วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เด็กแว้นกับเด็กสก็อย นายสุรภพ พยอมชื่น 53242780



                                   

 นาย สุรภพ พยอมชื่น 53242780
                                                                             คณะสังคมศาสตร์ พัฒนาสังคม

เด็กแว้นกับเด็กสก็อย
ปัญหาเด็กแว้น หรือเด็กชายวัยรุ่นขับรถจักรยานยนต์ประลองความเร็วบนถนนสาธารณะ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนราคาญแก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง เพราะการขับรถจักรยานยนต์ที่ไม่คานึงถึงความปลอดภัยของผู้ร่วมใช้ทางอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นได้โดยง่าย ส่วนเสียงของเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ที่ดังสนั่นก็สร้างความราคาญและทาลายช่วงเวลาพักผ่อนอันแสนสงบสุขในยามวิกาลอย่างไร้สานึกเช่นเดียวกัน ผู้ได้รับเดือนร้อนต่างเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตารวจปราบปรามพฤติกรรมดังกล่าวของเด็กแว้น แต่การจับกุมดาเนินคดีแต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องที่กระทาได้โดยง่าย เจ้าหน้าที่ตารวจต้องระดมกาลังตารวจจากหลายท้องที่และใช้ทรัพยากรจานวนมากเพื่อการสกัดจับเด็กแว้น รวมทั้งต้องเสี่ยงอันตรายจากการถูกเด็กแว้นขับรถจักรยานยนต์ชนในเวลาที่หลบหนีการจับกุม แต่สุดท้ายดูเหมือนว่าผลลัพธ์จะไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนไป การจับเด็กผู้กระทาผิด การดาเนินคดี และการพิพากษาลงโทษหรือคุมความประพฤติ ไม่สามารถยับยั้ง (deterrence) ปัญหาดังกล่าวได้ เพราะยังปรากฏว่ามีผู้แข่งรายใหม่เข้าสู่สนามประลองความเร็วเสมอๆ
อนึ่ง เด็กแว้น (มีการสะกด เด็กแว๊น) หรือ เด็กแซป หมายถึงเด็กวัยรุ่น อายุประมาณ 15-28 จะออกขับรถมอเตอร์ไซค์ไปเป็นกลุ่มในเวลา กลางคืน มีลักษณะการแต่งกาย และทรงผม รวมถึงรสนิยมการฟังเพลงเช่นวง บอดี้แสลม บิ๊กแอส ลินคิน พาร์ค หรือวง เรทโทรสเปค เป็นต้น
เด็กแว้น หรือ แซป นั้น มีคนสันนิษฐานว่ามาจาก "แซปคุง"(Zabbkung) ซึ่งเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาในโอกาสครบรอบ 7 ปีของ สตูดิโอเขียนการ์ตูน มอนสเตอร์คลับ (สตูดิโอของคนไทย ผู้วาดการ์ตูนเรื่อง Joe the Sea-cret Agent) ส่วนคำว่าแว้นนั้น มาจากเสียงท่อไอเสีย ที่ดัดแปลงให้เสียงดังขึ้น รวมไปถึงเสียงดังที่เกิดจากการบิดหนีตำรวจ แต่ก่อนสมัยเครื่องยนต์ 2 จังหวะ เมื่อบิดก็จะเกิดเสียงดัง แว้นๆๆๆ
ในอดีตระหว่างคำสองคำนี้จะใช้แตกต่างกัน "เด็กแซป"นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะวงการมอเตอร์ไซด์ แต่จะเหมารวมถึงกลุ่มเด็กที่ชอบทำตัวให้โดดเด่นสะดุดสายตาชาวบ้านด้วยวิธีการผิดๆ เพื่อให้เป็นที่สนใจ เช่น การชกต่อยในงานฟรีคอนเสิร์ต ใส่เสื้อผ้าสีสันบาดตา ไม่เรียนหนังสือ มั่วสุมอยู่แถวโต๊ะสนุ้ก แต่ที่พวกเด็กแซปชื่นชอบมากเป็นพิเศษคือ การดัดแปลงรถมอเตอร์ไซค์ และรวมตัวกันเป็นแก๊ง และในที่สุดก็ได้พัฒนากลายมาเป็น "เด็กแว้น"
สำหรับเอกลักษณ์และพฤติกรรม ของแว๊นคุง  เด็กแว้นมักจะใส่กางเกงขาเดฟฟิตมากๆ รัดเป้า พร้อมเสื้อสีดำตัวเล็ก หรือเสื้อที่มีสกรีนลายชื่อนักร้องวงต่างๆ บางรายอาจจะแสดงความมั่นใจขึ้นมาอีกระดับหนึ่งด้วยการใส่กางเกงขาสั้น ทรงผมที่นิยมมักไว้ทรงผมแบบ "ทรงปั๊ป โปเตโต้" ที่มีเอกลักษณ์คือปาดปอยผมจากด้านข้างเกือบจดหูพาดมาอีกข้างหนึ่งของใบหน้า และอาจมีปอยผมห้อยมาปิดลูกตา ส่วนใหญ่จะใส่รองเท้าแตะแบบนิ้วคีบรุ่น ตราช้างดาว เพราะราคาไม่แพง สำหรับแนวเพลงที่ชาวแว๊นหรือแซป ชอบมากเป็นพิเศษคือ บอดี้แสลม บิ๊กแอส ลินคิน พาร์ค หรือวงเรโทรสเปกต์ เป็นต้น
วัฒนธรรมย่อย  
ในการศึกษาถึงปัจจัยเบื้องหลังการร่วมกลุ่มของเด็กแว้นนั้น ขอเริ่มจากการทาความเข้าใจคาว่าวัฒนธรรมย่อย” (subculture) ก่อน คาว่าวัฒนธรรมย่อยหากพิจารณาจากคาในภาษาอังกฤษ “subculture” หมายถึงวัฒนธรรมภายในวัฒนธรรม” (culture within a culture)1เพื่อความเข้าใจขออธิบายดังนี้ หากว่าวัฒนธรรมหมายถึง แบบอย่างการดาเนินชีวิตของชนหมู่ใดหมู่หนึ่ง2 “วัฒนธรรมย่อย” (subculture) คือ แบบแผนการดาเนินชีวิตที่ให้ความสาคัญกับคุณค่าที่แตกต่างหรือเบี่ยงเบนไปจากแบบแผนการดาเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ในสังคม3
การที่เด็กผู้ชายจับกลุ่มกันแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนสาธารณะ (เด็กแว้น) และมีเด็กผู้หญิงนั่งซ้อนท้าย (เด็กสก็อย) รวมทั้งยอมตนเป็นสินพนัน อาจเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าวัฒนธรรมย่อยเพราะเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของกลุ่มเด็กแว้นและเด็กสก็อยที่แตกต่างจากวัฒนธรรมของคนส่วนใหญ่ในสังคมที่เห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องผิดปกติ ไร้ประโยชน์ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนราคาญแก่ตนเอง ครอบครัว และคนอื่นในสังคม ซึ่งคนดีๆไม่นิยมชมชอบกิจกรรมเหล่านี้ แต่กลุ่มเด็กแว้นและเด็กสก็อยกลับเห็นดีเห็นงามกับกิจกรรมดังกล่าว
คาถามคือ อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในลักษณะดังกล่าว ทฤษฎีความเครียด (strain theory) ซึ่งเชื่อว่าความเหลื่อมล้าในสังคม (inequality) เป็นต้นเหตุของอาชญากรรมและการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมย่อยอธิบายว่า อาชญากรรมเกิดจากความเครียดอันเนื่องมาจากความอสมมาตรระหว่างเป้าหมายที่วัฒนธรรมกาหนดขึ้น (cultural goals) กับโอกาสที่จะใช้วิธีการอันชอบด้วยกฎหมายเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายทางวัฒนธรรมดังกล่าว4 เพื่อความเข้าใจทฤษฎีนี้ ในประการแรก จะต้องมีเป้าหมายทางวัฒนธรรมซึ่งคนทุกคนในสังคมเชื่อว่าคือเป้าหมายหรือความสาเร็จในชีวิตและจะต้องไขว่คว้ามาไว้ในครอบครองให้ได้ ประการที่สอง จะต้องมีวิธีการอันชอบด้วยกฎหมายหรือวิธีการที่สังคมยอมรับในการบรรลุเป้าหมายหรือความสาเร็จดังกล่าว5 Merton กล่าวว่า ในสังคมอเมริกัน คนอเมริกันเชื่อในความฝันแบบอเมริกัน (American dream)6 คือเชื่อว่าเป้าหมายหรือความสาเร็จในชีวิตคือความมั่งคั่งร่ารวย (economic success) และหนทางอันชอบด้วยกฎหมายที่นาไปสู่ความมั่งคั่งคือความขยันและการทางานหนัก แต่ในความเป็นจริงกลับมีคนเพียงจานวนน้อยเท่านั้นที่ประสบความสาเร็จในชีวิต ทั้งนี้ เพราะโอกาสที่จะบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิตดังกล่าวไม่ได้กระจายไปยังทุกคนในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน คนที่มีฐานะดี มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี มีสายสัมพันธ์ที่ดี ย่อมมีโอกาสได้งานที่ดี และมีโอกาสแสวงหาทรัพย์สินและความมั่งคั่งได้มากกว่าคนอื่น คนที่ปรารถนาจะบรรลุถึงเป้าหมายในชีวิตแต่ไม่สามารถไปถึงฝันได้ เพราะถูกโครงสร้างทางสังคมจากัดโอกาส เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลที่ประสบความสาเร็จจะรู้สึกผิดหวังไม่พอใจ (frustration) และอาจหาทางออกเพื่อให้ตนบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวโดยการใช้วิธีการอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น ไปลักทรัพย์หรือค้ายาเสพติดเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน หรือใช้สุราและยาเสพติดเป็นทางออกเพื่อให้ลืมปัญหาที่ตนประสบ เป็นต้น
Cohen ได้นาแนวความคิดของ Merton มาปรับใช้เพื่ออธิบายว่า เหตุใดจึงมีแก๊งค์กวนเมือง (gang) เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา และเหตุใดเด็กอเมริกันจึงเข้าร่วมกับแก็งค์กวนเมือง สิ่งที่ Cohen ใช้อธิบายเป้าหมายหรือความสาเร็จของเด็กที่ร่วมในแก็งค์กวนเมือง ไม่ใช่เรื่องความมั่งคั่งร่ารวยตามความฝันแบบอเมริกัน (American Dream) แต่อธิบายว่า เป้าหมายหรือความสาเร็จของเด็กกลุ่มดังกล่าวคือ ความต้องการการยอมรับหรือความต้องการมีสถานภาพ (recognition or status) ในสังคมของชนชั้นกลาง7 และวิธีการที่จะบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวคือ การปฎิบัติตนให้สอดคล้องกับค่านิยมของชนชั้นกลาง

Cohen อธิบายว่าคนชั้นกลางและคนที่มีรายได้น้อยมีค่านิยมที่ต่างกันดังปรากฎในตารางด้านล่างนี้8
ค่านิยมของคนชั้นกลาง
ค่านิยมของคนที่มีรายได้น้อย
การควบคุมตนเอง (self-control)
เข้มแข็ง บึกบึน (toughness)
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน (postponement of immediate gratification in favor of long term goals)
ความสุขเฉพาะหน้า (instant gratification)
วางแผนหรือเตรียมตัวสาหรับอนาคต (planning for the future)
ไร้ระเบียบ (lack of order)
ความรับผิดชอบ (individual responsibility)
ไม่ตรงต่อเวลา (lack of punctuality)
ความมุ่งมั่น (ambition)
การตอบโต้ (ethic of reciprocity)
การควบคุมอารมณ์โกรธและความก้าวร้าว (control of aggress and anger)
การล้างแค้น (retaliation)

ที่โรงเรียน ครูจะใช้ค่านิยมของชนชั้นกลางประเมินนักเรียนทุกคน เด็กที่มาจากครอบครัวของคนชั้นกลางซึ่งได้รับการปลูกฝังในเรื่องคุณค่าเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว ย่อมสามารถประพฤติตนสอดคล้องกับคุณค่าเหล่านี้ จึงได้รับการยอมรับจากครูและเพื่อน และมีสถานภาพที่ดีในสังคมโรงเรียน ส่วนเด็กที่มาจากที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะไม่ดี (lower socio-economic background) และไม่ได้ถูกอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในคุณค่าเหล่านี้ เด็กกลุ่มนี้อาจไม่สามารถปรับตัวเข้ากับคุณค่าเหล่านี้ได้ เด็กเหล่านี้ถูกประเมินจากครูว่ามีปัญหาด้านความประพฤติ (discipline problems) และมีแนวโน้มที่จะไม่ประสบความสาเร็จในโรงเรียน รวมทั้งไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน เด็กเหล่านี้จึงเกิดความรู้สึกเครียด อันเนื่องจากความผิดหวังเรื่องสถานภาพและรู้สึกสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง” (status frustration and loss of self-esteem)9 ที่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมชนชั้นกลางในโรงเรียน10 เด็กเหล่านี้อาจมารวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือแก็งค์และร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหาที่ตนเผชิญอยู่ด้วยการร่วมกันสร้างคุณค่าใหม่ที่เบี่ยงเบนจากคุณค่าของวัฒนธรรมหลักและมีลักษณะต่อต้านสังคม (subculture) แต่เป็นสิ่งที่ทาให้ตนมีสถานภาพ (status) ได้รับการยอมรับจากเพื่อนในกลุ่ม และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เช่น เด็กอาจประพฤติชั่วแทนที่จะเป็นประพฤติดี ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาแทนการใช้สันติวิธี ทาลายทรัพย์สินของผู้อื่นแทนที่จะเคารพในทรัยพ์สินของผู้อื่น11 เป็นต้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ วัฒนธรรมย่อยจึงเกิดขึ้น
เมื่อได้ทราบที่มาของวัฒนธรรมย่อย (subculture) แล้ว ขอยกตัวอย่างที่สนับสนุนทฤษฎีดังกล่าวดังนี้ ในประเทศ Common Law มีความผิดฐาน joyriding หรือการเอารถยนต์ของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม (taking of a car without consent หรือ (TWOC)) ความผิดฐานนี้คล้ายกับความผิดฐานลักทรัพย์ แต่มีข้อแตกต่างกันคือ ผู้กระทาผิดไม่ได้มีเจตนาเอารถยนต์ของผู้อื่นไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของรถยนต์ แต่ต้องการนารถไปใช้เพื่อความสนุกสนานชั่วคราวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ เช่น เอารถของผู้อื่นไปขับแข่งกันบนถนนสาธารณะ หรือขับรถด้วยความเร็วสูงในลักษณะหวาดเสียวไม่คานึงถึงความปลอดภัยบนถนนสาธารณะ ส่วนเหตุผลที่ไม่ถือว่าการกระทาดังกล่าวเป็นการลักทรัพย์ตัดกรรมสิทธิ์เจ้าของรถยนต์ เพราะรถยนต์ที่สูญหายมักจะถูกพบภายในระยะเวลาเช่น ๓๐ วันนับแต่วันที่แจ้งความ12
Dawes และ Spencer อ้างว่า ในความผิดฐาน joyriding ผู้กระทาผิด (joyrider) มักเป็นชายวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี และกระทาความผิดดังกล่าวเพื่อให้ได้รับการยอมรับและมีสถานภาพในกลุ่มเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสามารถขับรถด้วยความเร็วสูงหรือการแสดงให้เห็นถึงทักษะการขับรถจะยิ่งได้รับการยอมรับอย่างสูง13
เมื่อนาทฤษฎีความเครียด (strain theory) และความผิดฐาน joyriding ซึ่งพอจะเทียบเคียงได้กับกรณีของเด็กแว้นมาอธิบายว่าเหตุใดเด็กแว้นจึงรวมตัวกันแข่งรถบนถนนสาธารณะอาจตอบได้ว่าเด็กแว้นอาจประสบปัญหาบางประการ เช่น ปัญหาด้านความประพฤติ ทาให้ไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนและครู ส่งผลให้เด็กไม่มีสถานภาพในโรงเรียนและสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กเหล่านี้อาจรวมตัวกันใช้การแข่งรถเพื่อสร้างการยอมรับ สร้างสถานภาพ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเอง เพราะหากชนะการแข่งขัน เด็กจะเปลี่ยนสถานะเป็นคนที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับ มีสถานภาพในกลุ่มนักแข่งและผู้ชมการแข่งขัน และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
นอกจากนี้ ในวัฒนธรรมย่อยของเด็กแว้นยังมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งสินพนันอาจได้แก่ เงินและผู้หญิง (เด็กสก็อย) โดยผู้ชนะการแข่งขันจะได้สินพนันดังกล่าวไปด้วย คาถามคือ สินพนันมีความหมายอย่างไรต่อวัฒนธรรมย่อยของเด็กแว้น ในประเด็นนี้ เห็นว่า เงินพนันมีความหมายเพราะสามารถตอบสนองความต้องการทางทางเศรษฐกิจของเด็กแว้น ทาให้เด็กแวนสามารถดารงชีพ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการแต่งรถจักรยานยนต์ ส่วนผู้หญิง (เด็กสก็อย) มีความหมายในประการหนึ่งคือ เป็นสิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการทางเพศให้แก่เด็กแว้น และในประการที่สอง สถานะของเด็กสก็อยอาจเทียบได้กับสิ่งที่ Anderson เคยกล่าวไว้คือ เป็นถ้วยรางวัลแห่งชัยชนะ” (trophy)14 เพราะผู้ชนะไม่เพียงแต่ชนะการแข่งขัน ยังสามารถแย่งของรัก (เด็กสก็อย) ของฝ่ายตรงข้ามมาไว้ในความครอบครองได้ การได้มาซึ่งเด็กสก็อยจะส่งผลให้สถานภาพของเด็กแว้นผู้ชนะสูงเด่นเหนือคู่แข่งคนอื่นๆ ดังนั้น สินพนันจึงมีความหมายต่อการดารงอยู่วัฒนธรรมย่อยการประลองความเร็วไม่น้อยเลย
สิ่งที่น่าสนใจในประการต่อมาคือ เหตุใดเด็กแว้นจึงใช้วิธีการสิ้นคิดและเสี่ยงอันตรายเช่นนี้ในการสร้างการยอมรับ ในประเด็นนี้ Giddens อาจช่วยตอบคาถามนี้ได้ Giddens กล่าวว่า สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ให้ความสาคัญกับการบริหารความเสี่ยง บุคคลที่สามารถบริหารความเสี่ยงและป้องกันผลร้ายอันไม่พึงประสงค์ได้ เช่น นักค้าเงินตราที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและหลีกเลี่ยงการขาดทุนได้ย่อมได้รับการยอมรับ15 ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าวิธีการสร้างการยอมรับ สร้างสถานภาพ และสร้างความภาคภูมิใจของเด็กแว้นไม่ต่างจากวิธีการที่ผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมปฏิบัติกัน
จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่า วัฒนธรรมย่อยการแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนสาธารณะมีความหมายต่อเด็กแว้น เพราะสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เด็กแว้นขาดไป คือ สามารถตอบสนองความต้องการยอมรับ ความต้องการสถานภาพ ความต้องการความภาคภูมิใจในตนเอง ความต้องการทางเศรษฐกิจ รวมทั้งความต้องการทางเพศ วัฒนธรรมย่อยดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจสาหรับกลุ่มเด็กแว้น ในลาดับต่อไป จะได้พิจารณาว่า อารมณ์และความรู้สึกจากการแข่งรถบนถนนสาธารณะมีผลต่อเด็กแว้นอย่างไร

กิจกรรมท้าความตาย (edgework)
Katz กล่าวว่า ปัจจัยเบื้องหลัง (background) อันได้แก่ ความเหลื่อมล้าทางสังคมเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ส่งผลให้คนตัดสินใจลงมือกระทาผิด แต่ในเสี้ยววินาทีก่อนลงมือกระทาผิด บุคคลนั้นอาจประสบกับปัจจัยเบี้องหน้าที่ฉับพลัน (foreground) อันได้แก่ อารมณ์และความรู้สึกบางประการที่ทาให้ต้องตัดสินใจลงมือกระทาผิด16 เช่น ในความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่จากัดว่าผู้กระทาผิดต้องเป็นคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี คนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีอาจลงมือลักทรัพย์เพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นก็ได้ ส่วนความผิดฐานฆ่าคนตาย สาเหตุที่คนตัดสินใจลงมือฆ่าผู้อื่นอาจเนื่องมาจากอารมณ์โกรธที่ถูกดูหมิ่นศักดิ์ศรี ไม่ใช่เพราะความเครียดที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิต
ในหัวข้อนี้จะพิจารณาว่า อารมณ์และความรู้สึกใดที่ดึงดูดให้เด็กแว้นประลองความเร็ว โดยจะใช้เรื่องกิจกรรมท้าความตาย (edgework) เป็นเครื่องมือในการอธิบาย
Lyng อธิบายว่ากิจกรรมท้าความตาย” (edgework หรือ voluntary risk taking activity) คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง (risk) และความสามารถในการเอาชีวิตรอด (survival skill) จากกิจกรรมที่มีความเสี่ยง กิจกรรมท้าความตายนั้น ได้แก่ การแข่งรถ, การดิ่งเวหา (skydiving), การเล่นเครื่องร่อน (hang gliding) การปีนหน้าผา (rock climbing) เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้มีลักษณะพิเศษคือ () บุคคลทั่วไปมองว่า กิจกรรมเหล่านี้เสี่ยงสูงมาก เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้น ย่อมหมายถึง การบาดเจ็บและความตาย แต่สาหรับผู้ที่นิยมกิจกรรมประเภทนี้ (edgeworker) เห็นว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว บุคคลอื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ คนที่ประสบอุบัติเหตุคือ คนที่ไม่รู้ว่าตนเองกาลังทาอะไร ความสามารถเฉพาะตัว หมายถึง ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ที่คนทั่วไปมองว่าเลวร้ายจนไม่อาจควบคุมได้ เพื่อให้ตนรอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้ายนั้น () ผู้ที่นิยมกิจกรรมประเภทนี้ (edgeworker) อธิบายอารมณ์และความรู้สึกภายหลังจากที่ผ่านกิจกรรมที่เลวร้ายถึงชีวิตว่า ในขณะหรือช่วงเวลาที่ต้องต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด เขาต้องทาทุกวิถีทางเพื่อให้พ้นจากสถานการณ์ที่เลวร้าย โดยไม่ต้องคานึงว่าการกระทาถูกต้องสองคล้องกับบรรทัดฐานของสังคมหรือไม่ ในสภาวะเช่นนี้ ผู้นิยมกิจกรรมนี้ (edgeworker) จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด (the greatest satisfy) เนื่องจากรู้สึกถึงอิสระในการกาหนดชะตาชีวิตของตนเอง (self determination)รวมทั้งรู้สึกว่าตนสามารถบรรลุถึงความเป็นตนเองอย่างแท้จริง (self actualization) ซึ่งอารมณ์และความรู้สึกดังกล่าวไม่อาจหาได้ในชีวิตประจาวัน17
Lyng กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมประเภทนี้เป็นที่นิยมในหมู่ชายวัยรุ่น เพราะว่าวัยรุ่นชายถูกปลูกฝังความคิดเรื่องความเป็นลูกผู้ชาย (masculinity) ซึ่งหมายความว่า ลูกผู้ชายที่แท้จริงต้องมีความสามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เลวร้ายได้ นอกจากนี้ช่วงชีวิตที่เป็นวัยรุ่นเป็นช่วงชีวิตเด็กเชื่อในความไม่ตาย (immortal)18 กิจกรรมลักษณะนี้จึงดึงดูดใจวัยรุ่นชายได้ไม่ยากนัก
ขอยกตัวอย่างที่สนับสนุนเรื่องกิจกรรมท้าความตาย (edgework) ดังนี้ Presdee กล่าวว่า ความผิดฐาน joyriding ช่วยให้ผู้กระทาผิด (joyrider) พ้นจากความเบื่อหน่ายอันเนื่องจากความยากจนและการไม่มีรายได้ (wageless and wealthless) และอุดมไปด้วยความตื่นเต้น19 เพราะทาให้สารอดีนาลีนแผ่ซ่าน (adrenalin rush) Spencer สนับสนุนว่า ความตื่นเต้นจะมีมากโดยเฉพาะในเวลาที่ขับรถหนีเจ้าหน้าที่ตารวจ20 นอกจากนี้ Hayward เสริมว่า joyriding ทาให้รู้สึกว่าสามารถบรรลุถึงความเป็นตนเอง (self actualization) อย่างแท้จริงอีกด้วย21
จันทนา คาสวัสดิ์ อดีตผู้อานวนการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดจันทบุรีกล่าวในทานองเดียวกันว่า จากการได้สอบถามเด็กแว้นที่ถูกควบคุมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี เด็กเหล่านั้นเล่าให้ฟังว่า การแข่งรถให้ทั้งความสุขและความตื่นเต้น โดยเฉพาะความสุขและความตื่นเต้นจะขึ้นถึงขีดสุดในเวลาที่ถูกเจ้าหน้าที่ติดตามเพื่อจับกุม แต่พวกเขาสามารถหลบหนีได้
เมื่อนาแนวคิดเรื่องกิจกรรมท้าความตาย (edgework) ประกอบกับความเห็นของนักอาชญาวิทยาต่อความผิดฐาน joyriding และจันทนา คาสวัสดิ์ มาร้อยรวมกัน อาจอธิบายได้ว่า การแข่งรถจักรยานยนต์เป็นกิจกรรมท้าความตาย (edgework) ประเภทหนึ่ง เพราะความผิดพลาดของเกมการแข่งขัน หมายถึง ความตายหรือทุพลภาพของเด็กแว้น แต่เด็กแว้นเห็นว่าเป็นเรื่องความสามารถเฉพาะตัวที่ห้ามลอกเลียนแบบ และการแข่งขันดังกล่าวสามารถตอบสนองอารมณ์และความรู้สึกของเด็กแว้น เช่น ทาให้เด็กแว้นรู้สึกสนุกสนานตื่นเต้น เพราะสารอดีนาลีนหลั่ง ช่วยให้ผ่อนคลายความเบื่อหน่ายที่พบในชีวิตประจาวัน นอกจากนี้ การประลองความเร็วทาให้เด็กแว้นได้ใช้ศักยภาพของตนออกมาอย่างเต็มที่ในการหลีกหนีจากภยันตราย ด้วยการควบคุมรถจักรยานยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงไปสู่จุดหมาย และการหลบหลีกยานพาหนะอื่นที่ร่วมใช้เส้นทาง รวมถึงเจ้าหน้าที่ตารวจที่พยายามจับกุมด้วย ในระหว่างที่เสี่ยงอันตรายอยู่นั้น เด็กแว้นจะทาทุกวิถีทางเพื่อให้ตนรอดพ้นจากภาวะที่เสี่ยงอันตรายนั้น โดยไม่ต้องสนใจว่า การขับรถจักรยานยนต์ของตนจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และทาให้ผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นเดือดร้อนหรือไม่ ฉะนั้น เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง เด็กแวนจะรู้สึกบรรลุถึงความเป็นตนเองอย่างแท้จริง (self actualization) ซึ่งอารมณ์และความรู้สึกดังกล่าวไม่อาจหาได้ในด้วยช่องทางอื่นในชีวิตประจาวัน
เมื่ออารมณ์และความรู้สึกของเด็กแว้นเป็นไปตามที่กล่าวข้างต้น สิ่งที่คาดเห็นได้คือ ความพยายามของภาครัฐในการยับยั้งกิจกรรมดังกล่าวย่อมประสบความล้มเหลว ทั้งนี้ เพราะในมุมมองขอเด็กแว้น การจับกุมของเจ้าหน้าที่ตารวจยิ่งทาให้การแข่งรถจักรยานยนต์มีความเสี่ยงมากขึ้น เมื่อยิ่งเสี่ยงมาก ยิ่งต้องใช้ความสามารถในการหลบหนีการจับกุมมาก ยิ่งสนุกมาก และยิ่งทาให้บรรลุถึงความเป็นตนเองอย่างแท้จริง การจับกุมจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของเกมการแข่งขัน ไม่ใช่มาตรการในการควบคุมและจัดการกับปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จากคาถามในตอนต้นที่ว่าเหตุใดเด็กแว้นจึงรวมกลุ่มกันแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนสาธารณะอาจตอบได้ว่า วัฒนธรรมย่อยการแข่งรถจักรยานยนต์ดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการของเด็กแว้น ทั้งปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง ได้แก่ ความต้องการการยอมรับ ความต้องการสถานภาพ ความต้องการสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และปัจจัยเบี้องหน้า ได้แก่ อารมณ์และความรู้สึกที่ได้จากการประลองความเร็ว วัฒนธรมย่อยดังกล่าวจึงเป็นทางออกของปัญหาที่น่าสนใจและน่าดึงดูดใจสาหรับกลุ่มเด็กแว้น
เหตุใดเด็กแว้นไม่ใช่สนามแข่งขันมาตรฐานประลองความเร็ว
ในอดีตมีผู้เสนอวิธีการแก้ปัญหาเด็กแว้นว่า ภาครัฐควรจัดให้เด็กแว้นประลองความเร็วในสนามแข่งรถมาตรฐานและมีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย แต่แนวคิดดังกล่าวถูกปฏิเสธจากกลุ่มเด็กแว้น คาถามคือ เหตุใดเด็กแว้นจึงไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว
หากพิจารณาจากทฤษฎีวัฒนธรรมย่อย (subculture) และกิจกรรมท้าความตาย (edgework) ดังกล่าวข้างต้น อาจตอบได้ว่า วัฒนธรรมย่อยการประลองความเร็วของเด็กแว้นมีลักษณะต่อต้าน (resistance) แบบแผนการดาเนินชีวิตที่ดีของคนส่วนใหญ่ในสังคม จึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เด็กแว้นจะไม่ยอมรับแนวคิดดังกล่าว ส่วนข้ออ้างเรื่องของความปลอดภัยไม่เป็นที่ยอมรับของเด็กแว้นต์เช่นกัน เพราะเด็กกลุ่มนี้เชื่อในความไม่ตาย รวมทั้งเชื่อว่าการขับรถด้วยความเร็วสูงโดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันอันตรายเป็นเรื่องความสามารถเฉพาะตัว คนที่ประสบอุบัติเหตุคือ คนที่ไม่รู้ว่าตนเองกาลังทาอะไรอยู่ ดังนั้น แนวคิดเรื่องการประลองความเร็วในสนามแข่งขันจึงไม่ได้รับความสนใจจากเด็กแว้น
เหตุใดปรากฏการณ์เด็กแว้นต์จึงเกิดในเมืองใหญ่หรือเขตอาเภอเมือง
นักอาชญาวิทยาสานัก social disorganization เชื่อว่า ชุมชนที่มีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น (strong ties) และมีระบบการควบคุมทางสังคมที่ไม่เป็นทางการ (informal control) จะเป็นชุมชนที่มีอาชญากรรมน้อย22 ชุมชนที่มีความผูกพันอย่างเหนียวแน่นและมีระบบการควบคุมทางสังคมอย่างไม่เป็นทางการมีลักษณะดังนี้23
๑ คนในชุมชนมีความเป็นเอกภาพในเรื่องบรรทัดฐานและค่านิยม เช่น มีความต้องการร่วมกันให้ชุมชนของตนปราศจากอาชญากรรม
๒ คนในชุมชนรู้จักและชอบเพื่อนบ้าน
๓ คนในชุมชนมีความผูกพันกันอันเนื่องจากมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งใช้เวลาทากิจกรรมร่วมกันเป็นปกติ
เหตุที่ชุมชนในลักษณะดังกล่าวมีอาชญากรรมน้อยอาจเนื่องจากคนในชุมชนเห็นดีเห็นงามกับบรรทัดฐานความประพฤติและค่านิยมของชุมชน คนเหล่านั้นจึงปฏิบัติตนสอดคล้องกับบรรทัดฐานและค่านิยมเหล่านั้น นอกจากนี้ หากมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนเกิดขึ้น ระบบการควบคุมทางสังคมที่ไม่เป็นทางการในชุมชน เช่น การดูหมิ่น (snub) การประนาม (condemnation) การติเตียน (denunciation) การเยาะเย้ย (ridicule) การนินทา (gossip) การคว่าบาตร (social isolation) การทาให้เสียหน้า (reproach)24 จะทางานเพื่อแสดงให้ทราบว่าคนในชุมชนไม่เห็นด้วย (disapproval) กับพฤติกรรมดังกล่าว
เหตุที่มีการประลองความเร็วบนถนนสาธารณะในสังคมเมืองมากกว่าในสังคมท้องถิ่นอาจเป็นเพราะคนในเมืองไม่รู้จักกัน แม้แต่เพื่อนบ้านติดกันยังไม่รู้จักกัน ชุมชนจึงไม่มีความผูกพันต่อกัน ทุกคนต่างเป็นอิสระต่อกันและพร้อมที่จะทาอะไรตามใจตนโดยไม่ต้องกังวลต่อความรู้สึกหรือเกรงใจใคร ในขณะเดียวกันเมื่อเพื่อนบ้านไม่รู้จักกัน ไม่สนใจกัน รวมทั้งไม่มีเวลา เพราะต่างมีปัญหาของตนเองที่ต้องแก้ไข ระบบการควบคุมทางสังคมที่ไม่เป็นทางการย่อมไม่สามารถทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ การแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนสาธารณะจึงเกิดในเขตเมืองได้มากกว่าในชนบทที่สังคมยังมีความผูกพันต่อกัน
อย่างไรก็ตาม Young มีความเห็นในทางตรงกันข้ามว่า ชุมชนนอกจากไม่อาจยับยั้งอาชญากรรมได้ แต่อาจเป็นแหล่งที่สนับสนุนให้เกิดอาชญากรรมได้เช่นกัน25 Anderson กล่าวว่า ชุมชนที่มีปัญหาความยากจน การว่างงาน ครอบครัวแตกแยก ยาเสพติด และความรุนแรง เป็นชุมชนที่มีแนวโน้มจะแปลกแยกและโดดเดี่ยวจากสังคม ยิ่งมีความแปลกแยกและโดดเดี่ยวมาก ยิ่งมีโอกาสที่ Code of the street (วัฒนธรรมย่อยที่เบี่ยงเบนจากค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคม) จะเฟื่องฟูในชุมชนลักษณะดังกล่าว ยิ่ง Code of the street เฟื่องฟูเท่าใด ยิ่งจะส่งผลให้ชุมชนดังกล่าวยิ่งแปลกแยกและโดดเดี่ยวจากสังคมมากยิ่งขึ้น26 Presdee ยกตัวอย่างว่า ในเขต Blackbird Lays Estate เมือง Oxford สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นชุมชนที่แปลกแยกและถูกทิ้งไว้ภายหลังโรงงานอุตสาหกรรมย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นหรือโลกที่สาม ในเวลาเย็นภายหลังจากที่ผู้กระทาผิด (joyrider) เอารถยนต์ของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว ผู้กระทาผิด (joyrider) จะขับรถยนต์ดังกล่าวแข่งขันกันในชุมชน โดยมีคนในชุมชนออกมานั่งชม เพื่อหลีกหนีความเบื่อหน่ายจากปัญหาในชีวิตประจาวัน27 พฤติกรรมของคนในชุมชนเช่นนี้อาจมองว่าเป็นการสนับสนุนให้ความผิดฐาน joyriding เฟื้องฟูในชุมชนได้
หากเราไม่ยึดติดกับความคิดที่ว่า ชุมชนต้องมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ร่วมกัน แต่มองว่าเด็กแว้น เด็กสก็อย และผู้ชม ที่มารวมตัวกันในการแข่งขันประลองความเร็วแต่ละครั้งเป็นชุมชนสาหรับผู้ที่มีวัฒนธรรมย่อยเดียวกันแล้ว28 ชุมชนดังกล่าวกาลังส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันประลองความเร็วบนถนนสาธารณะ เพราะเมืองเป็นที่รวมของเด็กแว็น เด็กสก็อย และผู้ชมจานวนมาก เสียงเชียร์และการยอมรับของกลุ่มคนจานวนมากที่ต่างประสบปัญหาเช่นเดียวกัน พูดคุยกันด้วยภาษาเดียวกันและเข้าใจกัน ย่อมส่งเสริมให้การประลองความเร็วเฟื่องฟูขึ้น และในขณะเดียวกันเมื่อชุมชนดังกล่าวเข้มแข็งขึ้น อาจเป็นแหล่งดึงดูดให้เด็กที่มีปัญหาด้านการยอมรับ สถานภาพ และความภาคภูมิใจในตนเอง เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวต่อไป ส่งผลให้เขตเมืองมีการแข่งขันประลองความเร็วมากกว่าในท้องที่อื่นๆได้
จากคาถามที่ว่าเหตุใดปรากฏการณ์เด็กแว้น จึงเกิดในเมืองใหญ่หรือในเขตอาเภอเมือง" อาจอธิบายได้ว่า สังคมเมืองเป็นสังคมที่ต่างคนต่างอยู่ จึงไม่มีระบบการควบคุมทางสังคม ในขณะเดียวกันสังคมเมืองเป็นที่รวมตัวกันของเด็กแว้น เด็กสก็อย และผู้ชม จานวนมาก จึงเป็นแหล่งสนับสนุนกิจกรรมประลองความเร็วได้เป็นอย่างดี เมื่อสังคมเมืองมีลักษณะทั้งสองประการดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกใจที่กิจกรรมประลองความเร็วของเด็กแว้นจะเฟื่องฟูในเมืองใหญ่หรือในเขตอาเภอเมืองมากกว่าในท้องที่อื่นๆ
เหตุใดเด็กผู้หญิง(เด็กสก็อย)จึงยินยอมเป็นสินพนัน
การเป็นสินพนันเป็นการทาลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (human dignity) เพราะเปลี่ยนเด็กสก็อยจากมนุษย์ที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรีให้กลายเป็นวัตถุทางเพศ (sex object) คาถามคือ เหตุใดเด็กสก็อยจึงยอมเป็นสินพนัน ในปัญหานี้ มีคนเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เหตุที่เด็กหญิงยอมเป็นสินพนัน เพราะเด็กสก็อยกลัวเด็กแว้นที่เป็นคู่รักของตนจะทาร้ายหากตนขัดขืนไม่ยอมไปกับผู้ชนะการแข่งขัน เด็กสก็อยจึงจาต้องยอมรับชะตากรรมที่เด็กแว้นที่แพ้การแข่งขันมอบให้
แต่จากทฤษฎีวัฒนธรรมย่อย (subculture) และทฤษฎีความเครียด (strain theory) ที่กล่าวข้างต้น เชื่อว่า เด็กสก็อยน่าจะประสบปัญหาเรื่องความผิดหวังเรื่องสถานภาพและสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง” (status frustration and loss of self-esteem) เช่นเดียวกับเด็กแว้น เด็กสก็อยจึงเข้าร่วมในวัฒนธรรมย่อยแข่งรถจักรยานยนต์ถนนสาธารณะ สิ่งที่ต่างกันคือ เด็กสก็อยไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยตนเอง เพียงใช้ตนเองเป็นสินพนัน แต่การเป็นสินพนักดังกล่าวอาจเป็นช่องทางให้เด็กสก็อยความภาคภูมิใจในตนเองก็เป็นได้ ทั้งนี้ เพราะเมื่อตกเป็นสินพนัน เด็กสก็อยจะรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองขึ้นมาทันที เด็กแว้นที่เป็นคู่รักจะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะรักษาเด็กสก็อยที่เป็นสินพนันไว้ ส่วนเด็กแว้นอีกฝ่ายหนึ่งจะแข่งขันอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้สินพนันไป การตกเป็นสินพนันจึงไม่ใช่สภาพจาใจหรือถูกบังคับโดยไม่รู้ชะตากรรม แต่อาจเป็นสิ่งที่เด็กสก็อยเลือกเองเพื่อให้ตนมีคุณค่าขึ้นมา
บทสรุป
บทความนี้ใช้ทฤษฎีทางอาชญาวิทยามาอธิบายว่า สาเหตุของปัญหาของเด็กแว้นและเด็กสก็อย คือ () เด็กแว้นและเด็กสก็อยอาจประสบปัญหาด้านความประพฤติบางประการเป็นเหตุให้ไม่ได้รับการยอมรับ ไม่มีสถานภาพในสังคม และขาดความภาคภูมิใจในตนเอง และ() การประลองความเร็วให้ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และทาให้เด็กแว้นบรรลุถึงความเป็นตนเองอย่างแท้จริง โดยเหตุนี้ การจับกุมดาเนินคดีเพื่อลงโทษย่อมไม่สามารถยับยั้งปัญหาได้ เพราะการลงโทษไม่ได้แก้ไขต้นเหตุของปัญหา ในขณะเดียวกันการระดมกาลังตารวจเพื่อสกัดจับเด็กแว้น กลับทาให้การประลองความเร็วมีความเสี่ยงมากขึ้น ยิ่งเสี่ยงมาก ยิ่งสนุกมาก ยิ่งได้รับการยอมรับมากขึ้น ดังนั้น ทางออกของปัญหาน่าจะอยู่ที่การช่วยให้เด็กที่มีปัญหาข้างต้นได้เห็นคุณค่าของตนเอง และมีโอกาสหรือช่องทางต่างๆในการแสดงให้บุคคลอื่นเห็นคุณค่าของตนเอง และหากช่องทางดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินได้ จะยิ่งจูงใจให้เด็กสนใจกิจกรรมนั้นมากขึ้น เมื่อเด็กทากิจกรรมดังกล่าวรวมทั้งมีคนยอมรับและเห็นคุณค่าของเด็กเหล่านั้น เด็กเหล่านั้นก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง (self-esteem) หากสามารถทาดังนี้ได้ เชื่อว่า เด็กแว้น เด็กสก็อยคงไม่ใช้ช่องทางการที่เบี่ยงเบน เช่น การแข่งรถจักรยานยนต์และการเป็นสินพนัน สร้างคุณค่า สร้างตัวตน สร้างความภาคภูมิใจ รวมทั้งสร้างความสนุนสนานให้แก่ตนเองอย่างแน่นอน
ปัญหา เด็กแว้น สะท้อนให้เห็นถึงหลายปัญหาของสังคมไทย ทั้งปัญหาครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแล อบรมสั่งสอนลูกหลาน  ปัญหาทางการศึกษา เด็กขาดวุฒิภาวะในการเรียนรู้ มีค่านิยมผิดๆ แยกแยะสิ่งดีไม่ดีไม่ได้ 
สำหรับตัววัยรุ่นเองกลับ ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาที่สร้างขึ้น โดยที่ยังมีความเชื่อในสิ่งที่ไร้สาระ อาทิ มอเตอร์ไซด์  ความเร็ว พวกพ้อง ศักดิ์ศรีบนท้องถนน
ที่ผ่านมา  หลายคนเคยพูดในประเด็นของกฏหมาย ว่าตัวบทลงโทษอ่อนเกินไป  สัปดาห์ที่ผ่านมาเราเลยได้เห็นแก๊งซิ่งหายซ่า เพราะโดนคุมขังจริงๆ ไม่ใช่เสียค่าปรับแล้วปล่อยกลับบ้านอย่างที่แล้วๆมา  ซึ่งหลายคนก็หวังว่าเยาวชนเหล่านี้จะสำนึกและกลับตัวได้บ้าง
กระนั้น การที่จะให้เจ้าหน้าที่ไปไล่กว้านจับเด็กแว้นมาขังทุกคืน ก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ถูกจุดนัก  ก่อนหน้านี้เคยมีนโยบายที่ว่ากันว่าจะนำมาปัดฝุ่นใหม่ คือการสร้างสนามแข่งถูกกฏหมายให้แก๊งซิ่งมอเตอร์ไซด์  เขาทำนองว่าต้อต้านไม่ได้ก็เข้าร่วมซะเลย  ซึ่งก็มีหลายฝ่ายที่คัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสนับสนุนในทางที่ไม่สร้างสรรค์ เปลืองงบประมาณ และเป็นการให้ความสำคัญกับเด็กแว้นมากเกินไป
กระแสตอบรับจากกลุ่มเด็กแว้นก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ พวกเขาไม่ชอบแข่งกันตอนกลางวันเพราะอากาศร้อน รวมทั้งสนามถูกกฏหมายก็ไม่มีอิสระและมากไปด้วยกฏเกณฑ์ ที่ต้องใส่หมวกกันน็อก ห้ามมีคนซ้อนท้าย ฯ
เด็กแว้นจึงยังคงเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป คล้ายกับปัญหานักเรียนอาชีวะฆ่ากัน ที่เกิดขึ้นซํ้าแล้วซํ้าเล่าจนสังคมเริ่มที่จะชาชิน

อ้างอิง

1 ความคิดเห็น:

  1. งานนี้

    - ลอกเขามา เพื่อะไร ไม่ได้นํามาอ้างอิงและเป็นเหตุผลที่ตนเองคิดหรืออยากสื่อ
    - ประเด็นของผู้เขียนเอง คือ อะไร อ่านแล้วหาไม่เจอ

    ตอบลบ