลำ ทั้งการทำกับเด็ก หรือว่าให้เด็กจับอวัยวะเพศตน ให้เด็กดูสื่อลามก ถ่ายรูปโป๊เด็ก กระทำการสำเร็จความใคร่กับเด็กหรือกระทำต่อหน้าเด็ก การใช้ปากกับอวัยวะเพศเด็ก หรือให้เด็กใช้กับตน ถือว่าเป็นการลวนลามทางเพศทั้งนั้นความรุนแรงทางเพศส่วนใหญ่เป็นการใช้กำลังหรือคำพูดเพื่อบีบบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีความต้องการและเต็มใจ ก่อให้เกิดความรำคาญ ฝืนใจ และรู้สึกว่าถูกกระทำ บางครั้งมีการต่อสู้ขัดขืนแต่สุดท้ายก็ต้องยอมเพราะสู้แรงของฝ่ายตรงข้ามไม่ไหว
3.ความรุนแรงทางจิตใจ (Psychological Violence) หมายถึง การถูกล่วงเกินทางเพศโดยทางวาจา และร่างกายในสถานที่ทำงาน จากเพื่อนร่วมงาน และนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา ทั้งในสถานที่ราชการ และเอกชน ตลอดจนสถานที่สาธารณะ กฎหมายยังไร้สภาพบังคับ เนื่องจากผู้เสียหายไม่กล้าดำเนินคดี ด้วยกลัวเพื่อนร่วมงานจะซุบซิบนินทา ไม่เข้าใจ กลัวผู้บังคับบัญชาระดับสูงขึ้นไปไม่เข้าใจหรือเชื่อฝ่ายผู้กระทำผิดซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าผู้กระทำ รวมทั้งกลัวตกงาน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมยังมุ่งแสวงหาร่องรอยพยานหลักฐาน มากกว่าคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย ซึ่งคดีดังกล่าวมักปราศจากร่องรอย พยานหลักฐานตามร่างกาย

       
            สถิติความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว                                                                                                                                            จากการสำรวจเชิงลึกโดยสหประชาชาติ พบว่าในชั่วชีวิตหนึ่งของผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทั่วโลก 1ใน 3เคยถูกทุบตี ล่อลวง หรือถูกล่วงละเมิด โดยทุก 15 นาทีจะมีผู้หญิงถูกข่มขืน 20 คน และร้อยละ 40 มีอายุไม่ถึง 15 ปีซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงยิ่ง ไปกว่านั้นผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่กล้าเอาเรื่องกับผู้กระทำความรุนแรง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกซ้ำเติมจากสังคม สำหรับประเทศไทยในช่วงปี 2547-2550 มีผู้หญิงและเด็กที่ถูกทำร้ายเข้ารับความช่วยเหลือจากทีม สหวิชาชีพของศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Centers : OSCC) ในโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 297แห่ง สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเฉลี่ยวันละ 19 คน เป็นวันละ 52 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวที่มุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ ของคนในครอบครัว จากสถิติในปี 2550โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าส่วนใหญ่การกระทำความรุนแรงมักกระทำโดยสามี รองลงมาคือ แฟนหรือผู้ใกล้ชิด และผู้ร้าย ตามลำดับ ส่วนสาเหตุของ                                                                                                                                         
       การกระทำความรุนแรงพบมากที่สุดคือการนอกใจ รองลงมาคือ เมาสุรา และเจตนาล่อลวง นอกจากนั้นยังพบว่าจำนวนผู้ถูกกระทำความรุนแรงพบมากที่สุดในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และน้อยที่สุดในภาคใต้ โดยพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในเขตเทศบาลมากถึงร้อยละ 63.68(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลปี2550)
       
                ทำอย่างไรเมื่อประสบปัญหาความรุนแรง
        เมื่อประสบปัญหาความรุนแรง หรือถูกละเมิดทางเพศ การที่จะพูดบอกใครอาจเป็นเรื่องยาก แต่การนิ่งเฉยยิ่งจะทำให้ปัญหาเลวร้ายขึ้นและปัญหาจะไม่หมดไปด้วยตัวเองตามกาลเวลา แต่ต้องพูด ถึงปัญหาและแก้ปัญหาให้จบลง                                                                                                                                              - อย่าโทษตัวเองเพราะจะเป็นการซ้ำเติมให้ตนเองรู้สึกด้อยค่าลง จำไว้ว่าเราไม่สมควรจะถูกทำร้ายและมันไม่ใช่ความผิดของเรา                                                                                                                                        
 - ตั้งสติให้ดี ไม่ใช่เราคนเดียวที่เจอเรื่องนี้ ตามรายงานการแจ้งความในประเทศไทย ทุกๆ ชั่วโมงมีผู้หญิง เผชิญปัญหาถูกทำร้ายร่างกายเฉลี่ยชั่วโมงละ คน                                                                                                       
  - ไม่ยอมรับการใช้ความรุนแรง เพียงแค่การใช้กำลังข่มขู่หรือทำร้ายเรา แสดงว่าเขาตั้งใจใช้กำลังที่เหนือกว่าเพื่อควบคุมเราการแยกตัวออกจากสังคม และเก็บเรื่องเงียบอาจทำให้เราหนีปัญหาได้ระยะหนึ่ง แต่ไม่ได้ตลอดไปการหากำลังใจจากคนที่เราไว้ใจและยินดีช่วยเหลือเรา หรือ การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญขององค์กรที่ช่วยเหลือผู้หญิง ซึ่งเคารพการตัดสินใจของเรา จะช่วยให้เรามีทางออกที่ดีขึ้น                                                                              
  - เราอาจคิดว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก หรือเราสามารถทำให้เขาหยุดการใช้ความรุนแรงได้ แต่จากประสบการณ์ขององค์กรที่ทำงานช่วยเหลือผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงได้ บอกว่า เป็นไปได้ยากมาก และเขาต้องได้รับการบำบัดเพื่อช่วยเหลือให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและควบคุมตัวเองซึ่งทำได้ถ้าเขาต้องการ แต่เราเปลี่ยนเขาหรือรอให้เขาเปลี่ยนเองไม่ได้                                                                                                                              รู้สิทธิของเรา มีสิทธิที่จะปฏิเสธเขาเสมอ และเขาต้องให้เกียรติเรา เคารพความคิด ความต้องการของเราเช่นกัน                                                                                                                                                                
        - ถ้าเขาใช้ความรุนแรง เราควรคิดที่จะยุติความสัมพันธ์นี้ ถ้าเขาข่มขู่ว่าจะทำร้ายเราถ้าเราแยกกับเขา เราควรปรึกษาคนที่ไว้ใจได้ และวางแผนการแก้ปัญหาที่ปลอดภัยสำหรับคุณ      

                                                          
ข้เสนอเชิงนโยบายประเด็นความรุนแรง
              1. เสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีงาม ไม่ยอมรับความรุนแรงทุกรูปแบบโดยรัฐต้องรณรงค์ผ่านสื่อมวลชนให้หลีกเลี่ยงการผลิตซ้ำข่าวสารและข้อมูล ที่มีรากฐานมาจากความเชื่อและวัฒนธรรมที่นำไปสู่ความรุนแรง
      2. สร้างเสริมความเข้าใจถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ เช่น การละเมิดทางเพศ ในหลายกรณีผู้ถูกกระทำไม่กล้าขัดขืนเพราะตกอยู่ในวงจรอำนาจที่ทำให้ต้องคล้อยตาม เช่น ความเชื่อเรื่องบทบาทของภรรยาที่มีหน้าที่บริการทางเพศให้สามี หรือการยอมมีเพศสัมพันธ์เพื่อความรักของฝ่ายหญิง ตลอดจนถึงการบังคับข่มขู่ด้วยเงื่อนไขเชิงอำนาจในเรื่องอื่นๆ เช่น การใช้สถานภาพความเป็นครูกับศิษย์ ผู้ใหญ่กับผู้น้อย พ่อกับลูก นายจ้างกับลูกจ้าง มาเป็นแรงบังคับให้ “ผู้หญิงต้องยอมตามความต้องการ
       3. จัดตั้งหน่วยงานให้บริการแก่ผู้ประสบปัญหาความรุนแรงอย่างน้อยในทุกจังหวัดทั่วประเทศและเป็นหน่วยงานที่ทำงานแก้ปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบอย่างครบวงจร
       4.สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องอคติให้แก่บุคลากรในสายงานอำนวยความยุติธรรมต่อประเด็นความรุนแรงทางเพศเพื่อสร้างแบบแผนในการดำเนินคดีอย่างเที่ยงธรรมต่อผู้เสียหายโดยไม่เลือกปฏิบัติทุกระดับจากโรงพักถึงศาล
       5. เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งเพื่อลดปัญหาความรุนแรงทั้งในครอบครัวและสังคม    


  
บรรณานุกรม
        กองสวัสดิภาพเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส กลุ่มงานแผนงานและสารสนเทศ.ความรุนแรงแลการ    ยุติความรุนแรง.(ออนไลน์)                                                                                                                                 http://203.155.220.217/office/ccwed/news/new137.html.  ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2555                                                                                                                                            
      
         สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา. บนเส้นทางสู่ความเสม (ออนไลน์)   http://www.gdrif.org/data/data2548.htm.   ค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2555
     
        นันทพันธ์ ชินล้ำประเสริฐ.รายงานวิจัยการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสังเคราะห์งานวิจัย ด้านความรุนแรงไทย.กรุงเทพฯ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ,2546                                                                                                  
        
          นันทนา ธนาโนวรรณ ความรุนแรงต่อสตรีตั้งครรภ์ พิมพ์ครั้งที่ บริษัท วี.พริ้นท์ จำกัด, 2555




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น