วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทความเรื่องปัญหาเด็กไทยกับภัยออนไลน์ นางสาววนิดา ระงับจิตต์ รหัสนิสิต 53242391


                              การเขียนบทความประเด็นปัญหาทางสังคม
                                           รายวิชา 830329 ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา
                                      ชื่อ นางสาววนิดา  นามสกุล  ระงับจิตต์  รหัสนิสิต 53242391 นิสิตชั้นปีที่ 3
 สาขาวิชาพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
.............................................................................................................................................................
บทความเรื่อง เด็กไทยกับภัยออนไลน์และสื่อทางอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรา ทั้งในเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ผู้ที่อยู่ในสถานะนักเรียน นักศึกษา ที่ประสงค์จะต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการท่องโลกในอินเตอร์เน็ต หาความรู้ใหม่ๆ หรือความบันเทิงตามประสาของผู้ที่มีความ “อยากรู้” ทั้งหลายถือเป็นการศึกษาต่อยอดความรู้เดิมที่ตนเองมีอยู่ หรือจะเพื่อดูหนัง ฟังเพลง สันทนาการพักผ่อนหย่อนใจคลายเครียด อะไรก็แล้วแต่ นับวันผู้คนในสังคมที่มีความรู้ความสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นอินเตอร์เน็ตดังกล่าวจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะสังเกตได้จากจำนวนร้านให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เปิดให้บริการกันอย่างมากมาย เกือบจะทุกท้องถนนซอกซอยในเมืองใหญ่ทั่วไปหรือแม้กระทั่งในสถานที่ใกล้สถานศึกษาเกือบจะทุกสถานศึกษาที่มีความเจริญก้าวหน้า แต่ภัยจากการใช้อินเตอร์เน็ตที่เป็นภัยร้ายต่อสังคมในมุมๆหนึ่ง และมีผลกระทบต่อความรู้สึกอย่างมากเรื่องหนึ่ง ก็คือ ปัญหาการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต จากการ chat ห้องสนทนา หรือ โดยใช้โปรแกรมสนทนาของเว็บไซต์ชื่อดังไม่ว่าจะเป็นในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social  Network) จัดเป็นบริการออนไลน์ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ค (Facebook) มายสเปซ (MySpace) ทวิตเตอร์ (Twitter) หรือเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมอื่นๆต่างก็มีลักษณะเด่นที่เหมือนกันในการเปิดให้สมาชิกสร้างแฟ้มประวัติส่วนตัวเป็นเสมือนอีกตัวตนหนึ่งบนโลกออนไลน์เพื่อใช้ปฎิสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นๆผ่านบริการช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายบนเว็บไวต์ เช่นการ chatหรือพูดคุยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือการล่อลวงหญิงสาวจากเว็บไซต์จับหาคู่ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายเว็บไซต์ ซึ่งบางเว็บของต่างประเทศ เช่น เว็บที่มีชื่อเหมือนไม้ขีดไฟ มีทั้งชายและหญิงไทยจำนวนมาก โพสต์รูปลงในอินเตอร์เน็ตจะด้วยตนเอง หรือคนอื่นโพสต์ให้ก็แล้วแต่ ซึ่งโดยความเห็นส่วนตัว อยากให้ทุกมหาวิทยาลัย โดยศูนย์คอมพิวเตอร์ทำการบล็อกเว็บจับหาคู่เช่นเดียวกับเว็บลามก ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันการศึกษาด้วย
เพียงในช่วงเวลาไม่กี่สิบปี อินเตอร์เน็ตได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจากการเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักวิชาการและนักวิจัย ก้าวไปสู่ความเป็นสื่อยอดนิยมของกลุ่มประชากรในวงกว้างขึ้น การใช้อินเตอร์เน็ตได้เฟื่องฟูขึ้นในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาและยังคงขยายตัวต่อไป กลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วกลุ่มหนึ่งก็คือเด็กและเยาวชน ในหลายรัฐบาลได้เริ่มส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ตในโรงเรียนทั่วประเทศ อินเตอร์เน็ตได้รับการติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์บ้านและกลายเป็นของเล่นชิ้นใหม่ของเด็กเล็ก และในปัจจุบันร้านอินเตอร์เน็ตก็มีมากขึ้นเกือบในทุกๆที่เช่น ใกล้เขตสถานศึกษา และเด็กก็ได้ทำความรู้จักคุ้นเคยกับอีเมล์ แชทรูม และเกมส์คอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น แต่โชคร้ายก็คือ ในขณะที่อินเตอร์เน็ตได้พัฒนาระบบการสื่อสารและชีวิตของผู้คนจำนวนมากให้ดีขึ้น และในสังคมยังมีอันตรายมากมายจากเทคโนโลยีใหม่ชนิดนี้ถูกผู้ที่มุ่งแสวงผลประโยชน์จากเด็ก และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อตนเองด้วย การปฏิวัติทางเทคโนโลยีใหม่ได้ทำให้ชีวิตของคนเหล่านี้ง่ายขึ้น การใช้อินเตอร์เน็ตนั้นก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาล แต่ก็แอบแฝงไปด้วยภัยอันตรายต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ค่านิยมผิดๆในเรื่องเพศ การล่อลวงในวงสนทนา นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยเรื่องลามก และเรื่องรุนแรงต่างๆที่ยากต่อการที่จะควบคุมตรวจสอบได้ อาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตเหล่านี้เป็นภัยที่อันตรายมากพอที่จะกำหนดเส้นทางอนาคตของเด็กได้ ดังเห็นได้จากหลากรูปแบบของภัยทางสังคมในกรณีการแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กวัยรุ่นไทยที่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ตที่ปรากฏเป็นข่าวทางโทรทัศน์ และหน้าหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นก่อนที่เด็กไทยจะตกเป็นเหยื่อของภัยเหล่านี้จนเกิดเป็นปัญหาทางสังคม พ่อแม่ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจภัยอันตรายต่างๆ/อินเตอร์เน็ตมีอันตรายต่อเด็กไทยอย่างไร//การใช้อินเตอร์เน็ตและภัยอันตรายจากอินเตอร์เน็ต//เพื่อนทางเน็ตและนักล่อล่วง//บทบาทและการสนับสนุนจากผู้ใหญ่/ เป็นต้น อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่นี้ เพื่อที่จะรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และปรับตัวเองตั้งรับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชาญฉลาด เพื่อช่วยปกป้องและนำพาให้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องไม่ไขว้เขวออกไป

 นักล่อลวงเด็กได้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการล่อละเมิดเด็กด้วยวิธีต่างๆกัน เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นสถานที่ที่ผู้คนจะสามารถติดต่อสื่อสารกับเด็กๆวัยรุ่นได้โดยง่าย และโอกาสที่จะถูกจับได้น้อยลงด้วย นักแสวงหาผลประโยชน์ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ชนิดนี้ด้วยเหตุผลเดียวกันกับคนอื่นๆนั่นคือเทคโนโลยีใหม่ช่วยให้การสื่อสารดำเนินไปได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้นในราคาที่ถูกลง บนอินเตอร์เน็ตผู้ที่ต้องการหาภาพลามกสามารถดาวน์โหลดภาพใหม่ๆได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาหาซื้อ บางทีผู้ที่ต้องการพบปะกับเด็กวัยรุ่นจะสามารถเข้าไปในแชทรูมและพูดคุยกับเด็ก บางคนถึงกับปลอมตัวเป็นเด็กเสียเองเพื่อสร้างความไว้ใจจากเด็กจริงๆโดยมักใช้ชื่อแฝงในแชทรูมและที่อยู่อีเมลปลอม เพื่อไม่สามารถที่จะให้ค้นหาหรือทราบว่าบุคคลใดเป็นเจ้าของอีเมลหรือห้องแชทรูมที่เด็กได้พูดคุยด้วย เพราะเหตุนี้การแฝงตัวมากับภัยอันตรายต่างๆจึงเป็นปัญหาทางสังคมในภัยมืดมุมหนึ่งในสังคม
อินเตอร์เน็ตเป็นอันตรายต่อเด็กอย่างไร 
เมื่อพูดถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานของอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีการจำกัดขอบเขต หรือดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็ก  ก็จะมองเห็นปัญหาอย่างมากมาย  ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบอื่นได้ เช่น ภาพความรุนแรงระหว่างเด็กกับอินเทอร์เน็ตในบ้านเราอาจจะไม่รุนแรงเท่ากับประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีทั้งหลาย หากแต่พิจารณาตามศักยภาพและตัวเลขการใช้อินเทอร์เน็ต หรือการเปิดบริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่เติบโตขึ้นเรื่อยมา ทำให้หลายคนอดเป็นห่วงอันตรายจากอินเทอร์เน็ตที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก เด็กอาจได้รับผลกระทบจากอินเตอร์เน็ตได้หลายรูปแบบ อย่างแรกก็คือ พวกเขาอาจได้พบกับเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย หรือเป็นอันตราย เช่น ภาพลามกเด็ก ภาพลามกผู้ใหญ่ที่อยู่ในขั้นอนาจารรุนแรง ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติด ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเพศที่ไม่ถูกต้อง เว็บไซต์ที่หลอกลวงด้านการเงิน หรือเว็บที่สอนในสิ่งที่ไม่ดี เช่น สอนทำระเบิดขวด เว็บเหล่านี้อาจส่งผลต่อความคิดของเด็ก และส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กในอนาคต โดยที่เด็กๆไม่รู้เท่าทันพอที่จะรับมือกับสิ่งเหล่านี้ เช่นกรณีของเด็กในยุโรปเจอเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการทำระเบิดขวดแล้วลองทำด้วยตัวเองโดยที่พ่อแม่ไม่ทราบ แล้วนำไปโยนเล่น จนเกิดเป็นเหตุสลดใจ ซึ่งในที่สุดเด็กสารภาพว่านำความรู้มาจากอินเทอร์เน็ต จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา  เมื่อเด็กไปเจอกับเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม จึงเป็นเหมือนสะพานนำเด็กไปพบกับบุคคลที่ไม่หวังดีได้ เช่นกรณีของการเล่นแชท  เด็กอาจถูกล่อลวงจากผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติทางจิต หรือเป็นพวกนิยมมีเพศสัมพันธ์กับเด็กอย่างกรณีตัวอย่างของแซมเป็นต้น ซึ่งไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นกับบ้านเราในวันหนึ่งข้างหน้า อันตรายในลำดับถัดมาพบว่า เด็กในปัจจุบันใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากเกินไป ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยตรงแล้ว ยังเป็นการลดความสัมพันธ์กับสังคมในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว เด็กจะหันไปสร้างความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า เป็นความรู้สึกแบบฉาบฉวย และทำให้เด็กไม่กล้าสื่อสารโดยการพูด อีกทางหนึ่งเด็กๆอาจถูกติดต่อโดยนักละเมิดทางเพศ หรือผู้ที่ประสงค์ร้ายต่อเด็กได้โดยตรง และมีโอกาสอย่างยิ่งที่จะตกเป็นเหยื่อของคนกลุ่มนี้ได้ในที่สุด ผู้ผลิตสื่อลามกเด็กมักจะเป็นคนกลุ่มเดียวกับผู้ที่หาโอกาสจะติดต่อกับเด็กทางอินเตอร์เน็ตเพื่อกระทำชำเรานั่นเอง
การออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นความพยายามอย่างหนึ่งที่จะสกัดกั้นอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก อย่างไรก็ตาม การตามจับกุมผู้กระทำผิดทางอินเทอร์เน็ตตามจับกุมได้ยากมาก เพราะไม่สามารถทราบได้เลยว่าคนที่เป็นเจ้าของอยู่ที่ใด และอาจใช้เซิร์ฟเวอร์จากเมืองนอกได้ การหวังพึ่งกฎหมายเพียงอย่างเดียวคงไม่อาจสกัดกั้นได้  จึงมีการออกเป็นข้อห้ามให้เด็กท่องก่อนการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น ห้ามบอกชื่อที่อยู่หรือข้อมูลของตัวเด็กให้กับคนในแชท นอกจากขออนุญาตจากพ่อแม่ก่อน ห้ามให้เบอร์บัตรเครดิต หรือเลขที่บัญชีเงินฝาก ห้ามให้พาสเวิร์ด ห้ามโต้ตอบกับข้อความหยาบคาย และที่สำคัญห้ามไปพบกับคนที่นัดหมายมาจากการแชท เป็นต้น
                ความเสี่ยงบนโลกอินเตอร์เน็ต
ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์มหาศาลแต่ในทางกลับกัน ก็มีความเสี่ยงทุกครั้งเมื่อลูกหลานของท่านออนไลน์ เราควรรู้ถึงความเสี่ยงเหล่านี้แต่เนิ่นๆเพื่อป้องกันลูกหลานจากภัยอินเทอร์เน็ตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ความเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่
ภาพลามก การที่เด็กสักคนจะออกไปหาซื้อหนังสือโป๊ที่แผงหนังสืออาจจะทำได้ไม่ง่ายนักเพราะคงไม่มีร้านหนังสือไหนมีหนังสือโป๊วางแผงให้เด็กเลือกซื้อได้โดยง่ายๆ แต่โลกอินเตอร์เน็ตไม่ได้เป็นเช่นนั้น อินเตอร์เน็ตปราศจากข้อห้ามใดๆ ที่จะป้องกันเด็กหรือบุคคลใดออกจากสื่อลามกได้ ไม่ว่าจะเป็นภาพลามกหรือเรื่องราวลามก เด็กหรือวัยรุ่นก็จะสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องเกรงกลัวผู้ใด
เปิดรับสิ่งที่ไม่เหมาะสม เมื่อเข้าไปในบางเว็บไซต์ มีความเป็นไปได้ที่จะเด็กจะเจอกับสิ่งที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น โฆษณาชวนเชื่อ ข้อความรุนแรงในเว็บบอร์ด เรื่องเกี่ยวกับเซ็กซ์ ภาพอนาจาร ลิงค์ไปยังเว็บไซต์ลามก รวมไปถึงกิจกรรมมอมเมาเยาวชนและสิ่งผิดกฎหมายทั้งหลาย
 การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และการทำร้ายร่างกาย เมื่อเกิดการพูดคุย หรือการแชท (Chat) เกิดขึ้น เด็กวัยรุ่นอาจจะถูกล่อหลอกให้บอกข้อมูลส่วนตัวทั้งของตนเองและของครอบครัว ซึ่งมิจฉาชีพจะนำไปหาผลประโยชน์ และอาจก่อความเสียหายร้ายแรงได้ หรืออีกในกรณี เด็กอาจจะถูกชักชวนให้ไปนัดพบกับเพื่อนในอินเทอร์เน็ต อาจเกิดการล่อลวงไปทำมิดีมิร้ายหรือกระทำชำเราได้โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นผู้หญิง และเกิดอาชญากรรมอื่นๆตามมา
ถ้อยคำรุนแรง มักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กวัยรุ่นเข้าไปคุยแชทกับคนแปลกหน้า หรือเมื่อเด็กเข้าไปอ่านข้อความ และแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด เว็บบอร์ดส่วนใหญ่จะมีระบบกรองคำหยาบอยู่แล้ว แต่ก็มีเว็บบอร์ดอีกไม่น้อยเช่นกัน ที่สามารถพิมพ์คำหยาบลงไปได้ ส่วนใหญ่เว็บบอร์ดที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้จะแฝงตัวอยู่ในพวกเว็บไซต์ใต้ดิน หรือเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความรุนแรง และอนาจารโดยเฉพาะ ซึ่งเด็กวัยรุ่นอาจจะพลัดหลงเข้าไปในเว็บไซต์ประเภทนี้ได้
แชทรูม ภัยหลักทางอินเตอร์เน็ตต่อเด็กอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับห้องแชทรูม หรือสถานที่พบปะในอินเตอร์เน็ต ผู้ที่ชื่นชอบการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กมักจะไปในแชทรูม ส่วนมากจะปลอมตัวเป็นเด็กเสียเอง และคอยหลอกล่อพูดคุยกับเด็กจริงๆโดยทั่วไปแล้ว บุคคลเหล่านี้จะพยายามโน้มน้าวให้เด็กออกไปยังพบปะกันในแชทรูมส่วนตัว เพื่อพูดคุยกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ส่วนมากบุคคลเหล่านี้ใช้เวลาในการพูดคุยอยู่กับเด็กนานพอสมควร จนกว่าเด็กจะไว้ใจ หลังจากนั้นก็จะพยายามหาทางนัดหมายให้เด็กออกมาพบกันจริงๆ หรือทำให้เด็กส่งหรือรับภาพลามกให้อีกวิธีหนึ่ง ก็คือหากเด็กไม่ทันระวัง และให้ข้อมูลส่วนตัวไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการ เช่น ที่อยู่ที่โรงเรียนหรือที่บ้าน ก็เป็นไปได้ว่า คนที่เด็กพูดด้วยทางอินเตอร์เน็ตจะดำเนินการลักพาตัวเด็กไป อาจจะไปกระทำชำเราหรือหาผลประโยชน์นานาชนิดจากตัวเด็กที่รู้ไม่เท่าทัน
สิ่งผิดกฎหมาย และการเงิน มีความเป็นไปได้ที่เด็กอาจจะถูกเกลี้ยกล่อมให้บอกหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ปกครอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ หรือแม้กระทั่งถูกชักจูงให้เข้าขบวนการมิจฉาชีพ ทำสิ่งผิดกฎหมายโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์
ยาเสพติด ความสามารถในการหาข้อมูลเกือบทุกอย่างได้จากอินเทอร์เน็ต มันง่ายจนหลายคนคิดไม่ถึงเลยทีเดียว เช่น เด็กสามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ตนสนใจได้โดยง่าย  หรือหาอาวุธต่างๆ ได้ บางเว็บไซต์จะมีเนื้อหาสนับสนุนเรื่องยาเสพติด บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งชักชวนเด็กให้คล้อยตามได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นชายที่อยู่ในวัยอยากรู้อยากลอง
 การพนัน เว็บไซต์เกี่ยวกับการพนันมีมากมาย ทั้งที่เล่นเพื่อความสนุก และเล่นพนันด้วยเงินจริง เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะชักชวนให้ผู้เล่นใช้บัตรเครดิต หรือเช็ค ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการโจรกรรมหมายเลขบัตรเครดิตได้
ความเสี่ยงทั้งหลายที่ต้องเผชิญโดยไม่ได้ต้องการ เราสามารถป้องกันได้ เพียงดูแลให้คำแนะนำในการเล่นอินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธีให้แก่บุตรหลาน แต่ไม่ควรห้ามเด็กไม่ให้ใช้อินเทอร์เน็ตเลยเพราะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับเด็ก ถ้าเราสอนให้พวกเค้ารู้จักใช้อย่างถูกวิธีทั้งรวมไปถึงการฝึกฝนให้เด็กๆ รู้จัดจัดสรรเวลาในด้านต่าง ให้เป็นประโยชน์มองเห็นคุณค่าของเวลาที่หมดไปโดยสูญเปล่าว่า เวลาเหล่านี้สามารถนำไปพัฒนาตนเองให้เก่งได้เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับตนเอง
การใช้อินเตอร์เน็ตและภัยอันตรายจากอินเตอร์เน็ต
จากการสำรวจขององค์กร ECPAT INTERNATIONAL(2545) ผู้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเด็กไทย อินเตอร์เน็ตสามารถเป็นภัยต่อผู้ใช้ได้เช่นเดียวกับเทคโนโลยีและสื่ออื่นๆแต่ภัยจากอินเตอร์เน็ตอาจจะขยายตัวได้รวดเร็วและรุนแรง ก็เพราะว่าอินเตอร์เน็ตนั้นเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ไม่ได้มีการควบคุม และจัดระบบเนื้อหาจากส่วนกลาง ดังนั้นขณะที่อินเตอร์เน็ตอาจให้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและรวดเร็ว ก็มีโอกาสที่จะให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่เที่ยงตรงได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นระบบที่ปราศจากการควบคุมและกลั่นกรอง อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งที่ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อที่ “ไม่เหมาะสม”ได้ง่ายซึ่งเนื้อหาที่รุนแรงหรือลามกนั้นอาจหลอกหลอนหรือกระทบต่อทัศนคติของพวกเขาอยู่โดยเงียบๆ
การใช้อินเตอร์เน็ต  ปัจจุบันเด็กๆวัยรุ่นไทยจะทำความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วและรู้จักกับอินเตอร์เน็ตตั้งอายุยังน้อย หากมีโอกาสในกลุ่มเด็กเล็กอายุ 7-11 ปี ร้อยละ 58 เล่นอินเตอร์เน็ตมากกว่าสัปดาห์ล่ะ 5 ชั่วโมง (จากผลสำรวจของบริษัท PRASENA) ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 13 เล่นอินเตอร์เน็ตทุกวัน มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่เคยผ่านการเรียนหรืออบรมเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ต สำหรับกลุ่มเด็กโตก็ยิ่งเป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้นไปอีก ร้อยละ 90 ของเยาวชนใช้เวลากับอินเตอร์เน็ตมากกว่า 5 ชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเข้าอินเตอร์เน็ตได้จากที่บ้าน กลุ่มที่ใช้อินเตอร์เน็ตจากบ้านที่มีสัดส่วนสูงสุดก็คือ กลุ่มวัยรุ่น(ร้อยละ 84) อาจจะตีความได้ว่าเยาวชนหนุ่มสาวใช้อินเตอร์เน็ตจากที่ทำงานหรือที่มหาวิทยาลัยมากกว่า ส่วนเด็กเล็กจะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตจากบ้านในอัตราส่วนต่างจากกลุ่มอื่น(ร้อยละ 61) อาจเป็นเพราะว่าพ่อแม่คิดว่าการจะลงทุนซื้อคอมพิวเตอร์ให้ลูกนั้น น่าจะรอให้ลูกโตเป็นวัยรุ่นเสียก่อนจึงเหมาะสมกว่าที่จะซื้อในตอนที่ยังเล็ก เพราะพ่อแม่เชื่อว่าเด็กโตจะใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนมากกว่า และคอมพิวเตอร์จะยังช่วยดึงดูดให้เด็กวัยรุ่นอยู่ติดบ้านแทนที่จะออกไปเที่ยวเล่นข้างนอกอีกทางหนึ่ง ร้านอินเตอร์เน็ตจึงกลายมาเป็นเหมือนศูนย์รับเลี้ยงเด็กในปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆซึ่งเด็กจะใช้เป็นสถานที่เล่นฆ่าเวลาระหว่างรอให้พ่อแม่มารับกลับบ้าน
เครื่องมือสื่อสารสำหรับอินเตอร์เน็ตหลากหลายรูปแบบ เป็นตัวนำสังคมของเราก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่ กลไกเหล่านี้ทำให้คนทุกเพศทุกวัย ทุกสัญชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมใน “ชุมชนอินเตอร์เน็ต” และทุกคนสามารถติดต่อสัมพันธ์กัน แบ่งปันความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้โดยตรงและอย่างรวดเร็วใช้เพื่อสื่อสารกับ “เพื่อนในเน็ต” อินเตอร์เน็ตจะเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อหรือตัวตนที่แท้จริง หรือทำได้กระทั่งปลอมตัวเป็นคนอื่น การปลอมตัวบนอินเตอร์เน็ตอาจจะเป็นเรื่องสนุกหรือเป็นเกมที่ท้าทาย แต่โชคร้ายคือการปลอมตัวอาจกลายเป็นอาวุธหรือเครื่องมือล่อลวงที่อันตราย หากตกอยู่ในมือของผู้ร้ายที่มุ่งล่าเหยื่อผู้ไร้เดียงสา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่นิยมการมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก
อันที่จริง “เพื่อนในเน็ต”ที่ว่านี้ส่วนใหญ่ก็คือคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักกันมาก่อนนั่นเองแต่ได้พัฒนาความสัมพันธ์อันดี ติดต่อสื่อสารกันเป็นประจำจนได้รับความไว้วางใจ หากพิจารณาดูว่า เด็กส่วนใหญ่จะอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตามลำพังและพึ่งได้แต่ตนเองเท่านั้นในการแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากเรื่องโกหก ดั้งนั้นเด็กเล็กและวัยรุ่นไทยจึงมีแนวโน้มที่จะพาตนเองเข้าสู่กับดักของผู้ที่จ้องจะหาผลประโยชน์ในทางไม่ดีจากเด็กด้วย แต่ที่น่าสนใจก็คือ มีพ่อแม่และครูจำนวนมากที่ไม่ทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการสื่อสารทางเน็ตของเด็กในความดูแลของตนเลย ครูอาจารย์อาจคาดเดาพฤติกรรมของเด็กได้ไม่ไกลจากความจริงนัก ในขณะที่พ่อแม่กลับคิดว่าลูกใช้เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้มากกว่าความจริง นอกจากนี้พวกเขายังคาดประมาณอัตราที่ลูกจะสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตกับเพื่อนและครอบครัวไว้สูงมาก แต่พ่อแม่จะตระหนักหรือไม่ว่าพฤติกรรมดังกล่าวมีความเสี่ยงต่ออันตรายอย่างไรบ้าง
เพื่อนทางเน็ตและนักล่อลวง แม้เทคโนโลยีสมัยใหม่โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น อาจนำภัยอันตรายมาสู่เด็กๆได้ ทั้งด้วยการเข้าถึงข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม และขัดต่อจริยธรรม ซึ่งเด็กอาจจะเข้าไปเองโดยตั้งใจ หรือพลัดหลงเข้าไปโดยบังเอิญ อันตรายที่มีความเสี่ยงที่สุดจะเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กได้พบคนแปลกหน้าบนเน็ต และเปิดโอกาสให้เพื่อนใหม่ได้ใช้กลวิธีทางจิตวิทยาหลอกล่อ ซึ่งในที่สุด ทำให้พวกเขายอมไปพบปะกับคนร้ายหรือผู้หาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กเหล่านี้ในชีวิตจริงการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนานๆ ครั้งนั้นเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงน้อยมาก เพราะการล่อลวงมักต้องอาศัยการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจนเกิดการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยความลับและเป็นเรื่องส่วนตัวซึ่งกันและกันได้
 ผลกระทบทางอินเตอร์เน็ต
โทษต่อสุขภาพกาย หากใช้เวลาอยู่กับคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในระยะเวลานานติดต่อกันอาจส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองทำให้สมองทำงานช้าลงและส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย เช่น แสบตา, ปวดข้อมือ, ไม่รับประทานอาหาร จนแสบกระเพาะ, อดนอน ตื่นสาย ทำให้เพลีย ง่วงเวลาเรียนหรือเวลางาน เป็นต้น
โทษต่อสุขภาพจิต เช่น เกิดความทุกข์ ไม่สุขใจ ขัดแย้งภายในจิตใจหรือขัดแย้งกับผู้คนรอบข้างได้ เพราะหากเล่นเกมและอินเตอร์เน็ต นานๆเข้าเด็กจะเกิดความรู้สึกชอบเอาชนะ เคยชินกับการแข่งขัน ต้องมีแพ้มีชนะ, เคยชินกับการได้ดังใจ เพราะเกมสั่งบังคับได้ มีความสุขหรือรู้สึกสำเร็จเมื่อสั่งได้ดังใจ, ไม่มีวินับ ไม่มีการควบคุมตนเอง ไม่บังคับตนเอง ขาดความรับผิดชอบ เพราะเมื่อเกิดความเพลิดเพลินกับการเล่นเกมแล้ว มักจะไม่ในใจทำอย่างอื่นที่สำคัญ หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ ความรับผิดชอบที่มีอยู่ว่าควรทำ หรือไม่ทำอะไร เช่น ไม่อ่านหนังสือ ไม่เข้านอนไม่ทานข้าว ไม่กวาดบ้าน ล้างชามตามหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ หรือแม้กระทั่งเกิดพฤติกรรมหนีออกจากบ้านหลายวัน ไปกินนอนอยู่ในร้านเกม และการขโมยเงินพ่อแม่เพื่อไปเล่นเกม เป็นต้น
 โทษต่อสุขภาพ สังคม หรือทักษะทางสังคมของเด็ก เช่น เด็กจะเห็นเพื่อนเป็นศัตรูของความสนุกสนาน เพื่อนมาแย่งเล่น(หมายเหตุ - การละเล่นในอดีต เช่น วิ่งไล่จับ รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า ต้องเล่นกับเพื่อน เล่นคนเดียวไม่ได้ เพื่อนคืออุปกรณ์การ จึงต้องรู้จักคบเพื่อน เอาใจเพื่อน ไม่เช่นนั้นเพื่อนไม่เล่นด้วย) จึงไม่อยากคบเพื่อน หรือแม้อยากจะคบแต่ก็คบเพื่อนฝูงไม่ค่อยเป็นเพราะไม่ค่อยได้ฝึก ทำให้ขาดทักษะทางสังคม เพราะเด็กอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ บางคนอ้างว่าการเล่นเกมออนไลน์ หรือ Chat พูดคุยกันทางอินเตอร์เน็ตก็ได้เพื่อน ซึ่งมีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่ว่าความสัมพันธ์ออนไลน์เป็นความสัมพันธ์ในโลกเสมือนไม่ใช่โลกแห่งความ เป็นจริง เพราะเป็นความสันพันธ์ที่พูดคุยกัน หรือแสดงความยินดี ความห่วงหาอาทรต่อกันได้มากโดยไม่ได้แสดงข้อเสีย เพราะไม่ได้อยู่ร่วมกันจริงๆ หรือเป็นความสัมพันธ์ที่บางคนไม่ได้แสดงตัวตนที่แท้จริง เป็นเด็กอาจแสดงเป็นผู้ใหญ่ เป็นชายอาจแสดงเป็นหญิง เป็นคนเห็นแก่ตัวอาจแสดงตัวเป็นคนมีน้ำใจก็ได้ เพราะในโลกอินเตอร์เน็ต สามารถแสดงเป็นอะไรก็ได้ไม่มีใครรู้ จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ที่คบหากันทางอินเตอร์เน็ตจนสนิทสนมกันแล้วนัดพบ จบลงด้วยการมีเพศสัมพันธ์กันอย่างง่ายดายอย่างที่ได้เห็นเป็นข่าวอยู่เนืองๆ
 โทษต่อการผลิตผลงานของชีวิต ได้แก่ การเรียนตก เสียการเสียงาน เสียความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น ในกรณีที่เป็นเด็กอาจเสียความสัมพันธ์กับพ่อแม่ พี่น้อง ส่วนในกรณีที่เป็นผู้ใหญ่อาจเสียความสัมพันธ์กับคู่สามีภรรยาจนเกิดเหตุหย่า ร้างก็มีมาแล้ว หรือ อาจถึงขั้นเสียผู้เสียคน จากการมีพฤติกรรมอันธพาล ขโมยเงิน มั่วสุม เล่นการพนัน ใช้ยาเสพติด หรือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ทางออกที่ดี คือ ความสมดุล ความสมดุลคือสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช้คอมพิวเตอร์หรือ อินเตอร์เน็ตเลยคงจะไม่ได้ เพราะชีวิตในอนาคตทั้งการเรียน หรือการทำงานต้องใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต แต่เล่นมากจนติดก็ไม่ดีแน่
                  โลกยุคอินเทอร์เน็ต พ่อแม่จะปกป้องลูกอย่างไร
                 พ่อแม่ยุคใหม่ก็จำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมในปัจจุบัน ดังนี้
  1. เป็นผู้ที่เรียนรู้อยู่เสมอ พ่อแม่จำเป็นที่จะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างทันต่อเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคใหม่ หรือการปรับเปลี่ยนในด้านความคิด ค่านิยมหรือกระแสต่าง ๆ ที่เข้ามาในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบมาสู่ลูกของเราได้ดังนั้นเองพ่อแม่จึงควรที่จะเป็นผู้ที่เรียนรู้อยู่เสมอ
                2. ติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อยู่เสมอ   เพื่อที่จะสามารถ "รู้เท่าทัน" สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมลูกให้ใช้ประโยชน์ จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้มากที่สุด และเพื่อที่จะสามารถปกป้องสิ่งต่าง ๆ ที่อาจจะเข้ามาทำร้ายหรือเป็นอันตรายต่อลูกของเรา โดยพ่อแม่สามารถที่จะติดตามข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงแนวทางในการป้องกันแก้ไข ได้จากหลายช่องทางเช่นจากสื่อโทรทัศน์วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ อินเทอร์เน็ต รวมถึงการรับข่าวสารข้อมูลจากบุคคลที่รู้จัก ครูอาจารย์ หรือจากข่าวของทางโรงเรียนที่ลูกกำลังศึกษาอยู่เช่น ถ้าพ่อแม่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตย่อมสามารถตรวจสอบว่าลูกใช้คอมพิวเตอร์อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่สามารถแนะนำลูกในการค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถติดตั้งโปรแกรมเพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมไม่ให้เข้ามาขณะที่ลูกใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ สามารถรู้เท่าทันและป้องกันลูกจากภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นทางอินเทอร์เน็ตได้
  3. เรียนรู้ที่จะรู้จักลูกของตนเอง  วัยรุ่นมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง ขึ้นลงได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งความต้องการในด้านต่าง ๆ ของลูกวัยรุ่น เช่น ความอยากรู้อยากลอง อยากได้อยากมีในสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการยอมรับในหมู่เพื่อน ความต้องการที่จะเป็นที่สนใจในหมู่เพื่อนต่างเพศ ซึ่งธรรมชาติของวัยรุ่นนี้เองที่ทำให้ตกเป็นเหยื่อในการล่อลวงต่าง ๆ ได้โดยง่าย พ่อแม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจ รู้จักลูกของตนมากยิ่งขึ้นในพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกมาและสามารถที่จะป้องกันปัญหาและช่วยเหลือลูกได้อย่างทันท่วงที
              โดยพ่อแม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้จากหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาการของวัยรุ่น หรือขอคำปรึกษาจากผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้านการศึกษาพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นโดยตรง เพื่อช่วยให้พ่อแม่รู้เท่าทันและสามารถแนะนำลูกในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พร้อมกับสามารถปกป้องลูกของตนจากภัยอันตรายต่าง ๆ ที่แฝงเข้ามาได้
  4. เป็นผู้ที่ปลูกฝังความคิดและทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่ลูก ก่อนที่พ่อแม่จะตัดสินใจเชื่อในสิ่งใด หรือรับเอาความคิดใด ๆ เข้ามา ต้องคิดให้รอบคอบอย่างสมเหตุสมผลก่อน ในสิ่งที่ได้รับมาว่าเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วจริงหรือไม่เพื่อสอนลูกให้เป็นคนที่มีเหตุผลและรู้จักที่จะคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแยกแยะที่จะเลือกรับในสิ่งที่ดี และปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี เพื่อไม่ให้ถูกกลืนไปกับกระแสค่านิยมต่าง ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาได้โดยง่าย อาทิ ค่านิยมในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน เราอาจคิดว่าเป็นวิธีการที่ดีมีประโยชน์เพราะเป็นการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันก่อน หากเข้ากันไม่ได้ทั้งคู่สามารถจะเลิกรากันไปได้โดยง่ายไม่ต้องมีพันธะอะไรต่อกัน แต่ถ้าหากเราลองคิดอย่างมีวิจารณญาณแล้วจะพบว่าการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งไม่ได้ก่อให้เกิดความสุขใด ๆ เลยเพราะเป็นการอยู่ร่วมกันด้วยความหวาดระแวง ไม่ไว้วางใจ มีแต่ความวิตกกังวลกลัวว่าอีกฝ่ายจะจากไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ายังอยู่ในวัยเรียนทั้งคู่ และถ้าพลาดเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมา อนาคตในการเรียนต่อก็มีอันต้องสูญหายไปอย่างแน่นอน
  5. เป็นผู้ที่ให้ความรักและความเอาใจใส่ห่วงใยลูกอยู่เสมอ  โดยทั่วไปเมื่อลูกมีพัฒนาการก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ปัญหาที่พบมักจะเป็นในเรื่องของการเกิดช่องว่างในความรักความเข้าใจและช่องว่างในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการรับอิทธิพลต่าง ๆ ในโลกที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างมากมาย ก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นระหว่างวิถีชีวิตวัยรุ่นยุคก่อน กับวิถีชีวิตของเด็กวัยรุ่นในสมัยนี้ ซึ่งความแตกต่างอย่างมากนี้เองอาจส่งผลให้ช่องว่างในความเข้าใจระหว่างพ่อแม่และลูกวัยรุ่นที่มักเป็นปัญหาที่สะสมมาอยู่ก่อนแล้วถูกทำให้ขยายห่างมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นเองเพื่อการลดช่องว่างที่เกิดขึ้นพ่อแม่จึงควรที่จะทำความเข้าใจในตัวลูกให้มาก
 6. มีเวลาให้กับลูกอย่างเฉพาะเจาะจง พ่อแม่จำเป็นต้องมีเวลาใกล้ชิดลูกอยู่เสมอ ในการพูดคุย การปรึกษาหารือ ให้ลูกรู้สึกว่าตนเองเป็นคนพิเศษของพ่อแม่ โดยตระหนักว่าแม้ว่าลูกจะเติบโตเป็นวัยรุ่นแต่เขายังคงมีความต้องการในความรัก ความห่วงใยเอาใจใส่และการชี้ทิศนำทางจากพ่อแม่อยู่เสมอ พ่อแม่จึงควรมีเวลาให้กับลูกอย่างเฉพาะเจาะจง
7. เปิดใจในการรับฟังความคิดเห็นของลูก เนื่องจากลูกในวัยรุ่นมีความสามารถที่จะเข้าใจในการใช้เหตุผลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง ดังนั้นในการพูดคุยกับลูก พ่อแม่ไม่ควรใช้อารมณ์ความรู้สึกเท่านั้น เช่น การเอะอะโวยวายอาละวาด แสดงอาการโกรธเกรี้ยวไม่พอใจในการกระทำของลูก เพราะการแสดงออกเช่นนี้จะทำให้ลูกสูญเสียความไว้วางใจที่ลูกเคยมีในตัวของพ่อแม่ เพราะคิดว่าพ่อแม่ไม่รักและไม่เข้าใจ เช่น ในกรณีที่ลูกมีรสนิยมการแต่งตัวที่ดูแปลกประหลาด ตามแฟชั่น ใส่เสื้อเกาะอก หรือการย้อมผมสีแปลก ๆ เป็นต้น
                 สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ พูดคุยกับลูกด้วยความเข้าใจในสภาพที่เขาเป็น ให้ลูกสามารถที่จะสัมผัสในความรักและความห่วงใยที่พ่อแม่มีต่อลูก แล้วจึงค่อยทำการชี้แจงในสิ่งที่ลูกทำพร้อมกับฝึกให้ลูกเป็นคนที่รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล เพื่อลูกจะได้สามารถแยกแยะที่จะเลือกรับในสิ่งที่ดี และปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ดี เพื่อไม่ให้ถูกกลืนไปกับกระแสค่านิยมต่าง ๆ ที่หลั่งไหลเข้ามาได้โดยง่าย เช่น ชี้แจงให้ลูกฟังว่าการใส่เสื้อผ้าสายเดี่ยวนั้นทำให้เสี่ยงต่ออันตรายจากภัยข่มขืนได้ หรือการแต่งตัวที่แปลกประหลาดผิดสถานที่ผิดกาลเทศะอาจทำให้สูญเสียความน่าเชื่อถือและสูญเสียโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
8. หมั่นสังเกตและเอาใจใส่ในเรื่องการใช้เวลาของลูกอยู่เสมอ    พ่อแม่ไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลยลูกในการใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยที่พ่อแม่ไม่รู้ว่าลูกของตนกำลังทำอะไรอยู่หรือออกไปที่ไหนกับใคร โดยอาจให้เหตุผลว่าลูกโตแล้วหรือไม่อยากที่จะละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของลูก เนื่องจากเด็กเป็นวัยที่ถูกล่อลวงได้โดยง่าย ซึ่งอาจเกิดอันตรายที่เราไม่คาดคิดกับลูกได้ เช่น ภัยจากยาเสพติด การถูกล่อลวงทางเพศ ถึงแม้ลูกจะอยู่แต่ในบ้านไม่ได้ออกไปที่ไหนก็ตามแต่ภัยอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะแฝงมาในรูปแบบที่เราคิดไม่ถึงได้เช่น ทางอินเทอร์เน็ต สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งหนังสือการ์ตูนบางประเภทที่แฝงไว้ด้วยเรื่องของเพศและความรุนแรงต่าง ๆ ดังนั้นเองพ่อแม่จึงควรที่จะหมั่นสังเกตและเอาใจใส่ในเรื่องการใช้เวลาของลูกอยู่เสมออย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกได้
                  จากบทบาทของความเป็นพ่อแม่ที่แต่เดิมนับว่าหนักหนาสาหัสอยู่แล้ว เมื่อเข้าสู่ในยุคสมัยใหม่พ่อแม่ต้องแสดงบทบาทที่หนักและเหน็ดเหนื่อยกว่าเดิมอีกหลายเท่า ไม่ว่าจะต้องพัฒนาตัวเองเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ การที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการคิดอย่างรอบคอบและมีวิจารณญาณมากยิ่งขึ้นในการรับข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ การที่ต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์และมองการณ์ไกลวางแผนอนาคตเผื่อให้ลูก หรือการที่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรักความอดทนและเข้าใจจิตใจภายในของลูกอยู่เสมอ  สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำทั้งหมดนี้ เพื่อที่จะสามารถสร้างชีวิตของลูกให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่นี้ได้และเพื่อที่จะปกป้องดูแลและป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาทำร้ายลูกได้นั่นเอง ในสังคมปัจจุบันเราจำเป็นต้องให้เด็กได้คุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และในขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวัง การเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ของพวกเขาด้วยอินเทอร์เน็ตเป็นโลกที่เปี่ยมไปด้วยความเป็นไปได้ ทำให้เราสามารถขยายขอบเขตที่ครั้งหนึ่งเคยจำกัดออกไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งหากจะว่าไปแล้วในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นช่องทางที่สำคัญที่สุดช่องทางหนึ่ง สิ่งใดที่ไม่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ต เราจะรู้สึกราวกับว่าสิ่งนั้นไม่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้เสมอว่าอินเทอร์เน็ตเป็นโลกแห่งภยันตรายที่ผู้ให้การศึกษาและสังคม
ผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยก็เหมือนกับเด็กทั่วโลก ที่ผูกพันกับความบันเทิงและความรู้จากอินเตอร์เน็ต รวมทั้งกับกลไกสื่อสารต่างๆที่แฝงมาทางอินเตอร์เน็ตอย่างแนบแน่นเกินกว่าที่ผู้ใหญ่คาดคิด นอกจากนี้ เด็กยังเข้าใจได้อย่างรวดเร็วด้วยว่า โลกของอินเตอร์เน็ตนั้นมีสภาพที่แตกต่างไปจากโลกแห่งความจริง และแทนที่จะพยายามจะเข้าไปในโลกแห่งความจริงโดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประโยชน์ แต่พวกเขากลับใช้ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตเพื่อเล่นสนุกกับความเป็นอิสระเสรีแบบที่ไม่เคยได้รับโอกาสในชีวิตจริงทั้งนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากความนิยมที่เด็กมีต่อแชทรูม ที่ซึ่งพวกเขาจะสามารถพบกับผู้คนจากทุกเพศ ทุกวัย ทุกสังคม และทุกระดับความรู้ เป็นที่ที่เด็กสามารถก้าวเข้าไปในฐานะที่เป็นคนใหม่ และมีเพื่อนสนิทใหม่ๆที่สามารถจะพูดคุยกันได้ทุกเรื่องได้เท่าที่พวกเขาต้องการแม้กระทั่งเรื่องต้องห้ามเรื่องที่ผิดๆโดยไม่มีใครต่อว่า
อย่างไรก็ตาม ในเมื่อไม่มีสภาพแวดล้อมใดที่ปราศจากอันตรายอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นโลกภายนอกหรือโลกอินเตอร์เน็ต เด็กไทยที่เทใจไปกับกิจกรรมออนไลน์ทั้งหลายจึงเท่ากับการเปิดโอกาสส่วนหนึ่งของตนเองให้เสี่ยงต่ออันตรายเช่นกัน ซึ่งแท้จริงแล้ว อันตรายเหล่านี้สามารถป้องกันได้เช่นเดียวกับการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในโลกแห่งความจริง หากเด็กเล็กและเด็กวัยรุ่นได้รับความรู้และการชี้แนะถึงวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม และรู้จักวิธีที่จะรับมือกับการโน้มน้าวใจ หรือยุยงส่งเสริมจากผู้อื่น ด้วยปัญหานี้จึงทำให้เห็นว่า เด็กวันรุ่นไทยมีความเสี่ยงต่อสื่อลามก การถูกชักชวนให้พูดคุยเรื่องเพศ และการล่อลวงทางอินเตอร์เน็ตค่อนข้างสูง ในขณะเดียวกันก็มีความพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์เช่นนั้นค่อนข้างต่ำ ความเชื่อใจในคนแปลกหน้าที่พวกเขาเรียกว่าเป็นเพื่อนทางเน็ตนั้นสูงจนเด็กหลายๆคนไม่รู้สึกแปลกที่จะให้คนเหล่านั้นได้รู้ข้อมูลส่วนตัว และยอมไปพบกันตามลำพัง ดังนั้นจึงไม่ประหลาดใจเลยที่เด็กเล็กและเยาวชนที่ประสบกับเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกตกใจ หรือเสียใจและเจ็บปวดจะสูงมาก แม้ว่าพวกเขาจะใช้อินเตอร์เน็ตมาได้เพียงไม่กี่ปีก็ตาม และผู้ใหญ่ก็จะยิ่งเพิกเฉยและไม่รับรู้ต่อปัญหาที่เกิดมากขึ้น จึงทำให้เกิดภัยอาชญากรรมที่ไม่คาดคิดตามมาเช่น การล่อลวงเด็กสาวจากห้องแชทรูมไปข่มขืนกระทำชำเรา การประพฤติปฏิบัติตามสื่อที่ไม่ดีทางอินเตอ์เน็ต เช่น การผูกคอตาย การผลิตระเบิด เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้จึงเป็นปัญหาต่อสังคมเพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขจุดเริ่มจากครอบครัวและคนใกล้ชิด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเริ่มทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและหาวิธีแก้ไขและสนันสนุนเด็ก เยาวชนให้รู้จักวิธีใช้อินเตอร์เน็ตที่ถูกต้อง และชี้แนะให้เด็กรับรู้ถึงความเสี่ยงต่อภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต หากผู้ใหญ่(ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน)ไม่หันมาเริ่มต้นที่จะปรับรูปแบบและเนื้อหาการศึกษาเกี่ยวกับการใช้อินเตอร์เน็ตให้เหมาะสมแล้ว เด็กไทยอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อของอันตรายที่มาพร้อมกับอินเตอร์เน็ตมากยิ่งขึ้นก็ได้
                                .............................................................................................................................................................


                                                                                       อ้างอิง
-  ผลการสำรวจ เด็กไทยกับการใช้อินเตอร์เน็ต กรณีศึกษาประเทศไทย โดยองค์กรยูนิเซฟประเทศไทยและบริษัท Prasena. พรสุข เกิดสว่าง : แปล
ศรีดา  ตันทะอธิพานิช. ท่องอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและได้ประโยชน์ : ข้อคิดสำหรับผู้ปกครองและเยาวชน พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, 2544.
-  ศุภเดช  สุทธิพงศ์คณาสัย. เปิดโปงภัยมืดบนอินเตอร์เน็ต กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ใบลาน, 2537
-  สุพัตรา  สุภาพ. วัยรุ่นกับพฤติกรรมรุนแรงยุคโลกาภิวัฒน์ สังคมไทย : มุมมองนักสังคมวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คระรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545

1 ความคิดเห็น:

  1. มันจะยาวไปถึงไหนอา ครับ น่าจะสรุปสั้นๆกว่านี้ข ขี้เกียจอ่านมันยาวเกิน

    ตอบลบ