วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่ นางสาวมุขรวี แสนสอาด รหัสนิสิต 53242346


         บทความวิชาการ 
       เรื่อง ปัญหาการว่างงานของ บัณฑิตจบใหม่ 
  รายวิชา ปัญหาสังคมและประเด็นสาคัญด้านการพัฒนา (830329) 
  โดย นางสาวมุขรวี แสนสอาด รหัสนิสิต 53242346 
           _______________________________________________________________
                   ในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปีคือฤดูกาลที่เหล่าบรรดานิสิตนักศึกษาในประเทศไทยกำลังจะจบการศึกษาและออกมาใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ที่ต้องรับผิดชอบตนเองแบบเต็มร้อย จากที่เคยใส่ใจกับเรื่องของการเรียนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องมาเริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัวลงหลักปักฐานให้ชีวิตของตนมั่นคง แน่นอนว่า สิ่งที่เป็นรากฐานของการสร้างชีวิตให้มั่นคงนั้นก็คือ การประกอบสัมมาอาชีพหารายได้มาเลี้ยงตัว ทุกคนล้วนมีความหวังว่าจะต้องได้ทางานตามที่ตัวเองต้องการ แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนของสังคมทำให้มีการจำกัดการรับสมัครคุณสมบัติในการคัดเลือกผู้สมัครต่างๆ ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นกฎเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาทางานให้เหมาะสมกับตาแหน่ง แม้ว่าปัจจุบันการรับสมัครงานจะเปิดโอกาสให้รับสมัครได้กว้างขึ้น บางงานรับวุฒิปริญญาตรีทุกสาขาก็ตาม แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ ก็ไม่อาจทำให้ปัญหาคนว่างงานลดลงไปได้ ทั้งนี้ เพราะที่ผ่านมาบัณฑิตส่วนใหญ่ตั้งความหวังไว้ค่อนข้างสูงว่าเรียนจบแล้วจะได้นั่งโต๊ะทางานในบริษัทที่มีชื่อเสียงหรือรับราชการ ครั้นเกิดปัญหาเศรษฐกิจขึ้นสิ่งที่คาดหวังไว้สะดุดทันที เนื่องจากบริษัทหลายแห่งลดพนักงานหรือบางแห่งเลิกกิจการ ขณะที่ภาครัฐไม่มีนโยบายรับบุคลากรเพิ่มการที่บริษัทเอกชนตลอดจนภาครัฐพยายามจำกัดด้านรายจ่ายนั้นบัณฑิตเหล่านี้จึงเกิดความเครียดเพราะเมื่อไปสมัครงานแห่งใดก็มักจะถูกปฏิเสธ จากปัญหาดังกล่าวทบวงมหาวิทยาลัยตระหนักว่า หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปจะมีผลต่อสภาพจิตใจและทำให้สุขภาพทรุดโทรม ขณะเดียวกันวิชาความรู้ที่ได้สั่งสมมานั้นเมื่อไม่ได้นำมาใช้อาจเกิดสนิมได้ ปัญหาบัณฑิตตกงานจึงเป็นปัญหาที่น่าคิดสาหรับนักเรียน นักศึกษา นักเรียนระดับมัธยมปีที่ 6 ควรจะตระหนักถึงความ สาคัญในเรื่องนี้ เนื่องจากต้องเตรียมพร้อมในการก้าวสู่โลกมหาวิทยาลัย ทุกคนควรที่จะสารวจตนเองว่ามีความชอบในคณะไหน และศึกษาการทำงานในอนาคตของแต่ละคณะที่เรียนนอกจากนั้น ทางมหาวิทยาลัยควรมีการปรับปรุงและเพิ่มหลักสูตรเพื่อช่วยให้หลักสูตรเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตก็อาจจะช่วยลดปัญหาการตกงานได้ในระดับหนึ่ง ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนปัญหาการตกงานจึงกลายเป็นปัญหาสังคมที่สาคัญที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะเร่งมือแก้ไขหากปล่อยให้ปัญหานี้ลุกลาม ก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมาได้ในอนาคต เช่น ปัญหาการก่ออาชญากรรมที่เราได้พบเจอบ่อยๆ เหตุเพราะความเครียดเนื่องจากตกงาน เป็นต้น เมื่อถึงตอนนั้นการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการแบบวัวหายแล้วล้อมคอก คงไม่ได้ผลแน่นอน
                 ทุกวันนี้จำนวนบัณฑิตที่สาเร็จการศึกษาออกมาสู่ตลาดแรงงานนั้น ถ้านับจานวนจากทุกสถาบันทั่วประเทศแล้ว ปีๆ หนึ่งมีอยู่ราวๆ 100,000 คน ซึ่งเป็นจานวนที่มากและมันก็อาจจะมากเกินกว่าที่ตลาดแรงงานในภาวะเศรษฐกิจอย่างตอนนี้จะรับไหว ในปัจจุบันเกิดสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ทุกคณะมีโอกาสตกงานเท่าเทียมกัน เพราะเวลานี้งานต่าง ๆ ที่มีโอกาสไขว่คว้าได้ก็สมควรที่จะหยิบเอาไว้ก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาบัณฑิตจบใหม่ที่พลาดงานล้วนตัดสินใจด้วยตนเองกับคำว่าชอบหรือไม่ชอบ และ “ทำงานสบาย” หรือ “ทำงานลำบาก” เป็นสาคัญ เพราะการเลือกงานถือว่าทำให้ท่านมีโอกาสพลาดงานสูง
                 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมในไตรมาสที่สอง ของปี พ.ศ. 2555 ว่า สถานการณ์แรงงานไทยกำลังประสบปัญหาเรื่องโครงสร้างแรงงานมาก เพราะไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานที่เป็นปัญหายืดเยื้อและจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตของแรงงานหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา ล่าสุดพบว่าในไตรมาสที่สอง ของปี พ.ศ. 2555 มีผู้จบการศึกษาใน สาขาบริหารธุรกิจบริหารและพาณิชยศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วารสารศาสตร์ สารสนเทศสาขาคอมพิวเตอร์มีอัตราว่างงานสูงมาก หรือคิดเป็น 1ใน 3 ของอัตราการว่างงานทั้งหมด จึงต้องเร่งทบทวนเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตกำลังคน และลักษณะรายวิชาที่ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้วย ทั้งนี้ในไตรมาสที่สอง มีผู้ว่างงาน 334,121 คน คิดเป็นอัตราว่างงาน 0.85% สูงกว่าปีก่อนที่มีอัตราว่างงาน 0.6% โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่จบการศึกษาในสาขาธุรกิจ บริหารและพาณิชยศาสตร์ ที่อ่อนไหวตามเศรษฐกิจมากและว่างงานเพิ่มขึ้นมากโดยผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาว่างงาน 2.1% ระดับปวส.1.8% และปวช.1% สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการลดต้นทุนหันมาเลือกจ้างแรงงานระดับปวช.แทน ขณะที่ผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาศิลปกรรมศาสตร์ ว่างงาน 4.4% และมนุษย์ศาสตร์ 2.4% ซึ่งทั้ง 2 สาขาเป็นปัญหาการผลิตคนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และตั้งแต่ปี 2548-2554 พบว่าสาขาศิลปกรรมศาสตร์ ว่างงาน3.6% มนุษยศาสตร์ 3.5% สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ 3% และวารสารศาสตร์และสารสนเทศ มีการว่างงานสูงสุดที่ 5.3% ส่วนการจ้างงานในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้น 1.6% สูงกว่าไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้น 1% แต่เมื่อเทียบกับอัตราว่างงานที่ต่ากว่า 1% แล้วแสดงให้เห็นว่าแรงงานไทยอยู่ในภาวะที่ตึงตัวอย่างมาก แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่า 300 บาท หรือคิดเป็นค่าจ้างโดยเฉลี่ยที่ปรับขึ้น 19.2% แต่พบว่าคุณภาพแรงงานหรือผลิตภาพแรงงานปรับขึ้นเพียง 2.54% จากเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ 3 % ขณะเดียวกันผลของการปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้ไม่ได้ทาให้การว่างงานเพิ่มขึ้นจนมีนัยสาคัญ แต่มีการโยกย้ายแรงงานไปสู่อาชีพอิสระหรือทำงานในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะแรงงานที่มีอายุน้อย มีทักษะต่ำและมีประสบการณ์น้อย ขณะที่แรงงานสูงอายุมีแนวโน้มเข้าร่วมในกำลังแรงงานมากขึ้นนอกจากนี้แรงงานไทยยังอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบทั้งในด้านภาษาอังกฤษและความหลากหลายของภาษาที่ใช้ โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจากการจัดอันดับของสถาบันไอเอ็มดีพบว่าไทยถูกจัดในอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับต่ำมาก และต่ำกว่าเวียดนาม จึงเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไขเพิ่มความรู้ให้เป็นสองเท่า และต้องสนับสนุนให้มีความรู้เรื่องภาษามาลายูกลาง ที่เชื่อว่าเมื่อเข้าสู่เออีซีแล้วภาษามาลายูกลางจะเป็นอีก 1 ภาษาที่นำมาใช้เป็นภาษาสากลด้วย
เหตุผลที่บัณฑิตว่างงาน
                   บัณฑิตใหม่จะตกงานเป็นไปได้สูงมาก ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากปัญหาของระบบการศึกษาไทยนั่นเอง โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพและสายการผลิต ซึ่งออกมาไม่ตรงกับความต้องการตลาดแน่นอนว่าปัจจัยสาคัญของเรื่องนี้ ก็มาจากผลพวงของระบบการศึกษาที่เริ่มเป็นธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะค่านิยมที่ว่า 'จ่ายครบ จบแน่' จึงทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งทำตัวเหมือนขายแฟรนไชส์ปริญญาตรี ซึ่งพอบัณฑิตเหล่านี้นาวุฒิไปยื่นสมัครงานหลายๆ แห่งก็ไม่ยอมรับหรือรับใบสมัครแต่ไม่เรียกมาสัมภาษณ์งาน ทุกวันนี้ตลาดพร้อมอยู่แล้วไม่ได้มีปัญหาเรื่องการไหลเวียนของบุคลากร เพราะตลาดที่รองรับและดูดซับแรงงานมากที่สุดก็คือภาคเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นภาคส่งออก ที่อยู่แถวนิคมอุตสาหกรรมระยอง ชลบุรี แต่ปัญหาอยู่ที่คุณภาพการที่คนจะได้งาน สาระสาคัญหลักๆ มีอยู่ 2 เรื่อง คือสาขาของบัณฑิตที่จบ ซึ่งเป็นเรื่องของทรัพยากรบุคคล อีกส่วนก็คือ สถาบันการศึกษา ซึ่งเราแบ่งออกมา 3 ส่วน คือชั้น 1 ชั้น 2 และชั้น 3 สาหรับชั้น 1 ก็คือมหาวิทยาลัยของรัฐ คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ที่ถือว่าเด่นในเรื่องภาษาอังกฤษ ซึ่งส่วนใหญ่พวกนี้จะได้งาน ส่วนชั้น 2 ก็คือมหาวิทยาลัยเอกชน และชั้น 3 ก็คือมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งถ้าไม่ใช่หัวกะทิจริงๆ โอกาสที่จะได้งานก็มีน้อย ที่ผ่านมาทางรัฐมีความพยายามจะทาระบบประกันคุณภาพ ทั้งภายในและภายนอก แต่เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าภายในมันก็ไม่น่าเชื่อถือ ยิ่งตอนนี้ที่เรากระจายอำนาจไปให้แก่มหาวิทยาลัยในการเปิดศูนย์วิชาการต่างๆ ซึ่งเราเรียกว่า ไร่เลื่อนลอย แล้วบางทีก็ไม่ได้ควบคุมคุณภาพ บัณฑิตก็ยิ่งเยอะ เพราะตอนนี้มหาวิทยาลัยไม่ได้มองนักศึกษาเป็น ลูกศิษย์แล้ว แต่มองเป็นลูกค้าเมื่อเป็นเช่นนั้น ปัญหาบัณฑิตไม่มีงานก็คงจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าวนเวียนอยู่เรื่อยไป แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง การว่างงานของผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ได้มีสาเหตุมาจากความไม่สอดคล้องของทักษะพื้นฐานของผู้สาเร็จการศึกษาที่มีอยู่และทักษะพื้นฐานที่สถานประกอบการต้องการอย่างที่เคยเข้าใจกันอย่างเดียว แต่การว่างงานมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากความต้องการของผู้สาเร็จการศึกษาและความต้องการของสถานประกอบการเป็นหลัก สาเหตุประการแรกผู้สาเร็จการศึกษาได้คาดหวังที่จะได้รับอัตราการเพิ่มเงินเดือนหรือค่าจ้างที่สูงจากการทำงาน ประการที่สองผู้สาเร็จการศึกษาได้งานที่มีสัญญาว่าจ้างที่มีระยะเวลาสั้น ประการที่สามผู้สาเร็จการศึกษามีผลการเรียนต่ำ(GPA ต่ำ) ประการที่สี่สถานประกอบการมีรายรับลดลง ประการที่ห้าสถานประกอบการกาหนดอัตราเงินเดือนในระดับต่ำสาหรับผู้เริ่มเข้าทางานใหม่ ประการที่หกผู้สาเร็จการศึกษาไม่มีการฝึกงานระหว่างการเรียน ประการที่เจ็ดมีสถานประกอบการที่เก่าแก่จานวนมาก ประการที่แปดสถาบันการศึกษามีค่าใช้จ่ายในการผลิตผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีต่ำ สุดท้ายมีสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่เป็นจานวนมากในขณะที่มีสถานศึกษาเกิดใหม่มีคณะใหม่มีสิ่งใหม่ที่สอดคล้องกันความต้องการของตลาดมากขึ้น
                  ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงไม่ได้มีบทบาทโดยตรงกับการว่างงานของผู้สาเร็จการศึกษา แต่สถาบันการศึกษามีบทบาททางอ้อมกับการว่างงานของผู้สาเร็จการศึกษาในสองด้าน การมีค่าใช้จ่ายที่สูงช่วยให้อัตราการว่างงานลดลง เนื่องจากค่าใช้จ่ายเป็นการลงทุนในการเรียนการสอนโดยตรง ทำให้ผู้สาเร็จการศึกษามีศักยภาพที่จะใช้วิชาความรู้ที่เรียนมาได้มากขึ้นในการทำงาน คณะที่ตั้งใหม่มีหลักสูตรวิชาใหม่ที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันของสถานประกอบการช่วยเพิ่มโอกาสการหางานทำให้กับผู้สาเร็จการศึกษามากกว่าคณะที่เก่าแก่กว่า สาเหตุที่ผู้สาเร็จการศึกษาเรียกร้องอัตราค่าจ้างที่สูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อมูลข่าวสารที่หาได้ง่าย ผู้สาเร็จการศึกษาอาจจะได้ข้อมูลจากคนในครอบครัว จากเว็บไซต์ต่างๆ มีข้อมูลเปรียบเทียบ ให้เห็นถึงอัตราค่าจ้าง สวัสดิการขององค์กรต่างๆ การตัดสินใจเข้าทางานกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จึงต้องแน่ใจว่าได้สิ่งที่ดีที่สุด หากองค์กรไหนให้เงินเดือนต่ำ ผู้สาเร็จการศึกษาก็พร้อมที่จะว่างงานเพื่อโอกาสที่ดีกว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะบอกลูกหลานว่า ถ้าทำงานได้ค่าตอบแทนต่ำ เตะฝุ่นอยู่บ้านดีกว่า ซึ่งต่างจากประเทศอินเดีย ทันทีที่ลูกหลานเรียนจบ ผู้ปกครองจะผลักดันให้เข้าทำงานกับองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเงินเดือนเท่าไร ขอให้มีงานทำไว้ก่อนหากรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ พ่อแม่จะเป็นผู้จุนเจือ หลังจากนั้นค่อยขยับขยายกันอีกครั้งอัตราการว่างงานในประเทศอินเดียจึงต่ำแต่ เมื่อดูรายได้ของแรงงานยังน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศไทยเพราะระบบคิดที่แตกต่างกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานของผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีรัฐบาลควรออกกฎระเบียบให้สถานประกอบการมีสัญญาว่าจ้างบุคลากรที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นระยะเวลาที่แน่นอนและเหมาะสม เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐที่มีสัญญาว่าจ้างที่แน่นอนชัดเจน อย่างน้อยสักประมาณ 5 ปีในส่วนของสถานบันการศึกษาควรเพิ่มค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เพิ่มค่า จีพีเอ ก็จะสามารถช่วยลดโอกาสการว่างงานในอนาคตได้ที่สาคัญ รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งคณะหรือสาขาวิชาใหม่เพื่อผลิตผู้สาเร็จการศึกษาที่มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และสาเหตุที่สาคัญของไทย คือ การใช้ภาษาอังกฤษ เมื่อมีการเปิดตลาดการค้าเสรีการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เด็กไทยจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดแรงงานโลกได้ดังนั้นแนวโน้มการตกงานจะเพิ่มสูงขึ้น เปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น มาเลเซีย ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก เพื่อผลิตบุคลากรป้อนสู่ตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้นหากเราไม่ปรับตัวอาจสูญเสียโอกาสหลายด้าน
                 และประเด็นสาคัญอีกข้อหนึ่งคือ เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทาบริหารประเทศได้มีนโยบายที่ว่าเพิ่มเงินเดือนให้กับบัณฑิตปริญญาตรี 15,000 บาท จากรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ถึงแม้นโยบายนี้จะสัมฤทธิ์ผลตามที่หาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้งก็ตาม แต่นโยบายดังกล่าวกำลังส่งผลกระทบต่อแรงงานจบใหม่ทั้งหลาย โดยเฉพาะปริญญาตรีที่กำลังประสบกับภาวะหางานได้ยากกว่าในอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ต้องการแบกรับภาระต้นทุนค่าจ้างที่สูง เมื่อพิจารณาผลการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการปี 2554/2555 ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยศรีปทุม พบว่า ค่าจ้างของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เฉลี่ย อยู่ที่ 12,303 บาท แต่ผู้สมัครงานส่วนใหญ่ ร้องขอเงินเดือนขั้นต่าที่สูงกว่าอดีต จาก12000 บาท เป็น 13000 -15000 เพื่อให้เทียบเท่ากับอัตราเงินเดือนขั้นต่าของข้าราชการ จึงเกิดปัญหาการเหลื่อมล้าระหว่างแรงงานจบใหม่ กับพนักงานข้าราชการ ภาพรวมตลาดแรงงานรวนและรุนแรงอัตราการว่างงานของแรงงานวุฒิปริญญาตรี จึงกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าที่ภาครัฐต้องเร่งแก้ไขปรับระบบให้เกิดความเท่าเทียมสอดคล้องกับค่าครองชีพ เพราะแนวโน้มแรงงานเกิดการเคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปยังภาครัฐ แม้ว่าเป็นผลดีต่อภาครัฐที่จะได้บุคลากรที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็หันไปจ้างวุฒิ ปวช.และ ปวส.มากขึ้น ซึ่งขณะนี้วุฒิปริญญาตรีก็ตกงานมากที่สุดเพราะสถานประกอบการขาดแคลน แรงงานที่มีวุฒิปวช.และปวส.และมีการจ้างงานวุฒิปริญญาตรีน้อยลงนั่นเอง แสดงว่าผู้ที่จบปริญญาตรีต้องมีคุณสมบัติโดดเด่น เข้าตาผู้ประกอบการเพื่อรับเข้าทางาน และต้องมีความสามารถทางานได้ตามค่าจ้าง มิเช่นนั้นผู้ประกอบการอาจจะหันไปจ้างแรงงานที่ใช้วุฒิการศึกษา ปวช.หรือปวส.แทน เนื่องจากต้นทุนค่าจ้างที่ต่ำกว่าในบางแขนงวิชาชีพที่ไม่นับรวมถึงแรงงานสายแพทย์ ที่แต่ละปียังขาดบุคลากรค่อนข้างมาก
ทางออกของบัณฑิต 
                  เรื่องของระบบการศึกษาที่ผลิตคนมาไม่มีคุณภาพและไม่ตรงต่อความต้องการนั้น ดูเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถแก้ได้ง่ายๆ ในเร็ววัน แต่กระนั้นนักศึกษาที่ลงทุนศึกษาในมหาวิทยาลัยมาจนถึงปีสุดท้ายก็ต้องออกมาเผชิญความจริงอยู่ดี ซึ่งแต่ละคนนั้นก็มีวิธีการเตรียมตัวที่แตกต่างกันออกไป การแข่งขันทางอาชีพที่เข้มข้นขึ้น อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บัณฑิตจบใหม่ต้องพัฒนาศักยภาพตัวเองให้สูงขึ้นตามแรงงานที่ต้องมีความต้องการอย่างจำกัดสิ่งหนึ่งที่นักศึกษาควรทาคือการพัฒนาตัวเอง ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หากรู้แล้วว่าชอบอะไรก็ศึกษาในสิ่งนั้นให้เต็มที่เมื่อรู้ว่างานมีน้อยกว่าคน ก็ต้องฝึกฝนตัวเองให้เก่งขึ้นเพื่อที่จะเลือกงานไม่ใช่ให้งานมาเลือกเรา การให้นักศึกษาได้มีโอกาสเข้าทำงานจริงในสถานที่ประกอบการในระหว่างการศึกษา เป็นการให้การศึกษาร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการกับสถานศึกษาอาศัยโจทย์จากสถานประกอบการเป็นตัวตั้ง และให้นักศึกษา อาจารย์ และผู้ประกอบการร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าว การเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับภาคการผลิตเพื่อให้การศึกษาของนักศึกษานั้นสอดคล้องกับโลกของความเป็นจริงที่นักศึกษาจะต้องเผชิญในอนาคตของการจ้างงาน
                 ขณะเดียวกัน การทาให้นักศึกษารู้จักการเป็นผู้ประกอบการเสียเอง หรือการเป็นผู้ประกอบการอิสระที่อาศัยองค์ความรู้สมัยใหม่เป็นเครื่องมือ ด้วยการนำนักศึกษาได้เข้าไปเรียนรู้ร่วมกับผู้ประกอบการขนาดเล็กเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่จะถูกขับด้วยผู้ประกอบการเหล่านี้ เรื่องเช่นนี้ได้รับการยืนยันมาแล้วจากประเทศจีน อินเดีย ฮ่องกง สิงคโปร์ และอเมริกา การสร้างให้นักศึกษาเป็นผู้ที่รู้จัก การเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง การใช้ภาษาสาหรับการสื่อสารกับผู้อื่น รู้จักใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ ที่เพรียกพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ที่ดีงาม เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยขบวนการที่ซับซ้อนเข้าช่วย การศึกษาที่อาศัยสังคมและชุมชนเป็นแหล่งของการเรียนรู้ เพื่อมุ่งเน้นการขัดเกลาทางสังคมให้กับนักศึกษา โดยอาศัยโจทย์ของสังคมเป็นตัวตั้ง เน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ เช่น การ เป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม การใช้สุนทรียสนทนาเพื่อการเรียนรู้ การเรียนรู้จากธรรมชาติ และจิตตภาวนา เป็นต้น คือ การศึกษาที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจตัวเอง และเกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ บทบาทในการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัย ยังกว้างขวาง เกินกว่าจะคิดนัก แล้วตัวของมหาวิทยาลัยเอง คงจะต้องหันมาตอบคาถามที่ว่า เราจะผลิตบัณฑิตเพื่อไปเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมท้องถิ่นที่กาลังต้องการความช่วยเหลือ ไปสู่เวทีของการผลิตจริงที่กาลังวิกฤต หรือเข้าสู่เวทีระหว่างประเทศที่ยังมีช่องว่างอีกจำนวนมาก มหาวิทยาลัยมีความหลากหลายในภารกิจและภาระงานในระบบ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะต้องวางน้ำหนักในการผลิตบัณฑิตตามความถนัด และอัตตลักษณ์ของตนเอง ไม่ใช่การพัฒนาตามอย่างกันในรูปแบบเดียวหมด
                 แม้แต่ละคนจะมีทางออกแตกต่างกันออกไปบ้างก็ยอมทำงานที่ไม่ตรงสายและรับเงินต่ำกว่าวุฒิ บ้างก็ไปทำธุรกิจของตนเอง บ้างก็ไปช่วยงานที่บ้านซึ่งมันก็ถือว่าเป็นงานทั้งสิ้น และพวกเขาก็ไม่ใช่คนที่ว่างงานอย่างสิ้นเชิง เพราะการตกงานในทางเศรษฐศาสตร์ ก็คือการที่อยากทำงานแต่ไม่มีงานทำ ซึ่งในภาวะปัจจุบัน ถึงแม้ว่างานจะหางานที่พอใจได้ยาก แต่ถ้าไม่เรื่องมากก็คงจะมีอะไรให้ทาเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองได้แน่นอน แต่คาถามที่ยังตอบกันไม่ได้ในตอนนี้ก็คือ เมื่อไหร่ระบบการศึกษาของไทยจะยอมปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ที่ต้นเหตุ
                 นักวิชาการ เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาบัณฑิตปริญญาตรีตกงาน ควรสารวจความต้องการประกอบอาชีพของนักศึกษาในปีที่ใกล้จบการศึกษา เพื่อเติมเต็มความรู้รอบด้านให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการแต่ละสายงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาบัณฑิตปริญญาตรีตกงานกว่า 1 แสนคนต่อปี ว่า ระบบอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันใช้เวลาเรียน 4 ปี ซึ่งช่วงที่เรียนชั้นปีที่ 1-2 มหาวิทยาลัยจะต้องจัดการศึกษาโดยเน้นพัฒนาความรู้ ความสามารถของนักศึกษาเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงาน เช่น ความรู้และทักษะอาชีพในสาขาวิชาที่เรียน ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน จากนั้นเมื่อเรียนชั้นปีที่ 3 จะต้องสารวจถึงความต้องการของนักศึกษาแต่ละคนแต่ละสาขาภายในมหาวิทยาลัยว่า เรียนจบแล้วต้องการจะไปประกอบอาชีพอะไร ซึ่งได้ข้อมูลข้างต้นแล้วมหาวิทยาลัยจะประสานไปยังสถานประกอบการด้านต่างๆ เพื่อหาข้อมูลว่าสถานประกอบการต้องการบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะอาชีพด้านใด เพื่อเติมเต็มความรู้ในการประกอบอาชีพดังกล่าวให้แก่นักศึกษาเมื่อเข้าสู่ชั้นปีที่ 4 เพื่อจะได้มีความรู้ความสามารถรอบด้านและสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และเมื่อเรียนจบจะสามารถทำงานได้ทันทีสถานประกอบการไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกงานให้เพิ่มเติม นอกจากนี้รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการควรขยายการดำเนินโครงการสหกิจศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยใช้มาตรการจูงใจสถานประกอบการให้เข้าร่วมโครงการด้วยการลดหย่อนภาษี เพื่อให้การผลิตบัณฑิตปริญญาตรีเป็นไปอย่างสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการในด้านต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถออกมาเป็นผู้ประกอบการได้ และในระยะยาวควรปรับแผนการผลิตบัณฑิตโดยเพิ่มสัดส่วนบัณฑิตสายวิทย์และสายศิลป์ ให้มีสัดส่วนที่เท่ากัน 50 ต่อ 50
                 การเตรียมความพร้อมสู่ถนนการทางานก็เป็นสิ่งสาคัญ บัณฑิตจบใหม่ต้องมีการพัฒนา การเพิ่มพูนความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น การอบรมคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ภาษา เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ฯลฯ การฝึกทักษะอาชีพอยู่เสมอของบัณฑิตใหม่เป็นสิ่งสาคัญ ที่ผ่านมามีหลายคนประสบความสาเร็จกับการเข้าทำงานแต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ต้องเริ่มต้นใหม่ในการสมัครงาน ดังนั้นกลยุทธการหางานบัณฑิตใหม่ควร ปฏิบัติตนดังนี้
1. รู้จักตนเอง ว่ามีศักยภาพด้านไหน รู้จักจุดอ่อน จุดแข็งของตนเองว่างานที่จะทานั้นท่านทำได้หรือไม่ การรู้จักตนเองจะทำให้ท่านพอใจกับงานที่ทำ
2. รู้ความต้องการตลาด บัณฑิตใหม่ต้องหูตากว้างไกล มีวิสัยทัศน์จะต้องเปิดสมองความคิดในการหาความรู้ เพื่อต้องการทราบว่าบริษัทต้องการคนแบบไหน มีอะไรที่เราสามารถไปทำประโยชน์ให้กับบริษัทได้บ้าง ท่านต้องพัฒนาตนเองเพื่อตรงกับความต้องการของบริษัทที่จ้างงาน
3. เตรียมตัวพร้อมกับการทำงาน ท่านต้องพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นมืออาชีพ จะต้องเรียนรู้การพัฒนาบุคลิกภาพให้น่าสนใจ และฝึกตนเองให้มีความขยัน อดทน ซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ รู้จักการให้อภัย คุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยให้เราทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนของตัวเรา การเข้าสู่วัยทำงานท่านต้องกาหนดเส้นทางชีวิตของท่านในอนาคตให้ชัดเจน ถ้าไม่กาหนดเป้าหมายในชีวิตของตนเองก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงเป้าหมายที่วางไว้ เพราะทุกสิ่งมีระยะเวลากำหนด เราต้องวางแผนว่ากี่ปีเราจะก้าวไปสู่ผู้เชี่ยวชาญ มืออาชีพ และก้าวไปสู่ผู้บริหาร เพราะเมื่อรู้รอบทางก็จะถึงจุดหมายเร็ว
5. มีวิสัยทัศน์ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เมื่อคุณวางเป้าหมายชีวิตการพัฒนาตนเองจะทำให้เราก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายได้ ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักการจูงใจผู้อื่น มีความสามารถในการนาเสนอผลงาน จัดการประชุม การเจรจาต่อรอง และมีวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ สิ่งเหล่านี้ทำให้ท่านมีพลังในการทำงานสู่ ความสาเร็จและเป็นผู้บริหารที่ดีในอนาคตดังนั้นกลยุทธการหางาน 5 ประการนี้ ผู้เขียนหวังว่าจะเป็นข้อเสนอแนะที่ทำให้บัณฑิตสามารถหางานทำได้ง่ายยิ่งขึ้น แม้วิกฤตปัญหาเศรษฐกิจของประเทศจะส่งผลในทุก ๆ ด้านและส่งผลกระทบต่อบัณฑิต แต่สิ่งที่สาคัญที่สุดสาหรับการจะผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ได้นั้นคือ ความมุ่งมั่น มานะอดทน มีวินัยซื่อสัตย์
                    นอกจากนี้ทางออกจะทำให้ปัญหาบัณฑิตตกงานลดลงในรุ่นต่อๆไปได้คือ เนื่องจากในปี พ.ศ. 2558ประเทศเราก็จะก้าวเข้าสู่การเปิดการค้าเสรีหรืออาเซียน นักเรียนที่กำลังจะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยควรเล็งเห็นและมีการวางแผนแล้วว่าตลาดแรงงานกาลังต้องการแรงงานด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ถ้าเราเลือกเรียนคณะที่ตรงกับความต้องการของตลาด มีความตั้งใจเรียนก็จะทำให้มีโอกาสตกงานลดลงได้ เนื่องจากการที่กระแสเทคโนโลยีย่อโลกลงมา ทาให้การติดต่อของคนทั่วโลกเป็นไปได้อย่างสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเติบโตของ (E-commerce) โดยสาขาที่อีก 4 ปีข้างหน้า จะหางานง่ายได้งานเร็ว ก็จะเป็นกลุ่มแพทย์ เภสัชศาสตร์ พยาบาล เทคนิคการแพทย์ กิจกรรมบำบัด นาโนเทคโนโลยี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ สารสนเทศ นิติศาสตร์อินเตอร์ ศึกษาศาสตร์หลักสูตรการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษา วิศวกรรมพลังงาน วิทยาศาสตร์วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์พลังงาน บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ บริหารการขนส่งระหว่างประเทศ ล่าม การแปล เอเชียศึกษา และ ภาษาเพื่อการสื่อสาร สาหรับสาขาที่โอกาสตกงานน้อยที่สุด ก็คือ วิทยาศาสตร์เคมี จิตรกรรม วิศวกรรมศาสตร์ และ นิติศาสตร์สาหรับยุคปัจจุบันเป็น (IT Information Technology) ทาให้สาขาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ-กีฬา ผู้สูงอายุ เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี ภาษาตะวันออก การสื่อสาร พลังงาน สภาพแวดล้อม เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจาวันมากขึ้น ดังนั้น คณะและสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเหล่านี้จึงเป็นที่น่าจับตามอง ยกตัวอย่าง กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ประมง วนศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เคมีอุตสาหกรรม วัสดุศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือ กลุ่ม สังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา สารสนเทศ การบัญชี มนุษยศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เทคโนโลยีทางการศึกษา พลศึกษา สันทนาการ คหกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ รวมไปถึงทางด้านสายศิลปะ อย่างเช่น การออกแบบ ศิลปะ จิตรกรรม นิเทศศิลป์ ศิลปกรรม นิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน และสถาปัตยกรรม การศึกษาในยุคหน้าจะเปลี่ยนจากระบบสารสนเทศ มาสู่การศึกษายุคความรู้ ทาให้การหางานทำได้ง่าย ได้เงินดี ดังนั้นถ้าไม่อยากตกงานอยากให้ทุกคนเลือกเรียนให้เป็น เรียนที่ตลาดงานต้องการ เรียนในสาขาที่จบมาน้อย ๆ ที่สาคัญต้องเลือกเรียนที่ชอบ เรียนที่ถนัดและสามารถเรียนได้ เรียกว่าเรียนเพื่อรู้และมีความสุข เพราะต่อไปคนที่ได้งานแน่นอน จะต้องเป็นคนที่คิดเป็น เรียนรู้ ปรับตัว มุ่งมั่นและอดทน คุยกับคนรู้เรื่อง
                จากที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นถึงปัญหาการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่ของประเทศไทยที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ และการแก้ไขนั้นก็เป็นไปได้ยาก ซึ่งสาเหตุการว่างงานก็มาจากทั้งตัวของบัณฑิตเองที่มีความคาดหวังว่าจะได้ทางานที่สบายได้เงินเดือนดีๆ พอผิดหวังก็ยอมตกงานดีกว่าได้งานทาที่ลาบากและเงินเดือนน้อย นั่นคือการเลือกงานของบัณฑิตนั่นเอง อีกสาเหตุหนึ่งก็มาจากการผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับสายงานซึ่งสถาบันศึกษาส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงในข้อนี้ นึกถึงแต่ว่าจ่ายเงินครบก็ได้ใบปริญญาจึงทาให้เกิดปัญหานักศึกษาจบใหม่ว่างงานนั่นเอง ฉะนั้นปัจจุบันสาเหตุหลักคงไม่ใช่เพียงแค่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเท่านั้น แต่ยังเป็นผลมาจากหลากหลายปัจจัย อาทิ ข้อจำกัดของตลาดแรงงานต่างๆ โดยเฉพาะประเทศไทยด้วยแล้ว ก็เป็นประเทศที่กาลังพัฒนาและมีประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทาให้แรงงานเกิดความล้นในตลาด อีกทั้งสถาบันศึกษาไม่ได้เป็นผู้ผลิตนักศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานได้ และที่สาคัญคือปัญหาของนักศึกษาไทยเองไม่ได้มีความรู้และเก่งมากพอ โดยจะเห็นได้ว่าอาชีพที่ได้เงินเดือนสูงๆและเป็นที่ต้องการของตัวนักศึกษาเองนั้น ก็จะเป็น อาชีพ แพทย์ เภสัชกร ฯลฯ ที่ต้องมีดีกรีหัวกะทินั่นเอง ตรงข้ามกับในความเป็นจริงที่นักศึกษาไทยที่จบออกมา ล้วนมีหลากหลายสาขา แต่ไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเลย หรือล้นกับความต้องการแล้วนั่นเอง ส่วนอาชีพที่ยังคงต้องการจานวนแรงงานนั้น เหล่าบุคลากรนักศึกษาก็ไม่สามารถตอบสนองตรงส่วนนี้ได้เช่นกัน ถึงแม้จะมีสาขาวิชาชีพโดยเฉพาะแต่ก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาการว่างงานและการเลือกงานของบัณฑิตจบใหม่ในปัจจุบันนั้น ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขอย่างจริงจัง แต่ทว่าการหาแรงงานของตลาดงานในสังคมปัจจุบันนั้น ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของแรงงานด้วย ที่ต้องมีความสามารถรอบด้าน มีทักษะสูงขึ้นและสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ก็จะเป็นเรื่องดี ทั้งนี้เราเข้าใกล้กับความเป็นเออีซีเข้ามา ทุกทีแล้ว หากบุคลากรบัณฑิตในปัจจุบันยังไม่ถูกพัฒนา ก็อาจทำให้หมดเสน่ห์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในท้ายที่สุดได้ เพราะฉะนั้นทั้งตัวนักศึกษาเองและทางสถาบันต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหานี้คือ นักศึกษาจะต้องสารวจตัวเองก่อนว่ามีความถนัดด้านไหนแล้วก็ศึกษาด้วยความตั้งใจจริง และดูมุมมองของตลาดว่าต้องการแรงงานด้านใดไม่ควรเกี่ยงงานว่าเหนื่อยหรือสบาย ได้เงินน้อยหรือมาก ส่วนสถาบันควรเล็งเห็นความสาคัญของของนักศึกษาและปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาใหม่ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานมากขึ้น ก็อาจจะช่วยให้ปัญหาการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่น้อยลง และทำให้เยาวชนไทยคิดที่อยากจะเรียนและมีงานทำมากยิ่งขึ้น

แหล่งอ้างอิง
กระทรวงแรงงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน แก้ปัญหาบัณฑิตตกงาน. ( 2555, 16 กรกฎาคม ).               กรุงเทพธุรกิจ
บัณฑิตป้ายแดง 54 ต้องสะกดคาว่าตกงาน. ( 2554, 17 มีนาคม ). ผู้จักการรายวัน
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ : สาขาอาชีพแห่งอนาคต 2012
ทีดีอาร์ไอ แนะแก้ปัญหาบัณฑิตปริญญาตรีตกงานปีละกว่าแสน. (ออนไลน์).
                 แหล่งที่มา : http://www.rsunews.net/index.php/news/detail/4179
ยูมาริน. ๒๕๕๕. บัณฑิตจบใหม่ ว่างงานเพราะ ?. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.aecnews.co.th
สานักงานพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (2548)
โรงเรียนเตรียมบัณฑิต. ข่าวการศึกษา เชื่อเด็กไทยตกงานเพิ่ม ปี’ 58หลังเปิดเสรีอาเซียน. (ออนไลน์).
                แหล่งที่มา: www.thaischool.in.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น